นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึง กรณีนายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านพรรคการเมือง มอบทนายความยื่นหนังสือโต้แย้งมติผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ชี้ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายขัดจริยธรรมและใช้สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ 2540 ขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ว่า ทางผู้ตรวจการฯ ก็จะมีการพิจารณาตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ฯซึ่งไม่ใช่เอกสารทุกรายการจะสามารถให้กับผู้ที่ร้องตามที่ขอได้ ถ้าพิจารณาแล้วมีข้อมูลบางอย่างที่อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับผู้ร้องในสำนวน ก็สามารถพิจารณาไม่ให้ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผู้ตรวจฯ มีมติก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจฯก็ได้ส่งสำนวนคำร้อง มูลเหตุที่นำสู่การมีมติไปยังประธานกกต.แล้ว โดยนายธีรวัฒน์ สามารถไปขอทราบเอกสารหลักดังกล่าวได้จากประธานกกต. รวมถึงที่จะยื่นอุทธรณ์ ก็ดำเนินการยื่นต่อประธานกกต.ได้เลย เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่าพ้นจากความรับผิดชอบของผู้ตรวจฯ แล้ว
ส่วนที่นายธีรวัฒน์ ระบุว่า การดำเนินการของผู้ตรวจฯ รวบรัด ไม่โปร่งใส มีเจตนามุ่งร้ายนั้น ยืนยันได้ว่า การพิจารณาของผู้ตรวจฯ เป็นการพิจารณาไปตามกฎหมาย เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ผู้ตรวจฯ หยิบมาพิจารณาเอง แต่ผู้ร้องมีตัวตนชัดเจน เมื่อมาร้อง ก็ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ทำก็อาจถูกข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน และในกระบวนการตรวจสอบ ก็ไม่ได้ทำรวบรัดอย่างที่กล่าวหา โดยผู้ตรวจฯ รับคำร้องตั้งแต่ ก.ค. 58 จากนั้นก็มีการตรวจสอบ เก็บข้อมูลพยานแวดล้อมต่างๆ ก่อนจะมีหนังสือแจ้งไปยังประธานกกต. ในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ชี้แจงเมื่อต้นเดือนก.พ. 59 ซึ่งประธานกกต.ได้ขอขยายเวลา และตอบกลับมาในเดือนพ.ค.ว่า ไม่มีข้อมูลเป็นเรื่องส่วนตัวผู้ตรวจฯ จึงมีมติทำหนังสือถึงนายธีรวัฒน์ ลงวันที่ 7 มิ.ย.ให้ชี้แจงกลับมาภายใน 30 วัน แต่พ้นระยะเวลาดังกล่าวก็ยังไม่มีหนังสือชี้แจงของนายธีรวัฒน์มา จนปรากฏเป็นข่าวว่า ที่ประชุมผู้ตรวจจะพิจารณาลงมติเรื่องนี้ในวันที่ 13 ก.ย. นายธีรวัฒน์ จึงมีหนังสือชี้แจงกลับมาเย็นวันที่ 12 ก.ย. ซึ่งผู้ตรวจฯ ก็ยังรับพิจารณา แต่ก็เห็นว่าคำชี้แจงของนายธีรวัฒน์ ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานที่ผู้ตรวจฯมี และมีมติว่านายธีรวัฒน์ มีพฤติกรรมผิดจริยธรรม
"ถ้าบอกว่าประเด็นคำถามที่ส่งไปให้ชี้แจงไม่ชัดเจน ทำไมเมื่อท่านได้รับหนังสือแล้วไม่แย้งกลับมา หรือถ้าบอกว่าผู้ตรวจฯ รวบรัด ถ้านับเวลาตั้งแต่ผู้ตรวจฯ มีหนังสือไปยังนายธีรวัฒน์ วันที่ 7 มิ.ย. ผ่านไป 30 วัน ท่านยังไม่ชี้แจง มาชี้แจงวันที่12 ก.ย. รวมระยะเวลา 3 เดือน ท่านไม่เคยมีหนังสือมายังผู้ตรวจฯ ขอขยายเวลาสอบสวน อีกทั้งเมื่อท่านส่งหนังสือชี้แจงมา เย็นวันที่ 12 ก.ย. ก่อนที่ผู้ตรวจจะประชุมวันที่ 13 ก.ย. ผู้ตรวจฯ ก็ยังพิจารณาให้ อย่างนี้ไม่น่าจะเรียกว่ารวบรัด แต่คำชี้แจงของท่าน ทางผู้ตรวจเห็นว่าหักล้างกับที่ผู้ตรวจสอบไม่ได้ และหลังจากผู้ตรวจฯมีมติ ก็ทำความเห็นโดยประธานผู้ตรวจฯ ลงนามหนังสือวันที่ 14 ก.ย. และส่งออกถึงประธานกกต. เช้าวันที่ 15 ก.ย. ท่านก็เพิ่งจะมีหนังสือขยายเวลาสอบสวนส่งมา บ่ายวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งมันก็สวนกัน ไม่ทันกันแล้ว"
เมื่อถามว่า ประธานกกต.ระบุเป็นเรื่องเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และจะให้โอกาสนายธีรวัฒน์ ในการชี้แจง ดังนั้นถ้าประธานตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนจะสามารถทำได้หรือไม่ นายรักษเกชา กล่าวว่า ผู้ตรวจฯ ตระหนักอีกว่าประมวลจริยธรรมใช้บังคับกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้นเท่านั้น ซึ่งกรณีที่มีการกล่าวหาผู้ตรวจฯพิจารณาแล้วเห็นว่าลักษณะพฤติกรรมเชื่อมโยงมาถึงการดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน ส่วนการดำเนินการตรวจสอบของประธาน ก็ต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ กกต.
อย่างไรก็ตาม ที่ผู้ตรวจฯ มีมติก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจฯก็ได้ส่งสำนวนคำร้อง มูลเหตุที่นำสู่การมีมติไปยังประธานกกต.แล้ว โดยนายธีรวัฒน์ สามารถไปขอทราบเอกสารหลักดังกล่าวได้จากประธานกกต. รวมถึงที่จะยื่นอุทธรณ์ ก็ดำเนินการยื่นต่อประธานกกต.ได้เลย เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่าพ้นจากความรับผิดชอบของผู้ตรวจฯ แล้ว
ส่วนที่นายธีรวัฒน์ ระบุว่า การดำเนินการของผู้ตรวจฯ รวบรัด ไม่โปร่งใส มีเจตนามุ่งร้ายนั้น ยืนยันได้ว่า การพิจารณาของผู้ตรวจฯ เป็นการพิจารณาไปตามกฎหมาย เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ผู้ตรวจฯ หยิบมาพิจารณาเอง แต่ผู้ร้องมีตัวตนชัดเจน เมื่อมาร้อง ก็ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ทำก็อาจถูกข้อหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน และในกระบวนการตรวจสอบ ก็ไม่ได้ทำรวบรัดอย่างที่กล่าวหา โดยผู้ตรวจฯ รับคำร้องตั้งแต่ ก.ค. 58 จากนั้นก็มีการตรวจสอบ เก็บข้อมูลพยานแวดล้อมต่างๆ ก่อนจะมีหนังสือแจ้งไปยังประธานกกต. ในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ชี้แจงเมื่อต้นเดือนก.พ. 59 ซึ่งประธานกกต.ได้ขอขยายเวลา และตอบกลับมาในเดือนพ.ค.ว่า ไม่มีข้อมูลเป็นเรื่องส่วนตัวผู้ตรวจฯ จึงมีมติทำหนังสือถึงนายธีรวัฒน์ ลงวันที่ 7 มิ.ย.ให้ชี้แจงกลับมาภายใน 30 วัน แต่พ้นระยะเวลาดังกล่าวก็ยังไม่มีหนังสือชี้แจงของนายธีรวัฒน์มา จนปรากฏเป็นข่าวว่า ที่ประชุมผู้ตรวจจะพิจารณาลงมติเรื่องนี้ในวันที่ 13 ก.ย. นายธีรวัฒน์ จึงมีหนังสือชี้แจงกลับมาเย็นวันที่ 12 ก.ย. ซึ่งผู้ตรวจฯ ก็ยังรับพิจารณา แต่ก็เห็นว่าคำชี้แจงของนายธีรวัฒน์ ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานที่ผู้ตรวจฯมี และมีมติว่านายธีรวัฒน์ มีพฤติกรรมผิดจริยธรรม
"ถ้าบอกว่าประเด็นคำถามที่ส่งไปให้ชี้แจงไม่ชัดเจน ทำไมเมื่อท่านได้รับหนังสือแล้วไม่แย้งกลับมา หรือถ้าบอกว่าผู้ตรวจฯ รวบรัด ถ้านับเวลาตั้งแต่ผู้ตรวจฯ มีหนังสือไปยังนายธีรวัฒน์ วันที่ 7 มิ.ย. ผ่านไป 30 วัน ท่านยังไม่ชี้แจง มาชี้แจงวันที่12 ก.ย. รวมระยะเวลา 3 เดือน ท่านไม่เคยมีหนังสือมายังผู้ตรวจฯ ขอขยายเวลาสอบสวน อีกทั้งเมื่อท่านส่งหนังสือชี้แจงมา เย็นวันที่ 12 ก.ย. ก่อนที่ผู้ตรวจจะประชุมวันที่ 13 ก.ย. ผู้ตรวจฯ ก็ยังพิจารณาให้ อย่างนี้ไม่น่าจะเรียกว่ารวบรัด แต่คำชี้แจงของท่าน ทางผู้ตรวจเห็นว่าหักล้างกับที่ผู้ตรวจสอบไม่ได้ และหลังจากผู้ตรวจฯมีมติ ก็ทำความเห็นโดยประธานผู้ตรวจฯ ลงนามหนังสือวันที่ 14 ก.ย. และส่งออกถึงประธานกกต. เช้าวันที่ 15 ก.ย. ท่านก็เพิ่งจะมีหนังสือขยายเวลาสอบสวนส่งมา บ่ายวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งมันก็สวนกัน ไม่ทันกันแล้ว"
เมื่อถามว่า ประธานกกต.ระบุเป็นเรื่องเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และจะให้โอกาสนายธีรวัฒน์ ในการชี้แจง ดังนั้นถ้าประธานตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนจะสามารถทำได้หรือไม่ นายรักษเกชา กล่าวว่า ผู้ตรวจฯ ตระหนักอีกว่าประมวลจริยธรรมใช้บังคับกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้นเท่านั้น ซึ่งกรณีที่มีการกล่าวหาผู้ตรวจฯพิจารณาแล้วเห็นว่าลักษณะพฤติกรรมเชื่อมโยงมาถึงการดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน ส่วนการดำเนินการตรวจสอบของประธาน ก็ต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ กกต.