อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
และ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
และ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากกรณี นางสาวสารี อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ให้ข้อมูลที่ตรงกันข้ามกันเกี่ยวกับ คนนอกของกรรมการแพทยสภาในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความกระจ่างแก่ประชาชน ผู้เขียนจึงขอวิเคราะห์และรายงานให้ทราบดังนี้
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคณะล่ารายชื่อเชิญชวนให้ประชาชนลงชื่อสนับสนุนให้มีการแก้กฎหมายแพทยสภา เพื่อแก้องค์ประกอบของคณะกรรมการแพทยสภา ให้มีบุคคลภายนอก นักวิชาการ องค์กรผู้บริโภคที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ เพราะ ต้องการให้เกิดความโปร่งใส ยอมรับ และเป็นธรรม ในการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะ นางสาวสารี มองถึงปัญหาการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล
การเรียกร้องนี้ได้รับการต่อต้านจากแพทย์เป็นจำนวนมาก เพราะมองเห็นว่า หากมีการแก้กฎหมายตามข้อเรียกร้องนี้จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่วงการแพทย์และสุขภาพของประชาชนคนไทยทุกคน ด้วยเหตุผลหลักคือ แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพ มีหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของวิชาชีพแพทย์ แพทย์ทั้งหลายทราบดีว่าผู้ป่วยทุกรายจะมีความเสี่ยงจากการบริบาลทางแพทย์เสมอ หากหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ผลคือโอกาสพิการหรือเสียชีวิตจากโรคจะมีมากกว่า ความไม่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงนี้เป็นสาเหตุหลักที่สังคมไทยในปัจจุบันสร้างกระแสจนเกิดความพยายามจะเข้ามาควบคุมแพทยสภาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยกฎหมาย ซึ่งหากเกิดขึ้นแพทย์ไทยกังวลว่า ความพิการและการตายจากโรคจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ (เพราะแพทย์จะต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการบริบาลเป็นหลักแทนการรักษาให้หายจากโรค)
เหตุผลหนึ่งที่แพทย์ใช้ในการคัดค้านการแก้กฎหมายนี้คือ กรรมการแพทยสภาในประเทศอื่นก็เป็นแพทย์ ในประเทศไทยหากมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ต้องการ เช่น เรื่องกฎหมาย แพทยสภาก็จะมีคณะอนุกรรมการ หรือที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลที่ไม่ใช่ กรรมการแพทยสภาได้ เช่น นักกฎหมาย เป็นต้น
ในกรณีนี้ นางสาวสารีและคณะได้เขียนหนังสือชี้ชวน ว่า หลายประเทศมีบุคคลภายนอกแพทยสภา โดยเขียนว่า
- ประเทศอังกฤษมีบุคคลภายนอกหรือ laymanมากถึง 50%
- ออสเตรเลีย มีอาจารย์สาขาอื่นที่ไม่ใช่แพทย์จำนวน 4 คน จากกรรมการทั้งหมด 7 คน
- สิงคโปร์ มีคนนอกเกือบ 50% จำนวน 9 คน จาก19 คน
- อินโดนีเซีย มีตัวแทนองค์กรผู้บริโภคจำนวน 3 คนจาก 17 คน
- ฮ่องกง จำนวน 4 คน จาก 28 คน
- มาลาวี จำนวน 2-3 คน จาก14 คน
- นิวซีแลนด์ จำนวน 3 คน จาก11 คน
- แคนาดา จำนวน 3 คน จาก 48 คน
- ไอซ์แลนด์ จำนวน 4 คน จาก 24 คนเป็นต้น
เพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ มีคำให้สัมภาษณ์ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เผยแพร่ใน ไลน์และเฟซบุ๊ค สรุปได้ว่า ประเทศส่วนใหญ่ที่อาจารย์สมศักดิ์พูดคุยกับ กรรมการแพทยสภาในประเทศนั้น ๆ ในที่ประชุมวิชาการด้วย ประเทศนั้นๆ ไม่มีบุคคลภายนอก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด (เพื่อนของผู้เขียนได้บอกว่าประเทศ ญี่ปุ่น ก็ไม่มีบุคคลภายนอกเช่นกัน) แต่ประเทศอังกฤษมีบุคคลภายนอกจริงถึง 6 ใน 12 คน แต่เป็นการแต่งตั้งทั้งหมด และ โดยส่วนใหญ่เป็น พวกขุนนางชั้นสูงหรือคนในลักษณะที่คนไทยเรียกว่าเป็นไฮโซที่ทำงานให้สังคมด้วย
อาจารย์สมศักดิ์ยังให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การที่ประเทศอังกฤษ มีโครงสร้างต่างจากประเทศอื่นเพราะอังกฤษมีแพทย์ที่มีชาติกำเนิดจากประเทศอื่นค่อนข้างมาก จากข้อมูลนี้ทำให้สรุปได้ว่าอังกฤษมีโครงสร้างแพทยสภาต่างจากผู้อื่นเพราะต้องการความมั่นคงเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของแพทยสภาทำได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเหตุผลนี้ตรงกันข้ามกับ เหตุผลของนางสาวสารีและคณะอย่างสิ้นเชิง
การให้เหตุผลว่าประเทศอังกฤษมีบุคคลภายนอกถึง 50% มาเป็นข้อกล่าวอ้างในการแก้กฎหมายแล้วส่งผลลบถึงความมั่นคงของแพทยสภา จึงเป็นการนำข้อมูลมาใช้แบบไม่เป็นไปตามเหตุผลที่เป็นจริง กลับเป็นการใช้ข้อมูลเพื่อเหตุผลตรงกันข้ามกับความเป็นจริงอีกด้วย ผู้เขียนไม่แน่ใจว่านางสาวสารีและคณะจะรู้รายละเอียดก่อนการเขียนหรือไม่ แต่หากนี่เป็นงานวิจัยจะถือว่าเป็นการบิดเบือนข้อมูลที่ร้ายแรง
อนึ่งพลอากาศตรี นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภาก็ได้อธิบายไว้ว่าบทบาทหน้าที่ของแพทยสภาอังกฤษและแพทยสภาของไทยก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทบาทหลักของแพทยสภาไทยคือการดูแลมาตรฐานในการผลิตแพทย์ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและแพทย์เฉพาะทาง และการฝึกอบรมแพทย์ด้านต่างๆ ซึ่งร่วมไปถึงราชวิทยาลัยต่างๆ ด้วย ส่วนอีกบทบาทรองคือการกำกับจริยธรรมในวิชาชีพ ในขณะที่แพทยสภาอังกฤษนั้นไม่ได้มีหน้าที่ได้ด้านของ residency training เป็นหลัก การนำมาเปรียบเทียบดังกล่าวของนางสาวสารีจึงทำโดยปราศจากความเข้าใจในบริบทของหน้าที่และสังคมวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง และการนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการแพทยสภาคงไม่ก่อเกิดประโยชน์อันใดกับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและแพทย์เฉพาะทางมากนัก เพราะขาดความรู้ความเข้าใจและใบประกอบวิชาชีพอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานประการแรก
เนื่องจากประชาชนที่ติดตามข่าวกำลังมึนงงสงสัยว่าใครพูดจริงกันแน่ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาลงไปในรายละเอียด บุคคลภายนอกตามรายการที่นางสาวสารีและคณะกล่าวอ้างได้ข้อสรุปตามตารางข้างล่างนี้
จะเห็นได้ว่า นางสาวสารีและคณะให้ข้อมูลที่ถูกต้องในแง่ตัวเลข แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจะพบว่า ไม่เพียงแต่ประเทศอังกฤษ บุคคลภายนอกส่วนใหญ่เท่าที่ผู้เขียนหาข้อมูลมาได้ ส่วนใหญ่ไม่มีคุณลักษณะเดียวกับบุคคลภายนอกที่นางสาวสารีและคณะต้องการเพื่อแก้ปัญหาในทิศทางที่นางสาวสารีต้องการเลย เช่น ไม่ได้มีตำแหน่ง NGO เป็นการเฉพาะหรือกรรมการมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคแต่อย่างใด
ในประเทศสิงคโปร์ข้อมูลนางสาวสารีผิดพลาดมากที่สุด ที่บอกว่า มีบุคคลภายนอกเกือบ 50% เพราะเมื่อดูในรายละเอียด เป็นที่มาที่ต่างกัน คือ แต่งตั้ง และ เลือกตั้ง แต่ทุกคนเป็น ดอกเตอร์ หรือมีตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถึงศาสตราจารย์ ตามที่ อาจารย์สมศักดิ์พูดว่าทุกคนเป็นแพทย์ทั้งสิ้นและเอกสารที่สืบค้นดังแนบท้ายนี้ก็ยืนยันเช่นนั้น
สำหรับประเทศอื่น ๆ บุคคลภายนอกหรือ Layman จะมีจำนวนน้อย และมีบทบาทต่างออกไป การมีจำนวนน้อยนี้แสดงถึงการที่แพทยสภาในประเทศนั้นๆ ต้องการขอคำปรึกษามากกว่าจะมีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งบทบาทแบบนี้แพทยสภาของไทยก็มีคณะอนุกรรมการที่ไม่ใช่แพทย์เพื่อวัตถุประสงค์เหล่านั้น เช่นกัน Layman ในประเทศที่นางสาวสารีกล่าวอ้าง หลายท่านไม่ควรนับเป็นบุคคลภายนอกด้วยซ้ำ เช่น นิสิตแพทย์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการตรวจโรค เป็นต้น Layman ท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นนักกฎหมาย ผู้เขียนเดาว่าน่าจะมีหน้าที่ตรงกันข้ามกับที่ทางมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคต้องการ บางท่านมักจะเป็น ตัวแทนสังคม เช่น ตัวแทนชนกลุ่มน้อย หรือ นักการเมือง ส่วนที่เหลือหลายท่านถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนว่าเป็น community service แต่ลักษณะงานมักจะเป็น อาสาสมัคร ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโดยตรงเรื่องการเจ็บป่วย (ไม่ใช่ช่วยผู้บริโภคฟ้องร้องแพทย์)
โดยสรุป ประเทศส่วนใหญ่มีแต่แพทย์เป็นกรรมการแพทยสภา ในประเทศที่มี Layman ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทยสภา จะมีจำนวนน้อย น่าจะมีบทบาทในการให้ความคิดเห็น เช่นเดียวกับ ที่ปรึกษาหรือกรรมการจากภายนอกในคณะอนุกรรมการในแพทยสภาของไทย การนำข้อมูลบุคคลภายนอกของแพทยสภาในต่างประเทศมาสนับสนุนการแก้กฎหมายแพทยสภาของไทยจึงเป็นการใช้ข้อมูลแบบไม่เข้าใจที่มาของบุคคลภายนอกของแพทยสภาในต่างประเทศ และในบางกรณีเป็นเหตุผลที่ตรงกันข้ามกับเหตุผลการมีบุคคลภายนอกของแพทยสภาในต่างประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้สภาวิชาชีพส่วนใหญ่ในโลก คนที่อยู่ในวิชาชีพจึงเป็นกรรมการสภาวิชาชีพได้ มีน้อยประเทศหรือน้อยวิชาชีพมากที่บุคคลภายนอกวิชาชีพจะเข้าไปเป็นกรรมการ ไม่เช่นนั้นคงต้องตั้ง NGO เข้าไปเป็นกรรมการในสมาคม/สภาวิชาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชี สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย คุรุสภา สภาการพยาบาล สมาคมสถาปนิกสยาม เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความแห่งประเทศไทย สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และ/หรือสมาคม/สมาชีพอื่นๆ อีกเป็นอันมาก โดยที่ตนเองไม่ได้มีความรู้ความสามารถเพียงพอในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้นางสาวสารีเองก็เป็นพยาบาลวิชาชีพอยู่แล้ว แม้จะไม่ได้ประกอบอาชีพพยาบาลมาเลยเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ก็ยังมีสิทธิ์ที่จะสมัครรับการเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาพยาบาลอยู่ตามวิชาชีพที่ตนมีความรู้ร่ำเรียนมาโดยตรงตามศักดิ์และสิทธิ์ น่าจะเป็นเรื่องที่ดีและมีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างยิ่ง
นางสาวสารี เป็นเอ็นจีโอ ทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นเรื่องที่ดี แต่การตรวจสอบต้องมีข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แน่นหนา นอกจากนี้การที่นางสาวสารีต้องการให้เอ็นจีโอบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการแพทยสภาซึ่งเป็นผู้ถืออำนาจรัฐตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม เสียเองนั้น ผิดหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ควรทำหน้าที่ถืออำนาจรัฐและทำหน้าที่กำหนดนโยบายหรือตรวจสอบเสียเอง บุคคลภายนอกวิชาชีพแพทย์ เช่นนางสาวสารีเองก็ทำงานในมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอยู่แล้วอย่างเข้มแข็ง ไม่ควรเข้ามาบริหารเอง ตรวจสอบเองจะเสีย ธรรมาภิบาลในการตรวจสอบ และเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนได้ เช่น กรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภครับเงินจาก สสส. และ สปสช. รวมกันเกือบ 170 ล้านบาท ตามที่ สตง. ได้เคยตรวจสอบไว้ แต่กลับมีกรรมการบอร์ด สสส. และ สปสช. มาจากกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมากมาย จะเป็นความไม่สง่างาม มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้เขียนอยากให้นางสาวสารีและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมีหน้าที่ตรวจสอบและปกป้องประชาชนอย่างสง่างาม โดยปราศจากข้อกังขา
อ้างอิง
นางสาวสารี อ๋องสมหวังความเห็นและการล่ารายชื่อเพื่อแก้กฎหมาย
https://www.facebook.com/saree.aongsomwang/posts/1250331835010892
ศ.นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแพทยสภาในต่างประเทศ
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1203702693023868
การล่ารายชื่อคัดค้านการแก้กฎหมายของ นายแพทย์ กิตติศักดิ์
https://www.change.org/p/แพทย์-คัดค้าน-คนนอกบริหารแพทยสภา
รายละเอียดแพทยสภา
อังกฤษ
http://www.gmc-uk.org/about/council/23795.asp
http://www.gmc-uk.org/about/council/members.asp
ออสเตรเลีย
http://www.amc.org.au/about/office-bearers-and-directors
https://en.wikipedia.org/wiki/Julianne_Schultz
http://www.zoominfo.com/p/Ross-Springolo/1217975983
https://www.uea.ac.uk/education/people/profile/e-milligan
สิงคโปร์
http://www.healthprofessionals.gov.sg/content/hprof/smc/en/topnav/about_smc/council_members.html
ฮ่องกง
http://www.mchk.org.hk/english/aboutus/mchk.html
http://www.info.gov.hk/gia/general/201206/30/P201206290815.htm
http://www.bloomberg.com/research/stocks/private/person.asp?personId=4922941&privcapId=982310&previousCapId=982310&previousTitle=Sidley%20Austin%20LLP
http://www.hk-lawyer.org/content/partnerships-and-firms-february-2009
https://webb-site.com/dbpub/positions.asp?p=133397&f=&t=&c=0&s=posup&hide=Y
http://www.aastocks.com/en/stocks/news/aafn-content/NOW.742803/popular-news
มาลาวี
http://medicalcouncilmw.org/about.htm
นิวซีแลนด์
https://www.mcnz.org.nz/about-us/our-council-and-senior-managers/#councilmembers
แคนาดา
http://mcc.ca/about/governance/council-committee-membership/
https://www.bennettjones.com/CarterRose
https://en.wikipedia.org/wiki/Nancy_MacBeth
http://qe2foundation.ca/trustees
http://www.uwindsor.ca/law/382/full-time-faculty
http://www.cbc.ca/news/canada/thunder-bay/andr%C3%A9e-robichaud-reflects-on-5-years-at-thunder-bay-hospital-1.2972490