ผู้จัดการรายวัน 360 - ปตท.ขู่ปีหน้าไม่ได้ข้อสรุปประมูลแหล่งปิโตรเลียม “บงกช-เอราวัณ” ที่จะสิ้นสุดสัมปทานปี 65-66 ปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยจะลดลงรวดเร็วใน 3 ปี ส่วน LNG ที่นำเข้าเบื้องต้นคงไม่สามารถทดแทนก๊าซฯในอ่าวไทยได้ทั้งหมด
วานนี้ (22 พ.ย.) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาครัฐมีความเข้าใจถึงความสำคัญในการประมูลแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ 2 แหล่งทั้งเอราวัณและบงกชในอ่าวไทยที่จะหมดอายุลงในปี 2565-2566 เพราะหากในปีหน้าไม่มีความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการ จะทำให้ผู้ดำเนินการสัมปานจะหยุดการลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิต ซึ่งจะมีผลให้ระดับการผลิตปิโตรเลียมลดลงอย่างรวดเร็วใน 3 ปี อย่างไรก็ตาม การจะเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แหล่งดังกล่าวยังคงต้องรอร่างพรนะราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อยู่ระหว่างการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อน
“แต่หากปี 2560 มีการเปิดประมูลและมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ก็จะมีการลงทุนพัฒนาเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม มีการจ้างงานแม้ว่าการผลิตอาจลดลงบ้างตามศักยภาพของแต่ละแหล่ง แต่การผลิตก็จะมีความต่อเนื่อง” นายเทวินทร์ กล่าว
นายเทวินทร์ กล่าวต่อว่า ปตท.จะยังคงทำหน้าที่เพื่อจัดหาพลังงานเพื่อรองรับความต้องการใช้ของประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยในช่วงที่ผ่านมาได้ติดต่อเจรจาเพื่อที่จะรับซื้อและจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อทดแทนปริมาณก๊าซฯในประเทศที่จะลดลง ตลอดจนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องท่อส่งก๊าซฯเพื่อเชื่อมโยงปริมาณก๊าซฯจากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของประเทศ เพื่อนำก๊าซฯมาช่วยเสริมระบบการผลิตไฟฟ้าให้มีความมั่นคงด้วย
** ชี้นำเข้า LNG ก็ทดแทนไม่ได้
ด้าน นายนพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะเร่งดำเนินการออกแบบและเปิดประมูลก่อสร้างคลัง LNG แห่งที่ 2 ขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท หลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐในการดำเนินการได้ คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2565 ส่วนคลัง LNG แห่งแรก ที่ปัจจุบันรองรับการนำเข้าได้ 5 ล้านตัน/ปี และอยู่ระหว่างการขยายระยะที่ 2 รองรับการนำเข้าเพิ่มเป็น 10 ล้านตัน/ปี จะแล้วเสร็จในปี2560 ส่วนการขยายเพิ่มเป็น 11.5 ล้านตัน/ปีจะแล้วเสร็จในปี 2562 นั้น เมื่อรวมกับคลัง LNG อื่นๆคาดว่าจะรองรับการนำเข้าLNGได้ถึง 19 ล้านตัน/ปี หรือคิดเป็นปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยจาก 2 แหล่งใหญ่ราว 2.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
นายนพดล กล่าวต่อว่า แม้การนำเข้า LNG ไม่สามารถทดแทนปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของประเทศราว 50% มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นการนำก๊าซฯจากอ่าวไทยขึ้นมาแยกผลิตภัณฑ์ ขณะที่อีกราว 25% มาจากโรงกลั่นน้ำมัน และอีก 25% เป็นการนำเข้า ทำให้ยังคงมีความกังวลในส่วนของปริมาณการผลิต LPG ที่อาจจะลดลง ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมีนั้น ยังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตปิโตรเคมีได้เตรียมความพร้อมบางส่วน โดยเฉพาะพีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ที่มีแผนจะสร้างโรงงานโอเลฟินส์ใหม่ที่ใช้แนฟทา เป็นวัตถุดิบ
สำหรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปีน้าคาดว่าจะทรงตัวในระดับเดียวกับปีนี้ที่ 4.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แม้ว่าปีหน้าความต้องการใช้ก๊าซฯจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) จะลดลง.
วานนี้ (22 พ.ย.) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาครัฐมีความเข้าใจถึงความสำคัญในการประมูลแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ 2 แหล่งทั้งเอราวัณและบงกชในอ่าวไทยที่จะหมดอายุลงในปี 2565-2566 เพราะหากในปีหน้าไม่มีความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการ จะทำให้ผู้ดำเนินการสัมปานจะหยุดการลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิต ซึ่งจะมีผลให้ระดับการผลิตปิโตรเลียมลดลงอย่างรวดเร็วใน 3 ปี อย่างไรก็ตาม การจะเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แหล่งดังกล่าวยังคงต้องรอร่างพรนะราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อยู่ระหว่างการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อน
“แต่หากปี 2560 มีการเปิดประมูลและมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ก็จะมีการลงทุนพัฒนาเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม มีการจ้างงานแม้ว่าการผลิตอาจลดลงบ้างตามศักยภาพของแต่ละแหล่ง แต่การผลิตก็จะมีความต่อเนื่อง” นายเทวินทร์ กล่าว
นายเทวินทร์ กล่าวต่อว่า ปตท.จะยังคงทำหน้าที่เพื่อจัดหาพลังงานเพื่อรองรับความต้องการใช้ของประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยในช่วงที่ผ่านมาได้ติดต่อเจรจาเพื่อที่จะรับซื้อและจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อทดแทนปริมาณก๊าซฯในประเทศที่จะลดลง ตลอดจนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องท่อส่งก๊าซฯเพื่อเชื่อมโยงปริมาณก๊าซฯจากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของประเทศ เพื่อนำก๊าซฯมาช่วยเสริมระบบการผลิตไฟฟ้าให้มีความมั่นคงด้วย
** ชี้นำเข้า LNG ก็ทดแทนไม่ได้
ด้าน นายนพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะเร่งดำเนินการออกแบบและเปิดประมูลก่อสร้างคลัง LNG แห่งที่ 2 ขนาด 7.5 ล้านตัน/ปี มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท หลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐในการดำเนินการได้ คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2565 ส่วนคลัง LNG แห่งแรก ที่ปัจจุบันรองรับการนำเข้าได้ 5 ล้านตัน/ปี และอยู่ระหว่างการขยายระยะที่ 2 รองรับการนำเข้าเพิ่มเป็น 10 ล้านตัน/ปี จะแล้วเสร็จในปี2560 ส่วนการขยายเพิ่มเป็น 11.5 ล้านตัน/ปีจะแล้วเสร็จในปี 2562 นั้น เมื่อรวมกับคลัง LNG อื่นๆคาดว่าจะรองรับการนำเข้าLNGได้ถึง 19 ล้านตัน/ปี หรือคิดเป็นปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยจาก 2 แหล่งใหญ่ราว 2.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
นายนพดล กล่าวต่อว่า แม้การนำเข้า LNG ไม่สามารถทดแทนปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของประเทศราว 50% มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นการนำก๊าซฯจากอ่าวไทยขึ้นมาแยกผลิตภัณฑ์ ขณะที่อีกราว 25% มาจากโรงกลั่นน้ำมัน และอีก 25% เป็นการนำเข้า ทำให้ยังคงมีความกังวลในส่วนของปริมาณการผลิต LPG ที่อาจจะลดลง ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมีนั้น ยังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตปิโตรเคมีได้เตรียมความพร้อมบางส่วน โดยเฉพาะพีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ที่มีแผนจะสร้างโรงงานโอเลฟินส์ใหม่ที่ใช้แนฟทา เป็นวัตถุดิบ
สำหรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปีน้าคาดว่าจะทรงตัวในระดับเดียวกับปีนี้ที่ 4.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แม้ว่าปีหน้าความต้องการใช้ก๊าซฯจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) จะลดลง.