เมื่อเวลา 9.30 น. วานนี้ (14 พ.ย.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ(กมธ.) สามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำ ร่างรัฐธรรมนูญ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่หนึ่ง เป็นประธาน จัดสัมมนาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1/3 โดยมีนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คนที่สอง และนายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรธ. ชี้แจง เจตนารมย์ ร่างกฎหมายว่าด้วย กกต.และ พรรคการเมือง ให้สมาชิก สนช.รับทราบข้อมูล
ทั้งนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวเปิดงานว่า หลังรธน.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ สนช.จะมีหน้าที่พิจารณากฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับ ภายใต้กรอบเวลา 60 วัน นับจากวันที่ได้รับร่าง และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการตีความในอนาคต จึงขอให้สมาชิกพิจารณากฎหมายเหล่านี้อย่างรอบคอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาทำหน้าที่พิจารณา ก็ต้องทำงานอย่างจริงจัง เพื่อจะทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เสร็จได้ทันตามเวลาที่กำหนด
นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ รองประธานกรธ. กล่าวถึง รายละเอียด ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. ว่า ร่างแรกมี 67 มาตรา มีของใหม่ คือ กำหนดให้คุณสมบัติ กกต.เข้มข้นขึ้น เช่น ต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เทียบเท่าระดับอธิการบดี อัยการ ผู้พิพากษา ติดต่อกัน 10 ปี ในทางวิชาการต้องอยู่ในระดับศาสตราจารย์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับบริหารงานการเลือกตั้งมาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยประสบการณ์แต่ละด้านสามารถนับรวมเวลากันได้
ส่วนอำนาจหน้าที่ที่ปรับใหม่ เช่น ให้ กกต.เพียง 1 คน สามารถสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ หรือสั่งระงับการเลือกตั้งได้ทันที หากพบว่าไม่สุจริตยุติธรรม นายทะเบียนพรรค ให้เปลี่ยนจาก กกต.เป็นเลขาธิการสำนักงาน กกต. สำหรับผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัด จะมีจำนวน 5-7 คน แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ โดย 2 คน มาจากคนในพื้นที่ ส่วนที่เหลือมาจากการสุ่มว่า ใครจะต้องไปลงพื้นที่ใดบ้าง มีอำนาจเฉพาะช่วงมีการเลือกตั้ง ไม่มีเงินเดือน มีแต่เบี้ยเลี้ยง และค่าเดินทาง
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรธ. กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กรธ.ไม่มีแนวคิดการรีเซ็ต เช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์กรอิสระ กรธ.ก็ไม่มีแนวคิดเรื่องนี้ ภาพรวมของกฎหมายพรรค คือ ทำให้จัดตั้งง่ายขึ้น สำหรับเจตนารมย์ ขอให้ สนช.ดูในบทเฉพาะกาล คือ ให้พรรคจดทะเบียนตามกฎหมายพรรคการเมืองปี 2550 ยังอยู่ แต่ต้องมีจำนวนสมาชิก จำนวนสาขาพรรค และตัวแทนสมาชิกประจำจังหวัด ครบตามที่กฎหมายกำหนด และมีทุนประเดิมแรกเริ่ม คือ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคลงขันคนละอย่างน้อย 2,000 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่กฎหมายบังคับใช้ หากไม่ดำเนินการ หรือไม่ทัน มีโทษยุบพรรค
ส่วนมติพรรค หรือข้อบังคับให้เป็นไปตามเดิม พร้อมทั้งจัดทำรายการบัญชีทรัพย์สินพรรค หากมีส่วนที่ขัดกับหลักการของรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูก ให้แก้ไขภายใน 60 วัน หากไม่ดำเนินการ หรือไม่ทัน มีโทษตัดสิทธิการส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่จะถึง
นอกจากนี้ยังระบุว่า ใครที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ตามรธน.ปี50 ก็ให้นับเวลาถูกตัดสิทธิตามที่โทษกำหนดไว้จนครบ จึงกลับมามีสิทธิเหมือนเดิม
จากนั้นเข้าสู่ช่วงซักถาม มีสมาชิก สนช.หลายราย ตั้งข้อสงสัยในหลายประเด็น เริ่มจาก นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ถามถึงเจตนารมย์ของ กรธ. ในกฎหมายลูก เมื่อส่งตัวร่างอย่างเป็นทางการมา จะมีการระบุให้ชัดหรือไม่ว่า ส่วนไหนแก้ได้ หรือแก้ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาถูกสังคมวิจารณ์กันภายหลังหากต้องตั้งกมธ.ร่วม จึงอยากให้มีการประสานเรื่องเนื้อหากฎหมายลูกให้ สนช.ทราบบ้าง และในกรณีคุณสมบัติของ กกต. ชุดปัจจุบัน จะชี้ขาดอย่างไร กกต. บางคนที่มาทางวิชาการ ตามรธน.ฉบับเดิม แต่ไม่ตรงกับหลักของรธน.ฉบับใหม่ แต่มีคุณสมบัติด้านอื่น คือ จากประสบการณ์จากภาคประชาสังคม จะโอนมาแทนเพื่ออยู่ต่อ ได้หรือไม่
นายนรชิต ชี้แจงว่า จะนำข้อสังเกตไปให้ที่ประชุม กรธ.พิจารณา ว่า การส่งมอบร่างกฎหมายลูก จะมีการกำหนดประเด็นหลักการสำคัญมาให้ สนช.ด้วยหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนคุณสมบัติ กกต. ส่วนตัวเห็นว่า ถ้าขัดกับรธน.ฉบับใหม่ ก็ต้องพ้นไป โดย กรธ.กำหนดให้คณะกรรมการสรรหากรรมการองค์กรอิสระตาม มาตรา 203 ทำหน้าที่สรรหาเพิ่มอีก 2 คน ให้ครบ 7 คน แล้ววินิจฉัยว่า กกต.เดิมมีใครขัดคุณสมับติหรือไม่ ถ้าชี้ว่าขัด ก็อยู่ทำหน้าที่จนกว่าจะสรรหา กกต.คนใหม่มาแทน หากจะมีการโอนคุณสมบัติ เข้าใจว่าอาจทำได้ แต่จะทำให้มีผลกระทบในสัดส่วนที่มีการโอนมาแทน
ส่วนสมาชิกสนช.สายทหาร เช่น พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ซักถามในประเด็นอำนาจของการยุบพรรคการเมือง การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนมติถอดถอนของ สนช. อดีต ส.ส. และอดีตรัฐมนตรี ที่ดำเนินการตามสำนวนของป.ป.ช. จะมีผลอย่างไร โดยนายนรชิต ชี้แจงว่า อำนาจถอดถอน จะไม่มีในสภาสูง สภาล่าง แต่เป็นอำนาจของศาลรธน. ส่วนมติของ สนช.จะนำไปหารือหาข้อชัดเจนกับ กรธ.อีกครั้ง ตนนึกไม่ถึงว่า สนช. จะถามละเอียดขนาดนี้
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กรธ. ระบุคุณสมบัติ กกต. ให้ยึดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกกต. ฉบับใหม่ ว่า ตนไม่ทราบรายละเอียด เพียงทราบจากสื่อเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ยกเว้นสำหรับใคร ใครที่คุณสมบัติไม่ครบตามที่เขียนไว้ จะอยู่ไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก กกต.ชุดเดิมมาด้วยคุณสมบัติที่ถูกต้องตามรธน.ปี 50 จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า“ไม่ได้สำคัญตรงส่วนนั้น แต่ต้องดูในรธน.ฉบับใหม่ และ กฎหมายลูกขององค์กรนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตามกฎหมายเขียนได้ 2 แบบ คือ ที่แล้วมาให้แล้วไป ไม่ย้อนหลัง หรือใช้บังคับทันที”
เมื่อถามย้ำว่า หากให้ยึดของใหม่ กกต.ชุดเดิมจะต้องพ้นไปหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าเป็นใคร และคุณสมบัติข้อไหน และรัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ บอกเพียงว่า ผู้ที่อยู่ในหน่วยงานองค์กรอิสระให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายลูกออกมา ซึ่งกฎหมายลูกมี 2 ส่วน คือ การยึดรธน.โดยเคร่งครัด ไม่ว่ามาจากไหน หากคุณสมบัติไม่ครบจะต้องพ้น กับยกเว้นไว้ให้หากมาโดยถูกต้องตามของเก่า ก็อยู่ไปจนครบเทอม แต่คนจะมาเพิ่มเติมต้องยึดตามของใหม่
ทั้งนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กล่าวเปิดงานว่า หลังรธน.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ สนช.จะมีหน้าที่พิจารณากฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับ ภายใต้กรอบเวลา 60 วัน นับจากวันที่ได้รับร่าง และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการตีความในอนาคต จึงขอให้สมาชิกพิจารณากฎหมายเหล่านี้อย่างรอบคอบ ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาทำหน้าที่พิจารณา ก็ต้องทำงานอย่างจริงจัง เพื่อจะทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เสร็จได้ทันตามเวลาที่กำหนด
นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ รองประธานกรธ. กล่าวถึง รายละเอียด ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. ว่า ร่างแรกมี 67 มาตรา มีของใหม่ คือ กำหนดให้คุณสมบัติ กกต.เข้มข้นขึ้น เช่น ต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เทียบเท่าระดับอธิการบดี อัยการ ผู้พิพากษา ติดต่อกัน 10 ปี ในทางวิชาการต้องอยู่ในระดับศาสตราจารย์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับบริหารงานการเลือกตั้งมาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยประสบการณ์แต่ละด้านสามารถนับรวมเวลากันได้
ส่วนอำนาจหน้าที่ที่ปรับใหม่ เช่น ให้ กกต.เพียง 1 คน สามารถสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ หรือสั่งระงับการเลือกตั้งได้ทันที หากพบว่าไม่สุจริตยุติธรรม นายทะเบียนพรรค ให้เปลี่ยนจาก กกต.เป็นเลขาธิการสำนักงาน กกต. สำหรับผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัด จะมีจำนวน 5-7 คน แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละพื้นที่ โดย 2 คน มาจากคนในพื้นที่ ส่วนที่เหลือมาจากการสุ่มว่า ใครจะต้องไปลงพื้นที่ใดบ้าง มีอำนาจเฉพาะช่วงมีการเลือกตั้ง ไม่มีเงินเดือน มีแต่เบี้ยเลี้ยง และค่าเดินทาง
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรธ. กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กรธ.ไม่มีแนวคิดการรีเซ็ต เช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์กรอิสระ กรธ.ก็ไม่มีแนวคิดเรื่องนี้ ภาพรวมของกฎหมายพรรค คือ ทำให้จัดตั้งง่ายขึ้น สำหรับเจตนารมย์ ขอให้ สนช.ดูในบทเฉพาะกาล คือ ให้พรรคจดทะเบียนตามกฎหมายพรรคการเมืองปี 2550 ยังอยู่ แต่ต้องมีจำนวนสมาชิก จำนวนสาขาพรรค และตัวแทนสมาชิกประจำจังหวัด ครบตามที่กฎหมายกำหนด และมีทุนประเดิมแรกเริ่ม คือ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคลงขันคนละอย่างน้อย 2,000 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่กฎหมายบังคับใช้ หากไม่ดำเนินการ หรือไม่ทัน มีโทษยุบพรรค
ส่วนมติพรรค หรือข้อบังคับให้เป็นไปตามเดิม พร้อมทั้งจัดทำรายการบัญชีทรัพย์สินพรรค หากมีส่วนที่ขัดกับหลักการของรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูก ให้แก้ไขภายใน 60 วัน หากไม่ดำเนินการ หรือไม่ทัน มีโทษตัดสิทธิการส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่จะถึง
นอกจากนี้ยังระบุว่า ใครที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ตามรธน.ปี50 ก็ให้นับเวลาถูกตัดสิทธิตามที่โทษกำหนดไว้จนครบ จึงกลับมามีสิทธิเหมือนเดิม
จากนั้นเข้าสู่ช่วงซักถาม มีสมาชิก สนช.หลายราย ตั้งข้อสงสัยในหลายประเด็น เริ่มจาก นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ถามถึงเจตนารมย์ของ กรธ. ในกฎหมายลูก เมื่อส่งตัวร่างอย่างเป็นทางการมา จะมีการระบุให้ชัดหรือไม่ว่า ส่วนไหนแก้ได้ หรือแก้ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาถูกสังคมวิจารณ์กันภายหลังหากต้องตั้งกมธ.ร่วม จึงอยากให้มีการประสานเรื่องเนื้อหากฎหมายลูกให้ สนช.ทราบบ้าง และในกรณีคุณสมบัติของ กกต. ชุดปัจจุบัน จะชี้ขาดอย่างไร กกต. บางคนที่มาทางวิชาการ ตามรธน.ฉบับเดิม แต่ไม่ตรงกับหลักของรธน.ฉบับใหม่ แต่มีคุณสมบัติด้านอื่น คือ จากประสบการณ์จากภาคประชาสังคม จะโอนมาแทนเพื่ออยู่ต่อ ได้หรือไม่
นายนรชิต ชี้แจงว่า จะนำข้อสังเกตไปให้ที่ประชุม กรธ.พิจารณา ว่า การส่งมอบร่างกฎหมายลูก จะมีการกำหนดประเด็นหลักการสำคัญมาให้ สนช.ด้วยหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนคุณสมบัติ กกต. ส่วนตัวเห็นว่า ถ้าขัดกับรธน.ฉบับใหม่ ก็ต้องพ้นไป โดย กรธ.กำหนดให้คณะกรรมการสรรหากรรมการองค์กรอิสระตาม มาตรา 203 ทำหน้าที่สรรหาเพิ่มอีก 2 คน ให้ครบ 7 คน แล้ววินิจฉัยว่า กกต.เดิมมีใครขัดคุณสมับติหรือไม่ ถ้าชี้ว่าขัด ก็อยู่ทำหน้าที่จนกว่าจะสรรหา กกต.คนใหม่มาแทน หากจะมีการโอนคุณสมบัติ เข้าใจว่าอาจทำได้ แต่จะทำให้มีผลกระทบในสัดส่วนที่มีการโอนมาแทน
ส่วนสมาชิกสนช.สายทหาร เช่น พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ซักถามในประเด็นอำนาจของการยุบพรรคการเมือง การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนมติถอดถอนของ สนช. อดีต ส.ส. และอดีตรัฐมนตรี ที่ดำเนินการตามสำนวนของป.ป.ช. จะมีผลอย่างไร โดยนายนรชิต ชี้แจงว่า อำนาจถอดถอน จะไม่มีในสภาสูง สภาล่าง แต่เป็นอำนาจของศาลรธน. ส่วนมติของ สนช.จะนำไปหารือหาข้อชัดเจนกับ กรธ.อีกครั้ง ตนนึกไม่ถึงว่า สนช. จะถามละเอียดขนาดนี้
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กรธ. ระบุคุณสมบัติ กกต. ให้ยึดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกกต. ฉบับใหม่ ว่า ตนไม่ทราบรายละเอียด เพียงทราบจากสื่อเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ยกเว้นสำหรับใคร ใครที่คุณสมบัติไม่ครบตามที่เขียนไว้ จะอยู่ไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก กกต.ชุดเดิมมาด้วยคุณสมบัติที่ถูกต้องตามรธน.ปี 50 จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า“ไม่ได้สำคัญตรงส่วนนั้น แต่ต้องดูในรธน.ฉบับใหม่ และ กฎหมายลูกขององค์กรนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตามกฎหมายเขียนได้ 2 แบบ คือ ที่แล้วมาให้แล้วไป ไม่ย้อนหลัง หรือใช้บังคับทันที”
เมื่อถามย้ำว่า หากให้ยึดของใหม่ กกต.ชุดเดิมจะต้องพ้นไปหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าเป็นใคร และคุณสมบัติข้อไหน และรัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ บอกเพียงว่า ผู้ที่อยู่ในหน่วยงานองค์กรอิสระให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายลูกออกมา ซึ่งกฎหมายลูกมี 2 ส่วน คือ การยึดรธน.โดยเคร่งครัด ไม่ว่ามาจากไหน หากคุณสมบัติไม่ครบจะต้องพ้น กับยกเว้นไว้ให้หากมาโดยถูกต้องตามของเก่า ก็อยู่ไปจนครบเทอม แต่คนจะมาเพิ่มเติมต้องยึดตามของใหม่