ท่ามกลางความเงียบเหงาเศร้าโศกของคนไทยทั้งชาติ ขออนุญาตใช้คอลัมน์นี้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นเทียนส่องทางอย่างไร เทียนส่องทางในที่นี้มิได้หมายถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อแผ่นดินไทยโดยทั่วไปตลอดรัชกาล หากเป็นแนวคิดทางด้านวิชาการที่พาผมออกจากทางตันพร้อมยืนยันว่าการดำเนินชีวิตที่ทำอยู่นั้นถูกต้อง
ขอเรียนว่าผมเกิดก่อนพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเวลาปีกว่า และต่อมาได้ใช้เวลาอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่จำความได้มาจนถึงวันนี้เมืองไทยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวและไม่ว่าจะไปอยู่ ณ แผ่นดินใดผมยังปฏิบัติตนเป็นคนไทย ถือหนังสือเดินทางไทย กลับมาใช้เวลาในเมืองไทยเป็นประจำและมีความจงรักภักดีเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป
ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศเพื่อการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน แม้จะอาศัยอยู่ในประเทศก้าวหน้าเป็นส่วนใหญ่ และมีโอกาสศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นนำของเขาเป็นเวลานาน แต่หลังเวลาผ่านไปผมพบว่าไม่สามารถหาคำตอบให้ตัวเองแบบจุใจได้ทั้งในด้านวิชาการและด้านส่วนตัว ผมมาได้คำตอบแบบจุใจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จากมุมมองนี้ พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นเป็นพิเศษต่อผม และเมื่อพระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย ผมจึงรู้สึกเศร้าและวังเวงใจไม่น้อยกว่าคนไทยทุกคนที่รักพระองค์อย่างสุดซึ้ง
ขอเรียนว่าผมมิได้โชคดีจนมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด หรือได้ฟังพระกระแสรับสั่งโดยตรงแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะผมเกิดในทุ่งนาและมิได้เคยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซ้ำร้ายยังไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเสียนานอีกด้วย โอกาสที่ผมได้เข้าใกล้พระองค์ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อตอนต้นปี 2498 เมื่อพระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อันเป็นบ้านเกิดของผม แม่ผมเป็นหนึ่งในจำนวนชาวไร่ชาวนาที่พากันไปเฝ้ารับเสด็จ ณ สนามหญ้าหน้าโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ตอนนั้นผมอายุ 10 ขวบและโชคดีที่แม่พาไปด้วย
ผมได้เห็นความมหัศจรรย์ในวันนั้นคือ พระองค์เสด็จในช่วงฤดูแล้งหญ้าในสนามตายไปมากแล้ว สนามจึงกลายเป็นแปลงฝุ่นบ้างเป็นบางส่วน วันนั้นอากาศร้อนอบอ้าวทำให้ประชาชนที่ไปเฝ้ารอรับเสด็จเหงื่อไหลไคลย้อยไปตามๆ กัน พร้อมกันนั้นก็ต้องหายใจเอาฝุ่นเข้าไปด้วย แต่อยู่ๆ ฝนก็โปรยลงมาทั้งที่ท้องฟ้าไม่มีเค้าฝน ฝนโปรยอยู่ไม่กี่นาทีก็หายไปส่งผลให้ฝุ่นหยุดลอยฟุ้ง พร้อมกันนั้นความอบอ้าวก็ลดลงด้วยเพียงไม่นานพระราชรถก็ปรากฏตัว ตอนสองพระองค์ทรงดำเนินผ่านอย่างช้าๆ ผมโชคดีที่อยู่ห่างไม่กี่วา จึงมองเห็นพระวรกายของพระองค์ได้ทั้งหมด
นั่นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ผมมีโอกาสได้เห็นพระองค์ในระยะไม่ห่างนัก จริงอยู่ ย้อนไปเมื่อหลายทศวรรษก่อน เยาวชนไทยผู้มีโอกาสเรียนจบมหาวิทยาลัยจะได้รับใบปริญญาจากพระหัตถ์ของพระองค์โดยตรง ทุกคนถือว่านั่นเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต แต่ผมไม่มีโอกาสเรียนจนจบปริญญาในเมืองไทย จึงไม่มีความโชคดีเช่นผู้เรียนจนจบปริญญาทั้งหลายในรุ่นนั้น
เนื่องจากผมเรียนจบปริญญาทางวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเน้นทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ผมจึงเริ่มทำงานกับธนาคารพัฒนาเอเซียและไปต่อที่ธนาคารโลก การได้เรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศก้าวหน้าและทำงานทางด้านพัฒนาเศรษฐกิจเปิดโอกาสให้ได้เรียนและมีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักในการพัฒนาประเทศในระดับสนามอย่างแท้จริง
การทำงานนำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและผมได้เห็นการใช้แนวคิดระบบตลาดเสรีในประเทศต่างๆ ในหลายส่วนของโลกเพิ่มขึ้น ผมเริ่มเกิดความไม่มั่นใจว่าระบบตลาดเสรีในแนวที่ใช้กันอยู่นั้นจะแก้ปัญหาทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจได้ แต่ผมไม่มีเวลาที่จะไปค้นหาว่าจะมีทางออกหรือไม่และถ้ามีคืออะไร การตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นทำให้ผมอึดอัดใจมาก ผมจึงรีบเกษียณก่อนกำหนดเวลาทันทีเมื่อมีโอกาสทั้งที่ยังไม่พร้อมในบางด้าน หากมองจากการปฏิบัติของผู้เกษียณจากงานโดยทั่วไป
ผมเกษียณจากธนาคารโลกในช่วงที่เมืองไทยตกอยู่ในภาวะที่มักเรียกกันว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ก่อนทำอะไรต่อไป ผมกลับมาเรียนการเขียนภาษาไทยอย่างจริงจังอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี อันเป็นสถาบันที่ผมเรียนวิชาครูเมื่อครั้งที่สถาบันนี้ยังมีสถานะเป็นวิทยาลัยครู ในคืนวันที่ 4 ธันวาคม2541 ผมมีโอกาสดูโทรทัศน์ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานวโรกาสให้คนไทยในระดับผู้นำเข้าเฝ้า คืนนั้น ผมได้ฟังพระองค์ตรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรกและทราบว่านั่นเป็นการอรรถาธิบาย หรือให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวคิดที่พระองค์ทรงอ้างถึงครั้งหนึ่งแล้วเมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540
พระราชดำรัสที่ผมได้ฟังในคืนนั้นกระตุ้นความสนใจให้ผมนำไปคิดต่อ ผมถึง “บางอ้อ” เพียงไม่นานในเวลาต่อมา กล่าวคือ ผมเห็นว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นคำตอบสำหรับโจทย์ของผมที่ว่าแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาของชาวโลกได้อีกต่อไปแล้ว ผมนำความเข้าใจในตอนนั้นมาเขียนเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาด 72 หน้าโดยตั้งชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง : ภูมิปัญญาชาติไทย”
หลังหนังสือพิมพ์ออกมา ผมพยายามศึกษาหาความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งในแก่นของความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทของโลกปัจจุบัน ในการศึกษาหาความรู้นั้น ผมได้ข้อมูลและมุมมองเพิ่มขึ้นพร้อมกับมีผู้สนับสนุนให้นำมาเผยแพร่เพิ่มขึ้นด้วยการเผยแพร่ทำผ่านการบรรยาย และการเขียนบทความตามสื่อและหนังสือ 4 เล่มคือเรื่อง “โต้คลื่นลูกที่ 4 : เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ” เรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน : แนวทางลดความเสี่ยงเพื่อสร้างสังคมสันติสุข” เรื่อง “ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู” และเรื่อง “ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย” เนื้อหาของ 3 เล่มแรกเป็นการอธิบายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหลังจากผมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น เล่มหลังจึงมีเนื้อหาสมบูรณ์กว่าเล่มก่อน ส่วนเรื่อง “ทางข้ามเหว” เป็นการรวมบทความซึ่งเคยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ” เนื้อหาเป็นการเสนอว่าถ้ารัฐบาลต้องการใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศ รัฐบาลอาจเริ่มอย่างไร เรื่องนี้และเรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน” อาจดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินจากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักในปัจจุบันได้แก่ระบบตลาดเสรีที่ใช้กันอยู่ทั่วไปโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในด้านการประยุกต์ใช้ ซึ่งมักมีการวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำสนับสนุน แนวคิดนี้พบทางตันด้วยสภาวการณ์สำคัญยิ่งคือ ชาวอเมริกันต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นผ่านการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ในขณะที่ทรัพยากรของโลกกำลังร่อยหรอลง พร้อมกันนั้น ประชากรโลกก็เพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่ต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับชาวอเมริกัน การเดินสวนทางกันของการใช้และการมีอยู่ของทรัพยากรนี้ มีผลทำให้เกิดความขัดแย้งร้ายแรงและการแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นจนถึงเป็นสงคราม เหตุการณ์ในย่านตะวันออกกลางเป็นตัวอย่างสดที่เห็นกันอยู่
การพบทางตันนี้เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชั้นนำมองเห็นแล้ว แต่พวกเขายังค้นไม่พบว่าทางออกคืออะไรนอกจาก Jeffrey Sachs ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทที่ 9 ของหนังสือของเขาเรื่อง The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity อาจเป็นที่ทราบกันแล้วว่า Jeffrey Sachs เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนามานาน ส่วนหนึ่งผ่านการเป็นที่ปรึกษาขององค์การระหว่างประเทศเช่นธนาคารโลก บทที่ 9 ในหนังสือของเขาเสนอแนวคิดที่คนไทยเราส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่แล้ว นั่นคือ ความมีสติและทางสายกลาง อย่างไรก็ดี สิ่งที่เขาเสนอยังไม่ครอบคลุมเท่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หนังสือของเขาพิมพ์เมื่อปี 2554 ในขณะนี้เขาคงมีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม และอีกไม่นานอาจเขียนอะไรที่ขยายบทที่ 9 ออกมาให้เราอ่านกันอีก
ณ วันนี้ ผมมองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอดูว่าชาวอเมริกันจะเสนออะไรต่อไป เพราะผมแน่ใจเต็มร้อยแล้วว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงสว่างสองทางให้เดินพ้นทางตันของวิชาเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาแล้วสำหรับในด้านส่วนตัวที่ผมเกริ่นไว้ในตอนต้น ผมเกษียณจากงานในธนาคารโลกในช่วงที่ยังมีภาระแสนสำคัญอันได้แก่การส่งลูกๆ ให้เรียนหนังสือ แม้จะได้วางแผนไว้ว่าจะยังคงใช้หลักการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจริงๆ ลงอีก แต่ผมไม่ถึงกับแน่ใจเต็มร้อยว่าจะทำหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัวได้อย่างครบถ้วนหรือไม่จากรายได้เพียงทางเดียวคือบำนาญจากธนาคารโลก หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้อย่างเคร่งครัด ผมสามารถส่งลูกให้เรียนจนจบมหาวิทยาลัยและออกดำเนินชีวิตได้ตามแนวที่พวกเขาปรารถนา ผมจึงแน่ใจเต็มร้อยว่าการเกษียณก่อนกำหนดเวลา และการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายในช่วงต่อมาของผมนั้นถูกต้องแล้ว
ทุกอย่างที่ผมนำมาอ้างนี้ก็เพื่อจะชี้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยทรงเป็นแสงเทียนที่ส่องให้ผมผ่าทางตันทางวิชาการ พร้อมกับยืนยันว่าการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายนั้นมีรากฐานมั่นคงและทำได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้ผลดี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผมแบบเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
ขอเรียนว่าผมเกิดก่อนพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเวลาปีกว่า และต่อมาได้ใช้เวลาอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่จำความได้มาจนถึงวันนี้เมืองไทยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวและไม่ว่าจะไปอยู่ ณ แผ่นดินใดผมยังปฏิบัติตนเป็นคนไทย ถือหนังสือเดินทางไทย กลับมาใช้เวลาในเมืองไทยเป็นประจำและมีความจงรักภักดีเป็นที่ตั้งเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป
ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศเพื่อการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน แม้จะอาศัยอยู่ในประเทศก้าวหน้าเป็นส่วนใหญ่ และมีโอกาสศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นนำของเขาเป็นเวลานาน แต่หลังเวลาผ่านไปผมพบว่าไม่สามารถหาคำตอบให้ตัวเองแบบจุใจได้ทั้งในด้านวิชาการและด้านส่วนตัว ผมมาได้คำตอบแบบจุใจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จากมุมมองนี้ พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นเป็นพิเศษต่อผม และเมื่อพระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย ผมจึงรู้สึกเศร้าและวังเวงใจไม่น้อยกว่าคนไทยทุกคนที่รักพระองค์อย่างสุดซึ้ง
ขอเรียนว่าผมมิได้โชคดีจนมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด หรือได้ฟังพระกระแสรับสั่งโดยตรงแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะผมเกิดในทุ่งนาและมิได้เคยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซ้ำร้ายยังไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเสียนานอีกด้วย โอกาสที่ผมได้เข้าใกล้พระองค์ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อตอนต้นปี 2498 เมื่อพระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อันเป็นบ้านเกิดของผม แม่ผมเป็นหนึ่งในจำนวนชาวไร่ชาวนาที่พากันไปเฝ้ารับเสด็จ ณ สนามหญ้าหน้าโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ตอนนั้นผมอายุ 10 ขวบและโชคดีที่แม่พาไปด้วย
ผมได้เห็นความมหัศจรรย์ในวันนั้นคือ พระองค์เสด็จในช่วงฤดูแล้งหญ้าในสนามตายไปมากแล้ว สนามจึงกลายเป็นแปลงฝุ่นบ้างเป็นบางส่วน วันนั้นอากาศร้อนอบอ้าวทำให้ประชาชนที่ไปเฝ้ารอรับเสด็จเหงื่อไหลไคลย้อยไปตามๆ กัน พร้อมกันนั้นก็ต้องหายใจเอาฝุ่นเข้าไปด้วย แต่อยู่ๆ ฝนก็โปรยลงมาทั้งที่ท้องฟ้าไม่มีเค้าฝน ฝนโปรยอยู่ไม่กี่นาทีก็หายไปส่งผลให้ฝุ่นหยุดลอยฟุ้ง พร้อมกันนั้นความอบอ้าวก็ลดลงด้วยเพียงไม่นานพระราชรถก็ปรากฏตัว ตอนสองพระองค์ทรงดำเนินผ่านอย่างช้าๆ ผมโชคดีที่อยู่ห่างไม่กี่วา จึงมองเห็นพระวรกายของพระองค์ได้ทั้งหมด
นั่นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ผมมีโอกาสได้เห็นพระองค์ในระยะไม่ห่างนัก จริงอยู่ ย้อนไปเมื่อหลายทศวรรษก่อน เยาวชนไทยผู้มีโอกาสเรียนจบมหาวิทยาลัยจะได้รับใบปริญญาจากพระหัตถ์ของพระองค์โดยตรง ทุกคนถือว่านั่นเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต แต่ผมไม่มีโอกาสเรียนจนจบปริญญาในเมืองไทย จึงไม่มีความโชคดีเช่นผู้เรียนจนจบปริญญาทั้งหลายในรุ่นนั้น
เนื่องจากผมเรียนจบปริญญาทางวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเน้นทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ผมจึงเริ่มทำงานกับธนาคารพัฒนาเอเซียและไปต่อที่ธนาคารโลก การได้เรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศก้าวหน้าและทำงานทางด้านพัฒนาเศรษฐกิจเปิดโอกาสให้ได้เรียนและมีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักในการพัฒนาประเทศในระดับสนามอย่างแท้จริง
การทำงานนำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและผมได้เห็นการใช้แนวคิดระบบตลาดเสรีในประเทศต่างๆ ในหลายส่วนของโลกเพิ่มขึ้น ผมเริ่มเกิดความไม่มั่นใจว่าระบบตลาดเสรีในแนวที่ใช้กันอยู่นั้นจะแก้ปัญหาทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจได้ แต่ผมไม่มีเวลาที่จะไปค้นหาว่าจะมีทางออกหรือไม่และถ้ามีคืออะไร การตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นทำให้ผมอึดอัดใจมาก ผมจึงรีบเกษียณก่อนกำหนดเวลาทันทีเมื่อมีโอกาสทั้งที่ยังไม่พร้อมในบางด้าน หากมองจากการปฏิบัติของผู้เกษียณจากงานโดยทั่วไป
ผมเกษียณจากธนาคารโลกในช่วงที่เมืองไทยตกอยู่ในภาวะที่มักเรียกกันว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ก่อนทำอะไรต่อไป ผมกลับมาเรียนการเขียนภาษาไทยอย่างจริงจังอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี อันเป็นสถาบันที่ผมเรียนวิชาครูเมื่อครั้งที่สถาบันนี้ยังมีสถานะเป็นวิทยาลัยครู ในคืนวันที่ 4 ธันวาคม2541 ผมมีโอกาสดูโทรทัศน์ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานวโรกาสให้คนไทยในระดับผู้นำเข้าเฝ้า คืนนั้น ผมได้ฟังพระองค์ตรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรกและทราบว่านั่นเป็นการอรรถาธิบาย หรือให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวคิดที่พระองค์ทรงอ้างถึงครั้งหนึ่งแล้วเมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540
พระราชดำรัสที่ผมได้ฟังในคืนนั้นกระตุ้นความสนใจให้ผมนำไปคิดต่อ ผมถึง “บางอ้อ” เพียงไม่นานในเวลาต่อมา กล่าวคือ ผมเห็นว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นคำตอบสำหรับโจทย์ของผมที่ว่าแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาของชาวโลกได้อีกต่อไปแล้ว ผมนำความเข้าใจในตอนนั้นมาเขียนเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาด 72 หน้าโดยตั้งชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง : ภูมิปัญญาชาติไทย”
หลังหนังสือพิมพ์ออกมา ผมพยายามศึกษาหาความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งในแก่นของความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทของโลกปัจจุบัน ในการศึกษาหาความรู้นั้น ผมได้ข้อมูลและมุมมองเพิ่มขึ้นพร้อมกับมีผู้สนับสนุนให้นำมาเผยแพร่เพิ่มขึ้นด้วยการเผยแพร่ทำผ่านการบรรยาย และการเขียนบทความตามสื่อและหนังสือ 4 เล่มคือเรื่อง “โต้คลื่นลูกที่ 4 : เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ” เรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน : แนวทางลดความเสี่ยงเพื่อสร้างสังคมสันติสุข” เรื่อง “ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู” และเรื่อง “ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย” เนื้อหาของ 3 เล่มแรกเป็นการอธิบายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหลังจากผมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น เล่มหลังจึงมีเนื้อหาสมบูรณ์กว่าเล่มก่อน ส่วนเรื่อง “ทางข้ามเหว” เป็นการรวมบทความซึ่งเคยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ” เนื้อหาเป็นการเสนอว่าถ้ารัฐบาลต้องการใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศ รัฐบาลอาจเริ่มอย่างไร เรื่องนี้และเรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน” อาจดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินจากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักในปัจจุบันได้แก่ระบบตลาดเสรีที่ใช้กันอยู่ทั่วไปโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในด้านการประยุกต์ใช้ ซึ่งมักมีการวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำสนับสนุน แนวคิดนี้พบทางตันด้วยสภาวการณ์สำคัญยิ่งคือ ชาวอเมริกันต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นผ่านการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ในขณะที่ทรัพยากรของโลกกำลังร่อยหรอลง พร้อมกันนั้น ประชากรโลกก็เพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่ต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับชาวอเมริกัน การเดินสวนทางกันของการใช้และการมีอยู่ของทรัพยากรนี้ มีผลทำให้เกิดความขัดแย้งร้ายแรงและการแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นจนถึงเป็นสงคราม เหตุการณ์ในย่านตะวันออกกลางเป็นตัวอย่างสดที่เห็นกันอยู่
การพบทางตันนี้เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชั้นนำมองเห็นแล้ว แต่พวกเขายังค้นไม่พบว่าทางออกคืออะไรนอกจาก Jeffrey Sachs ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทที่ 9 ของหนังสือของเขาเรื่อง The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity อาจเป็นที่ทราบกันแล้วว่า Jeffrey Sachs เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนามานาน ส่วนหนึ่งผ่านการเป็นที่ปรึกษาขององค์การระหว่างประเทศเช่นธนาคารโลก บทที่ 9 ในหนังสือของเขาเสนอแนวคิดที่คนไทยเราส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่แล้ว นั่นคือ ความมีสติและทางสายกลาง อย่างไรก็ดี สิ่งที่เขาเสนอยังไม่ครอบคลุมเท่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หนังสือของเขาพิมพ์เมื่อปี 2554 ในขณะนี้เขาคงมีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม และอีกไม่นานอาจเขียนอะไรที่ขยายบทที่ 9 ออกมาให้เราอ่านกันอีก
ณ วันนี้ ผมมองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอดูว่าชาวอเมริกันจะเสนออะไรต่อไป เพราะผมแน่ใจเต็มร้อยแล้วว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงสว่างสองทางให้เดินพ้นทางตันของวิชาเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาแล้วสำหรับในด้านส่วนตัวที่ผมเกริ่นไว้ในตอนต้น ผมเกษียณจากงานในธนาคารโลกในช่วงที่ยังมีภาระแสนสำคัญอันได้แก่การส่งลูกๆ ให้เรียนหนังสือ แม้จะได้วางแผนไว้ว่าจะยังคงใช้หลักการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจริงๆ ลงอีก แต่ผมไม่ถึงกับแน่ใจเต็มร้อยว่าจะทำหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัวได้อย่างครบถ้วนหรือไม่จากรายได้เพียงทางเดียวคือบำนาญจากธนาคารโลก หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้อย่างเคร่งครัด ผมสามารถส่งลูกให้เรียนจนจบมหาวิทยาลัยและออกดำเนินชีวิตได้ตามแนวที่พวกเขาปรารถนา ผมจึงแน่ใจเต็มร้อยว่าการเกษียณก่อนกำหนดเวลา และการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายในช่วงต่อมาของผมนั้นถูกต้องแล้ว
ทุกอย่างที่ผมนำมาอ้างนี้ก็เพื่อจะชี้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยทรงเป็นแสงเทียนที่ส่องให้ผมผ่าทางตันทางวิชาการ พร้อมกับยืนยันว่าการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายนั้นมีรากฐานมั่นคงและทำได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้ผลดี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผมแบบเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง