นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันนี้ ( 3 พ.ย.) มีวาระที่สำคัญคือ จะเป็นการรับฟังแถลงปิดสำนวนคดีถอดถอนด้วยวาจา ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้กล่าวหา และนายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส. สกลนคร พรรคเพื่อไทย จากกรณีเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน และ นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกกล่าวหา จากกรณีสลับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เกี่ยวกับเรื่องที่มาส.ว.
จากนั้น วันที่ 4 พ.ย. จะเป็นการลงมติถอดถอน หรือไม่ถอดถอนทั้ง 2 คน โดยจะลงมติพร้อมกัน ใช้บัตรลงคะแนน 2 ใบ 2 สี แยกกล่องลงคะแนนกันชัดเจน โดยผู้ที่ถูกถอดถอน จะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน คือ ตั้งแต่ 150 เสียงขึ้นไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า จากการหยั่งเสียงสมาชิก สนช.เบื้องต้น แนวโน้มเป็นไปได้สูงมาก ที่สนช. จะลงมติถอดถอน นายนริศร โดยคาดว่า เสียงลงมติถอดถอนจะมีสูงเกิน 200 เสียงขึ้นไป เนื่องจากมองว่า กรณีเสียงบัตรแทนกัน เป็นความผิดทางจริยธรรม อีกทั้งหลักฐานและการตอบข้อซักถามต่อที่ประชุม สนช. ก็ฟังไม่ขึ้น แม้จะพยายามอ้างว่า มีโรคประจำตัว จึงทำให้มือยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุขก็ตาม
ส่วนกรณีของนายอุดมเดช นั้นเสียงสมาชิก สนช. ยังก่ำกึ่งกันอยู่ ระหว่างเสียงถอดถอนกับไม่ถอดถอน โดยฝ่ายที่ลงมติไม่ถอดถอน มองว่าเป็นกรณีเดียวกับ 4 สำนวนที่ สนช. เคยมีมติไม่ถอดถอนไปแล้ว นั่นคือกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เป็นต้น
ขณะที่ฝ่ายที่จะลงมติถอดถอนนั้น มองว่า กรณีนายอุดมเดช ไม่น่าจะเทียบเคียงกับ 4 สำนวนดังกล่าวได้ แม้นายอุดมเดช จะอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงร่างกฎหมายก่อนบรรจุระเบียบวาระ สามารถทำได้ เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสภาเกือบทุกสมัย แต่ สนช.ฝ่ายนี้ มองว่า ร่างกฎหมายที่นายอุดมเดชเปลี่ยนแปลง มีการแก้ไขหลักการสำคัญที่เปิดทางให้ ส.ว.ที่หมดวาระ สามารถลงเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องเว้นวรรค 2 ปีมาด้วย ดังนั้น ทิศทางการลงมติของกรณีนายอุดมเดช นั้น ยังไม่ชัดเจน จึงอยู่ที่ว่า จะมีการล็อบบี้ให้ออกเสียงไปในทางหนึ่งทางใด หรือไม่
จากนั้น วันที่ 4 พ.ย. จะเป็นการลงมติถอดถอน หรือไม่ถอดถอนทั้ง 2 คน โดยจะลงมติพร้อมกัน ใช้บัตรลงคะแนน 2 ใบ 2 สี แยกกล่องลงคะแนนกันชัดเจน โดยผู้ที่ถูกถอดถอน จะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด 250 คน คือ ตั้งแต่ 150 เสียงขึ้นไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า จากการหยั่งเสียงสมาชิก สนช.เบื้องต้น แนวโน้มเป็นไปได้สูงมาก ที่สนช. จะลงมติถอดถอน นายนริศร โดยคาดว่า เสียงลงมติถอดถอนจะมีสูงเกิน 200 เสียงขึ้นไป เนื่องจากมองว่า กรณีเสียงบัตรแทนกัน เป็นความผิดทางจริยธรรม อีกทั้งหลักฐานและการตอบข้อซักถามต่อที่ประชุม สนช. ก็ฟังไม่ขึ้น แม้จะพยายามอ้างว่า มีโรคประจำตัว จึงทำให้มือยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุขก็ตาม
ส่วนกรณีของนายอุดมเดช นั้นเสียงสมาชิก สนช. ยังก่ำกึ่งกันอยู่ ระหว่างเสียงถอดถอนกับไม่ถอดถอน โดยฝ่ายที่ลงมติไม่ถอดถอน มองว่าเป็นกรณีเดียวกับ 4 สำนวนที่ สนช. เคยมีมติไม่ถอดถอนไปแล้ว นั่นคือกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เป็นต้น
ขณะที่ฝ่ายที่จะลงมติถอดถอนนั้น มองว่า กรณีนายอุดมเดช ไม่น่าจะเทียบเคียงกับ 4 สำนวนดังกล่าวได้ แม้นายอุดมเดช จะอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงร่างกฎหมายก่อนบรรจุระเบียบวาระ สามารถทำได้ เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสภาเกือบทุกสมัย แต่ สนช.ฝ่ายนี้ มองว่า ร่างกฎหมายที่นายอุดมเดชเปลี่ยนแปลง มีการแก้ไขหลักการสำคัญที่เปิดทางให้ ส.ว.ที่หมดวาระ สามารถลงเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องเว้นวรรค 2 ปีมาด้วย ดังนั้น ทิศทางการลงมติของกรณีนายอุดมเดช นั้น ยังไม่ชัดเจน จึงอยู่ที่ว่า จะมีการล็อบบี้ให้ออกเสียงไปในทางหนึ่งทางใด หรือไม่