นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ผู้ที่จะเสนอชื่อนายกฯได้นั้น จะต้องเป็นส.ส. และชื่อที่จะเสนอได้ จะต้องเป็นชื่อที่พรรคการเมืองได้เสนอไว้ก่อนการเลือกตั้ง โดยในเวลาที่จะโหวตเลือกนั้น ส.ส และส.ว จะโหวตร่วมกัน เป็นสมาชิกรัฐสภา ผู้ที่ได้เสียงข้างมากจะเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ถ้าไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากเพื่อโหวตเลือกนายกฯได้ ก็จะต้องมีการเข้าชื่อ เพื่อยกเว้นกติกาการเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อ 3 ชื่อ ของพรรคการเมือง ซึ่งการเข้าชื่อเพื่อขอให้ยกเว้นนั้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะของเดิม กรธ.เขียนว่า ให้ส.ส.เป็นผู้ขอเข้าชื่อได้เท่านั้น โดยใช้เสียงส.ส.จำนวน 2 ใน 3 ของรัฐสภา เสนอเข้าชื่อ จึงจะสามารถใช้ข้อยกเว้นได้ แต่สิ่งที่ศาลรธน. ได้วินิจฉัยมานั้น บอกถึงการเข้าชื่อว่า ในเมื่อส.ว.มีส่วนร่วมเลือกนายกฯ ดังนั้นส.ว.ก็ควรมีสิทธิเสนอให้เข้าชื่อได้ด้วย โดยให้มีจำนวนเสียงของผู้เข้าชื่อทั้งส.ส.และ ส.ว.เป็นเสียงข้างมาก จึงจะสามารถใช้ข้อยกเว้นได้
นายมีชัย กล่าวยืนยันว่า อย่างไรส.ว.ก็ไม่อาจจะเสนอชื่อนายกฯได้ ต้องให้ส.ส.เป็นผู้เสนอชื่อ แต่อย่างไรก็ตามศาลรธน. ยังได้วินิจฉัยไปถึงเรื่องระยะเวลาในการใช้ข้อยกเว้นดังกล่าว ซึ่งจากเดิมกรธ.ได้เขียนไว้ว่า ในวาระเริ่มแรกให้สามารถใช้ข้อยกเว้นได้ ซึ่งแปลว่า สภาชุดแรก ถ้าสภาชุดแรกอยู่แค่ 4 ปี ก็คือสามารถใช้ข้อยกเว้นนี้ได้แค่ 4 ปี เท่านั้น ซึ่งศาลรธน.วินิจฉัยว่า ข้อยกเว้นนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการดูแลเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นจึงเห็นควรให้ใช้ข้อยกเว้นให้เลือกนายกฯ นอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีการยุบสภา หรือมีการเปลี่ยนรัฐบาล หรือเปลี่ยนตัวนายกฯ กี่ครั้งก็ตาม
เมื่อถามว่า ทำไม กรธ.ถึงไม่บัญญัติข้อยกเว้นให้มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ก่อนจะส่งไปให้ศาลรธน.ตีความ นายมีชัย กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าระยะเวลาเปลี่ยนผ่านนั้นควรจะอยู่แค่ในการเลือกตั้งส.ส.เพียงแค่ครั้งแรกเท่านั้น การเลือกตั้งในครั้งต่อมา ควรจะใช้หลักการตามปกติ แต่ว่าเมื่อศาลรธน. ได้วินิจฉัยว่า ข้อยกเว้นควรจะมีระยะเวลา 5 ปี กรธ.ก็พร้อมจะปฏิบัติตาม
อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่ามีการตีความคำถามพ่วงกันไปคนละอย่าง ระหว่าง กรธ. กับแม่น้ำสายอื่น
เมื่อถามความเห็นว่า ข้อยกเว้นนี้จะทำให้มีนายกฯ ที่มาจากนอกบัญชีรายชื่อ มีอำนาจถึง 8 ปี ได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่คิดแบบนั้น แม้จะมีข้อยกเว้น แต่เสียงข้างมากของรัฐสภา ก็อาจจะเลือกนายกฯ ที่มาจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ก็ได้
นายมีชัย กล่าวต่อถึงเรื่องระยะเวลาหลังจากนี้ว่า กรธ. จะมีการแก้ไขร่างรธน.ใช้เวลา 14 วัน เพราะเสียเวลาไปแล้ว 1 วัน เมื่อวันที่ 28 ก.ย. หลังจากนั้น ก็ต้องส่งไปให้นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และลงพระปรมาภิไธย ก็จะใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วัน
เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ดังนั้นร่างรธน. จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพ.ย.นี้ ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ก็น่าจะเป็นได้
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ให้เพิ่มสิทธิ์ ส.ว.สรรหาเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่สนช.ตีความว่า เดิมสนช.เห็นว่าเมื่อประชาชนเห็นชอบประชามติคำถามพ่วง เรื่องให้รัฐสภามีส่วนกับกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯ ช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี กระบวนการดังกล่าวก็ต้องเป็นหน้าที่ของทั้ง ส.ส.และส.ว. แต่มีความคลาดเคลื่อนเข้าใจว่า สนช.ต้องการให้ส.ว. มีสิทธิ์เสนอชื่อนายกฯ และอาจมีส่วนได้เสีย จนถูกโจมตีว่าตีความเกินเลย
ดังนั้น เมื่อศาลรธน. มีคำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ ถือว่าจบ ไม่ใช่เรื่องยอมถอย หรือไม่ถอย แต่ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ ซึ่งก็สอดคล้องตรงกับความเห็น สนช. ในข้อแรก เรื่องการงดเว้นบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรคการเมือง ตามที่ร่างรธน. กำหนดให้เป็น 2 ขยัก โดยขยักแรกเป็นอำนาจของส.ส. แต่หาก ส.ส.เลือกนายกฯ ตามบัญชีไม่ได้ ศาลรธน. ก็ชี้ว่าต้องเป็นเรื่องของทั้งส.ส. และส.ว. ในการเข้าชื่อกันเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา เพื่อขอมติ 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา สำหรับงดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชี
ส่วนคำวินิจฉัยข้อ 2 เรื่องนิยามคำว่า "วาระเริ่มแรก 5 ปี" ตามมาตรา 272 ที่ สนช.เคยตั้งข้อสังเกตุว่า อาจนำไปสู่ปัญหาการตีความกันภายหลังรธน.ประกาศใช้ ว่า หมายถึง งดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีได้เพียงครั้งเดียว โดยดูตามวาระของสมาชิกรัฐสภา หรืองดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีกี่ครั้งก็ได้ ภายใน 5 ปีนั้น ศาลรธน. ก็วินิจฉัยสอดคล้องกับการตีความของ สนช.ว่า การงดเว้นเลือกนายกฯนอกบัญชี ทำกี่ครั้งก็ได้ ภายใน 5 ปี เราจะพบได้ว่า เหตุผลของคำวินิจฉัยที่ยกมาอ้างเป็นหลักคือ กลไกการปฏิรูปช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ว่า มีความสำคัญ การเมืองช่วงนั้นต้องนิ่ง ส่วนข้อสังเกตุว่าคำวินิจฉัยศาลรธน. จะเอื้อให้มีนายกฯ คนนอกง่ายขึ้นนั้น ตนมองกลับกันว่า น่าจะเกิดได้ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะส.ส.กับ ส.ว. ต้องมาคุยกันให้มากขึ้น
แต่ถ้าไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากเพื่อโหวตเลือกนายกฯได้ ก็จะต้องมีการเข้าชื่อ เพื่อยกเว้นกติกาการเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อ 3 ชื่อ ของพรรคการเมือง ซึ่งการเข้าชื่อเพื่อขอให้ยกเว้นนั้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะของเดิม กรธ.เขียนว่า ให้ส.ส.เป็นผู้ขอเข้าชื่อได้เท่านั้น โดยใช้เสียงส.ส.จำนวน 2 ใน 3 ของรัฐสภา เสนอเข้าชื่อ จึงจะสามารถใช้ข้อยกเว้นได้ แต่สิ่งที่ศาลรธน. ได้วินิจฉัยมานั้น บอกถึงการเข้าชื่อว่า ในเมื่อส.ว.มีส่วนร่วมเลือกนายกฯ ดังนั้นส.ว.ก็ควรมีสิทธิเสนอให้เข้าชื่อได้ด้วย โดยให้มีจำนวนเสียงของผู้เข้าชื่อทั้งส.ส.และ ส.ว.เป็นเสียงข้างมาก จึงจะสามารถใช้ข้อยกเว้นได้
นายมีชัย กล่าวยืนยันว่า อย่างไรส.ว.ก็ไม่อาจจะเสนอชื่อนายกฯได้ ต้องให้ส.ส.เป็นผู้เสนอชื่อ แต่อย่างไรก็ตามศาลรธน. ยังได้วินิจฉัยไปถึงเรื่องระยะเวลาในการใช้ข้อยกเว้นดังกล่าว ซึ่งจากเดิมกรธ.ได้เขียนไว้ว่า ในวาระเริ่มแรกให้สามารถใช้ข้อยกเว้นได้ ซึ่งแปลว่า สภาชุดแรก ถ้าสภาชุดแรกอยู่แค่ 4 ปี ก็คือสามารถใช้ข้อยกเว้นนี้ได้แค่ 4 ปี เท่านั้น ซึ่งศาลรธน.วินิจฉัยว่า ข้อยกเว้นนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการดูแลเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นจึงเห็นควรให้ใช้ข้อยกเว้นให้เลือกนายกฯ นอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีการยุบสภา หรือมีการเปลี่ยนรัฐบาล หรือเปลี่ยนตัวนายกฯ กี่ครั้งก็ตาม
เมื่อถามว่า ทำไม กรธ.ถึงไม่บัญญัติข้อยกเว้นให้มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ก่อนจะส่งไปให้ศาลรธน.ตีความ นายมีชัย กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าระยะเวลาเปลี่ยนผ่านนั้นควรจะอยู่แค่ในการเลือกตั้งส.ส.เพียงแค่ครั้งแรกเท่านั้น การเลือกตั้งในครั้งต่อมา ควรจะใช้หลักการตามปกติ แต่ว่าเมื่อศาลรธน. ได้วินิจฉัยว่า ข้อยกเว้นควรจะมีระยะเวลา 5 ปี กรธ.ก็พร้อมจะปฏิบัติตาม
อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่ามีการตีความคำถามพ่วงกันไปคนละอย่าง ระหว่าง กรธ. กับแม่น้ำสายอื่น
เมื่อถามความเห็นว่า ข้อยกเว้นนี้จะทำให้มีนายกฯ ที่มาจากนอกบัญชีรายชื่อ มีอำนาจถึง 8 ปี ได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตนไม่คิดแบบนั้น แม้จะมีข้อยกเว้น แต่เสียงข้างมากของรัฐสภา ก็อาจจะเลือกนายกฯ ที่มาจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ก็ได้
นายมีชัย กล่าวต่อถึงเรื่องระยะเวลาหลังจากนี้ว่า กรธ. จะมีการแก้ไขร่างรธน.ใช้เวลา 14 วัน เพราะเสียเวลาไปแล้ว 1 วัน เมื่อวันที่ 28 ก.ย. หลังจากนั้น ก็ต้องส่งไปให้นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และลงพระปรมาภิไธย ก็จะใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วัน
เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ดังนั้นร่างรธน. จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพ.ย.นี้ ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ก็น่าจะเป็นได้
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ให้เพิ่มสิทธิ์ ส.ว.สรรหาเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่สนช.ตีความว่า เดิมสนช.เห็นว่าเมื่อประชาชนเห็นชอบประชามติคำถามพ่วง เรื่องให้รัฐสภามีส่วนกับกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯ ช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี กระบวนการดังกล่าวก็ต้องเป็นหน้าที่ของทั้ง ส.ส.และส.ว. แต่มีความคลาดเคลื่อนเข้าใจว่า สนช.ต้องการให้ส.ว. มีสิทธิ์เสนอชื่อนายกฯ และอาจมีส่วนได้เสีย จนถูกโจมตีว่าตีความเกินเลย
ดังนั้น เมื่อศาลรธน. มีคำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ ถือว่าจบ ไม่ใช่เรื่องยอมถอย หรือไม่ถอย แต่ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ ซึ่งก็สอดคล้องตรงกับความเห็น สนช. ในข้อแรก เรื่องการงดเว้นบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรคการเมือง ตามที่ร่างรธน. กำหนดให้เป็น 2 ขยัก โดยขยักแรกเป็นอำนาจของส.ส. แต่หาก ส.ส.เลือกนายกฯ ตามบัญชีไม่ได้ ศาลรธน. ก็ชี้ว่าต้องเป็นเรื่องของทั้งส.ส. และส.ว. ในการเข้าชื่อกันเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา เพื่อขอมติ 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา สำหรับงดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชี
ส่วนคำวินิจฉัยข้อ 2 เรื่องนิยามคำว่า "วาระเริ่มแรก 5 ปี" ตามมาตรา 272 ที่ สนช.เคยตั้งข้อสังเกตุว่า อาจนำไปสู่ปัญหาการตีความกันภายหลังรธน.ประกาศใช้ ว่า หมายถึง งดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีได้เพียงครั้งเดียว โดยดูตามวาระของสมาชิกรัฐสภา หรืองดเว้นการเลือกนายกฯ ตามบัญชีกี่ครั้งก็ได้ ภายใน 5 ปีนั้น ศาลรธน. ก็วินิจฉัยสอดคล้องกับการตีความของ สนช.ว่า การงดเว้นเลือกนายกฯนอกบัญชี ทำกี่ครั้งก็ได้ ภายใน 5 ปี เราจะพบได้ว่า เหตุผลของคำวินิจฉัยที่ยกมาอ้างเป็นหลักคือ กลไกการปฏิรูปช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ว่า มีความสำคัญ การเมืองช่วงนั้นต้องนิ่ง ส่วนข้อสังเกตุว่าคำวินิจฉัยศาลรธน. จะเอื้อให้มีนายกฯ คนนอกง่ายขึ้นนั้น ตนมองกลับกันว่า น่าจะเกิดได้ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะส.ส.กับ ส.ว. ต้องมาคุยกันให้มากขึ้น