วานนี้ (8 ส.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเนื้อหาของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่ง กกต.ได้ส่งมาให้กรธ. พิจารณา มีการเชิญนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. และเจ้าหน้าที่สำนักงานกกต. มาให้ข้อมูลด้วย
ทั้งนี้ก่อนเข้าวาระพิจารณานายมีชัย ได้กล่าวกับที่ประชุมว่า กรณีที่มีผู้นำข่าวไปลงว่ากรธ. จะศึกษารูปแบบจัดการเลือกตั้งของประเทศอินเดีย เพื่อปรับใช้นั้น ไม่ใช่การเดินทางไปดูงานแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการศึกษาจากข้อมูล ทั้งนี้ ยืนยันว่าการศึกษาไม่ใช่เพื่อการปรับลดจำนวนกกต. ที่มีอยู่ และบัญญัติไว้ในร่างรธน.ฉบับผ่านประชามติ ดังนั้นขอกกต. อย่าขวัญผวา
ด้านนายสมชัย กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงกับกรธ.ถึงประเด็นที่ กกต.ส่งร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้กรธ. พิจารณาว่า ตนได้ชี้แจงหลักการ และเหตุผลในการร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว 3 ข้อ คือ ทำอย่างไรให้พรรคการเมืองในปัจจุบัน กลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความเข้มแข็งและมีคุณภาพ ไม่ใช่เป็นของนายทุน การสรรหาตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ที่มีคุณภาพ เป็นตัวแทนของพรรค โดยให้ที่ประชุมสาขาพรรค มีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวผู้สมัคร อีกทั้งนโยบายที่พรรคการเมืองจะเสนอต่อประชาชน ต้องเป็นประโยชน์ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู ไม่มีผลในทางปฏิบัติ โดยกกต.กำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งรายละเอียด ที่มางบประมาณ ระยะเวลา ประโยชน์ที่จะได้ และผลกระทบของตัวนโยบาย ให้กกต.เพื่อที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่ถ้าไม่ส่งให้กกต. ก็ไม่สามารถนำนโยบายนั้นไปใช้หาเสียงได้ แต่กกต.จะไม่เข้าไปตรวจสอบตัวนโยบายแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผลจากการประชุมนั้น ทางกรธ.ได้แสดงความเป็นห่วงว่า สิ่งที่กกต.เสนอ อาจตึง หรือหย่อนไป ต้องปรับให้เกิดความพอดี เพราะบางข้ออาจทำให้พรรคการเมืองดำเนินการลำบาก เช่น การที่ต้องส่งรายละเอียดของนโยบายมาให้กกต.ดู ก่อนใช้หาเสียง เพราะอาจเกิดกรณีที่พรรคคิดนโยบายใกล้กับช่วงที่มีการเลือกตั้ง แล้วส่งรายละเอียดมาไม่ทัน อย่างไรก็ตาม กรธ.ต้องไปพูดคุยกันเอง อาจรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน แต่ความเห็นจากพรรคการเมืองนั้น ต้องฟังหูไว้หู เพราะถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย และรักษาผลประโยชน์ตนเอง
ส่วนที่มีข้อเสนอว่าจะให้มหาดไทย เป็นผู้จัดเลือกตั้งนั้น ยังไม่ได้มีการหารือ โดยอาจคุยตอนที่ กกต.ร่างกฎหมายเลือกตั้งส.ส. หรือประเด็นเรื่องยุบกกต.จังหวัด ก็อาจหารือตอนที่ส่งร่าง พ.ร.ป.กกต. ทั้งนี้ ตนได้แจ้งให้กรธ.ทราบว่า กกต.จะส่งกฎหมายที่เหลือ คือพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จะส่งมาวันที่ 13 ก.ย. พ.ร.ป.กกต. ส่งวันที่ 20 ก.ย. และ พ.ร.ป.การได้มาซึ่งส.ว. จะส่งวันที่ 27 ก.ย. นี้ หากกรธ.ต้องการรับฟังเหตุผลเพิ่มเติม กกต.ก็ยินดีที่จะมาชี้แจงถึงเหตุผลในการร่างกฎหมายแต่ละฉบับ
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. กล่าวถึงกรณี ศาลรธน.ระบุให้แม่น้ำ 3 สาย ยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติม สำหรับวินิจฉัยร่างรธน. ที่จะปรับแก้ให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงของสนช.ว่า สนช.ได้รวบรวมเอกสาร หลักฐาน ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำถามพ่วง ตามที่เคยยื่นให้กกต.ก่อนการทำประชามติ เสร็จแล้ว มีเนื้อหาตั้งแต่การอภิปรายคำถามพ่วงในที่ประชุมสนช. ที่ประชุมกมธ. ตลอดจนคำชี้แจงกับประชาชนในการลงพื้นที่ และ ล่าสุดที่ไปชี้แจงกับกรธ. ถือเป็นเรื่องปกติ สนช.ทำไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ได้เป็นไปตามการรายงานข่าว ที่ทำเหมือนกับว่า ตนจะไปทำสงคราม หรือจะไปรบกับใคร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า เอกสารข้อเท็จจริงของ สนช. ที่ส่งไป ศาลก็สามารถนำไปประกอบการการพิจารณาตีความได้แล้ว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรธน. กล่าวว่า ตนรู้สึกว่าข้อเสนอต่อการ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรธน.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. หรือแม้แต่ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ของสปท.ต่างๆ ที่ออกมานั้น กำลังมองผู้สมัครส.ส. เป็นผู้ร้ายค้ายาบ้าอยู่หรือเปล่า เพราะมีการเพิ่มโทษในฐานความผิดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง ต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง และต้องเป็นธรรมกับผู้สมัครส.ส.ด้วย อย่าไปคิดร้ายกับผู้สมัครส.ส. มากเกินไป ระวังฝ่ายการเมืองจะออกมาเรียกร้องให้มีการกำหนดสเปกผู้ที่จะคัดเลือกตั้งสรรหาส.ว.บ้าง ด้วยการเสนอว่า หากพบ หรือมีข้อมูลว่า คนที่จะเข้ารับการสรรหา ส.ว.ไปพบ หรือคุย หรือติดต่อกับกรรมการสรรหา ให้ตัดสิทธิบุคคลนั้นด้วยการแจกใบแดง ห้ามลงไปเลย
ทั้งนี้ก่อนเข้าวาระพิจารณานายมีชัย ได้กล่าวกับที่ประชุมว่า กรณีที่มีผู้นำข่าวไปลงว่ากรธ. จะศึกษารูปแบบจัดการเลือกตั้งของประเทศอินเดีย เพื่อปรับใช้นั้น ไม่ใช่การเดินทางไปดูงานแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการศึกษาจากข้อมูล ทั้งนี้ ยืนยันว่าการศึกษาไม่ใช่เพื่อการปรับลดจำนวนกกต. ที่มีอยู่ และบัญญัติไว้ในร่างรธน.ฉบับผ่านประชามติ ดังนั้นขอกกต. อย่าขวัญผวา
ด้านนายสมชัย กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงกับกรธ.ถึงประเด็นที่ กกต.ส่งร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้กรธ. พิจารณาว่า ตนได้ชี้แจงหลักการ และเหตุผลในการร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว 3 ข้อ คือ ทำอย่างไรให้พรรคการเมืองในปัจจุบัน กลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความเข้มแข็งและมีคุณภาพ ไม่ใช่เป็นของนายทุน การสรรหาตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ที่มีคุณภาพ เป็นตัวแทนของพรรค โดยให้ที่ประชุมสาขาพรรค มีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวผู้สมัคร อีกทั้งนโยบายที่พรรคการเมืองจะเสนอต่อประชาชน ต้องเป็นประโยชน์ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู ไม่มีผลในทางปฏิบัติ โดยกกต.กำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งรายละเอียด ที่มางบประมาณ ระยะเวลา ประโยชน์ที่จะได้ และผลกระทบของตัวนโยบาย ให้กกต.เพื่อที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่ถ้าไม่ส่งให้กกต. ก็ไม่สามารถนำนโยบายนั้นไปใช้หาเสียงได้ แต่กกต.จะไม่เข้าไปตรวจสอบตัวนโยบายแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ผลจากการประชุมนั้น ทางกรธ.ได้แสดงความเป็นห่วงว่า สิ่งที่กกต.เสนอ อาจตึง หรือหย่อนไป ต้องปรับให้เกิดความพอดี เพราะบางข้ออาจทำให้พรรคการเมืองดำเนินการลำบาก เช่น การที่ต้องส่งรายละเอียดของนโยบายมาให้กกต.ดู ก่อนใช้หาเสียง เพราะอาจเกิดกรณีที่พรรคคิดนโยบายใกล้กับช่วงที่มีการเลือกตั้ง แล้วส่งรายละเอียดมาไม่ทัน อย่างไรก็ตาม กรธ.ต้องไปพูดคุยกันเอง อาจรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน แต่ความเห็นจากพรรคการเมืองนั้น ต้องฟังหูไว้หู เพราะถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย และรักษาผลประโยชน์ตนเอง
ส่วนที่มีข้อเสนอว่าจะให้มหาดไทย เป็นผู้จัดเลือกตั้งนั้น ยังไม่ได้มีการหารือ โดยอาจคุยตอนที่ กกต.ร่างกฎหมายเลือกตั้งส.ส. หรือประเด็นเรื่องยุบกกต.จังหวัด ก็อาจหารือตอนที่ส่งร่าง พ.ร.ป.กกต. ทั้งนี้ ตนได้แจ้งให้กรธ.ทราบว่า กกต.จะส่งกฎหมายที่เหลือ คือพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จะส่งมาวันที่ 13 ก.ย. พ.ร.ป.กกต. ส่งวันที่ 20 ก.ย. และ พ.ร.ป.การได้มาซึ่งส.ว. จะส่งวันที่ 27 ก.ย. นี้ หากกรธ.ต้องการรับฟังเหตุผลเพิ่มเติม กกต.ก็ยินดีที่จะมาชี้แจงถึงเหตุผลในการร่างกฎหมายแต่ละฉบับ
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. กล่าวถึงกรณี ศาลรธน.ระบุให้แม่น้ำ 3 สาย ยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติม สำหรับวินิจฉัยร่างรธน. ที่จะปรับแก้ให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงของสนช.ว่า สนช.ได้รวบรวมเอกสาร หลักฐาน ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำถามพ่วง ตามที่เคยยื่นให้กกต.ก่อนการทำประชามติ เสร็จแล้ว มีเนื้อหาตั้งแต่การอภิปรายคำถามพ่วงในที่ประชุมสนช. ที่ประชุมกมธ. ตลอดจนคำชี้แจงกับประชาชนในการลงพื้นที่ และ ล่าสุดที่ไปชี้แจงกับกรธ. ถือเป็นเรื่องปกติ สนช.ทำไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ได้เป็นไปตามการรายงานข่าว ที่ทำเหมือนกับว่า ตนจะไปทำสงคราม หรือจะไปรบกับใคร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า เอกสารข้อเท็จจริงของ สนช. ที่ส่งไป ศาลก็สามารถนำไปประกอบการการพิจารณาตีความได้แล้ว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรธน. กล่าวว่า ตนรู้สึกว่าข้อเสนอต่อการ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรธน.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. หรือแม้แต่ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ของสปท.ต่างๆ ที่ออกมานั้น กำลังมองผู้สมัครส.ส. เป็นผู้ร้ายค้ายาบ้าอยู่หรือเปล่า เพราะมีการเพิ่มโทษในฐานความผิดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง ต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง และต้องเป็นธรรมกับผู้สมัครส.ส.ด้วย อย่าไปคิดร้ายกับผู้สมัครส.ส. มากเกินไป ระวังฝ่ายการเมืองจะออกมาเรียกร้องให้มีการกำหนดสเปกผู้ที่จะคัดเลือกตั้งสรรหาส.ว.บ้าง ด้วยการเสนอว่า หากพบ หรือมีข้อมูลว่า คนที่จะเข้ารับการสรรหา ส.ว.ไปพบ หรือคุย หรือติดต่อกับกรรมการสรรหา ให้ตัดสิทธิบุคคลนั้นด้วยการแจกใบแดง ห้ามลงไปเลย