"ปานเทพ"เผยสนช.ยอมรับกฎหมายปิโตรเลียม มีช่องโหว่ ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐจริงตามที่คปพ.เคยทักท้วง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็เห็นด้วยว่า ปตท.ต้องคืนท่อก๊าซ ด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นพ้องคัดค้านพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่รัฐบาลจัดทำขึ้น เหน็บถึงขนาดนี้แล้วรัฐยังจะฝืนดึงดันเดินหน้าอย่างไร้เหตุผลต่อไปได้อย่างไร?
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ หัวข้อ โปรดฟังเสียง ภาคประชาชนที่สอดคล้องกับองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญ !? ตามข้อความดังนี้...
ภาคประชาชน โดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)ซึ่งเคลื่อนไหวด้านพลังงานนั้น เคยถูกปรามาสว่าใช้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้างฯลฯ
บัดนี้ เมื่อเวลาผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวมาโดยตลอดของภาคประชาชนนั้น ได้ถูกยืนยันความเป็นจริงจากหลักฐานและเหตุการณ์สำคัญได้แก่
1. ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ยืนยันว่า กฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเดิม มีปัญหา ช่องโหว่ และไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐจริง ตามที่ภาคประชาชนเคยทักท้วงไว้ทุกประการ
2. กรณีภาคประชาชนและเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)ได้เรียกร้องว่า ปตท.คืนท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของ มติคณะรัฐมนตรี บัดนี้นอกจากจะมีมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีความเห็นสอดคล้องยืนยันเช่นเดียวกับภาคประชาชนแล้ว องค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งสองแห่ง ยังทำหน้าที่ในการดำเนินคดีความกับผู้กระทำความผิดด้วย
แม้แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลก็ลงมติไปในทิศทางเดียวกับภาคประชาชนเช่นกัน
3. กรณีที่ภาคประชาชน คัดค้านพ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นและผ่านความเห็นชอบในหลักการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้วนั้น ไม่ได้ทำตามผลการศึกษาของกรรมาธิการของสภานติบัญญัติแห่งชาติ (ตามข้อ 1.) และไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
วันที่ 11 พ.ย. 59 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า ควรนำร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มาปรับปรุงร่างกฎหมายของรัฐบาล หากทำไม่ได้ ก็ควรถอนกฎหมายของรัฐบาลออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สอดคล้องกับหนังสือของประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ได้ส่งหนังสือถึงฯ พณฯนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ วันที่ 13 ต.ค.59 โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของภาคประชาชน อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเห็นชอบในหลักการใน วาระที่ 1 ในวาระพิจารณากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.59 นั้นไม่สอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของกรรมาธิการฯของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอง
ถึงขนาดนี้แล้วยังจะฝืนดึงดันเดินหน้าอย่างไร้เหตุผลต่อไปได้อย่างไร ?
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ หัวข้อ โปรดฟังเสียง ภาคประชาชนที่สอดคล้องกับองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญ !? ตามข้อความดังนี้...
ภาคประชาชน โดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)ซึ่งเคลื่อนไหวด้านพลังงานนั้น เคยถูกปรามาสว่าใช้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้างฯลฯ
บัดนี้ เมื่อเวลาผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวมาโดยตลอดของภาคประชาชนนั้น ได้ถูกยืนยันความเป็นจริงจากหลักฐานและเหตุการณ์สำคัญได้แก่
1. ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ยืนยันว่า กฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเดิม มีปัญหา ช่องโหว่ และไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐจริง ตามที่ภาคประชาชนเคยทักท้วงไว้ทุกประการ
2. กรณีภาคประชาชนและเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)ได้เรียกร้องว่า ปตท.คืนท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของ มติคณะรัฐมนตรี บัดนี้นอกจากจะมีมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีความเห็นสอดคล้องยืนยันเช่นเดียวกับภาคประชาชนแล้ว องค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งสองแห่ง ยังทำหน้าที่ในการดำเนินคดีความกับผู้กระทำความผิดด้วย
แม้แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลก็ลงมติไปในทิศทางเดียวกับภาคประชาชนเช่นกัน
3. กรณีที่ภาคประชาชน คัดค้านพ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นและผ่านความเห็นชอบในหลักการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้วนั้น ไม่ได้ทำตามผลการศึกษาของกรรมาธิการของสภานติบัญญัติแห่งชาติ (ตามข้อ 1.) และไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
วันที่ 11 พ.ย. 59 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า ควรนำร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มาปรับปรุงร่างกฎหมายของรัฐบาล หากทำไม่ได้ ก็ควรถอนกฎหมายของรัฐบาลออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สอดคล้องกับหนังสือของประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ได้ส่งหนังสือถึงฯ พณฯนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ วันที่ 13 ต.ค.59 โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของภาคประชาชน อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเห็นชอบในหลักการใน วาระที่ 1 ในวาระพิจารณากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.59 นั้นไม่สอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของกรรมาธิการฯของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอง
ถึงขนาดนี้แล้วยังจะฝืนดึงดันเดินหน้าอย่างไร้เหตุผลต่อไปได้อย่างไร ?