วานนี้ (26ก.ย.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. แถลงว่าที่ประชุมกกต.ได้การพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และได้ให้คณะทำงานไปปรับแก้ตามแนวทางที่กกต.มีมติ โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ และส่งให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ได้ในวันที่ 30 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักการเลือกส.ว.ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งการยกร่างยากที่สุดในบรรดากฎหมายที่กับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ ซึ่งการยกร่างกกต. ยึดตามรธน. ที่ต้องการให้ได้คนดีมาเป็นส.ว. มีที่มาหลากหลายอาชีพในสังคม จึงได้มีการกำหนดเป็น 20 กลุ่มอาชีพ และเพื่อให้ไม่เกิดการบล็อกโหวต หรือจ้างลงสมัคร ไม่เป็นภาระทางการเงินแก่ผู้สมัคร จึงกำหนดค่าสมัครเพียงคนละ 500 บาท
ส่วนวิธีการเลือกนั้นตามรธน. ที่กำหนดไว้ว่า ต้องมาจากตัวแทนอำเภอ จังหวัด ประเทศนั้น กกต.ก็กำหนดการเลือกเป็น 3 ระดับ โดยการสมัครจะเริ่มที่ระดับอำเภอ หนึ่งคนรับรองคุณสมบัติตนเอง และลงได้เพียงกลุ่มอาชีพเดียว การเลือกจะทำ 2 ขั้นตอน ขั้นแรกจะให้เลือกกันเองในกลุ่มๆ ละ 5 คนต่ออำเภอ ซึ่งก็จะได้ผู้สมัครส.ว.ใน 928 อำเภอ จาก 20 กลุ่ม รวม 92,800 คน จากนั้นจะให้ 5 คนในแต่ละกลุ่มไปเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่น 19 กลุ่ม ให้เหลือกลุ่มละ 3 คน ก็จะเหลือผู้สมัครส.ว.ในระดับอำเภอ 55,680 คน
ต่อมา การเลือกในระดับจังหวัด ก็จะนำผู้สมัครในระดับอำเภอที่เหลือ 55,680 คนจาก 20 กลุ่ม มาเลือกไขว้เช่นเดิม ให้เหลือกลุ่มอาชีพละ 1 คน เป็นผู้สมัครส.ว. ระดับจังหวัด ซึ่ง 77 จังหวัด ก็จะได้ผู้สมัคร ส.ว.ระดับจังหวัดรวม 1,540 คน จากนั้นก็จะเข้าสู่การเลือกในระดับประเทศ ซึ่งจะมีการจัดประชุมผู้สมัครส.ว. ทั้ง 1,540 คน จาก 20 กลุ่ม แล้วให้มีการเลือกไขว้ให้เหลือกลุ่มละ 10 คน ก็จะได้ ส.ว จาก 20 กลุ่ม รวม 200 คน เพื่อที่จะส่งให้ คสช. คัดเลือกตามบทเฉพาะกาล มาตรา 269 เหลือ 50 คน และสำรองรายชื่ออีก 50 คน
นายสมชัย กล่าวว่า วิธีการที่กกต.ออกแบบ อยู่ในวิสัยที่กกต.ประเมินแล้วว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ รวมทั้งสามารถป้องกันการบล็อตโหวต และการทุจริตได้ เพราะในร่างกฎหมายมีบทลงโทษรุนแรงไม่น้อยไปกว่ากฎหมายเลือกตั้งส.ส. คนที่ซื้อเสียง หรือทำเพื่อประโยชน์ให้ตนได้รับการเลือกเป็นส.ว. มีสิทธิที่จะถูกตัดสิทธิการสมัคร ถูกเพิกถอนสิทธิการสมัคร และถูกเพิกถอนเลือกตั้งได้ ดังนั้นคนที่คิดจะทำ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ ตนเชื่อว่าไม่คุ้ม
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณี สปท.ด้านปฏิรูปการเมือง เสนอเซตซีโร กกต. ว่า ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นจินตนาการ บอกว่ากกต.ทำงานไม่เป็นทีม อยากถามกลับว่า กกต.ทำงานไม่เป็นทีมตรงไหน ถ้าไม่เป็นทีมจะออกกฎหมายลูก 4 ฉบับ ตามเวลาที่กำหนดภายใน 1 เดือนได้อย่างไร ตรงนี้คิดว่าเป็นผลงาน และสะท้อนว่าเราได้ทำงานกันอย่างจริงจัง เป็นเอกภาพ
"ผมไม่เห็นความแตกแยก หรือขัดแย้ง มีแต่ช่วยกันทำงานให้เกิดผลดีที่สุด การมาบอกว่าทำงานไม่เป็นทีม ผมไม่รู้ว่าท่านมาแอบอยู่ใต้โต๊ะในห้องประชุมกกต. หรืออย่างไร ถ้ามาแอบจริง ก็จะเห็นการทำงานที่มีความสามัคคี จริงจัง ดังนั้นที่ท่านว่า ผมเห็นว่าท่านจินตนาการเกินไป"
เมื่อถามว่า ประธาน กรธ.ระบุว่า ที่มาของกกต. 2 คน ยังไม่ชัดเจนว่าจะมาจากคณะกรรมการสรรหา หรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา นายสมชัย กล่าวว่า เอาไว้ค่อยคุยกันตอนที่กกต.ไปพบหารือกับ กรธ.ในเรื่อง พ.ร.ป.กกต. วันที่ 29 ก.ย.นี้ ส่วนในวันที่ 28 ก.ย. ที่กรธ.จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.นั้น กกต.อยากได้ข้อเสนอใน 2 เรื่อง คือทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เป็นสถาบัน มีฐานมาจากประชาชนอย่างแท้จริง มีกลไกสรรหาคนดีเข้าสู่การเมือง และทำอย่างไรให้การเลือกตั้งส.ส. ปลอดการทุจริต ซึ่ง กกต.ยังคงยืนยันว่าบุคคลที่ กกต.ส่งไปชี้แจง ซึ่งเป็นระดับผู้ทรงคุณวุฒิ และผอ.สำนักของกกต.นั้น รู้เรื่องดังกล่าวดี กกต.ไม่ต้องไปเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาข้อเสนอการร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ข้อเสนอของสปท. ที่ให้เซตซีโร่ องค์กรอิสระทั้งหมด เรื่องนี้ กรธ.ไม่มีธง มีเพียงแต่ความเห็นของแต่ละคน ตามที่เป็นข่าว ซึ่งไม่ได้บอกเหตุผล เราคิดว่าใครอยากจะเสนออะไร ก็เสนอมาได้ แต่ต้องมีเหตุผลว่าทำอย่างไร และหากทำแล้วได้อะไรบ้าง
สำหรับการกำหนดคุณสมบัติ กกต. ที่จะเพิ่มอีก 2 คน ตามที่ร่างรธน.กำหนดให้มี 7 คนนั้น กรธ.ยังไม่ได้กำหนดว่า จะมาจากสายใด ยังบอกไม่ได้ว่าจะให้มาจากสายศาล หรือนักวิชาการ เพราะต้องดูว่า ปัจจุบันองค์ประกอบของกกต. มีอะไร และขาดอะไรบ้าง เรื่องนี้จำเป็นต้องเขียนไว้ในกม.ลูก ไม่เช่นนั้นการทำงานจะไม่ตรงตามเป้าหมาย เราต้องเซตที่มา และองค์ประกอบให้ครบถ้วน เพราะ กกต.ใหม่ 2 คนนี้ จะต้องเข้ามาก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักการเลือกส.ว.ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งการยกร่างยากที่สุดในบรรดากฎหมายที่กับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ ซึ่งการยกร่างกกต. ยึดตามรธน. ที่ต้องการให้ได้คนดีมาเป็นส.ว. มีที่มาหลากหลายอาชีพในสังคม จึงได้มีการกำหนดเป็น 20 กลุ่มอาชีพ และเพื่อให้ไม่เกิดการบล็อกโหวต หรือจ้างลงสมัคร ไม่เป็นภาระทางการเงินแก่ผู้สมัคร จึงกำหนดค่าสมัครเพียงคนละ 500 บาท
ส่วนวิธีการเลือกนั้นตามรธน. ที่กำหนดไว้ว่า ต้องมาจากตัวแทนอำเภอ จังหวัด ประเทศนั้น กกต.ก็กำหนดการเลือกเป็น 3 ระดับ โดยการสมัครจะเริ่มที่ระดับอำเภอ หนึ่งคนรับรองคุณสมบัติตนเอง และลงได้เพียงกลุ่มอาชีพเดียว การเลือกจะทำ 2 ขั้นตอน ขั้นแรกจะให้เลือกกันเองในกลุ่มๆ ละ 5 คนต่ออำเภอ ซึ่งก็จะได้ผู้สมัครส.ว.ใน 928 อำเภอ จาก 20 กลุ่ม รวม 92,800 คน จากนั้นจะให้ 5 คนในแต่ละกลุ่มไปเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่น 19 กลุ่ม ให้เหลือกลุ่มละ 3 คน ก็จะเหลือผู้สมัครส.ว.ในระดับอำเภอ 55,680 คน
ต่อมา การเลือกในระดับจังหวัด ก็จะนำผู้สมัครในระดับอำเภอที่เหลือ 55,680 คนจาก 20 กลุ่ม มาเลือกไขว้เช่นเดิม ให้เหลือกลุ่มอาชีพละ 1 คน เป็นผู้สมัครส.ว. ระดับจังหวัด ซึ่ง 77 จังหวัด ก็จะได้ผู้สมัคร ส.ว.ระดับจังหวัดรวม 1,540 คน จากนั้นก็จะเข้าสู่การเลือกในระดับประเทศ ซึ่งจะมีการจัดประชุมผู้สมัครส.ว. ทั้ง 1,540 คน จาก 20 กลุ่ม แล้วให้มีการเลือกไขว้ให้เหลือกลุ่มละ 10 คน ก็จะได้ ส.ว จาก 20 กลุ่ม รวม 200 คน เพื่อที่จะส่งให้ คสช. คัดเลือกตามบทเฉพาะกาล มาตรา 269 เหลือ 50 คน และสำรองรายชื่ออีก 50 คน
นายสมชัย กล่าวว่า วิธีการที่กกต.ออกแบบ อยู่ในวิสัยที่กกต.ประเมินแล้วว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ รวมทั้งสามารถป้องกันการบล็อตโหวต และการทุจริตได้ เพราะในร่างกฎหมายมีบทลงโทษรุนแรงไม่น้อยไปกว่ากฎหมายเลือกตั้งส.ส. คนที่ซื้อเสียง หรือทำเพื่อประโยชน์ให้ตนได้รับการเลือกเป็นส.ว. มีสิทธิที่จะถูกตัดสิทธิการสมัคร ถูกเพิกถอนสิทธิการสมัคร และถูกเพิกถอนเลือกตั้งได้ ดังนั้นคนที่คิดจะทำ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ ตนเชื่อว่าไม่คุ้ม
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณี สปท.ด้านปฏิรูปการเมือง เสนอเซตซีโร กกต. ว่า ตนเห็นว่าหลายเรื่องเป็นจินตนาการ บอกว่ากกต.ทำงานไม่เป็นทีม อยากถามกลับว่า กกต.ทำงานไม่เป็นทีมตรงไหน ถ้าไม่เป็นทีมจะออกกฎหมายลูก 4 ฉบับ ตามเวลาที่กำหนดภายใน 1 เดือนได้อย่างไร ตรงนี้คิดว่าเป็นผลงาน และสะท้อนว่าเราได้ทำงานกันอย่างจริงจัง เป็นเอกภาพ
"ผมไม่เห็นความแตกแยก หรือขัดแย้ง มีแต่ช่วยกันทำงานให้เกิดผลดีที่สุด การมาบอกว่าทำงานไม่เป็นทีม ผมไม่รู้ว่าท่านมาแอบอยู่ใต้โต๊ะในห้องประชุมกกต. หรืออย่างไร ถ้ามาแอบจริง ก็จะเห็นการทำงานที่มีความสามัคคี จริงจัง ดังนั้นที่ท่านว่า ผมเห็นว่าท่านจินตนาการเกินไป"
เมื่อถามว่า ประธาน กรธ.ระบุว่า ที่มาของกกต. 2 คน ยังไม่ชัดเจนว่าจะมาจากคณะกรรมการสรรหา หรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา นายสมชัย กล่าวว่า เอาไว้ค่อยคุยกันตอนที่กกต.ไปพบหารือกับ กรธ.ในเรื่อง พ.ร.ป.กกต. วันที่ 29 ก.ย.นี้ ส่วนในวันที่ 28 ก.ย. ที่กรธ.จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.นั้น กกต.อยากได้ข้อเสนอใน 2 เรื่อง คือทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เป็นสถาบัน มีฐานมาจากประชาชนอย่างแท้จริง มีกลไกสรรหาคนดีเข้าสู่การเมือง และทำอย่างไรให้การเลือกตั้งส.ส. ปลอดการทุจริต ซึ่ง กกต.ยังคงยืนยันว่าบุคคลที่ กกต.ส่งไปชี้แจง ซึ่งเป็นระดับผู้ทรงคุณวุฒิ และผอ.สำนักของกกต.นั้น รู้เรื่องดังกล่าวดี กกต.ไม่ต้องไปเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาข้อเสนอการร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ข้อเสนอของสปท. ที่ให้เซตซีโร่ องค์กรอิสระทั้งหมด เรื่องนี้ กรธ.ไม่มีธง มีเพียงแต่ความเห็นของแต่ละคน ตามที่เป็นข่าว ซึ่งไม่ได้บอกเหตุผล เราคิดว่าใครอยากจะเสนออะไร ก็เสนอมาได้ แต่ต้องมีเหตุผลว่าทำอย่างไร และหากทำแล้วได้อะไรบ้าง
สำหรับการกำหนดคุณสมบัติ กกต. ที่จะเพิ่มอีก 2 คน ตามที่ร่างรธน.กำหนดให้มี 7 คนนั้น กรธ.ยังไม่ได้กำหนดว่า จะมาจากสายใด ยังบอกไม่ได้ว่าจะให้มาจากสายศาล หรือนักวิชาการ เพราะต้องดูว่า ปัจจุบันองค์ประกอบของกกต. มีอะไร และขาดอะไรบ้าง เรื่องนี้จำเป็นต้องเขียนไว้ในกม.ลูก ไม่เช่นนั้นการทำงานจะไม่ตรงตามเป้าหมาย เราต้องเซตที่มา และองค์ประกอบให้ครบถ้วน เพราะ กกต.ใหม่ 2 คนนี้ จะต้องเข้ามาก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่