ปัญญาพลวัตร
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
แต่ละสังคมมีความทรงจำการเมืองแตกต่างกัน สำหรับสังคมไทยความทรงจำเรื่องการเมืองเป็นความทรงจำที่ค่อยดีนัก ซึ่งมีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพความทรงจำแบบนั้นขึ้นมา สำหรับคนไทย การรับรู้ว่าสิ่งใดคือการเมือง จะดูจากการเชื่อมโยงของสิ่งนั้นกับการเลือกตั้งเป็นหลัก แต่หากเรื่องใดไม่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง สิ่งนั้นจะถูกมองราวกับว่าไม่ใช่การเมือง ทั้งที่เป็นเรื่องการใช้อำนาจผ่านสถาบันการเมืองเช่นเดียวกัน
ความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเมืองสะท้อนออกมาในหลากรูปแบบหลายประโยค ที่คุ้นเคยกันมากคือ “การเมืองเป็นเรื่องสกปรก”,“เรื่องนี้เป็นเรื่องของบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องการเมือง”,“การเมืองขัดขวางการพัฒนาและความเจริญของประเทศ”,“การเมืองเป็นเรื่องความฉ้อฉลและความไร้ประสิทธิภาพ” , “การเมืองเป็นเรื่องการช่วงชิงผลประโยชน์” ,“การเมืองเป็นเรื่องการใช้เล่ห์เหลี่ยมและหักหลังกัน”, “คนดีไม่อยากเล่นการเมือง”,“ไม่มีเงินอย่าเข้าไปเล่นการเมือง” การตีเข้าใจและการตีความแบบนี้ทำให้คนจำนวนมากมีความรู้สึกรังเกียจและไม่อยากเข้าไปสู่อาณาบริเวณของการเมือง
ความทรงจำแบบนี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน กลุ่มที่สร้างความทรงจำและตอกย้ำแบบนี้ให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องย่อมหนีไม่พ้นกลุ่มที่เราเรียกว่า “นักการเมือง” แต่ก็มิใช่ว่าจะมีเพียงกลุ่มนักการเมืองเพียงกลุ่มเดียวที่มีส่วนต่อกระบวนการสร้างความทรงจำเช่นนี้ หากแต่กลุ่มที่ทรงพลังอำนาจในสังคมอย่างชนชั้นนำดั้งเดิม ทหาร และกลุ่มที่ทรงภูมิปัญญาอย่างนักวิชาการก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
“นักการเมือง” เป็นคำที่หลายคนได้ยินแล้วต้องเบือนหน้าหนี เพราะว่าเมื่อคำนี้มากระทบกับประสาทหู ความคิดของคนจำนวนมากก็จะเชื่อมโยงกับการรับรู้ชุดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเหล่านี้ เรามีแนวโน้มที่จะนิยามกลุ่มที่เป็นนักการเมืองว่า เป็นกลุ่มที่มุ่งแสวงหาตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์โดยใช้การเลือกตั้งเป็นบันได ซึ่งหมายถึงเราเชื่อมความเป็นนักการเมืองกับการเลือกตั้งเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่น ราวกับว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่เรากลับไม่ค่อยจะนึกผนวกรวมกลุ่มคนที่มุ่งแสวงหาตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์โดยไม่ใช้การเลือกตั้งอยู่ในนิยามของคำว่า “นักการเมือง” ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามของบางคนบางกลุ่ม พยายามที่จะประดิษฐ์คำว่า “นักเลือกตั้ง” ขึ้นมาเพื่อแยกและสร้างความแตกต่างให้กับคำว่า “นักการเมือง” เป็นความพยายามสร้างคำขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้คำว่า “นักการเมือง” ดูดีขึ้นนั่นเอง แต่ดูเหมือนไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยคนจำนวนมากก็ยังคงเข้าใจคำว่านักการเมืองในลักษณะเดิมนั่นแหละ
การเป็นนักการเมืองจึงผูกติดกับการเลือกตั้ง การแสวงหาอำนาจ และผลประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากไม่สามารถยอมรับได้ การสร้างความยอมรับแก่ผู้คนว่าการกระทำของตนเองไม่ใช่เป็นเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ จึงจำเป็นต้องทำให้สาธารณะรับรู้และเข้าใจว่าได้สละ “ความเป็นนักการเมือง” และ “ไม่เล่นการเมืองแบบที่มีการเลือกตั้ง” อีกต่อไป
ดังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตนักการเมืองได้ประกาศละทิ้งความเป็นนักการเมืองของตน เพื่อปรับสถานภาพเป็น “ผู้นำมวลมหาประชาชน” นายสุเทพได้ประกาศในที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เอาไว้ว่า “หลังจากชุมนุมจบ ตนก็จะไม่เป็นนักการเมือง และไม่ลงสมัคร ส.ส. อีกแล้ว เพราะเห็นว่าการต่อสู้ในระบอบสภา เอาชนะไม่ได้ จึงลาออกจาก ส.ส. มาสู้กับมวลมหาประชาชน”
โดยนัยนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล และความพยายามยึดครองอำนาจรัฐ(แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) โดยใช้พลังมวลชนเป็นเรื่องที่ถูกเข้าใจว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง” แต่เป็นเรื่องของประชาชนและเป็นเรื่องของชาติบ้านเมือง
เช่นเดียวกันผู้นำการรัฐประหารหลายคน เมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จ และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี บางคนเป็นรองนายกรัฐมนตรี และบางคนเป็นรัฐมนตรี ระหว่างที่ครองอำนาจบริหารประเทศอยู่ก็มักระบุว่า ตนเองไม่ใช่นักการเมือง ไม่ชอบเล่นการเมือง และหากมีรัฐธรรมนูญแล้วก็จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง การพูดในทำนองนี้มีนัยว่าพวกเขาล้วนรับรู้และเข้าใจว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง ส่วนการยึดอำนาจด้วยกำลังทหารและขึ้นดำรงตำแหน่งในสถาบันที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัตินั้นมิใช่การเมือง
ภาพความน่ารังเกียจของการเมือง การเลือกตั้ง และนักการเมืองย่อมมิได้เกิดขึ้นจากการจิตนาการ ความเชื่อ หรือการกล่าวหาโดยปราศจากความจริงเชิงประจักษ์รองรับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้คนในสังคมไทยสัมผัสและรับรู้ได้จากประสบการณ์ตรงและทางอ้อม ยิ่งในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา หากมิใช่ปิดหู บังตาตนเองด้วยม่านอคติบางอย่าง ย่อมสามารถรับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก
แต่การที่จำกัดความคิดและนิยามการเมืองว่าเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้งเท่านั้น ดูเหมือนเป็นการมองการเมืองที่คับแคบเกินไป และการมีทัศนคติในเชิงลบกับการเมือง ก็มิใช่เรื่องที่น่าพึงปรารถนามากนัก เพราะจะทำให้คนในสังคมไม่อยากยุ่งกับการเมือง และปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนเพียงไม่กี่คนหรือไม่กี่กลุ่ม หากสังคมไทยไม่สามารถสร้างนิยามการเมือง นักการเมือง และการเลือกตั้งภายใต้รูปแบบและเนื้อหาใหม่ได้ ก็ย่อมตกอยู่ในวังวนดังที่ผ่านมาไปอีกยาวนาน
ผมคิดว่า เราควรขยายขอบเขตการมองการเมืองให้กว้างกว่าการเลือกตั้งและรัฐสภา และการทำให้การเมืองเป็นอาณาบริเวณที่ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเสียสละ มีการตัดสินร่วมกันอย่างมีเหตุมีผลและเป็นธรรม โดยยึดกุมเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก
เช่นเดียวกันกับภาพลักษณ์และความทรงจำที่สังคมมีต่อนักการเมือง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการถูกมองว่าเป็น “นักฉวยโอกาสและฉ้อฉล” มาเป็น “ผู้เสียสละเพื่อประเทศและซื่อตรง” แต่การจะเปลี่ยนความทรงจำของสังคมได้ ผู้ที่ประสงค์มาเป็นนักการเมือง จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและการกระทำเสียใหม่ และเริ่มสร้างความทรงจำใหม่ๆที่ดีขึ้นมาทดแทนความทรงจำที่เลวร้ายในอดีตให้ได้เสียก่อน
ผมคิดว่าเราควรเริ่มเปิดศักราชใหม่ของความทรงจำใหม่เกี่ยวกับ “การเมือง” “การเลือกตั้ง” และ “นักการเมือง” แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นกับตัวละครหลักที่จะเข้ามาเป็น “นักการเมือง” ในอนาคตนั่นเอง
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
แต่ละสังคมมีความทรงจำการเมืองแตกต่างกัน สำหรับสังคมไทยความทรงจำเรื่องการเมืองเป็นความทรงจำที่ค่อยดีนัก ซึ่งมีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพความทรงจำแบบนั้นขึ้นมา สำหรับคนไทย การรับรู้ว่าสิ่งใดคือการเมือง จะดูจากการเชื่อมโยงของสิ่งนั้นกับการเลือกตั้งเป็นหลัก แต่หากเรื่องใดไม่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง สิ่งนั้นจะถูกมองราวกับว่าไม่ใช่การเมือง ทั้งที่เป็นเรื่องการใช้อำนาจผ่านสถาบันการเมืองเช่นเดียวกัน
ความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเมืองสะท้อนออกมาในหลากรูปแบบหลายประโยค ที่คุ้นเคยกันมากคือ “การเมืองเป็นเรื่องสกปรก”,“เรื่องนี้เป็นเรื่องของบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องการเมือง”,“การเมืองขัดขวางการพัฒนาและความเจริญของประเทศ”,“การเมืองเป็นเรื่องความฉ้อฉลและความไร้ประสิทธิภาพ” , “การเมืองเป็นเรื่องการช่วงชิงผลประโยชน์” ,“การเมืองเป็นเรื่องการใช้เล่ห์เหลี่ยมและหักหลังกัน”, “คนดีไม่อยากเล่นการเมือง”,“ไม่มีเงินอย่าเข้าไปเล่นการเมือง” การตีเข้าใจและการตีความแบบนี้ทำให้คนจำนวนมากมีความรู้สึกรังเกียจและไม่อยากเข้าไปสู่อาณาบริเวณของการเมือง
ความทรงจำแบบนี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน กลุ่มที่สร้างความทรงจำและตอกย้ำแบบนี้ให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องย่อมหนีไม่พ้นกลุ่มที่เราเรียกว่า “นักการเมือง” แต่ก็มิใช่ว่าจะมีเพียงกลุ่มนักการเมืองเพียงกลุ่มเดียวที่มีส่วนต่อกระบวนการสร้างความทรงจำเช่นนี้ หากแต่กลุ่มที่ทรงพลังอำนาจในสังคมอย่างชนชั้นนำดั้งเดิม ทหาร และกลุ่มที่ทรงภูมิปัญญาอย่างนักวิชาการก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
“นักการเมือง” เป็นคำที่หลายคนได้ยินแล้วต้องเบือนหน้าหนี เพราะว่าเมื่อคำนี้มากระทบกับประสาทหู ความคิดของคนจำนวนมากก็จะเชื่อมโยงกับการรับรู้ชุดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเหล่านี้ เรามีแนวโน้มที่จะนิยามกลุ่มที่เป็นนักการเมืองว่า เป็นกลุ่มที่มุ่งแสวงหาตำแหน่ง อำนาจและผลประโยชน์โดยใช้การเลือกตั้งเป็นบันได ซึ่งหมายถึงเราเชื่อมความเป็นนักการเมืองกับการเลือกตั้งเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่น ราวกับว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่เรากลับไม่ค่อยจะนึกผนวกรวมกลุ่มคนที่มุ่งแสวงหาตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์โดยไม่ใช้การเลือกตั้งอยู่ในนิยามของคำว่า “นักการเมือง” ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามของบางคนบางกลุ่ม พยายามที่จะประดิษฐ์คำว่า “นักเลือกตั้ง” ขึ้นมาเพื่อแยกและสร้างความแตกต่างให้กับคำว่า “นักการเมือง” เป็นความพยายามสร้างคำขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้คำว่า “นักการเมือง” ดูดีขึ้นนั่นเอง แต่ดูเหมือนไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยคนจำนวนมากก็ยังคงเข้าใจคำว่านักการเมืองในลักษณะเดิมนั่นแหละ
การเป็นนักการเมืองจึงผูกติดกับการเลือกตั้ง การแสวงหาอำนาจ และผลประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากไม่สามารถยอมรับได้ การสร้างความยอมรับแก่ผู้คนว่าการกระทำของตนเองไม่ใช่เป็นเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ จึงจำเป็นต้องทำให้สาธารณะรับรู้และเข้าใจว่าได้สละ “ความเป็นนักการเมือง” และ “ไม่เล่นการเมืองแบบที่มีการเลือกตั้ง” อีกต่อไป
ดังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตนักการเมืองได้ประกาศละทิ้งความเป็นนักการเมืองของตน เพื่อปรับสถานภาพเป็น “ผู้นำมวลมหาประชาชน” นายสุเทพได้ประกาศในที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เอาไว้ว่า “หลังจากชุมนุมจบ ตนก็จะไม่เป็นนักการเมือง และไม่ลงสมัคร ส.ส. อีกแล้ว เพราะเห็นว่าการต่อสู้ในระบอบสภา เอาชนะไม่ได้ จึงลาออกจาก ส.ส. มาสู้กับมวลมหาประชาชน”
โดยนัยนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล และความพยายามยึดครองอำนาจรัฐ(แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) โดยใช้พลังมวลชนเป็นเรื่องที่ถูกเข้าใจว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง” แต่เป็นเรื่องของประชาชนและเป็นเรื่องของชาติบ้านเมือง
เช่นเดียวกันผู้นำการรัฐประหารหลายคน เมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จ และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี บางคนเป็นรองนายกรัฐมนตรี และบางคนเป็นรัฐมนตรี ระหว่างที่ครองอำนาจบริหารประเทศอยู่ก็มักระบุว่า ตนเองไม่ใช่นักการเมือง ไม่ชอบเล่นการเมือง และหากมีรัฐธรรมนูญแล้วก็จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง การพูดในทำนองนี้มีนัยว่าพวกเขาล้วนรับรู้และเข้าใจว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง ส่วนการยึดอำนาจด้วยกำลังทหารและขึ้นดำรงตำแหน่งในสถาบันที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัตินั้นมิใช่การเมือง
ภาพความน่ารังเกียจของการเมือง การเลือกตั้ง และนักการเมืองย่อมมิได้เกิดขึ้นจากการจิตนาการ ความเชื่อ หรือการกล่าวหาโดยปราศจากความจริงเชิงประจักษ์รองรับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้คนในสังคมไทยสัมผัสและรับรู้ได้จากประสบการณ์ตรงและทางอ้อม ยิ่งในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา หากมิใช่ปิดหู บังตาตนเองด้วยม่านอคติบางอย่าง ย่อมสามารถรับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก
แต่การที่จำกัดความคิดและนิยามการเมืองว่าเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้งเท่านั้น ดูเหมือนเป็นการมองการเมืองที่คับแคบเกินไป และการมีทัศนคติในเชิงลบกับการเมือง ก็มิใช่เรื่องที่น่าพึงปรารถนามากนัก เพราะจะทำให้คนในสังคมไม่อยากยุ่งกับการเมือง และปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของคนเพียงไม่กี่คนหรือไม่กี่กลุ่ม หากสังคมไทยไม่สามารถสร้างนิยามการเมือง นักการเมือง และการเลือกตั้งภายใต้รูปแบบและเนื้อหาใหม่ได้ ก็ย่อมตกอยู่ในวังวนดังที่ผ่านมาไปอีกยาวนาน
ผมคิดว่า เราควรขยายขอบเขตการมองการเมืองให้กว้างกว่าการเลือกตั้งและรัฐสภา และการทำให้การเมืองเป็นอาณาบริเวณที่ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเสียสละ มีการตัดสินร่วมกันอย่างมีเหตุมีผลและเป็นธรรม โดยยึดกุมเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก
เช่นเดียวกันกับภาพลักษณ์และความทรงจำที่สังคมมีต่อนักการเมือง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการถูกมองว่าเป็น “นักฉวยโอกาสและฉ้อฉล” มาเป็น “ผู้เสียสละเพื่อประเทศและซื่อตรง” แต่การจะเปลี่ยนความทรงจำของสังคมได้ ผู้ที่ประสงค์มาเป็นนักการเมือง จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและการกระทำเสียใหม่ และเริ่มสร้างความทรงจำใหม่ๆที่ดีขึ้นมาทดแทนความทรงจำที่เลวร้ายในอดีตให้ได้เสียก่อน
ผมคิดว่าเราควรเริ่มเปิดศักราชใหม่ของความทรงจำใหม่เกี่ยวกับ “การเมือง” “การเลือกตั้ง” และ “นักการเมือง” แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นกับตัวละครหลักที่จะเข้ามาเป็น “นักการเมือง” ในอนาคตนั่นเอง