นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการปรับแก้คำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญ ว่าคาดว่าวันนี้ (1 พ.ย.) คณะรัฐมนตรีจะส่งหนังสือคำวินิจฉัยของศาลรธน. มายัง กรธ. และกรธ. ก็จะส่งมอบร่างรธน.ที่ปรับแก้แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน ซึ่งยังอยู่ในช่วงระยะเวลา 30 วัน ของรัฐบาลในการพิจารณาร่างรธน. ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามระยะเวลาที่รธน.ชั่วคราว 2557 กำหนด
ส่วนความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมืองนั้น ขณะนี้ได้เดินหน้าไปเกินครึ่ง คาดว่าจะเขียนเสร็จสมบูรณ์ภายในสัปดาห์นี้ และจะเริ่มยกร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในสัปดาห์หน้า โดยต้องทำกฎหมายสองฉบับนี้ควบคู่กันให้เสร็จภายในเดือนพ.ย.นี้ ทั้งนี้การเขียนบทเฉพาะกาลของกฎหมายพรรคการเมือง ต้องรอให้เขียนตัวบทกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน เพื่อเขียนบทเฉพาะกาลให้รองรับกับกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อที่พรรคการเมืองจะได้ มีเวลา และไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจากกฎหมายที่เขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่งถ้าคุณสมบัติของสมาชิกผิดแปลกไปจากกฎหมายเดิม ก็ต้องเขียนในบทเฉพาะกาล ว่าพรรคการเมืองต้องทำอย่างไรกับสมาชิก ภายในระยะเวลาเท่าไร รวมถึงคุณสมบัติของกรรมการบริหารพรรคด้วย ซึ่งสำหรับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.ป. ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ จะมีรูปแบบเวทีใกล้เคียงกับการลงพื้นที่ชี้แจงร่าง รธน. โดยแยกการรับฟังความเห็นเป็นกลุ่มต่อกฎหมายหนึ่งฉบับ ทั้งนี้ พรรคการเมืองยังสามารถเสนอความคิดเห็นหลังจากที่ กรธ.ส่งกฎหมายให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ได้
ทั้งนี้ ทางกรธ. ร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับรธน. ที่จะประกาศใช้ โดยยึดหลักให้การเมืองเป็นที่พึ่งของประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วม ขจัดคนทุจริต เช่น การซื้อขายตำแหน่งในพรรคการเมืองบางพรรค ส.ส.ที่อยากเป็นรัฐมนตรีต้องนำเงินไปให้หัวหน้าพรรค กรธ.จึงเขียนห้ามไว้และกำหนดโทษผู้ขายตำแหน่งสูงถึงประหารชีวิต และเอาผิดกับผู้ที่ให้เงินด้วย ส่วนกลไกการตรวจสอบจะเขียนไว้ในพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. และพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ยืนยันไม่ได้เขียนกฎหมายเฉพาะเจาะจงกับพรรคการเมืองใด
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงกรณีการปรับปรุงคำปรารภของร่างรธน.ว่า ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า ขณะนี้เราอยู่ในสถานการณ์ไหน โดยรธน.จะเสร็จตามกำหนด 30 วัน โดยครบกำหนดในวันที่ 9 พ.ย. และก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯไปภายในเวลาที่กำหนด จากนั้นพระองค์ท่านก็จะไปพิจารณาอีก 90 วัน ก็จะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งในส่วนของศาลรธน.เขาก็ชี้แจงมาแล้วว่า สามารถแก้ไขคำปรารภได้ เพราะมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และพระปรมาภิไธย ก็ต้องเปลี่ยนแปลง แต่สาระสำคัญก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะทำมาแล้ว ก็ไปรอดูแล้วกันอย่าไปกังวล ยังไงก็ได้ใช้แน่
---------
ส่วนความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมืองนั้น ขณะนี้ได้เดินหน้าไปเกินครึ่ง คาดว่าจะเขียนเสร็จสมบูรณ์ภายในสัปดาห์นี้ และจะเริ่มยกร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในสัปดาห์หน้า โดยต้องทำกฎหมายสองฉบับนี้ควบคู่กันให้เสร็จภายในเดือนพ.ย.นี้ ทั้งนี้การเขียนบทเฉพาะกาลของกฎหมายพรรคการเมือง ต้องรอให้เขียนตัวบทกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน เพื่อเขียนบทเฉพาะกาลให้รองรับกับกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อที่พรรคการเมืองจะได้ มีเวลา และไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจากกฎหมายที่เขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่งถ้าคุณสมบัติของสมาชิกผิดแปลกไปจากกฎหมายเดิม ก็ต้องเขียนในบทเฉพาะกาล ว่าพรรคการเมืองต้องทำอย่างไรกับสมาชิก ภายในระยะเวลาเท่าไร รวมถึงคุณสมบัติของกรรมการบริหารพรรคด้วย ซึ่งสำหรับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พ.ร.ป. ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ จะมีรูปแบบเวทีใกล้เคียงกับการลงพื้นที่ชี้แจงร่าง รธน. โดยแยกการรับฟังความเห็นเป็นกลุ่มต่อกฎหมายหนึ่งฉบับ ทั้งนี้ พรรคการเมืองยังสามารถเสนอความคิดเห็นหลังจากที่ กรธ.ส่งกฎหมายให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ได้
ทั้งนี้ ทางกรธ. ร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับรธน. ที่จะประกาศใช้ โดยยึดหลักให้การเมืองเป็นที่พึ่งของประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วม ขจัดคนทุจริต เช่น การซื้อขายตำแหน่งในพรรคการเมืองบางพรรค ส.ส.ที่อยากเป็นรัฐมนตรีต้องนำเงินไปให้หัวหน้าพรรค กรธ.จึงเขียนห้ามไว้และกำหนดโทษผู้ขายตำแหน่งสูงถึงประหารชีวิต และเอาผิดกับผู้ที่ให้เงินด้วย ส่วนกลไกการตรวจสอบจะเขียนไว้ในพ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. และพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ยืนยันไม่ได้เขียนกฎหมายเฉพาะเจาะจงกับพรรคการเมืองใด
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงกรณีการปรับปรุงคำปรารภของร่างรธน.ว่า ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า ขณะนี้เราอยู่ในสถานการณ์ไหน โดยรธน.จะเสร็จตามกำหนด 30 วัน โดยครบกำหนดในวันที่ 9 พ.ย. และก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯไปภายในเวลาที่กำหนด จากนั้นพระองค์ท่านก็จะไปพิจารณาอีก 90 วัน ก็จะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งในส่วนของศาลรธน.เขาก็ชี้แจงมาแล้วว่า สามารถแก้ไขคำปรารภได้ เพราะมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และพระปรมาภิไธย ก็ต้องเปลี่ยนแปลง แต่สาระสำคัญก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะทำมาแล้ว ก็ไปรอดูแล้วกันอย่าไปกังวล ยังไงก็ได้ใช้แน่
---------