ผู้จัดการรายวัน360-"บิ๊กตู่"ปัดตอบสื่อลงนามคำสั่งทางปกครองสั่ง "ปู" ชดใช้ทำจำนำเจ๊ง "วิษณุ" แจงกรมบัญชีกลางทำตามหลักเกณฑ์เรียกค่าเสียหาย 20% ที่ 3.5 หมื่นล้าน ส่วน 80% ที่เหลือกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามไปตามบี้เอากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเอาเอง ป.ป.ช.ปัดเร่งรัดคดี ไม่มี 2 มาตรฐาน ยันไม่หนักใจสอบคดีลูก-เมีย "บิ๊กติ๊ก" ด้าน "บิ๊กป้อม" ปล่อยองค์กรอิสระตรวจสอบ ทนายยิ่งลักษณ์ ยื่นหนังสือซัดใช้ ม.44 จ้องยึดทรัพย์ ปชป.แท็กทีมโต้เพื่อไทยบิดเบือน พร้อมปูดแผลใหม่รัฐบาลปูผลาญงบแก้น้ำท่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.20 น. วานนี้ (26ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหนัาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงกรณีว่าจะลงนามในคำสั่งเรียกค่าเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาทเองหรือไม่
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการ หลังคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว รายงานตัวเลขสรุปเรียกค่าเสียหายว่า กระบวนการหลังจากนี้ ก็คงเป็นแบบเดียวกับการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ซึ่งคณะกรรมการจะต้องส่งเรื่องให้รมว.คลัง และนายกฯ รับทราบ
ส่วนยอดเงินเรียกค่าเสียหายจากเดิม 2.8 แสนล้านบาท เหลือเพียง 3.5 หมื่นล้านบาทนั้น นายวิษณุ ชี้แจงว่า เป็นการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง เพราะตอนพิจารณาครั้งแรก มูลค่าความเสียหายจริงที่ประเมินไว้ประมาณ 5 แสนล้านบาท แต่หมายถึงมูลค่าทั้งหมด ที่ไม่รู้ว่าใครจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งคณะกรรมการชุดที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโครงการรับจำนำข้าว เห็นว่า ควรมีการรับผิดทั้งหมด 4 ฤดูกาล เป็นเงินประมาณ 2.7 แสนล้านบาท แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางแพ่ง ได้ให้ความเป็นธรรมว่า ความผิดที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากการทุจริต แต่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หลังจากมีการแจ้งเตือน เพราะฉะนั้น ฤดูการผลิตที่ 1 และ 2 ไม่มีการ
เตือน จากนั้นเมื่อมีการเตือนมาในฤดูการผลิตที่ 3 และ 4 คือ การผลิตในปี 2555/56 และปี 2556/57 รวมแล้ว 2 ฤดูกาลผลิต แต่ยังมีการปล่อยปะละเลย ก็ถือว่า มีความผิดเฉพาะ 2 ฤดูกาลนี้ ดังนั้น มูลค่าความเสียหายจาก 2.7 แสนล้านบาท ก็ต้องลดลงมาเหลือ 1.7 แสนล้านบาท
"ในจำนวนเงิน 1.7 แสนล้านบาท การจะต้องพิจารณาว่า ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติมา 4-5 ปีแล้วว่ากรณีที่เป็นความรับผิดแบบทำกันหลายคน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการรับผิด ซึ่งมีการกำหนดไว้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการละเลย ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิด 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ไปเฉลี่ยกับผู้ที่มีส่วนทำความผิด กระทรวงที่รับผิดชอบ ต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง"นายวิษณุกล่าว
เมื่อถามว่านายกฯ จะต้องเซ็นคำสั่ง หรือมีคำสั่งด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ก็แล้วแต่นายกฯ เพราะสามารถที่จะมอบอำนาจต่อไปได้ พร้อมกับยืนยันว่า ไม่ได้ใช้ม.44 ในการยึดทรัพย์ แต่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเข้าไปยึด ก็ต้องมีหน่วยงานกลาง คือ กรมบังคับคดี และการดำเนินการทุกอย่าง ไม่มีลัดขั้นตอน เดินตามขั้นตอน ส่วนกรณีลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะมีการฟ้องล้มละลายหรือไม่นั้น อย่าเพิ่งไปถึงขั้นนั้น เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี ถ้าถูกฟ้องล้มละลาย จะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส. ได้
***ป.ป.ช.ระบุไม่มีการเร่งรัดคดี
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่ามีคดีในส่วนของพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาเรื่อยๆ ว่า ไม่ใช่หรอก แต่ละเรื่องเป็นเรื่องเก่า เมื่อไปเร่งรัด เจ้าหน้าที่เขาก็จะดูว่าเรื่องไหนที่เขาทำใกล้เสร็จแล้ว เขาก็ทำมาให้ตรวจ จึงต้องตรวจเพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณา หากมีมูล ก็ต้องยืนยันว่าผิดอะไร สามารถส่งอัยการเพื่อให้พิจารณาสำนวนต่อไป ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ
***เมิน"ปู" โพสต์ยันให้ความเป็นธรรม
พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวว่า กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์ไอจีส่วนตัวขอให้นายกฯ ให้ความเป็นธรรมในกรณีที่มีการเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ให้เหมือนกับที่ช่วยเหลือน้องชายนายกฯ ว่า ตนไม่ใช่นายกฯ แต่ทุกอย่างก็ต้องดูแลด้วยความเป็นธรรม และยึดตามกฎหมายเป็นหลักทั้งหมด คงไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง ส่วนใครจะโพสต์อย่างไรก็โพสต์ไป ส่วนการคัดค้าน น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ถึง 6 คดี เหตุเป็นคู่ขัดแย้ง เห็นว่า น.ส.สุภา มีสปิริตอยู่แล้ว เรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็เคยถอนตัวตอนพิจารณา ไม่ต้องห่วง
***ไม่หนักใจสอบคดีลูกเมียน้องนายกฯ
พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าคดีลูกชายและภริยาของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งกรณีการรับงานกองทัพ และการสร้างฝาย ว่า ขณะนี้ ป.ป.ช.กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะเมื่อมีคนร้องเข้ามา เจ้าหน้าที่ก็ต้องไปตรวจสอบ ส่วนจะใช้เวลาในการตรวจสอบนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานว่ามีอะไรบ้าง มีใครบ้างที่ต้องไปตรวจสอบ และมีพยานหลักฐานอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนการทำงานปกติที่จะต้องทำ และไม่หนักใจแม้คนที่กำลังตรวจสอบเป็นน้องชายนายกรัฐมนตรี แต่จะยิ่งต้องทำด้วยความละเอียด รอบคอบ เพราะสังคมเฝ้ามองอยู่ โดยระยะเวลาในการดำเนินการคงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเรื่องมีอะไรบ้าง ถ้ามีหลายประเด็น ก็ใช้เวลามากหน่อย
ส่วนกรณีกล่าวหา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ทุจริตโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง ว่า คดีดังกล่าวผู้ที่รับผิดชอบสำนวนยังไม่ได้สรุปส่งมาถึงตน แต่ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเร่งรัดติดตาม เนื่องจากสังคมสนใจ รวมถึงคดีสร้างสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ สมัยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ถูกป.ป.ช. ชี้มูล หากข้อมูลสมบูรณ์ก็จะดำเนินการต่อไป
***"บิ๊กป้อม"ไม่รู้บอกมีองค์กรอิสระดูอยู่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในเรื่องนี้ว่า กรณีลูกพล.อ.ปรีชาตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และมีบ้านเลขที่อยู่ภายในกองทัพภาคที่ 3 นั้น ตนไม่ทราบรายละเอียด เลยตอบไม่ได้ เรื่องทุกอย่างมีองค์กรอิสระดูแลอยู่แล้ว ก็ว่ากันไป
*** "ทนายปู"ร้องหยุดใช้ม.44เล่นงาน
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. นายนพดล หลาวทอง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้ายื่นหนังสื่อถึงพล.อ.ประยุทธ์ เพื่อขอคัดค้านการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคดี ดำเนินการยึดทรัพย์ค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่า การใช้อำนาจก่อนที่คดีความจะสิ้นสุด เป็นการชี้นำคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าว ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิด เพราะคำสั่งต่างๆ ได้ให้การคุ้มครองคณะกรรมการไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง และอาญา และใช้คุ้มครองเฉพาะกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เท่านั้น อีกทั้งการให้อำนาจกรมบังคับคดีเข้ามามีอำนาจยึดทรัพย์ ถือเป็นการก้าวล่วงอำนาจศาล เพราะการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นอำนาจของศาล และผู้เสียหายสามารถโต้แย้งได้ แต่การออกคำสั่งเช่นนี้ ผู้เสียหายไม่มีอำนาจในการโต้แย้งคำสั่ง
***"ไอ้ตู่"อัดรัฐ2มาตรฐาน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งข้อหา 15 คดีว่า หากพิจารณาการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. กับฝ่ายอื่นๆ แล้ว จะปรากฏได้ชัดเจนว่า มีความเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรมกันหรือไม่ และสิ่งที่ได้รับกลับเป็นการปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน
***ตามคาดโบ้ยป.ป.ช.2มาตรฐาน
นายราเมศร รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การต่อสู้แบบเดิมๆ ที่มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการกระทำของคนของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวหาว่า ป.ป.ช. ดำเนินการ 2 มาตรฐาน ทั้งที่ทำตามครรลองของกฎหมายโดยไม่ได้ไต่สวนเฉพาะคนของเพื่อไทย แต่ยังมีการตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย จึงเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย ยอมรับการตรวจสอบของกระบวนการยุติธรรม
***"หมอวรงค์"ซัดแก๊งเพื่อไทยบิดเบือน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการจี้รัฐบาลทบทวนเรียกค่าเสียหายโครงการจำนำข้าว และขอให้ยกเลิกการใช้มาตรา 44 ว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยพยายามออกแถลงการณ์ช่วงนี้ล้วนเป็นการสะท้อนถึงการไม่ยอมรับผิด และไม่ยอมรับข้อเท็จจริง สังคมต้องไม่ปล่อยให้เขาสร้างกระแสบิดเบือนจนประชาชนเชื่อ เพราะการลงนามคำสั่งทางปกครอง ไม่ใช่จะไปยึดทรัพย์เลย ยังสามารถอุทธรณ์ได้ ต้องสู้กันอีก 2 ศาล ยังเดาไม่ได้จะจบเมื่อไร ผลอย่างไร ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจำนำข้าว ถือเป็นความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ เพราะปล่อยให้มีการทุจริต และกรณีมาอ้าง ม.44 ก็เป็นการบิดเบือน ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ เรื่องทั้งหมดต้องจบลงที่ศาล และสามารถใช้สิทธิทางศาลได้เต็มที่
*** แฉอีกรัฐบาลยิ่งลักษณ์งาบงบน้ำท่วม
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกมาระบุว่าถูกกลั่นแกล้ง จากการที่ป.ป.ช. ตรวจสอบเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2554 ว่า หากมีการบริหารที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จะไม่เกิดปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับครัวเรือนไม่น้อยกว่า 2 ล้านครัวเรือน ซึ่งมีการโกงการใช้งบประมาณช่วยเหลือประชาชน โดยใช้งบประมาณไปถึง 1.2 แสนล้านบาท โดยพบว่าหลายจังหวัด มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อฟื้นฟูและก่อสร้างโครงการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เช่น ที่นนทบุรี ใช้งบประมาณกว่าห้าพันล้านบาท ปทุมธานี ใช้ถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาท และที่สุพรรณบุรี ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมน้อยในปี 2554 ได้งบกว่า 1 พันล้านบาท แต่กลับแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะมีการทุจริต ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมาในปัจจุบัน เพราะหากมีการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใส มีการดำเนินโครงการต่างๆ จริง วันนี้ปัญหาน้ำท่วมย่อมลดลง
นอกจากนี้ ในช่วงที่ตนเป็นฝ่ายค้าน ยังได้ตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตจริง ซึ่งมีหนังสือของกระทรวงมหาดไทย ยอมรับว่ามีบางโครงการที่ได้งบประมาณมิได้อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยในขณะนั้นมีการระบุกันว่า มีการเรียกเงินทอนสูงถึง 30% และยังพบอีกว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 103/7 และ103/8 ที่กำหนดให้มีมาตรการเปิดเผยราคากลาง และวิธีคิดราคากลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.20 น. วานนี้ (26ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหนัาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงกรณีว่าจะลงนามในคำสั่งเรียกค่าเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาทเองหรือไม่
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการ หลังคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว รายงานตัวเลขสรุปเรียกค่าเสียหายว่า กระบวนการหลังจากนี้ ก็คงเป็นแบบเดียวกับการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ซึ่งคณะกรรมการจะต้องส่งเรื่องให้รมว.คลัง และนายกฯ รับทราบ
ส่วนยอดเงินเรียกค่าเสียหายจากเดิม 2.8 แสนล้านบาท เหลือเพียง 3.5 หมื่นล้านบาทนั้น นายวิษณุ ชี้แจงว่า เป็นการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง เพราะตอนพิจารณาครั้งแรก มูลค่าความเสียหายจริงที่ประเมินไว้ประมาณ 5 แสนล้านบาท แต่หมายถึงมูลค่าทั้งหมด ที่ไม่รู้ว่าใครจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งคณะกรรมการชุดที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดโครงการรับจำนำข้าว เห็นว่า ควรมีการรับผิดทั้งหมด 4 ฤดูกาล เป็นเงินประมาณ 2.7 แสนล้านบาท แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางแพ่ง ได้ให้ความเป็นธรรมว่า ความผิดที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากการทุจริต แต่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หลังจากมีการแจ้งเตือน เพราะฉะนั้น ฤดูการผลิตที่ 1 และ 2 ไม่มีการ
เตือน จากนั้นเมื่อมีการเตือนมาในฤดูการผลิตที่ 3 และ 4 คือ การผลิตในปี 2555/56 และปี 2556/57 รวมแล้ว 2 ฤดูกาลผลิต แต่ยังมีการปล่อยปะละเลย ก็ถือว่า มีความผิดเฉพาะ 2 ฤดูกาลนี้ ดังนั้น มูลค่าความเสียหายจาก 2.7 แสนล้านบาท ก็ต้องลดลงมาเหลือ 1.7 แสนล้านบาท
"ในจำนวนเงิน 1.7 แสนล้านบาท การจะต้องพิจารณาว่า ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ปฏิบัติมา 4-5 ปีแล้วว่ากรณีที่เป็นความรับผิดแบบทำกันหลายคน จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการรับผิด ซึ่งมีการกำหนดไว้ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการละเลย ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิด 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ไปเฉลี่ยกับผู้ที่มีส่วนทำความผิด กระทรวงที่รับผิดชอบ ต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง"นายวิษณุกล่าว
เมื่อถามว่านายกฯ จะต้องเซ็นคำสั่ง หรือมีคำสั่งด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ก็แล้วแต่นายกฯ เพราะสามารถที่จะมอบอำนาจต่อไปได้ พร้อมกับยืนยันว่า ไม่ได้ใช้ม.44 ในการยึดทรัพย์ แต่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเข้าไปยึด ก็ต้องมีหน่วยงานกลาง คือ กรมบังคับคดี และการดำเนินการทุกอย่าง ไม่มีลัดขั้นตอน เดินตามขั้นตอน ส่วนกรณีลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะมีการฟ้องล้มละลายหรือไม่นั้น อย่าเพิ่งไปถึงขั้นนั้น เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี ถ้าถูกฟ้องล้มละลาย จะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส. ได้
***ป.ป.ช.ระบุไม่มีการเร่งรัดคดี
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่ามีคดีในส่วนของพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาเรื่อยๆ ว่า ไม่ใช่หรอก แต่ละเรื่องเป็นเรื่องเก่า เมื่อไปเร่งรัด เจ้าหน้าที่เขาก็จะดูว่าเรื่องไหนที่เขาทำใกล้เสร็จแล้ว เขาก็ทำมาให้ตรวจ จึงต้องตรวจเพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณา หากมีมูล ก็ต้องยืนยันว่าผิดอะไร สามารถส่งอัยการเพื่อให้พิจารณาสำนวนต่อไป ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ
***เมิน"ปู" โพสต์ยันให้ความเป็นธรรม
พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวว่า กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์ไอจีส่วนตัวขอให้นายกฯ ให้ความเป็นธรรมในกรณีที่มีการเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ให้เหมือนกับที่ช่วยเหลือน้องชายนายกฯ ว่า ตนไม่ใช่นายกฯ แต่ทุกอย่างก็ต้องดูแลด้วยความเป็นธรรม และยึดตามกฎหมายเป็นหลักทั้งหมด คงไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง ส่วนใครจะโพสต์อย่างไรก็โพสต์ไป ส่วนการคัดค้าน น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ถึง 6 คดี เหตุเป็นคู่ขัดแย้ง เห็นว่า น.ส.สุภา มีสปิริตอยู่แล้ว เรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็เคยถอนตัวตอนพิจารณา ไม่ต้องห่วง
***ไม่หนักใจสอบคดีลูกเมียน้องนายกฯ
พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าคดีลูกชายและภริยาของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งกรณีการรับงานกองทัพ และการสร้างฝาย ว่า ขณะนี้ ป.ป.ช.กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะเมื่อมีคนร้องเข้ามา เจ้าหน้าที่ก็ต้องไปตรวจสอบ ส่วนจะใช้เวลาในการตรวจสอบนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานว่ามีอะไรบ้าง มีใครบ้างที่ต้องไปตรวจสอบ และมีพยานหลักฐานอะไรบ้าง เป็นขั้นตอนการทำงานปกติที่จะต้องทำ และไม่หนักใจแม้คนที่กำลังตรวจสอบเป็นน้องชายนายกรัฐมนตรี แต่จะยิ่งต้องทำด้วยความละเอียด รอบคอบ เพราะสังคมเฝ้ามองอยู่ โดยระยะเวลาในการดำเนินการคงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเรื่องมีอะไรบ้าง ถ้ามีหลายประเด็น ก็ใช้เวลามากหน่อย
ส่วนกรณีกล่าวหา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ทุจริตโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง ว่า คดีดังกล่าวผู้ที่รับผิดชอบสำนวนยังไม่ได้สรุปส่งมาถึงตน แต่ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเร่งรัดติดตาม เนื่องจากสังคมสนใจ รวมถึงคดีสร้างสนามกอล์ฟอัลไพน์ ที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ สมัยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ถูกป.ป.ช. ชี้มูล หากข้อมูลสมบูรณ์ก็จะดำเนินการต่อไป
***"บิ๊กป้อม"ไม่รู้บอกมีองค์กรอิสระดูอยู่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในเรื่องนี้ว่า กรณีลูกพล.อ.ปรีชาตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และมีบ้านเลขที่อยู่ภายในกองทัพภาคที่ 3 นั้น ตนไม่ทราบรายละเอียด เลยตอบไม่ได้ เรื่องทุกอย่างมีองค์กรอิสระดูแลอยู่แล้ว ก็ว่ากันไป
*** "ทนายปู"ร้องหยุดใช้ม.44เล่นงาน
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. นายนพดล หลาวทอง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้ายื่นหนังสื่อถึงพล.อ.ประยุทธ์ เพื่อขอคัดค้านการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคดี ดำเนินการยึดทรัพย์ค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่า การใช้อำนาจก่อนที่คดีความจะสิ้นสุด เป็นการชี้นำคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าว ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิด เพราะคำสั่งต่างๆ ได้ให้การคุ้มครองคณะกรรมการไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง และอาญา และใช้คุ้มครองเฉพาะกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เท่านั้น อีกทั้งการให้อำนาจกรมบังคับคดีเข้ามามีอำนาจยึดทรัพย์ ถือเป็นการก้าวล่วงอำนาจศาล เพราะการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นอำนาจของศาล และผู้เสียหายสามารถโต้แย้งได้ แต่การออกคำสั่งเช่นนี้ ผู้เสียหายไม่มีอำนาจในการโต้แย้งคำสั่ง
***"ไอ้ตู่"อัดรัฐ2มาตรฐาน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งข้อหา 15 คดีว่า หากพิจารณาการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. กับฝ่ายอื่นๆ แล้ว จะปรากฏได้ชัดเจนว่า มีความเสมอภาค เท่าเทียม และยุติธรรมกันหรือไม่ และสิ่งที่ได้รับกลับเป็นการปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน
***ตามคาดโบ้ยป.ป.ช.2มาตรฐาน
นายราเมศร รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การต่อสู้แบบเดิมๆ ที่มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการกระทำของคนของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวหาว่า ป.ป.ช. ดำเนินการ 2 มาตรฐาน ทั้งที่ทำตามครรลองของกฎหมายโดยไม่ได้ไต่สวนเฉพาะคนของเพื่อไทย แต่ยังมีการตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย จึงเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย ยอมรับการตรวจสอบของกระบวนการยุติธรรม
***"หมอวรงค์"ซัดแก๊งเพื่อไทยบิดเบือน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการจี้รัฐบาลทบทวนเรียกค่าเสียหายโครงการจำนำข้าว และขอให้ยกเลิกการใช้มาตรา 44 ว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยพยายามออกแถลงการณ์ช่วงนี้ล้วนเป็นการสะท้อนถึงการไม่ยอมรับผิด และไม่ยอมรับข้อเท็จจริง สังคมต้องไม่ปล่อยให้เขาสร้างกระแสบิดเบือนจนประชาชนเชื่อ เพราะการลงนามคำสั่งทางปกครอง ไม่ใช่จะไปยึดทรัพย์เลย ยังสามารถอุทธรณ์ได้ ต้องสู้กันอีก 2 ศาล ยังเดาไม่ได้จะจบเมื่อไร ผลอย่างไร ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจำนำข้าว ถือเป็นความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ เพราะปล่อยให้มีการทุจริต และกรณีมาอ้าง ม.44 ก็เป็นการบิดเบือน ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ เรื่องทั้งหมดต้องจบลงที่ศาล และสามารถใช้สิทธิทางศาลได้เต็มที่
*** แฉอีกรัฐบาลยิ่งลักษณ์งาบงบน้ำท่วม
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกมาระบุว่าถูกกลั่นแกล้ง จากการที่ป.ป.ช. ตรวจสอบเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในปี 2554 ว่า หากมีการบริหารที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จะไม่เกิดปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับครัวเรือนไม่น้อยกว่า 2 ล้านครัวเรือน ซึ่งมีการโกงการใช้งบประมาณช่วยเหลือประชาชน โดยใช้งบประมาณไปถึง 1.2 แสนล้านบาท โดยพบว่าหลายจังหวัด มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อฟื้นฟูและก่อสร้างโครงการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เช่น ที่นนทบุรี ใช้งบประมาณกว่าห้าพันล้านบาท ปทุมธานี ใช้ถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาท และที่สุพรรณบุรี ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมน้อยในปี 2554 ได้งบกว่า 1 พันล้านบาท แต่กลับแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะมีการทุจริต ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมาในปัจจุบัน เพราะหากมีการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใส มีการดำเนินโครงการต่างๆ จริง วันนี้ปัญหาน้ำท่วมย่อมลดลง
นอกจากนี้ ในช่วงที่ตนเป็นฝ่ายค้าน ยังได้ตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตจริง ซึ่งมีหนังสือของกระทรวงมหาดไทย ยอมรับว่ามีบางโครงการที่ได้งบประมาณมิได้อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยในขณะนั้นมีการระบุกันว่า มีการเรียกเงินทอนสูงถึง 30% และยังพบอีกว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 103/7 และ103/8 ที่กำหนดให้มีมาตรการเปิดเผยราคากลาง และวิธีคิดราคากลาง