ริมฝั่งเจ้าพระยา
โดย...สุนันท์ ศรีจันทรา

ศึกภายใน คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กลายเป็นประเด็นฉาวโฉ่ขึ้นมา เมื่อกรรมการ กกต.เสียงข้างมาก3ใน5คนออกมาเคลื่อนไหว กดดันให้นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.ลาออก หลังดำรงตำแหน่งครบ 2 ปีตามที่ตกลงกันไว้
นายศุภชัยให้สัมภาษณ์หน้าตาเฉยยอมรับว่า มีข้อตกลงดำรงตำแหน่ง 2 ปีกกต. และตัวเองไม่ได้ติดยึดกับอะไร แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไร
สรุปความการให้สัมภาษณ์ของนายศุภชัยคือ ยังไม่ยอมลุกจากเก้าอี้ ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับกรรมการ กกต.
กกต.ไม่ใช่องค์กรอิสระแห่งแรกที่มีเรื่องน่าสมเพชเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง และนายศุภชัยไม่ใช่ประธานองค์กรอิสระคนแรกที่ฉีกข้อตกลงลูกผู้ชายที่ทำไว้กับเพื่อนร่วมงาน
เพราะ ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีปัญหาลักษณะเดียวกันมาแล้ว ล่าสุดปัญหากำลังจะปะทุรอบใหม่ โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่ง เลยกำหนดระยะเวลาที่ทำข้อตกลงกันไว้ แต่ยังไม่มีท่าทีลาออกแต่อย่างใด
หรือแม้แต่ตำแหน่ง ประธานวุฒิสภา ก็เคยมีข้อตกลง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาดำรงตำแหน่ง แต่ถึงเวลากลับไม่ยอมลาออก
ตำแหน่งประมุขขอองค์กรต่างๆ เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา โดยใครที่ได้นั่งเก้าอี้แล้ว มักไม่อยากลุกออกไปง่ายๆ แม้จะมีสัญญาหรือข้อตกลงลูกผู้ชายกับใครไว้ก็ตาม
ข้อตกลงการดำรงตำแหน่งวาระ2 ปี ไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีสาธารณชนร่วมรับรู้หรือเป็นพยาน เมื่อคนที่ได้รับตำแหน่งมีความ “ทน” เสียอย่าง ก็ไม่มีใครทำอะไรได้
แต่ความฉาวโฉ่ของ กกต. ไม่ได้อยู่ที่นายศุภชัยจะยอมลุกจากเก้าอี้หรือไม่แล้ว แต่เป้าความสนใจของประชาชนมาอยู่ที่กรรมการ กกต.ทั้ง5 คน ซึ่งแอบไปทำข้อตกลงลับ ผลัดกันขึ้นมาดำรงตำแหน่ง และเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
กฎหมายกำหนดกติกาไว้ชัดอยู่แล้ว กรรมการ กกต.จะดำรงตำแหน่งกี่ปี ประธาน กกต.มีวาระกี่ปี ใครมีคุณสมบัติเหมาะสม ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนสูงสุดก็รับตำแหน่งจนครบวาระ
กรรมการ กกต. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาบางชุดในอดีต หรือแม้แต่กรรมการองค์กรอิสระอื่นย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า การทำข้อตกลงลับ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นรับตำแหน่งประมุของค์กร เป็นเรื่องที่ไม่มีความเหมาะสม ไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส และเป็นพฤติกรรมที่น่าอับอาย จึงปกปิดข้อตกลงไม่ให้สาธารณชนรับรู้
แต่เมื่องุบงิบทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ ก็ย่อมมีโอกาสที่กรรมการ กกต.จะงุบงิบทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ด้านอื่นด้วย เพราะเคยมีข่าวว่า กกต.บางยุค มีข้อตกลง จัดสรรโควตาในการช่วยเหลือผู้สมัครส.ส.ที่กระทำความผิดกฎหมายการเลือกตั้ง โดยไม่ถูกแจกใบแดงหรือใบเหลือง
กกต.บางยุคก็ “ซูเอี๋ย” เอื้อประโยชน์พรรคการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง จนต้องติดคุกกันเป็นแถว
ข้อตกลงผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธาน กกต. เป็นวาระซ่อนเร้น และไม่มีผลบังคับใช้ใดๆในทางกฎหมายทั้งสิ้น และเมื่อไม่มีสัจจะในหมู่โจรฉันท์ใด ก็ไม่มีสัจจะในหมู่ กกต.ที่สมคบกันปกปิดพฤติกรรมอำพรางกับประชาชนฉันท์นั้น
กกต.เสียงข้างมากจะโวยวายกดดันอย่างไร ถ้าประธาน กกต. “ทนได้” เสียอย่าง ไม่ลุกจากเก้าอี้เสียอย่าง ก็ทำอะไรไม่ได้
อย่างไรก็ตาม นายศุภชัยจะอยู่หรือจะไป ไม่ใช่ประเด็นแล้ว เพราะสิ่งที่ประชาชนสนใจคือ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเข้าข่ายพฤติกรรมอำพรางตบตาประชาชน และไม่ควรจะเกิดขึ้นในองค์กรใด โดยเฉพาะองค์กรอิสระ
กรรมการองค์กรอิสระแต่ละคน ถูกพิจารณา เลือกเฟ้นและกลั่นกรองคุณสมบัติมาอย่างรอบคอบในระดับหนึ่งแล้ว มีประวัติและผลงานที่ทำให้สังคมเชื่อว่า น่าจะเป็นคนดี มีความเสียสละ มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ติดยึดในตำแหน่งหรือผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ
แต่ข้อตกลงเล่นเก้าอี้ดนตรีตำแหน่งประธาน สะท้อนให้เห็นว่า กกต.ทั้งชุดไม่ได้ยึดมั่นในกติกา และร่วมกันแหกกฎเพื่อให้บรรลุข้อตกลงแบ่งปันอำนาจ ร่วมกันปกปิดสัญญาบ้าๆ บอๆที่ ทำกันขึ้นเองมาตลอด
กกต.ชุดนี้อยู่ในฐานะนั่งกินนอนกินอยู่แล้ว เพราะเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง จึงแทบไม่ต้องทำงานอะไร การเปิดศึกแย่งชิงตำแหน่ง ประชาชนย่อมมีสิทธิตั้งคำถาม เป็นเพราะกรรมการ กกต.ว่างงานกันหรือไม่
และถ้าวุ่นวายนัก ยุบกรรมการ กกต.ทั้งชุดไปเลยดีกว่า เพราะไม่มีความจำเป็นต้องมี กกต.ก็ได้ ไม่มีจำเป็นต้องจัดงบประมาณเลี้ยงใครไว้นั่งกินนอนกิน
แถมกินอิ่มนอนหลับกันแล้วไม่หนำใจ ยังนำข้อตกลงทุเรศๆ ที่แอบทำกันในที่ลับมาเปิดโปงให้ประชาชนปวดใจกันอีก
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ ม.44สั่งยุบกรรมกา รกกต. คงไม่มีใครคัดค้าน ถ้าจะล้างบางองค์กรอิสระกันเสียบ้าง คงไม่มีใครที่ไม่เห็นดีเห็นงาม
กรรมการองค์กรอิสระที่ฟอนเฟะไม่ได้มีเฉพาะ กกต.เท่านั้น แต่ยังมีองค์กรอิสระบางแห่งที่เสื่อมทรุดในศรัทธาไม่แพ้และกรรมการองค์กรอิสระบางแห่งยิ่งร้ายหนัก แสดงเจตนาชัดว่า จะเข้ามาเพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยพวกพ้องตัวเอง
ช่วยฟอกตัวนักการเมืองเลวๆให้พ้นผิด
ดังนั้นองค์กรอิสระที่สมควรต้องถูกผ่าตัดใหญ่ จึงไม่ได้มีเพียงก กต.เท่านั้น
โดย...สุนันท์ ศรีจันทรา
ศึกภายใน คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กลายเป็นประเด็นฉาวโฉ่ขึ้นมา เมื่อกรรมการ กกต.เสียงข้างมาก3ใน5คนออกมาเคลื่อนไหว กดดันให้นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.ลาออก หลังดำรงตำแหน่งครบ 2 ปีตามที่ตกลงกันไว้
นายศุภชัยให้สัมภาษณ์หน้าตาเฉยยอมรับว่า มีข้อตกลงดำรงตำแหน่ง 2 ปีกกต. และตัวเองไม่ได้ติดยึดกับอะไร แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไร
สรุปความการให้สัมภาษณ์ของนายศุภชัยคือ ยังไม่ยอมลุกจากเก้าอี้ ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับกรรมการ กกต.
กกต.ไม่ใช่องค์กรอิสระแห่งแรกที่มีเรื่องน่าสมเพชเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง และนายศุภชัยไม่ใช่ประธานองค์กรอิสระคนแรกที่ฉีกข้อตกลงลูกผู้ชายที่ทำไว้กับเพื่อนร่วมงาน
เพราะ ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีปัญหาลักษณะเดียวกันมาแล้ว ล่าสุดปัญหากำลังจะปะทุรอบใหม่ โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่ง เลยกำหนดระยะเวลาที่ทำข้อตกลงกันไว้ แต่ยังไม่มีท่าทีลาออกแต่อย่างใด
หรือแม้แต่ตำแหน่ง ประธานวุฒิสภา ก็เคยมีข้อตกลง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาดำรงตำแหน่ง แต่ถึงเวลากลับไม่ยอมลาออก
ตำแหน่งประมุขขอองค์กรต่างๆ เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา โดยใครที่ได้นั่งเก้าอี้แล้ว มักไม่อยากลุกออกไปง่ายๆ แม้จะมีสัญญาหรือข้อตกลงลูกผู้ชายกับใครไว้ก็ตาม
ข้อตกลงการดำรงตำแหน่งวาระ2 ปี ไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีสาธารณชนร่วมรับรู้หรือเป็นพยาน เมื่อคนที่ได้รับตำแหน่งมีความ “ทน” เสียอย่าง ก็ไม่มีใครทำอะไรได้
แต่ความฉาวโฉ่ของ กกต. ไม่ได้อยู่ที่นายศุภชัยจะยอมลุกจากเก้าอี้หรือไม่แล้ว แต่เป้าความสนใจของประชาชนมาอยู่ที่กรรมการ กกต.ทั้ง5 คน ซึ่งแอบไปทำข้อตกลงลับ ผลัดกันขึ้นมาดำรงตำแหน่ง และเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
กฎหมายกำหนดกติกาไว้ชัดอยู่แล้ว กรรมการ กกต.จะดำรงตำแหน่งกี่ปี ประธาน กกต.มีวาระกี่ปี ใครมีคุณสมบัติเหมาะสม ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนสูงสุดก็รับตำแหน่งจนครบวาระ
กรรมการ กกต. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาบางชุดในอดีต หรือแม้แต่กรรมการองค์กรอิสระอื่นย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า การทำข้อตกลงลับ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นรับตำแหน่งประมุของค์กร เป็นเรื่องที่ไม่มีความเหมาะสม ไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส และเป็นพฤติกรรมที่น่าอับอาย จึงปกปิดข้อตกลงไม่ให้สาธารณชนรับรู้
แต่เมื่องุบงิบทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ ก็ย่อมมีโอกาสที่กรรมการ กกต.จะงุบงิบทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ด้านอื่นด้วย เพราะเคยมีข่าวว่า กกต.บางยุค มีข้อตกลง จัดสรรโควตาในการช่วยเหลือผู้สมัครส.ส.ที่กระทำความผิดกฎหมายการเลือกตั้ง โดยไม่ถูกแจกใบแดงหรือใบเหลือง
กกต.บางยุคก็ “ซูเอี๋ย” เอื้อประโยชน์พรรคการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง จนต้องติดคุกกันเป็นแถว
ข้อตกลงผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธาน กกต. เป็นวาระซ่อนเร้น และไม่มีผลบังคับใช้ใดๆในทางกฎหมายทั้งสิ้น และเมื่อไม่มีสัจจะในหมู่โจรฉันท์ใด ก็ไม่มีสัจจะในหมู่ กกต.ที่สมคบกันปกปิดพฤติกรรมอำพรางกับประชาชนฉันท์นั้น
กกต.เสียงข้างมากจะโวยวายกดดันอย่างไร ถ้าประธาน กกต. “ทนได้” เสียอย่าง ไม่ลุกจากเก้าอี้เสียอย่าง ก็ทำอะไรไม่ได้
อย่างไรก็ตาม นายศุภชัยจะอยู่หรือจะไป ไม่ใช่ประเด็นแล้ว เพราะสิ่งที่ประชาชนสนใจคือ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเข้าข่ายพฤติกรรมอำพรางตบตาประชาชน และไม่ควรจะเกิดขึ้นในองค์กรใด โดยเฉพาะองค์กรอิสระ
กรรมการองค์กรอิสระแต่ละคน ถูกพิจารณา เลือกเฟ้นและกลั่นกรองคุณสมบัติมาอย่างรอบคอบในระดับหนึ่งแล้ว มีประวัติและผลงานที่ทำให้สังคมเชื่อว่า น่าจะเป็นคนดี มีความเสียสละ มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ติดยึดในตำแหน่งหรือผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ
แต่ข้อตกลงเล่นเก้าอี้ดนตรีตำแหน่งประธาน สะท้อนให้เห็นว่า กกต.ทั้งชุดไม่ได้ยึดมั่นในกติกา และร่วมกันแหกกฎเพื่อให้บรรลุข้อตกลงแบ่งปันอำนาจ ร่วมกันปกปิดสัญญาบ้าๆ บอๆที่ ทำกันขึ้นเองมาตลอด
กกต.ชุดนี้อยู่ในฐานะนั่งกินนอนกินอยู่แล้ว เพราะเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง จึงแทบไม่ต้องทำงานอะไร การเปิดศึกแย่งชิงตำแหน่ง ประชาชนย่อมมีสิทธิตั้งคำถาม เป็นเพราะกรรมการ กกต.ว่างงานกันหรือไม่
และถ้าวุ่นวายนัก ยุบกรรมการ กกต.ทั้งชุดไปเลยดีกว่า เพราะไม่มีความจำเป็นต้องมี กกต.ก็ได้ ไม่มีจำเป็นต้องจัดงบประมาณเลี้ยงใครไว้นั่งกินนอนกิน
แถมกินอิ่มนอนหลับกันแล้วไม่หนำใจ ยังนำข้อตกลงทุเรศๆ ที่แอบทำกันในที่ลับมาเปิดโปงให้ประชาชนปวดใจกันอีก
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ ม.44สั่งยุบกรรมกา รกกต. คงไม่มีใครคัดค้าน ถ้าจะล้างบางองค์กรอิสระกันเสียบ้าง คงไม่มีใครที่ไม่เห็นดีเห็นงาม
กรรมการองค์กรอิสระที่ฟอนเฟะไม่ได้มีเฉพาะ กกต.เท่านั้น แต่ยังมีองค์กรอิสระบางแห่งที่เสื่อมทรุดในศรัทธาไม่แพ้และกรรมการองค์กรอิสระบางแห่งยิ่งร้ายหนัก แสดงเจตนาชัดว่า จะเข้ามาเพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยพวกพ้องตัวเอง
ช่วยฟอกตัวนักการเมืองเลวๆให้พ้นผิด
ดังนั้นองค์กรอิสระที่สมควรต้องถูกผ่าตัดใหญ่ จึงไม่ได้มีเพียงก กต.เท่านั้น