วานนี้ (29 ส.ค.) ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “บูรณาการควบคุม (เมท) แอมเฟตามีนอย่างสร้างสรรค์ และนวัตกรรมยุติธรรมตามร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด”ใน 5 มิติ ได้แก่ 1. ด้านองค์ความรู้ยาเสพติด : ทักษะสังคมเพื่อลดอันตราย 2. ด้านสังคม 3. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 4. ด้านเศรษฐกิจ และ 5. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ โดยมีนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ศูนย์บริการสาธารณสุข ฯลฯ เข้าร่วม
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาการปรับยาบ้า ให้มาอยู่ในยาเสพติด ประเภท 2 เนื่องจากยาเสพติดประเภท 1 กระทรวงสาธารณสุขนั้นไม่สามารถใช้ได้ เพราะเป็นยาเสพติดที่รุนแรง และอาจใช้ ม.44 หากมีความจำเป็น แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขด้วย ถ้าไม่พร้อมก็ไม่ต้อง ส่วนกรณีนักโทษเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำทั่วประเทศ อาจไม่เข้าข่ายในการพิจารณา แต่สามารถเข้าสู่กระบวนการพักโทษได้ เพราะมีช่องทางอยู่แล้ว
สำหรับการปรับโฉมป.ป.ส. ต้องอย่าลืมว่า เมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติเคยประกาศสงครามยาเสพติดมาแล้ว แต่ไม่ได้ผล จนกระทั่งปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้ และต้องมีการปรับระบบทำงาน 3 ด้าน คือ 1. ป้องกัน 2. ปราบปราม 3. บำบัดฟื้นฟู โดยตนเชื่อว่า 3 ระบบนี้ต้องไปควบคู่กัน ซึ่งมีหลายสิบประเทศ ได้นำนโยบายนี้ไปใช้จนประสบความสำเร็จ ดังนั้น ป.ป.ส. ต้องเป็นหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน ในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีหลายโครงการแล้ว แต่อาจไม่มีการบูรณาการ หรือติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องจึงยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร
"ปริมาณยาเสพติดที่ออกมาจากแหล่งผลิต ถือว่ายังมีจำนวนมาก ซึ่งผมเคยพูดเรื่องสามเหลี่ยมทองคำกับนานาประเทศ โดยจะต้องกำจัดแหล่งผลิตอย่างจริงจัง ไม่ให้ป้อนเข้าสู่ประเทศไทยได้ อีกทั้งความต้องการของยาบ้ามองว่าอาจเป็นสินค้าเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะสร้างผลกำไรอันมหาศาล และถ้าทำให้ตัวยาถูกลง จะลดผู้ขายได้
หรือไม่ ก็เป็นหัวข้อที่ควรนำมาพูดคุยกัน แต่หากเมื่อมันถูกแล้วคนซื้อก็จะซื้อเพิ่มขึ้น อันนี้ต้องทำความเข้าใจ สร้างความรับรู้ให้ประชาชนด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลดหย่อนโทษให้กับผู้ค้า และยืนยันว่ายังคงต้องโทษประหารชีวิต ซึ่งยังจำเป็นสำหรับประเทศไทย" รมว.ยุติธรรม กล่าว
นอกจากนี้ ยาเสพติดประเภท 5 ได้แก่ พวกกัญชง กัญชา ใบกระท่อม ก็กำลังคุยกันอยู่ว่า ถ้ามีคนปลูกเป็นยาสามัญประจำบ้านก็ไม่น่ามีปัญหา แต่หากกลั่นกรองเป็นยาเสพติด ถือว่าผิดกฎหมาย ทำให้ต้องดูรายละเอียดกัน เนื่องจากชาวบ้านใช้เป็นยารักษา ถ้าจะมาบอกทุกอย่างคือยาเสพติดหมด มันก็จะกลายเป็นปัญหา เพราะปัจจุบันการแพทย์พิสูจน์มาแล้วว่า สามารถช่วยรักษาโรคได้ โดยรัฐต้องเป็นผู้แยกกฎหมายให้ชัดเจน
ด้านนพ.โสภณ กล่าวว่า ทาง กระทรวงสาธารณสุข มองว่าผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย หากมีผู้เข้าเกณฑ์ก็สามารถส่งตัวมารักษาหรือใช้มาตราอื่นๆ ตามแนวทางที่เสนอไป ทั้งนี้หากเป็นยาเสพติดประเภท 1 ไม่สามารถสั่งใช้ได้ แต่ประเภท 2 แพทย์หรือหมอ สามารถนำไปใช้ในการรักษาได้ โดยในต่างประเทศมีการศึกษา และนำไปใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยมาแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการพูดคุยกับหลายหน่วยงาน เพื่อได้ข้อสรุปในการรักษาให้ได้ผลสำเร็จต่อไป
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาการปรับยาบ้า ให้มาอยู่ในยาเสพติด ประเภท 2 เนื่องจากยาเสพติดประเภท 1 กระทรวงสาธารณสุขนั้นไม่สามารถใช้ได้ เพราะเป็นยาเสพติดที่รุนแรง และอาจใช้ ม.44 หากมีความจำเป็น แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขด้วย ถ้าไม่พร้อมก็ไม่ต้อง ส่วนกรณีนักโทษเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำทั่วประเทศ อาจไม่เข้าข่ายในการพิจารณา แต่สามารถเข้าสู่กระบวนการพักโทษได้ เพราะมีช่องทางอยู่แล้ว
สำหรับการปรับโฉมป.ป.ส. ต้องอย่าลืมว่า เมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติเคยประกาศสงครามยาเสพติดมาแล้ว แต่ไม่ได้ผล จนกระทั่งปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้ และต้องมีการปรับระบบทำงาน 3 ด้าน คือ 1. ป้องกัน 2. ปราบปราม 3. บำบัดฟื้นฟู โดยตนเชื่อว่า 3 ระบบนี้ต้องไปควบคู่กัน ซึ่งมีหลายสิบประเทศ ได้นำนโยบายนี้ไปใช้จนประสบความสำเร็จ ดังนั้น ป.ป.ส. ต้องเป็นหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน ในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีหลายโครงการแล้ว แต่อาจไม่มีการบูรณาการ หรือติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องจึงยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร
"ปริมาณยาเสพติดที่ออกมาจากแหล่งผลิต ถือว่ายังมีจำนวนมาก ซึ่งผมเคยพูดเรื่องสามเหลี่ยมทองคำกับนานาประเทศ โดยจะต้องกำจัดแหล่งผลิตอย่างจริงจัง ไม่ให้ป้อนเข้าสู่ประเทศไทยได้ อีกทั้งความต้องการของยาบ้ามองว่าอาจเป็นสินค้าเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะสร้างผลกำไรอันมหาศาล และถ้าทำให้ตัวยาถูกลง จะลดผู้ขายได้
หรือไม่ ก็เป็นหัวข้อที่ควรนำมาพูดคุยกัน แต่หากเมื่อมันถูกแล้วคนซื้อก็จะซื้อเพิ่มขึ้น อันนี้ต้องทำความเข้าใจ สร้างความรับรู้ให้ประชาชนด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลดหย่อนโทษให้กับผู้ค้า และยืนยันว่ายังคงต้องโทษประหารชีวิต ซึ่งยังจำเป็นสำหรับประเทศไทย" รมว.ยุติธรรม กล่าว
นอกจากนี้ ยาเสพติดประเภท 5 ได้แก่ พวกกัญชง กัญชา ใบกระท่อม ก็กำลังคุยกันอยู่ว่า ถ้ามีคนปลูกเป็นยาสามัญประจำบ้านก็ไม่น่ามีปัญหา แต่หากกลั่นกรองเป็นยาเสพติด ถือว่าผิดกฎหมาย ทำให้ต้องดูรายละเอียดกัน เนื่องจากชาวบ้านใช้เป็นยารักษา ถ้าจะมาบอกทุกอย่างคือยาเสพติดหมด มันก็จะกลายเป็นปัญหา เพราะปัจจุบันการแพทย์พิสูจน์มาแล้วว่า สามารถช่วยรักษาโรคได้ โดยรัฐต้องเป็นผู้แยกกฎหมายให้ชัดเจน
ด้านนพ.โสภณ กล่าวว่า ทาง กระทรวงสาธารณสุข มองว่าผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย หากมีผู้เข้าเกณฑ์ก็สามารถส่งตัวมารักษาหรือใช้มาตราอื่นๆ ตามแนวทางที่เสนอไป ทั้งนี้หากเป็นยาเสพติดประเภท 1 ไม่สามารถสั่งใช้ได้ แต่ประเภท 2 แพทย์หรือหมอ สามารถนำไปใช้ในการรักษาได้ โดยในต่างประเทศมีการศึกษา และนำไปใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยมาแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการพูดคุยกับหลายหน่วยงาน เพื่อได้ข้อสรุปในการรักษาให้ได้ผลสำเร็จต่อไป