คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดสัมมนา เรื่อง "โทษประหารชีวิต ลดการทำผิดหรือควรคิดใหม่ " เนื่องในวันยุติโทษประหารชีวิตสากล โดยนายวัส ติงสมิตร ประธานกสม. กล่าวเปิดการเสวนา ว่า สังคมไทยยังมีความสับสนในเรื่องนี้ มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน เมื่อมีคดีสะเทือนขวัญเกิดขึ้นก็จะมีการถกเถียงกัน การยกเลิกโทษประหารชีวิต จึงอยู่ที่กระแสสังคม ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้แถลงลดระดับการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อนำไปสู่การยกเลิกแล้ว และกสม. ก็ได้มีรายงานว่าควรยกเลิกโดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนในทางปฏิบัติ ได้มีการประหารชีวิตครั้งล่าสุด เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ก็ถือว่าใกล้ยกเลิกในทางปฏิบัติได้แล้ว
ขณะที่นางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย กล่าวว่า แม้น่าดีใจว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก ยุติโทษประหารชีวิตแล้ว ซึ่งในอาเซียน ก็มีกัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ก็น่าเสียใจในปีที่แล้วมี 20 ประเทศ ได้ใช้โทษประหารมากขึ้น ด้วยข้อหาก่อการร้าย ซึ่งหลายประเทศมีการปกปิดข้อมูลการพิจารณาต่อคดีโทษประหาร
ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความมุ่งหมายของโทษประหารมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อแก้แค้น เป็นความคิดดั้งเดิมของกฎหมายโรมัน ที่ยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน เมื่อมีการทำผิดเกิดขึ้น การจะปล่อยให้ญาติของเหยื่อลุกขึ้นมาทำร้ายผู้กระทำผิด ก็จะกลายเป็นความวุ่นวาย จึงให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการแทน 2. ประหารชีวิตให้คนกลัว จะได้ไม่กล้ากระทำผิด 3 . มาตรกรโหดเหี้ยม ประหารเสียได้ ก็จะได้ไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก เป็นการจำกัดออกจากสังคมให้ถาวร
ทั้ง 3 วัตถุประสงค์ มีงานวิจัยยืนยันว่าไม่สามารถทำให้คนกลัว แล้วไม่ทำผิด การกำจัดคนทำผิดออกไปจากสังคมยังไม่ถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักศาสนาของทุกศาสนา การฆ่ามนุษย์ถือเป็นบาปหนัก และไม่มีความหมายอะไรทางเศรษฐกิจเลย ไม่ได้ทำให้อาชญกรรมลดลง ซ้ำเป็นสูญเสียทรัพยากรมุนษย์อย่างมหันต์
นางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากการทำแบบสำรวจสอบถามประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิต และคิดว่าจะช่วยยับยั้งอาชญากรรมได้ ซึ่งต้องมีการศึกษากันต่อไป หากใช้แนวคิดตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็เป็นการสนับสนุนให้คนใช้ความรุนแรง การปรามอาชญากรรมนั้นพบว่า เมื่อศึกษาจากต่างประเทศเปรียบเทียบกัน พบว่ารัฐที่มีโทษประหาร มีสถิติอาชญากรรมสูง แต่ไม่มีโทษประหารสถิติอาชญากรรมกลับลดลง ในทางสากลบางประเทศให้โทษประหารทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด
ขณะที่ นายชาติชาย สุทธิกลม กสม. กล่าวว่าในสังคมไทยมองว่ายาเสพติดเป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้บทลงโทษรุนแรงมาตลอดมีข้อสังเกต 2 ประการ คือ 1. ผลประโยชน์จากการค้ายาเสพติด ที่เมื่อเน้นการปราบปรามมากขึ้น ก็ทำให้ราคายาเสพติดสูงขึ้น จึงมีคนเข้ามายอมเสี่ยงมากขึ้นเพราะผลประโยชน์ 2. การค้ายาเสพติดเป็นองค์กรอาชญากรรม คนที่เกี่ยวข้องระดับต่ำเสี่ยงมากที่สุด แต่นายทุนระดับสูง มีโอกาสรอดพ้นมากกว่า จะต้องประหารชีวิตคนระดับล่างกี่คน กว่าจะถึงระดับสูงตัวจริงเอามาลงโทษได้ ในเมื่อผลประโยชน์ของการว่าจ้างทำให้คนระดับล่างรับโทษแทน การประหารจึงยับยั้งยาเสพติดไม่ได้ และที่มีตัวเลขผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมาก ส่วนมากทำด้วยความรัก ความอยากร่ำรวย ฟุ้งเฟื้อ อยากให้ตนเอง ครอบครัวสบาย ซึ่งเมื่อถูกจับก็ต้องรับโทษเท่ากับผู้ขาย เพราะบทบัญญัติของกฎหมาย
ค่อนข้างแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ส่วนตัวเห็นว่าการจะยับยั้งให้ได้ผล ควรตัดทอนวงจรค้ายาเสพติดโดยการริบทรัพย์จากผลกำไรของนายทุนเหล่านั้น การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว จึงจะลดอาชญากรรมได้จริง พร้อมทั้งขจัดสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุอาชญากรรม จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด
ขณะที่นางปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย กล่าวว่า แม้น่าดีใจว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก ยุติโทษประหารชีวิตแล้ว ซึ่งในอาเซียน ก็มีกัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ก็น่าเสียใจในปีที่แล้วมี 20 ประเทศ ได้ใช้โทษประหารมากขึ้น ด้วยข้อหาก่อการร้าย ซึ่งหลายประเทศมีการปกปิดข้อมูลการพิจารณาต่อคดีโทษประหาร
ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความมุ่งหมายของโทษประหารมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อแก้แค้น เป็นความคิดดั้งเดิมของกฎหมายโรมัน ที่ยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน เมื่อมีการทำผิดเกิดขึ้น การจะปล่อยให้ญาติของเหยื่อลุกขึ้นมาทำร้ายผู้กระทำผิด ก็จะกลายเป็นความวุ่นวาย จึงให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการแทน 2. ประหารชีวิตให้คนกลัว จะได้ไม่กล้ากระทำผิด 3 . มาตรกรโหดเหี้ยม ประหารเสียได้ ก็จะได้ไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก เป็นการจำกัดออกจากสังคมให้ถาวร
ทั้ง 3 วัตถุประสงค์ มีงานวิจัยยืนยันว่าไม่สามารถทำให้คนกลัว แล้วไม่ทำผิด การกำจัดคนทำผิดออกไปจากสังคมยังไม่ถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักศาสนาของทุกศาสนา การฆ่ามนุษย์ถือเป็นบาปหนัก และไม่มีความหมายอะไรทางเศรษฐกิจเลย ไม่ได้ทำให้อาชญกรรมลดลง ซ้ำเป็นสูญเสียทรัพยากรมุนษย์อย่างมหันต์
นางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากการทำแบบสำรวจสอบถามประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิต และคิดว่าจะช่วยยับยั้งอาชญากรรมได้ ซึ่งต้องมีการศึกษากันต่อไป หากใช้แนวคิดตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็เป็นการสนับสนุนให้คนใช้ความรุนแรง การปรามอาชญากรรมนั้นพบว่า เมื่อศึกษาจากต่างประเทศเปรียบเทียบกัน พบว่ารัฐที่มีโทษประหาร มีสถิติอาชญากรรมสูง แต่ไม่มีโทษประหารสถิติอาชญากรรมกลับลดลง ในทางสากลบางประเทศให้โทษประหารทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด
ขณะที่ นายชาติชาย สุทธิกลม กสม. กล่าวว่าในสังคมไทยมองว่ายาเสพติดเป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้บทลงโทษรุนแรงมาตลอดมีข้อสังเกต 2 ประการ คือ 1. ผลประโยชน์จากการค้ายาเสพติด ที่เมื่อเน้นการปราบปรามมากขึ้น ก็ทำให้ราคายาเสพติดสูงขึ้น จึงมีคนเข้ามายอมเสี่ยงมากขึ้นเพราะผลประโยชน์ 2. การค้ายาเสพติดเป็นองค์กรอาชญากรรม คนที่เกี่ยวข้องระดับต่ำเสี่ยงมากที่สุด แต่นายทุนระดับสูง มีโอกาสรอดพ้นมากกว่า จะต้องประหารชีวิตคนระดับล่างกี่คน กว่าจะถึงระดับสูงตัวจริงเอามาลงโทษได้ ในเมื่อผลประโยชน์ของการว่าจ้างทำให้คนระดับล่างรับโทษแทน การประหารจึงยับยั้งยาเสพติดไม่ได้ และที่มีตัวเลขผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดมาก ส่วนมากทำด้วยความรัก ความอยากร่ำรวย ฟุ้งเฟื้อ อยากให้ตนเอง ครอบครัวสบาย ซึ่งเมื่อถูกจับก็ต้องรับโทษเท่ากับผู้ขาย เพราะบทบัญญัติของกฎหมาย
ค่อนข้างแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ส่วนตัวเห็นว่าการจะยับยั้งให้ได้ผล ควรตัดทอนวงจรค้ายาเสพติดโดยการริบทรัพย์จากผลกำไรของนายทุนเหล่านั้น การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว จึงจะลดอาชญากรรมได้จริง พร้อมทั้งขจัดสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุอาชญากรรม จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด