ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
"ถ้าหาคนดีไม่ได้ค่อยมาพูดกับผม" เป็นประโยคที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรี ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับคำถามพ่วงและนายกรัฐมนตรีคนนอกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพราะเท่ากับ "ยังไม่ปฏิเสธที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก"
ส่วน พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ตอบคำถามหลัง เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ว่าพล.อ.ประวิทย์จะเป็นนายกฯคนนอกหรือไม่สั้นๆว่า "ไม่เอา ไม่เป็นหรอก"
แต่หนทางที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น อาจไม่ได้เป็นเหมือนความคาดหวังของประชาชนที่ไปลงประชามติในคำถามพ่วงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ก็ได้ เพราะความสำคัญในครั้งนี้จะต้องพิจารณามาตรา 272 และคำถามพ่วงว่า จะเพิ่มบทเฉพาะกาลไปในทิศทางใด
"มาตรา ๒๗๒ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๒๖๘ แล้ว หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ ต่อไป โดยจะเสนอชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้"
ถ้าอ่านข้อความดังกล่าวข้างต้น การเกิดขึ้นของนายกรัฐมนตรีคนนอกจะเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 272 ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.เกิดได้เฉพาะกรณี "วาระแรก" เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงเท่ากับเกิดขึ้นได้วาระเดียว หรือ ครั้งเดียวเท่านั้นหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.ต้องเกิดกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อาจลงมติแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้
3.เมื่อเกิดกรณีตามข้อ 1 และ 2 แล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกันครึ่งหนึ่ง หรือ 250 คนขึ้นไป เสนอรายชื่อต่อประธานรัฐสภา เพื่อไม่ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง
4. เมื่อเกิดกรณีตามข้อ 3 แล้ว ให้ ส.ส.เข้าชื่อกัน 50 คนขึ้นไปเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 251 คนขึ้นไป
ในขณะที่คำถามพ่วง หรือประเด็นเพิ่มซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนเสียงข้างมากในการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น ได้ระบุข้อความว่า:
ประเด็นเพิ่มเติม "ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง ๕ ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี"
ความสำคัญของข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 272 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ" และ "คำถามพ่วงซึ่งเป็นประเด็นเพิ่มเติม" นั้นต่างมีสถานะที่ผ่านความเห็นชอบโดยประชามติทั้งคู่ ดั้งนั้นจึงต้องตีความเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างเคร่งครัดทั้งสองส่วน เพื่อนำไปสู่การพิจารณาเขียนบทเฉพาะกาลให้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. "มิติเวลา" คือ ตกลงจะยึดถือระยะเวลาใดในการเลือก "นายกรัฐมนตรีคนนอก" ระหว่าง เฉพาะ "วาระเริ่มแรก" ที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 หรือ "ระหว่าง 5 ปีแรก" นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามคำถามพ่วง?
เพราะถ้ายึดเอา "วาระเริ่มแรก" ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 บางคนตีความว่าย่อมหมายถึงเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกจะเกิดขึ้นได้เฉพาะครั้งแรก และครั้งเดียวที่มีสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หากมีเหตุที่นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งไป เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ลาออก ยุบสภา ฯลฯ ก็จะไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้อีก และแปลว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้เพียง 1 ครั้ง และวาระสูงสุดไม่เกิน 4 ปีเท่านั้น
แต่ถ้ายึดเอา "ระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามคำถามพ่วง" บางคนก็ตีความว่า นั่นหมายถึงสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้กี่คนก็ได้ และด้วยวาระนายกรัฐมนตรีมีเพียง 4 ปี การเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ถึง 5 ปีนั้น แปลว่าสมาชิกวุฒิสภาก็จะสามารถเข้าร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือก แปลว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนนอกได้ถึง 2 สมัยเป็นอย่างน้อย หรือระยะเวลาสูงสุดหากนายกรัฐมนตรีคนนอกอยู่ครบวาระ 4 ปี 2 สมัย คือรวมกันอาจได้นายกรัฐมนตรีคนนอกยาวนานที่สุดได้ถึง 8 ปี
2. "มิติลำดับขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก" ว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของมาตรา 272 ให้ครบเสียก่อนโดยให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีกันเองก่อน แล้วจึงให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกในภายหลังตามมติคำถามพ่วง หรือจะให้สมาชิกวุฒิสภาได้มิสิทธิร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ตั้งแต่คราวแรก
ถ้าความสับสนยังคงดำรงต่อไปเช่นนี้ รับรองได้ว่าจะต้องมีการตีความกันอีกในอนาคตอย่างแน่นอน
แต่การแก้ไขความขัดแย้งในครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะต้องไม่ลืมว่ามาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และข้อความในคำถามพ่วงที่ผ่านประชามตินั้น คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องทำอย่างมีขอบเขตจำกัด โดยไม่น่าจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 โดยตรงได้ และทำได้เพียงเพิ่มบทเฉพาะกาลเพิ่มเติมตามข้อความที่ได้ผ่านประชามติไปแล้ว
ซึ่งประเด็นหนึ่งที่สามารถทำได้คือการบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลคือการงดเว้นเนื้อหาและขั้นตอนการใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 272 เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับคำถามพ่วงได้อย่างไร แต่ในขณะเดียวกันจะเกินขอบเขตกว่าข้อความที่บัญญัติเอาไว้ในคำถามพ่วงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสุดท้ายแล้วก็จะต้องผ่านด่านความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญอีกอยู่ดี
ซึ่งถ้าเราเห็นบทเฉพาะกาลที่ผ่านความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะเห็นได้แจ่มชัดมากขึ้นว่านายกรัฐมนตรีคนนอกที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อยู่นานเพียงใด
สุดท้ายก็อยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่าคิดจะล้างมือในอ่างทองคำหลังหมดวาระแล้วส่งต่อให้คนอื่น หรือจะเดินหน้าเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกต่อไปนั้น ประชาชนที่ได้ฟังคำสัมภาษณ์ก็โปรดแปลความระหว่างบรรทัดของคำสัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเอาเองว่า:
"ใครก็ได้ผมคิดว่ามีคนดีมากกว่าผมอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ค่อยมาพูดกับผม"
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
"ถ้าหาคนดีไม่ได้ค่อยมาพูดกับผม" เป็นประโยคที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรี ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับคำถามพ่วงและนายกรัฐมนตรีคนนอกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพราะเท่ากับ "ยังไม่ปฏิเสธที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก"
ส่วน พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ตอบคำถามหลัง เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ว่าพล.อ.ประวิทย์จะเป็นนายกฯคนนอกหรือไม่สั้นๆว่า "ไม่เอา ไม่เป็นหรอก"
แต่หนทางที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น อาจไม่ได้เป็นเหมือนความคาดหวังของประชาชนที่ไปลงประชามติในคำถามพ่วงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ก็ได้ เพราะความสำคัญในครั้งนี้จะต้องพิจารณามาตรา 272 และคำถามพ่วงว่า จะเพิ่มบทเฉพาะกาลไปในทิศทางใด
"มาตรา ๒๗๒ในวาระเริ่มแรก เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๒๖๘ แล้ว หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ ต่อไป โดยจะเสนอชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้"
ถ้าอ่านข้อความดังกล่าวข้างต้น การเกิดขึ้นของนายกรัฐมนตรีคนนอกจะเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 272 ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.เกิดได้เฉพาะกรณี "วาระแรก" เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงเท่ากับเกิดขึ้นได้วาระเดียว หรือ ครั้งเดียวเท่านั้นหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.ต้องเกิดกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อาจลงมติแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้
3.เมื่อเกิดกรณีตามข้อ 1 และ 2 แล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกันครึ่งหนึ่ง หรือ 250 คนขึ้นไป เสนอรายชื่อต่อประธานรัฐสภา เพื่อไม่ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง
4. เมื่อเกิดกรณีตามข้อ 3 แล้ว ให้ ส.ส.เข้าชื่อกัน 50 คนขึ้นไปเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 251 คนขึ้นไป
ในขณะที่คำถามพ่วง หรือประเด็นเพิ่มซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนเสียงข้างมากในการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น ได้ระบุข้อความว่า:
ประเด็นเพิ่มเติม "ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง ๕ ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี"
ความสำคัญของข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 272 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ" และ "คำถามพ่วงซึ่งเป็นประเด็นเพิ่มเติม" นั้นต่างมีสถานะที่ผ่านความเห็นชอบโดยประชามติทั้งคู่ ดั้งนั้นจึงต้องตีความเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างเคร่งครัดทั้งสองส่วน เพื่อนำไปสู่การพิจารณาเขียนบทเฉพาะกาลให้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. "มิติเวลา" คือ ตกลงจะยึดถือระยะเวลาใดในการเลือก "นายกรัฐมนตรีคนนอก" ระหว่าง เฉพาะ "วาระเริ่มแรก" ที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 หรือ "ระหว่าง 5 ปีแรก" นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามคำถามพ่วง?
เพราะถ้ายึดเอา "วาระเริ่มแรก" ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 บางคนตีความว่าย่อมหมายถึงเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกจะเกิดขึ้นได้เฉพาะครั้งแรก และครั้งเดียวที่มีสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หากมีเหตุที่นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งไป เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ลาออก ยุบสภา ฯลฯ ก็จะไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้อีก และแปลว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้เพียง 1 ครั้ง และวาระสูงสุดไม่เกิน 4 ปีเท่านั้น
แต่ถ้ายึดเอา "ระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามคำถามพ่วง" บางคนก็ตีความว่า นั่นหมายถึงสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้กี่คนก็ได้ และด้วยวาระนายกรัฐมนตรีมีเพียง 4 ปี การเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ถึง 5 ปีนั้น แปลว่าสมาชิกวุฒิสภาก็จะสามารถเข้าร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือก แปลว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนนอกได้ถึง 2 สมัยเป็นอย่างน้อย หรือระยะเวลาสูงสุดหากนายกรัฐมนตรีคนนอกอยู่ครบวาระ 4 ปี 2 สมัย คือรวมกันอาจได้นายกรัฐมนตรีคนนอกยาวนานที่สุดได้ถึง 8 ปี
2. "มิติลำดับขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก" ว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของมาตรา 272 ให้ครบเสียก่อนโดยให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีกันเองก่อน แล้วจึงให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกในภายหลังตามมติคำถามพ่วง หรือจะให้สมาชิกวุฒิสภาได้มิสิทธิร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ตั้งแต่คราวแรก
ถ้าความสับสนยังคงดำรงต่อไปเช่นนี้ รับรองได้ว่าจะต้องมีการตีความกันอีกในอนาคตอย่างแน่นอน
แต่การแก้ไขความขัดแย้งในครั้งนี้ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะต้องไม่ลืมว่ามาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ และข้อความในคำถามพ่วงที่ผ่านประชามตินั้น คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องทำอย่างมีขอบเขตจำกัด โดยไม่น่าจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 โดยตรงได้ และทำได้เพียงเพิ่มบทเฉพาะกาลเพิ่มเติมตามข้อความที่ได้ผ่านประชามติไปแล้ว
ซึ่งประเด็นหนึ่งที่สามารถทำได้คือการบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลคือการงดเว้นเนื้อหาและขั้นตอนการใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 272 เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับคำถามพ่วงได้อย่างไร แต่ในขณะเดียวกันจะเกินขอบเขตกว่าข้อความที่บัญญัติเอาไว้ในคำถามพ่วงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสุดท้ายแล้วก็จะต้องผ่านด่านความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญอีกอยู่ดี
ซึ่งถ้าเราเห็นบทเฉพาะกาลที่ผ่านความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะเห็นได้แจ่มชัดมากขึ้นว่านายกรัฐมนตรีคนนอกที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อยู่นานเพียงใด
สุดท้ายก็อยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่าคิดจะล้างมือในอ่างทองคำหลังหมดวาระแล้วส่งต่อให้คนอื่น หรือจะเดินหน้าเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกต่อไปนั้น ประชาชนที่ได้ฟังคำสัมภาษณ์ก็โปรดแปลความระหว่างบรรทัดของคำสัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเอาเองว่า:
"ใครก็ได้ผมคิดว่ามีคนดีมากกว่าผมอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ค่อยมาพูดกับผม"