นายวันชัย สอนศิริ กรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าว ถึงกรณีข่าวที่ สปท.ด้านการเมือง ถูกบรรดานักการเมืองออกมาโจมตี เกี่ยวกับการเสนอให้กระทรวงมหาดไทย มาช่วยจัดการเลือกตั้ง และให้ คสช.ควบคุมการจัดเลือกตั้ง ในปี 60 จนทำให้ตน และนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธาน กมธ.ด้านการเมือง สปท. โดนหางเลขไปด้วย ว่าเป็นข้อเสนอที่สอพลอ หวังขอตำแหน่ง ขัดต่อรธน. ปัญญาอ่อน ตกยุค รวมทั้งกล่าวหา เป็นไอ้ห้อย ไอ้โหน ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของสปท.โดยตรง แต่เป็นเรื่องในการพิจารณาของสปท. ด้านการเมือง มีประเด็นการพิจารณาเรื่องดังกล่าวจริง และผ่านมติที่ประชุมกมธ.แล้ว และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสปท.ในเร็วๆ นี้
" บ้านเมืองเรามีปัญหาทุกวันนี้เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต เที่ยงธรรม นำมาซึ่งความแตกแยก เราเห็นว่าหัวใจในการปฏิรูปการเมือง คือ จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม และจะต้องสอดรับกับรธน. ซึ่งตัวกฎหมาย จะเด็ดขาดอย่างไรก็ตาม ถ้าการเลือกตั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายลูกที่เขียนไว้ ก็เปล่าประโยชน์ พวกเราจึงทำข้อเสนอไปยัง คสช.ให้มาช่วยสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ กกต. ไม่ใช่มาควบคุมการเลือกตั้ง แต่เพื่อป้องกันข้อครหาว่า การเลือกตั้งล้มเหลว และเพื่อให้การเลือกตั้งปี 60 เป็นต้นแบบการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม และเพื่อไม่ปล่อยให้ กกต.เหมือนเสือที่ไม่มีใครกลัว กลายเป็นเสือกระดาษ ไหนๆ ก็ปฏิวัติทั้งที พวกเราจึงเห็นว่าคสช. ต้องมามีส่วน และทำให้โมเดลการเลือกตั้งที่สุจริตปรากฏ ส่วนเรื่องที่เสนอให้กระทรวงมหาดไทยเข้ามาจัดการเลือกตั้ง ก็เป็นข้อเสนอของนายวิทยา แก้วภราดัย สปท. ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัยเป็นคนเสนอ และสมาชิกก็เห็นด้วย"
นายวันชัย กล่าวด้วยว่า พวกที่ออกมาค้าน คงเป็นนักการเมืองที่เตรียมทุจริต ซื้อเสียง นักการเมืองชั่วควรถอยออกไป เดี๋ยวจะเจอมาตรการขั้นเด็ดขาด ไม่มีสิทธิลอยนวลได้เหมือนเก่าอีก นักการเมืองหน้าเก่า ใช้วิธีเดิมๆ เลิกเล่นการเมืองไปได้แล้ว เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งปี 60 ไม่ควรมาลง เพราะกติกาที่เสนอไป เอาไว้สำหรับนักการเมืองน้ำดี
" ผมจะได้เป็น ส.ว.หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นนายกฯ ต่อหรือไม่ ไม่เกี่ยว ข้อเสนอผมไม่ได้เลียใครทั้งสิ้น แต่ถ้าจะเลีย ผมขอเลือกเลียคนดี แต่ถ้าเป็นนักการเมืองชั่ว เลวๆ ต่อให้มีตำแหน่งใหญ่โตแค่ไหน ผมก็ไม่เลีย" นายวันชัย กล่าว
ขณะที่ นายวิทยา กล่าวว่า ขอยอมรับสารภาพว่า เป็นคนเสนอทั้ง 2 เรื่อง คือ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้ง และให้ คสช.ช่วยควบคุมการเลือกตั้ง เพราะเห็นว่ากกต.มีภารกิจมากเกินไป 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่สามารถปราบปรามการซื้อเสียงได้ ทางกมธ.จึงเสนอแบ่งเบาภาระ เป็นไปได้หรือไม่ ที่การเลือกตั้งมีคนเป็นล้านๆ คนจะใช้หน่วยงานอื่นไปทำงานได้หรือไม่ และการเลือกตั้งส.ส. ควรเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยไปจัดการเลือกตั้ง และให้ กกต.กำกับอีกครั้ง
ด้านนายเสรี กล่าวเสริมว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ ทาง กมธ.จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความสบายใจ เพราะเราต้องรับฟังเสียงข้างนอก และดูเหตุผลว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด หากดีเราก็จะปรับแก้ และข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่าข้อเสนอที่ฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วย เราก็ต้องพูดกันด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้เขียนมาเพื่อเอาใจคสช. เพราะ คสช.ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย
**มท.-คสช.คุมเลือกตั้งไม่ขัดรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ใครอยากเสนออะไร ให้เสนอมา เพราะ กรธ. ฟังอยู่ ส่วนที่มีการอ้างรธน. กำหนดให้ กกต.มีอำนาจจัดการเลือกตั้งนั้นจริง แต่คำว่าจัดเลือกตั้ง และควบคุมการเลือกตั้ง ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร ขนาดไหน เป็นสิ่งที่ต้องไปขยายความในกฎหมายลูก
การเสนอให้ มท.เป็นคนจัด ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ที่ผ่านมาไทยคิด 3 รูปแบบ คือ 1. ให้กกต.เป็นคนจัดอำนวยการตั้งแต่ต้นจนจบ 2. ให้กกต.เป็นคนจัดวางระเบียบ หรือเล็กกูเลเตอร์ คือ เป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ หรือ โอเปอร์เรเตอร์ ให้ใช้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารปกติ ไม่จำเป็นต้องเป็นของ มท. แต่สำหรับไทย อาจคิดว่าต้องเป็น มท. เพราะเคยจัดมาก่อน หลายประเทศใช้วิธีนี้ และ 3. ระบบที่ไม่มี กกต.เข้ามาจัดการ แต่ให้ฝ่ายบริหารจัดการ ซึ่งเป็นรูปแบบก่อนปี 40 แต่วิธีนี้อาจไม่เป็นที่นิยมและจะเป็นที่ครหาได้
"วันนี้เสียงที่ให้ มท.เข้ามาจัดการเลือกตั้งคือ เสียงที่ให้ กกต.เป็นผู้วางระเบียบอย่างเดียว ส่วนระดับปฏิบัติให้ มท.ดูแล ซึ่งหลายประเทศทำ แต่ที่ผ่านมาไทยให้ กกต.เป็นทั้งผู้วางระเบียบ และผู้ปฏิบัติ คือ ออกกฎระเบียบว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ยกหีบ นับคะแนน หรือรายงานคะแนนเอง เป็นสิ่งที่ใช้ในไทย แต่วันนี้ที่จะตัดตอนเพราะต้องการให้เกิดความสมดุลเท่านั้น ส่วนคนที่เสนอเรื่องนี้ ผมไม่ทราบว่าเอาจริง เอาจังขนาดไหน แต่ความหมายอาจให้คนอื่นเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติ ส่วนจะจบอย่างไร ไม่ทราบ เพราะทั้งหมดอยู่ที่กกต. แต่ทำอย่างไรก็ไม่ขัดรธน. แต่หากรื้อทั้งระบบมาใช้แบบที่ 3 จะขัดกับรธน. ยืนยัน กกต.ต้องจัดการเลือกตั้ง และเป็นคนให้ใบเหลือง ใบแดง" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเลือกให้ กกต.ทำงานในรูปแบบที่สองคือ ให้เป็นผู้จัดวางระเบียบนั้น กลไกที่จะมาช่วยทำงานต้องเขียนไว้ที่ไหน นายวิษณุ กล่าวว่า เขียนในกฎหมายลูก แต่อย่าให้ขัดกับรธน. หากดูรธน.ฉบับนี้ ระบุให้ กกต.เป็นทั้งผู้วางระเบียบ และผู้ปฏิบัติ แต่หากให้หน่วยงานอื่นมาทำงานในระดับปฏิบัติ ก็ไม่ขัดรธน.
" บ้านเมืองเรามีปัญหาทุกวันนี้เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต เที่ยงธรรม นำมาซึ่งความแตกแยก เราเห็นว่าหัวใจในการปฏิรูปการเมือง คือ จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม และจะต้องสอดรับกับรธน. ซึ่งตัวกฎหมาย จะเด็ดขาดอย่างไรก็ตาม ถ้าการเลือกตั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายลูกที่เขียนไว้ ก็เปล่าประโยชน์ พวกเราจึงทำข้อเสนอไปยัง คสช.ให้มาช่วยสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ กกต. ไม่ใช่มาควบคุมการเลือกตั้ง แต่เพื่อป้องกันข้อครหาว่า การเลือกตั้งล้มเหลว และเพื่อให้การเลือกตั้งปี 60 เป็นต้นแบบการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม และเพื่อไม่ปล่อยให้ กกต.เหมือนเสือที่ไม่มีใครกลัว กลายเป็นเสือกระดาษ ไหนๆ ก็ปฏิวัติทั้งที พวกเราจึงเห็นว่าคสช. ต้องมามีส่วน และทำให้โมเดลการเลือกตั้งที่สุจริตปรากฏ ส่วนเรื่องที่เสนอให้กระทรวงมหาดไทยเข้ามาจัดการเลือกตั้ง ก็เป็นข้อเสนอของนายวิทยา แก้วภราดัย สปท. ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัยเป็นคนเสนอ และสมาชิกก็เห็นด้วย"
นายวันชัย กล่าวด้วยว่า พวกที่ออกมาค้าน คงเป็นนักการเมืองที่เตรียมทุจริต ซื้อเสียง นักการเมืองชั่วควรถอยออกไป เดี๋ยวจะเจอมาตรการขั้นเด็ดขาด ไม่มีสิทธิลอยนวลได้เหมือนเก่าอีก นักการเมืองหน้าเก่า ใช้วิธีเดิมๆ เลิกเล่นการเมืองไปได้แล้ว เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งปี 60 ไม่ควรมาลง เพราะกติกาที่เสนอไป เอาไว้สำหรับนักการเมืองน้ำดี
" ผมจะได้เป็น ส.ว.หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นนายกฯ ต่อหรือไม่ ไม่เกี่ยว ข้อเสนอผมไม่ได้เลียใครทั้งสิ้น แต่ถ้าจะเลีย ผมขอเลือกเลียคนดี แต่ถ้าเป็นนักการเมืองชั่ว เลวๆ ต่อให้มีตำแหน่งใหญ่โตแค่ไหน ผมก็ไม่เลีย" นายวันชัย กล่าว
ขณะที่ นายวิทยา กล่าวว่า ขอยอมรับสารภาพว่า เป็นคนเสนอทั้ง 2 เรื่อง คือ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้ง และให้ คสช.ช่วยควบคุมการเลือกตั้ง เพราะเห็นว่ากกต.มีภารกิจมากเกินไป 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่สามารถปราบปรามการซื้อเสียงได้ ทางกมธ.จึงเสนอแบ่งเบาภาระ เป็นไปได้หรือไม่ ที่การเลือกตั้งมีคนเป็นล้านๆ คนจะใช้หน่วยงานอื่นไปทำงานได้หรือไม่ และการเลือกตั้งส.ส. ควรเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยไปจัดการเลือกตั้ง และให้ กกต.กำกับอีกครั้ง
ด้านนายเสรี กล่าวเสริมว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ ทาง กมธ.จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความสบายใจ เพราะเราต้องรับฟังเสียงข้างนอก และดูเหตุผลว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด หากดีเราก็จะปรับแก้ และข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่าข้อเสนอที่ฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วย เราก็ต้องพูดกันด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้เขียนมาเพื่อเอาใจคสช. เพราะ คสช.ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย
**มท.-คสช.คุมเลือกตั้งไม่ขัดรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ใครอยากเสนออะไร ให้เสนอมา เพราะ กรธ. ฟังอยู่ ส่วนที่มีการอ้างรธน. กำหนดให้ กกต.มีอำนาจจัดการเลือกตั้งนั้นจริง แต่คำว่าจัดเลือกตั้ง และควบคุมการเลือกตั้ง ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร ขนาดไหน เป็นสิ่งที่ต้องไปขยายความในกฎหมายลูก
การเสนอให้ มท.เป็นคนจัด ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ที่ผ่านมาไทยคิด 3 รูปแบบ คือ 1. ให้กกต.เป็นคนจัดอำนวยการตั้งแต่ต้นจนจบ 2. ให้กกต.เป็นคนจัดวางระเบียบ หรือเล็กกูเลเตอร์ คือ เป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ หรือ โอเปอร์เรเตอร์ ให้ใช้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารปกติ ไม่จำเป็นต้องเป็นของ มท. แต่สำหรับไทย อาจคิดว่าต้องเป็น มท. เพราะเคยจัดมาก่อน หลายประเทศใช้วิธีนี้ และ 3. ระบบที่ไม่มี กกต.เข้ามาจัดการ แต่ให้ฝ่ายบริหารจัดการ ซึ่งเป็นรูปแบบก่อนปี 40 แต่วิธีนี้อาจไม่เป็นที่นิยมและจะเป็นที่ครหาได้
"วันนี้เสียงที่ให้ มท.เข้ามาจัดการเลือกตั้งคือ เสียงที่ให้ กกต.เป็นผู้วางระเบียบอย่างเดียว ส่วนระดับปฏิบัติให้ มท.ดูแล ซึ่งหลายประเทศทำ แต่ที่ผ่านมาไทยให้ กกต.เป็นทั้งผู้วางระเบียบ และผู้ปฏิบัติ คือ ออกกฎระเบียบว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ยกหีบ นับคะแนน หรือรายงานคะแนนเอง เป็นสิ่งที่ใช้ในไทย แต่วันนี้ที่จะตัดตอนเพราะต้องการให้เกิดความสมดุลเท่านั้น ส่วนคนที่เสนอเรื่องนี้ ผมไม่ทราบว่าเอาจริง เอาจังขนาดไหน แต่ความหมายอาจให้คนอื่นเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติ ส่วนจะจบอย่างไร ไม่ทราบ เพราะทั้งหมดอยู่ที่กกต. แต่ทำอย่างไรก็ไม่ขัดรธน. แต่หากรื้อทั้งระบบมาใช้แบบที่ 3 จะขัดกับรธน. ยืนยัน กกต.ต้องจัดการเลือกตั้ง และเป็นคนให้ใบเหลือง ใบแดง" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า หากเลือกให้ กกต.ทำงานในรูปแบบที่สองคือ ให้เป็นผู้จัดวางระเบียบนั้น กลไกที่จะมาช่วยทำงานต้องเขียนไว้ที่ไหน นายวิษณุ กล่าวว่า เขียนในกฎหมายลูก แต่อย่าให้ขัดกับรธน. หากดูรธน.ฉบับนี้ ระบุให้ กกต.เป็นทั้งผู้วางระเบียบ และผู้ปฏิบัติ แต่หากให้หน่วยงานอื่นมาทำงานในระดับปฏิบัติ ก็ไม่ขัดรธน.