วานนี้ (3พ.ย.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้มีการแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในคดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีการแก้ไขร่าง รธน. เกี่ยวกับที่มาของส.ว.โดยมิชอบ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้กล่าวหา นายนริศร ทองธิราช และนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย
โดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนโดยเริ่มจากกรณีของนายนริศร ว่าสมาชิกรัฐสภาถือเป็นตำแหน่งที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติโดยไม่อยู่ใต้อาณัติใคร การแสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมรัฐสภา เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เมื่อมีการดำเนินการใช้บัตรแสดงตนแทนกัน จึงเป็นการผิดปกติวิสัยของรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาหนึ่งคน จะมีสิทธิออกเสียงหนึ่งคะแนน และเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และเป็นมติที่ไม่ชอบตามกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย
การไต่สวนของป.ป.ช.ได้สอบสวนพยานหลักฐานครบถ้วน ให้ความเป็นธรรมเต็มที่ รับฟังได้ว่า นายนริศรกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง โดยปรากฏคลิปใช้บัตรลงคะแนนอิเลกทรอนิกส์ 3 ใบ หมุนเวียนเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนน มีเจตนาทุจริตออกเสียง ทำให้การลงคะแนนเป็นไปโดยมิชอบ การอ้างว่าเป็นคลิปตัดต่อเป็นการอ้างเลื่อนลอย เพราะสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบแล้ว ระบุว่าไม่มีการตัดต่อแก้ไขคลิป และการอ้างว่าตัวเองมีบัตรลงคะแนนหลายใบ เจ้าหน้าที่รัฐสภาก็ยืนยันว่าได้ออกบัตรลงคะแนนให้นายนริศรเพียงใบเดียว ส่วนที่นายนริศร อ้างว่าเป็นโรคมือยุกยิกนั้น ก็ไม่สามารถรับฟังได้ จึงสมควรที่สนช. จะแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายด้วยการถอดถอนนายนริศร ออกจากตำแหน่ง
ด้านนายนริศร แถลงโต้แย้งว่า ยอมรับว่าตนเองมีบัตรลงคะแนนหลายใบจริง แต่เป็นบัตรของตนเอง ประกอบด้วยบัตรลงคะแนนจริง และบัตรลงคะแนนสำรอง ที่ผ่านมาส่วนตัวก็ดำเนินการลักษณะนี้เป็นประจำ หมายความว่า มักจะกดลงคะแนนหลายครั้ง แต่ไม่ว่าจะกดลงคะแนนอย่างไร คะแนนที่ออกมาจะมีเพียงแค่คะแนนเดียวเท่านั้น
"ผมทำอย่างนี้เป็นประจำ แต่ไม่มีการกดบัตรแทนคนอื่นแน่นอน และที่มีการกล่าวหาว่า ผมกดบัตรแทนก็ไม่ได้มีการบอกว่ากดบัตรแทนใคร ผมโดนกลั่นแกล้ง ทำไม ในเมื่อสมาชิกรัฐสภามีหลายร้อยคน แต่ผมถูกจ้องถ่ายอยู่คนเดียว นอกจากนี้ก็ไม่สามารถพิสูจน์ที่มาที่ไปของคลิปได้ เท่ากับว่าพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล ไม่ชัดเจนเพราะพิสูจน์ไม่ได้" นายนริศร กล่าว
นายนริศร กล่าวว่าวันนี้เป็นประเด็นทางการเมืองที่ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ถูกลดความสำคัญลงมา จนถึงวันนี้ก็ไม่สามารถหาต้นตอของผู้ถ่ายคลิปได้ ยิ่งทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสนช. ที่จะลงมติ คดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์ประเทศจะได้จารึกไว้ แต่เวลานี้มีข่าวออกมาแล้วว่าสนช. มีธงว่าจะลงมติถอดถอน 250 เสียง และอัยการก็เตรียมฟ้องเพื่อดำเนินคดีทางอาญา
"โปรดให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย เพราะเกิดความยุติธรรมแบบเลือกข้าง อีกข้างทำอะไรถูกหมด อีกข้างทำอะไรผิดหมด ผมไม่มีอคติใดๆทั้งสิ้น ด้วยความเคารพ สนช. ขอยืนยันว่าไม่มีการกดบัตรแทนคนอื่น และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา" นายนริศร กล่าว
ต่อมาเป็นการพิจารณาในกรณีของนายอุดมเดช โดยน.ส.สุภา อ่านคำแถลงปิดคดีว่า จากการไต่สวนพบว่า นายอุดมเดช เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรธน. โดยมีอำนาจเสนอแก้ไขร่างรธน. ทั้งนี้พบว่าการเสนอร่างแก้ไขรธน.ที่เสนอประธานรัฐสภาตอนแรก กับร่างแก้ไขรธน.ก่อนเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยร่างรธน.ที่นำมาเสนอแก้ไขในภายหลังมีที่มานั้นมีการแก้ไขให้ ส.ว.ที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้น สามารถลงสมัครเลือกตั้งส.ว.อีกวาระได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค อีกทั้งการแก้ไข และการเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภาเป็นการดำเนินการโดยมิชอบ เป็นร่างแก้ไขรธน.ปลอม เพราะไม่มีการลงชื่อรับรองของสมาชิกรัฐสภา จึงทำให้ร่างรธน.ที่เสนอเข้ามารัฐสภา ขัดต่อรธน. มาตรา 291
น.ส.สุภา กล่าวว่า เรื่องนี้ศาลรธน.วินิจฉัยแล้วว่า ที่ประชุมรัฐสภาได้พิจารณารับหลักการร่างรธน. ในฉบับที่มีการแก้ไขให้ส.ว. ลงสมัครส.ว.อีกได้นั้นปรากฏว่า ไม่มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงนามเสนอญัตติใหม่แต่อย่างใด มีผลเท่ากับว่า การเสนอแก้ไขรธน. ที่รัฐสภารับหลักการนั้น เป็นไปโดยมิชอบ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรธน. มีผลผูกพันเด็ดขาดทุกองค์กร
"นายอุดมเดช มีการแก้ข้อกล่าวหาว่าการแก้ไขเนื้อหาในร่างแก้ไขรธน. ก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุระเบียบวาระ สามารถทำได้เพราะมีธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ป.ป.ช.มีความเห็นว่าเป็นการแก้ไขในทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะรธน. เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีการกำหนดหมวดการแก้ไขรธน.ไว้ชัดเจน ดังนั้น การกล่าวอ้างว่า สามารถแก้ไขเนื้อหาในกฎหมายก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุได้ จึงไม่สามารถทำได้ เช่นเดียวกับการอ้างธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ย่อมไม่สามารถกระทำได้เช่นกัน ดังที่ศาลรธน. เคยมีคำวินิจฉัยมาแล้ว"น.ส.สุภา กล่าว
น.ส.สุภา กล่าวว่าถ้าไม่ถอดถอนจะเกิดอะไรกับประเทศไทย ขอเรียนว่าประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 มีพระราชหัตถเลขา ว่า“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดเฉพาะเพื่อใช้ อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร" แต่ปรากฏว่า การกกระทำที่ผ่านมาเป็นเหมือนกับรัฐสภาผูกขาด และไม่เคารพประชาชน 70 ล้านคน
"รัฐธรรมนูญถือเป็นจิตวิญญาณของประเทศไทย เพื่อบริหารแผ่นดินแม่ของเรา ดิฉันเชื่อมั่นใน สนช. ที่ถูกคัดเลือกมาให้ปฏิรูปประเทศ ทุกคนมีคุณวุฒิ รู้ดี รู้ชั่ว สามารถตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องได้ ในสังคมไทยมีระบบอาวุโส และมีการช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของคนไทย แต่ขอรบกวน สนช.ว่าต้องให้ความเป็นธรรมแก่แผ่นดิน ว่าเรื่องใดที่เป็นส่วนตัวจะนำมาพิจารณาไม่ได้ เสียงของ สนช. จะมีผลต่ออนาคตต่อประเทศไทยมากๆ เสียงของสนช. มีคุณภาพทุกคน" นางสุภา กล่าว
ขณะที่นายอุดมเดช กล่าวโต้แย้งป.ป.ช.ว่า ที่ผ่านมาป.ป.ช.ไม่ได้ไต่สวนพยานตามที่ตนเองได้ขอไปครบทุกคน ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้ไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาระดับสูงได้ความว่า การแก้ไขปรับปรุงสามารถกระทำได้ จึงเป็นที่ยุติการกระทำของตนเองไม่ผิดกกฎหมาย ซึ่งป.ป.ช. ควรรับฟังและให้น้ำหนักพยานในส่วนนี้
"ตามหลักการในการรับฟังพยานนั้น สมาชิกสนช. สามารถดำเนินการสอบถามกับเจ้าหน้าที่รัฐสภาได้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แม่นยำมากขึ้นว่าการกระทำของผมถูกต้องหรือไม่ ส่วนปัญหาข้อกฎหมายนั้นขอยืนยันต่อ สนช.ว่าในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการกล่าวหาเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลอมและสับเปลี่ยนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ คนทั่วไปอาจเข้าใจสับสนได้ ขอยืนยันว่า กระบวนการทั้งหมดเป็นการแก้ไขปรับปรุง หลังจากพบว่ามีความบกพร่องไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ร่วมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ"
นอกจากนี้ ไม่ได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้มอบให้เจ้าหน้าที่ของวิปรัฐบาลไปประสานกับเจ้าหน้าที่รัฐสภา ซึ่งทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่ขัดกับรธน. และข้อบังคับ จึงดำเนินการให้ ถ้าวันนั้นเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่สามารถทำได้ ตนและคณะมีวิธีทำให้ร่างแก้ไขรธน. เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้เสนอได้ เช่น การเสนอร่างแก้ไขรธน.ใหม่ หรือ ขอแปรญัตติในวาระที่ 2 หรือแก้ไขในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการ
"การอ้างว่า คำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับทุกองค์กร ผมขอเรียนว่า ป.ป.ช.ได้เชิญ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับป.ป.ช. หรือไม่อย่างไร โดยได้ความว่า สิ่งที่ผูกพัน คือเฉพาะส่วนท้ายของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเหตุผลเท่านั้น ไม่มีลักษณะผูกพันโดยตรง" นายอุดมเดช กล่าว
ทั้งนี้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้นัดให้ที่ประชุมสนช. ลงมติถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ ในวันที่ 4 พ.ย. โดยก่อนมีการพิจารณา พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. กล่าวว่า อยากให้สมาชิกสนช. เข้ามาฟังการแถลงปิดคดี เพื่อนำไปสู่การใช้ดุลพินิจอย่างถูกต้องก่อนการการตัดสินใจ อีกทั้งการถอดถอนครั้งนี้ จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีการดำเนินการกันในสภา เนื่องจากอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามร่างรธน.ฉบับใหม่ จะไม่ได้เป็นอำนาจของสภาอีกต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การถอดถอน 2 อดีตส.ส.ครั้งนี้ ผู้ที่ถูกถอดถอนจะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน คือ ตั้งแต่ 150 เสียงขึ้นไป
โดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนโดยเริ่มจากกรณีของนายนริศร ว่าสมาชิกรัฐสภาถือเป็นตำแหน่งที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติโดยไม่อยู่ใต้อาณัติใคร การแสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมรัฐสภา เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เมื่อมีการดำเนินการใช้บัตรแสดงตนแทนกัน จึงเป็นการผิดปกติวิสัยของรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาหนึ่งคน จะมีสิทธิออกเสียงหนึ่งคะแนน และเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และเป็นมติที่ไม่ชอบตามกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย
การไต่สวนของป.ป.ช.ได้สอบสวนพยานหลักฐานครบถ้วน ให้ความเป็นธรรมเต็มที่ รับฟังได้ว่า นายนริศรกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง โดยปรากฏคลิปใช้บัตรลงคะแนนอิเลกทรอนิกส์ 3 ใบ หมุนเวียนเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนน มีเจตนาทุจริตออกเสียง ทำให้การลงคะแนนเป็นไปโดยมิชอบ การอ้างว่าเป็นคลิปตัดต่อเป็นการอ้างเลื่อนลอย เพราะสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบแล้ว ระบุว่าไม่มีการตัดต่อแก้ไขคลิป และการอ้างว่าตัวเองมีบัตรลงคะแนนหลายใบ เจ้าหน้าที่รัฐสภาก็ยืนยันว่าได้ออกบัตรลงคะแนนให้นายนริศรเพียงใบเดียว ส่วนที่นายนริศร อ้างว่าเป็นโรคมือยุกยิกนั้น ก็ไม่สามารถรับฟังได้ จึงสมควรที่สนช. จะแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายด้วยการถอดถอนนายนริศร ออกจากตำแหน่ง
ด้านนายนริศร แถลงโต้แย้งว่า ยอมรับว่าตนเองมีบัตรลงคะแนนหลายใบจริง แต่เป็นบัตรของตนเอง ประกอบด้วยบัตรลงคะแนนจริง และบัตรลงคะแนนสำรอง ที่ผ่านมาส่วนตัวก็ดำเนินการลักษณะนี้เป็นประจำ หมายความว่า มักจะกดลงคะแนนหลายครั้ง แต่ไม่ว่าจะกดลงคะแนนอย่างไร คะแนนที่ออกมาจะมีเพียงแค่คะแนนเดียวเท่านั้น
"ผมทำอย่างนี้เป็นประจำ แต่ไม่มีการกดบัตรแทนคนอื่นแน่นอน และที่มีการกล่าวหาว่า ผมกดบัตรแทนก็ไม่ได้มีการบอกว่ากดบัตรแทนใคร ผมโดนกลั่นแกล้ง ทำไม ในเมื่อสมาชิกรัฐสภามีหลายร้อยคน แต่ผมถูกจ้องถ่ายอยู่คนเดียว นอกจากนี้ก็ไม่สามารถพิสูจน์ที่มาที่ไปของคลิปได้ เท่ากับว่าพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล ไม่ชัดเจนเพราะพิสูจน์ไม่ได้" นายนริศร กล่าว
นายนริศร กล่าวว่าวันนี้เป็นประเด็นทางการเมืองที่ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ถูกลดความสำคัญลงมา จนถึงวันนี้ก็ไม่สามารถหาต้นตอของผู้ถ่ายคลิปได้ ยิ่งทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสนช. ที่จะลงมติ คดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์ประเทศจะได้จารึกไว้ แต่เวลานี้มีข่าวออกมาแล้วว่าสนช. มีธงว่าจะลงมติถอดถอน 250 เสียง และอัยการก็เตรียมฟ้องเพื่อดำเนินคดีทางอาญา
"โปรดให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย เพราะเกิดความยุติธรรมแบบเลือกข้าง อีกข้างทำอะไรถูกหมด อีกข้างทำอะไรผิดหมด ผมไม่มีอคติใดๆทั้งสิ้น ด้วยความเคารพ สนช. ขอยืนยันว่าไม่มีการกดบัตรแทนคนอื่น และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา" นายนริศร กล่าว
ต่อมาเป็นการพิจารณาในกรณีของนายอุดมเดช โดยน.ส.สุภา อ่านคำแถลงปิดคดีว่า จากการไต่สวนพบว่า นายอุดมเดช เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรธน. โดยมีอำนาจเสนอแก้ไขร่างรธน. ทั้งนี้พบว่าการเสนอร่างแก้ไขรธน.ที่เสนอประธานรัฐสภาตอนแรก กับร่างแก้ไขรธน.ก่อนเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา มีเนื้อหาไม่ตรงกัน โดยร่างรธน.ที่นำมาเสนอแก้ไขในภายหลังมีที่มานั้นมีการแก้ไขให้ ส.ว.ที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้น สามารถลงสมัครเลือกตั้งส.ว.อีกวาระได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค อีกทั้งการแก้ไข และการเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภาเป็นการดำเนินการโดยมิชอบ เป็นร่างแก้ไขรธน.ปลอม เพราะไม่มีการลงชื่อรับรองของสมาชิกรัฐสภา จึงทำให้ร่างรธน.ที่เสนอเข้ามารัฐสภา ขัดต่อรธน. มาตรา 291
น.ส.สุภา กล่าวว่า เรื่องนี้ศาลรธน.วินิจฉัยแล้วว่า ที่ประชุมรัฐสภาได้พิจารณารับหลักการร่างรธน. ในฉบับที่มีการแก้ไขให้ส.ว. ลงสมัครส.ว.อีกได้นั้นปรากฏว่า ไม่มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงนามเสนอญัตติใหม่แต่อย่างใด มีผลเท่ากับว่า การเสนอแก้ไขรธน. ที่รัฐสภารับหลักการนั้น เป็นไปโดยมิชอบ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรธน. มีผลผูกพันเด็ดขาดทุกองค์กร
"นายอุดมเดช มีการแก้ข้อกล่าวหาว่าการแก้ไขเนื้อหาในร่างแก้ไขรธน. ก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุระเบียบวาระ สามารถทำได้เพราะมีธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ป.ป.ช.มีความเห็นว่าเป็นการแก้ไขในทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะรธน. เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีการกำหนดหมวดการแก้ไขรธน.ไว้ชัดเจน ดังนั้น การกล่าวอ้างว่า สามารถแก้ไขเนื้อหาในกฎหมายก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุได้ จึงไม่สามารถทำได้ เช่นเดียวกับการอ้างธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ย่อมไม่สามารถกระทำได้เช่นกัน ดังที่ศาลรธน. เคยมีคำวินิจฉัยมาแล้ว"น.ส.สุภา กล่าว
น.ส.สุภา กล่าวว่าถ้าไม่ถอดถอนจะเกิดอะไรกับประเทศไทย ขอเรียนว่าประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 มีพระราชหัตถเลขา ว่า“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดเฉพาะเพื่อใช้ อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร" แต่ปรากฏว่า การกกระทำที่ผ่านมาเป็นเหมือนกับรัฐสภาผูกขาด และไม่เคารพประชาชน 70 ล้านคน
"รัฐธรรมนูญถือเป็นจิตวิญญาณของประเทศไทย เพื่อบริหารแผ่นดินแม่ของเรา ดิฉันเชื่อมั่นใน สนช. ที่ถูกคัดเลือกมาให้ปฏิรูปประเทศ ทุกคนมีคุณวุฒิ รู้ดี รู้ชั่ว สามารถตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องได้ ในสังคมไทยมีระบบอาวุโส และมีการช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของคนไทย แต่ขอรบกวน สนช.ว่าต้องให้ความเป็นธรรมแก่แผ่นดิน ว่าเรื่องใดที่เป็นส่วนตัวจะนำมาพิจารณาไม่ได้ เสียงของ สนช. จะมีผลต่ออนาคตต่อประเทศไทยมากๆ เสียงของสนช. มีคุณภาพทุกคน" นางสุภา กล่าว
ขณะที่นายอุดมเดช กล่าวโต้แย้งป.ป.ช.ว่า ที่ผ่านมาป.ป.ช.ไม่ได้ไต่สวนพยานตามที่ตนเองได้ขอไปครบทุกคน ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้ไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาระดับสูงได้ความว่า การแก้ไขปรับปรุงสามารถกระทำได้ จึงเป็นที่ยุติการกระทำของตนเองไม่ผิดกกฎหมาย ซึ่งป.ป.ช. ควรรับฟังและให้น้ำหนักพยานในส่วนนี้
"ตามหลักการในการรับฟังพยานนั้น สมาชิกสนช. สามารถดำเนินการสอบถามกับเจ้าหน้าที่รัฐสภาได้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แม่นยำมากขึ้นว่าการกระทำของผมถูกต้องหรือไม่ ส่วนปัญหาข้อกฎหมายนั้นขอยืนยันต่อ สนช.ว่าในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการกล่าวหาเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลอมและสับเปลี่ยนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ คนทั่วไปอาจเข้าใจสับสนได้ ขอยืนยันว่า กระบวนการทั้งหมดเป็นการแก้ไขปรับปรุง หลังจากพบว่ามีความบกพร่องไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ร่วมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ"
นอกจากนี้ ไม่ได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้มอบให้เจ้าหน้าที่ของวิปรัฐบาลไปประสานกับเจ้าหน้าที่รัฐสภา ซึ่งทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่ขัดกับรธน. และข้อบังคับ จึงดำเนินการให้ ถ้าวันนั้นเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่สามารถทำได้ ตนและคณะมีวิธีทำให้ร่างแก้ไขรธน. เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้เสนอได้ เช่น การเสนอร่างแก้ไขรธน.ใหม่ หรือ ขอแปรญัตติในวาระที่ 2 หรือแก้ไขในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการ
"การอ้างว่า คำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับทุกองค์กร ผมขอเรียนว่า ป.ป.ช.ได้เชิญ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับป.ป.ช. หรือไม่อย่างไร โดยได้ความว่า สิ่งที่ผูกพัน คือเฉพาะส่วนท้ายของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเหตุผลเท่านั้น ไม่มีลักษณะผูกพันโดยตรง" นายอุดมเดช กล่าว
ทั้งนี้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้นัดให้ที่ประชุมสนช. ลงมติถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ ในวันที่ 4 พ.ย. โดยก่อนมีการพิจารณา พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. กล่าวว่า อยากให้สมาชิกสนช. เข้ามาฟังการแถลงปิดคดี เพื่อนำไปสู่การใช้ดุลพินิจอย่างถูกต้องก่อนการการตัดสินใจ อีกทั้งการถอดถอนครั้งนี้ จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีการดำเนินการกันในสภา เนื่องจากอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามร่างรธน.ฉบับใหม่ จะไม่ได้เป็นอำนาจของสภาอีกต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การถอดถอน 2 อดีตส.ส.ครั้งนี้ ผู้ที่ถูกถอดถอนจะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน คือ ตั้งแต่ 150 เสียงขึ้นไป