ผู้จัดการรายวัน360- "บิ๊กตู่" ยังไม่ตอบรับเสียงเชียร์นั่งนายกฯ แบะท่า "หาคนดีไม่ได้ ค่อยมาคุย" สนช.เตรียมถกปมอำนาจส.ว.ร่วมเสนอชื่อนายกฯคนนอก ได้ตั้งแต่เริ่มแรก ยันไม่กระทบบทหลักรธน. "วันชัย" ดันสุดติ่ง ต้องแก้บทเฉพาะกาล ให้ ส.ว.เสนอชื่อ พร้อมเลือกนายกฯจบในการประชุมนัดแรก อ้างเป็นความต้องการของประชาชน ด้าน กกต.ไม่เห็นด้วยเรื่องเซตซีโรพรรคการเมือง แพลนเลือกตั้ง 10 ธ.ค.60
วานนี้ (17ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวหลังการประชุมครม. กรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะเสนอให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปรับแก้ ส.ส. และส.ว.ไม่จำเป็นต้องเลือกนายกรัฐมนตรี ที่มาจากพรรคการเมือง ว่า แก้ได้หรือ รธน.เขียนไว้ว่าอย่างไร เขาเขียนไว้ 2 ขั้นไม่ใช่หรือ ซึ่งจากการศึกษาของตน จากมาตราในรธน. ในเรื่องที่มาของนายกฯ ขั้นที่ 1 ต้องเลือกจาก ส.ส. พรรคละ 3 คน ถ้าไม่ได้ ถึงจะไปขั้นที่ 2 ดังนั้น อย่างเอามาปนกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช.จะเสนอให้ยุบเหลือวิธีการขั้นเดียว นายกฯ กล่าวทันทีว่า เขียนได้หรือไม่ ตนไม่รู้ ต้องไปถามฝ่ายกฎหมาย หากตนบอกว่าได้ ตนก็จะโดนทั้งหมด ยังไงก็โดน ก็ต้องไปหารือกันมา
ส่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีต สปช. ประกาศตั้งพรรคการเมือง เพื่อรองรับพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ หลังเลือกตั้งนั้น ก็เป็นเรื่องของนายไพบูลย์ ต้องขอขอบคุณในความหวังดี แต่ตนยังไม่เกี่ยวข้องอะไรทั้งสิ้น จะให้ติดต่อมาเท่าไร ตนก็ไม่ต่อด้วยอยู่แล้ว มันไม่ใช่เวลาในตอนนี้ นายไพบูลย์ จะพูดอะไรก็พูดไป สังคมก็ดูเอา อย่ามาลากตนไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองในตอนนี้ ยังไม่ใช่ตอนนั้น มันคนละเรื่อง วันนี้ตนกำลังแก้ปัญหาประเทศอยู่
เมื่อถามว่า นายไพบูลย์ ให้ความเห็นว่า คนที่รับร่างรธน. คือคนที่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯในอนาคต นายกฯ กล่าวว่า ก็ไปถามคนรับร่างฯ จะมาถามอะไรตน ไม่ตอบ
เมื่อถามว่า วันนี้มีทั้งเสียงเชียร์และเสียงเฉยๆ กับการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯต่อ นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ถึงเวลา อย่าเพิ่งมาพูดตอนนี้ ไม่ขอตอบทั้งสิ้น เพราะพูดไปก็ขัดแย้งกับคนนี้ คนนั้น ยังไม่ถึงเวลาเลือกตั้ง ไม่ตอบ จบ
เมื่อถามว่า ทำไมเวลาถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ต้องโมโหทุกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันไม่ใช่เวลาของผม วันนี้ผมเป็นอะไร เป็นหัวหน้าคสช. เป็นนายกฯ ที่มาจากกระบวนการเหล่านี้ แล้วมาถามการเมืองปกติ มันไปได้มั้ย การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยสากล ที่ท่านบอกต้องการมันคงละเรื่องกับวันนี้ ถึงเวลาแล้วไปว่าตรงโน้น จะให้มันแตกวันนี้ก่อนหรือยังไง
เมื่อถามว่าวันนี้ นายกฯทำ และมองอนาคตของประเทศไทย ขณะที่คนไทยเขาก็มองอนาคตคนที่จะมาเป็นผู้นำเหมือนกัน นายกฯ กล่าวว่า ปัดโธ่ เอาวันนี้ก่อน วันหน้าท่านก็เลือกกันเอง อยากเลือกใครก็เลือก อย่าเพิ่งเอาตนไปเกี่ยวข้องตรงโน้น มันก็จะตีกัน ทะเลาะกันตรงนี้ก่อน แล้วบ้านเมืองจะไปได้หรือไม่ ใครก็ใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งทางการเมืองไปเติมอย่างอื่นเข้าอีก ท่านต้องช่วยในการรักษาความสงบเรียบร้อย ประคับประคองไปก่อน รธน.ออกมา รอดูกฎหมายลูกเสร็จแล้วก็ประกาศใช้รธน. เตรียมกฎหมายจัดการเลือกตั้ง มันอีกตั้งยาว แต่มาถามในสิ่งที่ยังไม่เห็นในวันข้างหน้า อย่างที่เคยพูดไว้กลัวผีที่มองไม่เห็นจะกลัวกันทำไมวันนั้น ใครก็ได้ ตนคิดว่ามีคนดีมากกว่าตนอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ ค่อยมาพูดกับผม
**สนช.ถกให้ส.ว.ร่วมเสนอชื่อนายกฯ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง การหารือของสนช. ที่เตรียมไปชี้แจงกับ กรธ.ในการบรรจุคำถามพ่วงลงในบทเฉพาะกาล ของร่างรธน.ว่า ขณะนี้เกือบได้ข้อยุติแล้ว โดยจะมีการประชุมต่อในวันที่ 18 ส.ค.นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องของรายละเอียดและขั้นตอน ความจริงสามารถบอกได้ถึงความมุ่งหมายของคำถามพ่วงอยู่ตรงไหน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่มีเรื่องของวิธีการ ขั้นตอนต่างๆ และมองไปถึงเรื่องของปัญหาที่ติดขัดในบางเรื่อง หากทำไม่ได้ และไม่เกิดขึ้น แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งจะต้องมีการคิดเผื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ กรธ. ได้นำไปประกอบการพิจารณา
"บางเรื่องที่มี สนช.บางคนเสนอเข้ามา มีส่วนที่เราคิดว่าไปกระทบกับตัวรธน.หลัก ซึ่งเราไม่อยากให้มีอะไรไปกระทบกับส่วนนี้ เพราะอยากให้อยู่แต่เฉพาะ บทเฉพาะกาล เวลาครบกรอบระยะเวลา 5 ปี ก็สามารถเดินต่อไปได้เลย ไม่ต้องกลับมาแก้ไข แต่หากมีอะไรไปกระทบกับบทหลัก พอครบ 5 ปี ก็ต้องลับมาแก้ไขอีก เพื่อให้กลับไปสู่ในอีกสภาวการณ์หนึ่ง ตรงนี้เป็นรายละเอียดของกระบวนการ และวิธีการในการจะช่วย กรธ.คิด และออกแบบในการแก้รธน. มันยากตรงที่เราลูกล็อกว่า เราไม่อยากไปแตะบทหลัก" นายสุรชัย กล่าว
เมื่อถามว่า ขณะนี้คนกำลังสับสนว่า ตอนที่ สนช.ไปชี้แจงประเด็นคำถามพ่วงกับประชาชน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ส.ว.มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกฯ ตั้งแต่แรก หรือมีอำนาจแค่โหวตอย่างเดียว นายสุรชัย กล่าวว่า เราคิดว่าในตอนเสนอนายกฯ ครั้งแรก ซึ่งในร่างรธน. ที่เสนอมาตอนนี้ มีอยู่ 2 ขยัก คือ การริเริ่มโดยพรรคการเมือง จากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ต่อกกต. พรรคละ 3 ชื่อ และมีบทเฉพาะกาลที่เขียนไว้ในรธน. ว่า หากขั้นตอนการเลือกนายกฯ ด้วยวิธีการดังกล่าวไม่ผ่าน ก็จะมีอีกขั้นตอนหนึ่ง ที่ให้สิทธิ์เสนอคนนอกมาเป็นนายกฯได้ ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ เราจะหยิบมาพิจารณาว่า ควรจะเป็นขั้นตอนของใครบ้าง ซึ่งในคำถามพ่วง ไม่ได้พูดไว้ ซึ่งก็มีคนเสนอประเด็นนี้มาพิจารณาเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม การประชุมวันที่ 18 ส.ค. จะนำทุกปัญหาที่มีคนหยิบยกมาพิจารณา คุยต่อให้ได้คำตอบทุกปัญหา
**ดันแก้บทเฉพาะกาลปมเลือกนายกฯ
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กล่าวว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประชาชนได้มีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ต่อคำถามพ่วง ซึ่งมีนัยยะที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2. ควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของรธน.ว่าในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรธน.นี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงไม่ควรจะมีข้อโต้แย้ง ถกเถียง ต่อมติของมหาประชาชนแต่อย่างใด บทมาตราใดในรธน. ที่ขัดหรือแย้งต่อมติของประชาชน จะต้องปรับแก้ให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน
"อย่ามามัวโต้แย้งกันว่า บทมาตรานั้นขัดกับมาตรานี้ แล้วทำไม่ได้ นั่นเท่ากับว่า ขัดต่อประชามติของประชาชน บทมาตราใดที่เป็นอุปสรรคปัญหา ต้องตัดออกไปให้หมด เอาให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่แท้จริง ไม่เช่นนั้น สปท. และสนช. จะตั้งคำถามพ่วงขึ้นมาทำไม ในเมื่อรธน.ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เพราะ ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามแผนยุทธศาสตร์ จะปล่อยปละละเลยไม่ได้ ต้องทำให้เสร็จภายใน 5 ปี 2. ในระหว่าง 5 ปีนี้ ทั้งส.ส.และส.ว. ต้องร่วมกันโหวตคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี 3. เมื่อ ส.ส.และ ส.ว. มีสิทธิ์ร่วมกันโหวต ก็มีสิทธิ์ร่วมกันเสนอ ส่วนจะเป็นคนใน หรือเป็นคนนอก ก็เสนอได้ทั้งนั้น ในระหว่าง 5 ปีนี้"
นายวันชัย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสนอคำถามพ่วงในสปท. และที่ประชุมก็เห็นด้วย เสียงส่วนใหญ่มีเจตจำนงตรงกัน คือ 5 ปีแรกของส.ว. มีสิทธิ์ร่วมกับส.ส.ในการโหวตเลือกนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นคนใน หรือคนนอก ดังนั้น กรธ.และสนช. ต้องร่วมกันเอาเจตนารมณ์ของประชาชนมาเป็นข้อกำหนดในการปรับแก้รธน. ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อย่าบิดเบี้ยว หรือหาทางตีเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นอย่างอื่น มิเช่นนั้น ท่านจะกลายเป็นผู้ทรยศต่อประชาชนเสียเอง
**โหวตนายกฯต้องยึดประเพณีปฏิบัติ
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. กล่าวว่า การโหวตเลือกนายกฯ ก็เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ ตามขั้นตอนเหมือนเช่นที่ผ่านมา โดยเมื่อมีประธานสภาแล้วก็เปิดประชุมรัฐสภานัดแรก แทนการประชุมเฉพาะสภาผู้เทนราษฎรเท่านั้น เพื่อดำเนินการโหวตเลือกนายกฯ โดยพรรคเสียงข้างมาก และพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคอื่นก็เสนอชื่อนายกฯ เพื่อให้ที่ประชุมลงคะแนนเลือก แต่ส.ว.ไม่มีสิทธิ์ที่จะเสนอชื่อนายกฯ แข่งด้วย โดยใครได้รับเสียงข้างมาก ก็ได้รับเลือกไป เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดทำอะไรที่ซับซ้อนกว่าที่เคยปฏิบัติมา
เมื่อถามว่า มีการเสนอให้ยกเว้นข้อบังคับการประชุม เพื่อเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชี นายวัลลภ กล่าวว่า " เป็นประชุมรัฐสภาครั้งแรก แล้วจะมีข้อบังคับอะไรที่ใหญ่ไปกว่ารธน.อีก เพราะฉะนั้น อย่าไปทำอะไรนอกเหนือกว่ารธน. จะทำให้มีปัญหาโดยเฉพาะคนที่แพ้ประชามติ จะไม่ให้การยอมรับด้วย"
นายวัลลภ กล่าวว่า การประชุมรัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ เป็นเรื่องของพรรคเสียงข้างมากและพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคอื่นจะเสนอชื่อใครมาเป็นนายกฯไม่ว่าจะเป็นคนใน หรือคนนอกบัญชีพรรคการเมือง เสนอได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะลงมติเลือกใคร ส่วนบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่พรรคการเมืองต้องเสนอ เจตนารมณ์เพื่อเปิดเผยชื่อให้ประชาชนได้เห็นว่า ใครจะมาเป็นนายกฯ เท่านั้น
**อย่ารวบรัดเลือกนายกฯคนนอกนัดแรก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิก สนช. เสนอให้ประชุมร่วมรัฐสภานัดแรก เพื่อร่วมกันขอเสียงสนับสนุน ยกเว้นเงื่อนไขการเลือกนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมืองแล้วจึงดำเนินการเลือกนายกฯไปในคราวเดียวกันเลย ว่า ข้อเสนอของนายทวีศักดิ์ คงเป็นแค่วิธีการประชุมมากกว่าการพยายามรวบรัด ผลักดัน เพื่อเลือกนายกฯในวาระแรก ตามที่สังคมวิจารณ์กัน เพราะโดยข้อเท็จจริง ในการประชุมสภาฯนัดแรก ภายหลังจากการเลือกตั้งจะมีการเสนอให้เลือกนายกฯ ตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ คงจะหารือไม่จบในการประชุมนัดแรก เพราะต้องมีการพูดคุยกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ก่อน ซึ่งตามที่เคยปฏิบัติกันมา หากพูดคุยกันในนัดแรกไม่จบ ก็อาจจะเลื่อนการประชุม และนัดหมายให้มีการประชุมกันใหม่ ถ้าพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่สามารถรวมเสียงส.ส.สนับสนุนว่าที่นายกฯได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็ควรนัดประชุมใหม่ ไม่ควรรวบรัด เพราะมีกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่า ส.ว.สรรหา ก็คงมาที่สภา เพื่อสังเกตการณ์อยู่แล้ว เมื่อเห็นว่าสภาผู้แทนฯไม่สามารถเลือกนายกฯได้ในการประชุมนัดแรก เขาก็คงอยากเร่งรีบ เพื่อประชุมให้จบภายในวันเดียว จึงเสนอเรื่องนี้มา ทั้งนี้จะพูดไปล่วงหน้าบางอย่างก็ยังไม่สะดวก เพราะต้องรอดูว่าแต่ละพรรคการเมือง จะมีพรรคใดที่สามารถรวมเสียงส.ส. ได้มากกว่า 250 เสียง หรือไม่ อย่างไร
** กกต.ชงเลือกตั้ง 10ธ.ค.60
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวบรรยายพิเศษ หัวข้อ“ระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่”ให้กับนักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 20 สถาบันพระปกเกล้า ตอนหนึ่ง ว่า ในการจัดทำกฎหมายลูก ร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ตนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเซตซีโรพรรคการเมือง เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้พรรคการเมืองไปเริ่มต้นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองกันใหม่ ที่ผ่านมามีพัฒนาการมาอยู่แล้ว และมีรากฐานที่จะทำให้พรรคการเมืองเกิดความเข้มแข็ง แต่เห็นว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองในอนาคต ควรอยู่ภายใต้ 3 หลักการ คือ ตั้งยาก อยู่ง่าย ยุบยาก ซึ่งแตกต่างจากที่ผ่านมา คือ ตั้งง่าย อยู่ยาก ยุบง่าย จึงเกิดพรรคการเมืองมากมาย 70-80 พรรค
ทั้งนี้ นายสมชัย ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ถึงปฏิทินการเลือกตั้งส.ส. ว่า จากการดูกำหนดการต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่กำหนดโรดแมปการเลือกตั้ง ส.ส.ไว้ในปลายปี 60 หากขั้นตอนการจัดทำกฎหมายลูกไม่มีปัญหาติดขัดใดๆ คาดว่าการเลือกตั้งส.ส. สามารถมีขึ้นได้ในวันที่ 10 ธ.ค. 60 ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญ และเป็นช่วงวันหยุดยาว ถือเป็นวันที่เหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนดวันดังกล่าว ยังไม่ใช่มติ กกต. เป็นการทดลองเสนอวันที่เป็นไปได้ ยังไม่ใช่วันจริง เพราะต้องรอให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้ง 4 ฉบับ มีผลบังคับใช้ก่อน จึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่แท้จริงได้
วานนี้ (17ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวหลังการประชุมครม. กรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะเสนอให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปรับแก้ ส.ส. และส.ว.ไม่จำเป็นต้องเลือกนายกรัฐมนตรี ที่มาจากพรรคการเมือง ว่า แก้ได้หรือ รธน.เขียนไว้ว่าอย่างไร เขาเขียนไว้ 2 ขั้นไม่ใช่หรือ ซึ่งจากการศึกษาของตน จากมาตราในรธน. ในเรื่องที่มาของนายกฯ ขั้นที่ 1 ต้องเลือกจาก ส.ส. พรรคละ 3 คน ถ้าไม่ได้ ถึงจะไปขั้นที่ 2 ดังนั้น อย่างเอามาปนกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช.จะเสนอให้ยุบเหลือวิธีการขั้นเดียว นายกฯ กล่าวทันทีว่า เขียนได้หรือไม่ ตนไม่รู้ ต้องไปถามฝ่ายกฎหมาย หากตนบอกว่าได้ ตนก็จะโดนทั้งหมด ยังไงก็โดน ก็ต้องไปหารือกันมา
ส่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีต สปช. ประกาศตั้งพรรคการเมือง เพื่อรองรับพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ หลังเลือกตั้งนั้น ก็เป็นเรื่องของนายไพบูลย์ ต้องขอขอบคุณในความหวังดี แต่ตนยังไม่เกี่ยวข้องอะไรทั้งสิ้น จะให้ติดต่อมาเท่าไร ตนก็ไม่ต่อด้วยอยู่แล้ว มันไม่ใช่เวลาในตอนนี้ นายไพบูลย์ จะพูดอะไรก็พูดไป สังคมก็ดูเอา อย่ามาลากตนไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองในตอนนี้ ยังไม่ใช่ตอนนั้น มันคนละเรื่อง วันนี้ตนกำลังแก้ปัญหาประเทศอยู่
เมื่อถามว่า นายไพบูลย์ ให้ความเห็นว่า คนที่รับร่างรธน. คือคนที่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯในอนาคต นายกฯ กล่าวว่า ก็ไปถามคนรับร่างฯ จะมาถามอะไรตน ไม่ตอบ
เมื่อถามว่า วันนี้มีทั้งเสียงเชียร์และเสียงเฉยๆ กับการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯต่อ นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ถึงเวลา อย่าเพิ่งมาพูดตอนนี้ ไม่ขอตอบทั้งสิ้น เพราะพูดไปก็ขัดแย้งกับคนนี้ คนนั้น ยังไม่ถึงเวลาเลือกตั้ง ไม่ตอบ จบ
เมื่อถามว่า ทำไมเวลาถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ต้องโมโหทุกครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันไม่ใช่เวลาของผม วันนี้ผมเป็นอะไร เป็นหัวหน้าคสช. เป็นนายกฯ ที่มาจากกระบวนการเหล่านี้ แล้วมาถามการเมืองปกติ มันไปได้มั้ย การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยสากล ที่ท่านบอกต้องการมันคงละเรื่องกับวันนี้ ถึงเวลาแล้วไปว่าตรงโน้น จะให้มันแตกวันนี้ก่อนหรือยังไง
เมื่อถามว่าวันนี้ นายกฯทำ และมองอนาคตของประเทศไทย ขณะที่คนไทยเขาก็มองอนาคตคนที่จะมาเป็นผู้นำเหมือนกัน นายกฯ กล่าวว่า ปัดโธ่ เอาวันนี้ก่อน วันหน้าท่านก็เลือกกันเอง อยากเลือกใครก็เลือก อย่าเพิ่งเอาตนไปเกี่ยวข้องตรงโน้น มันก็จะตีกัน ทะเลาะกันตรงนี้ก่อน แล้วบ้านเมืองจะไปได้หรือไม่ ใครก็ใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งทางการเมืองไปเติมอย่างอื่นเข้าอีก ท่านต้องช่วยในการรักษาความสงบเรียบร้อย ประคับประคองไปก่อน รธน.ออกมา รอดูกฎหมายลูกเสร็จแล้วก็ประกาศใช้รธน. เตรียมกฎหมายจัดการเลือกตั้ง มันอีกตั้งยาว แต่มาถามในสิ่งที่ยังไม่เห็นในวันข้างหน้า อย่างที่เคยพูดไว้กลัวผีที่มองไม่เห็นจะกลัวกันทำไมวันนั้น ใครก็ได้ ตนคิดว่ามีคนดีมากกว่าตนอีกเยอะแยะในประเทศนี้ ไปดูก็แล้วกัน ถ้าหาคนดีไม่ได้ ค่อยมาพูดกับผม
**สนช.ถกให้ส.ว.ร่วมเสนอชื่อนายกฯ
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง การหารือของสนช. ที่เตรียมไปชี้แจงกับ กรธ.ในการบรรจุคำถามพ่วงลงในบทเฉพาะกาล ของร่างรธน.ว่า ขณะนี้เกือบได้ข้อยุติแล้ว โดยจะมีการประชุมต่อในวันที่ 18 ส.ค.นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องของรายละเอียดและขั้นตอน ความจริงสามารถบอกได้ถึงความมุ่งหมายของคำถามพ่วงอยู่ตรงไหน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่มีเรื่องของวิธีการ ขั้นตอนต่างๆ และมองไปถึงเรื่องของปัญหาที่ติดขัดในบางเรื่อง หากทำไม่ได้ และไม่เกิดขึ้น แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งจะต้องมีการคิดเผื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ กรธ. ได้นำไปประกอบการพิจารณา
"บางเรื่องที่มี สนช.บางคนเสนอเข้ามา มีส่วนที่เราคิดว่าไปกระทบกับตัวรธน.หลัก ซึ่งเราไม่อยากให้มีอะไรไปกระทบกับส่วนนี้ เพราะอยากให้อยู่แต่เฉพาะ บทเฉพาะกาล เวลาครบกรอบระยะเวลา 5 ปี ก็สามารถเดินต่อไปได้เลย ไม่ต้องกลับมาแก้ไข แต่หากมีอะไรไปกระทบกับบทหลัก พอครบ 5 ปี ก็ต้องลับมาแก้ไขอีก เพื่อให้กลับไปสู่ในอีกสภาวการณ์หนึ่ง ตรงนี้เป็นรายละเอียดของกระบวนการ และวิธีการในการจะช่วย กรธ.คิด และออกแบบในการแก้รธน. มันยากตรงที่เราลูกล็อกว่า เราไม่อยากไปแตะบทหลัก" นายสุรชัย กล่าว
เมื่อถามว่า ขณะนี้คนกำลังสับสนว่า ตอนที่ สนช.ไปชี้แจงประเด็นคำถามพ่วงกับประชาชน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ส.ว.มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกฯ ตั้งแต่แรก หรือมีอำนาจแค่โหวตอย่างเดียว นายสุรชัย กล่าวว่า เราคิดว่าในตอนเสนอนายกฯ ครั้งแรก ซึ่งในร่างรธน. ที่เสนอมาตอนนี้ มีอยู่ 2 ขยัก คือ การริเริ่มโดยพรรคการเมือง จากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ต่อกกต. พรรคละ 3 ชื่อ และมีบทเฉพาะกาลที่เขียนไว้ในรธน. ว่า หากขั้นตอนการเลือกนายกฯ ด้วยวิธีการดังกล่าวไม่ผ่าน ก็จะมีอีกขั้นตอนหนึ่ง ที่ให้สิทธิ์เสนอคนนอกมาเป็นนายกฯได้ ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ เราจะหยิบมาพิจารณาว่า ควรจะเป็นขั้นตอนของใครบ้าง ซึ่งในคำถามพ่วง ไม่ได้พูดไว้ ซึ่งก็มีคนเสนอประเด็นนี้มาพิจารณาเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม การประชุมวันที่ 18 ส.ค. จะนำทุกปัญหาที่มีคนหยิบยกมาพิจารณา คุยต่อให้ได้คำตอบทุกปัญหา
**ดันแก้บทเฉพาะกาลปมเลือกนายกฯ
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กล่าวว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประชาชนได้มีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ต่อคำถามพ่วง ซึ่งมีนัยยะที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2. ควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของรธน.ว่าในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรธน.นี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงไม่ควรจะมีข้อโต้แย้ง ถกเถียง ต่อมติของมหาประชาชนแต่อย่างใด บทมาตราใดในรธน. ที่ขัดหรือแย้งต่อมติของประชาชน จะต้องปรับแก้ให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน
"อย่ามามัวโต้แย้งกันว่า บทมาตรานั้นขัดกับมาตรานี้ แล้วทำไม่ได้ นั่นเท่ากับว่า ขัดต่อประชามติของประชาชน บทมาตราใดที่เป็นอุปสรรคปัญหา ต้องตัดออกไปให้หมด เอาให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่แท้จริง ไม่เช่นนั้น สปท. และสนช. จะตั้งคำถามพ่วงขึ้นมาทำไม ในเมื่อรธน.ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เพราะ ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง ตามแผนยุทธศาสตร์ จะปล่อยปละละเลยไม่ได้ ต้องทำให้เสร็จภายใน 5 ปี 2. ในระหว่าง 5 ปีนี้ ทั้งส.ส.และส.ว. ต้องร่วมกันโหวตคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี 3. เมื่อ ส.ส.และ ส.ว. มีสิทธิ์ร่วมกันโหวต ก็มีสิทธิ์ร่วมกันเสนอ ส่วนจะเป็นคนใน หรือเป็นคนนอก ก็เสนอได้ทั้งนั้น ในระหว่าง 5 ปีนี้"
นายวันชัย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสนอคำถามพ่วงในสปท. และที่ประชุมก็เห็นด้วย เสียงส่วนใหญ่มีเจตจำนงตรงกัน คือ 5 ปีแรกของส.ว. มีสิทธิ์ร่วมกับส.ส.ในการโหวตเลือกนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นคนใน หรือคนนอก ดังนั้น กรธ.และสนช. ต้องร่วมกันเอาเจตนารมณ์ของประชาชนมาเป็นข้อกำหนดในการปรับแก้รธน. ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อย่าบิดเบี้ยว หรือหาทางตีเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นอย่างอื่น มิเช่นนั้น ท่านจะกลายเป็นผู้ทรยศต่อประชาชนเสียเอง
**โหวตนายกฯต้องยึดประเพณีปฏิบัติ
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. กล่าวว่า การโหวตเลือกนายกฯ ก็เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ ตามขั้นตอนเหมือนเช่นที่ผ่านมา โดยเมื่อมีประธานสภาแล้วก็เปิดประชุมรัฐสภานัดแรก แทนการประชุมเฉพาะสภาผู้เทนราษฎรเท่านั้น เพื่อดำเนินการโหวตเลือกนายกฯ โดยพรรคเสียงข้างมาก และพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคอื่นก็เสนอชื่อนายกฯ เพื่อให้ที่ประชุมลงคะแนนเลือก แต่ส.ว.ไม่มีสิทธิ์ที่จะเสนอชื่อนายกฯ แข่งด้วย โดยใครได้รับเสียงข้างมาก ก็ได้รับเลือกไป เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดทำอะไรที่ซับซ้อนกว่าที่เคยปฏิบัติมา
เมื่อถามว่า มีการเสนอให้ยกเว้นข้อบังคับการประชุม เพื่อเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชี นายวัลลภ กล่าวว่า " เป็นประชุมรัฐสภาครั้งแรก แล้วจะมีข้อบังคับอะไรที่ใหญ่ไปกว่ารธน.อีก เพราะฉะนั้น อย่าไปทำอะไรนอกเหนือกว่ารธน. จะทำให้มีปัญหาโดยเฉพาะคนที่แพ้ประชามติ จะไม่ให้การยอมรับด้วย"
นายวัลลภ กล่าวว่า การประชุมรัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ เป็นเรื่องของพรรคเสียงข้างมากและพรรคฝ่ายค้าน หรือพรรคอื่นจะเสนอชื่อใครมาเป็นนายกฯไม่ว่าจะเป็นคนใน หรือคนนอกบัญชีพรรคการเมือง เสนอได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะลงมติเลือกใคร ส่วนบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่พรรคการเมืองต้องเสนอ เจตนารมณ์เพื่อเปิดเผยชื่อให้ประชาชนได้เห็นว่า ใครจะมาเป็นนายกฯ เท่านั้น
**อย่ารวบรัดเลือกนายกฯคนนอกนัดแรก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิก สนช. เสนอให้ประชุมร่วมรัฐสภานัดแรก เพื่อร่วมกันขอเสียงสนับสนุน ยกเว้นเงื่อนไขการเลือกนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมืองแล้วจึงดำเนินการเลือกนายกฯไปในคราวเดียวกันเลย ว่า ข้อเสนอของนายทวีศักดิ์ คงเป็นแค่วิธีการประชุมมากกว่าการพยายามรวบรัด ผลักดัน เพื่อเลือกนายกฯในวาระแรก ตามที่สังคมวิจารณ์กัน เพราะโดยข้อเท็จจริง ในการประชุมสภาฯนัดแรก ภายหลังจากการเลือกตั้งจะมีการเสนอให้เลือกนายกฯ ตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ คงจะหารือไม่จบในการประชุมนัดแรก เพราะต้องมีการพูดคุยกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ก่อน ซึ่งตามที่เคยปฏิบัติกันมา หากพูดคุยกันในนัดแรกไม่จบ ก็อาจจะเลื่อนการประชุม และนัดหมายให้มีการประชุมกันใหม่ ถ้าพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่สามารถรวมเสียงส.ส.สนับสนุนว่าที่นายกฯได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็ควรนัดประชุมใหม่ ไม่ควรรวบรัด เพราะมีกำหนดระยะเวลาในการเลือกนายกฯ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่า ส.ว.สรรหา ก็คงมาที่สภา เพื่อสังเกตการณ์อยู่แล้ว เมื่อเห็นว่าสภาผู้แทนฯไม่สามารถเลือกนายกฯได้ในการประชุมนัดแรก เขาก็คงอยากเร่งรีบ เพื่อประชุมให้จบภายในวันเดียว จึงเสนอเรื่องนี้มา ทั้งนี้จะพูดไปล่วงหน้าบางอย่างก็ยังไม่สะดวก เพราะต้องรอดูว่าแต่ละพรรคการเมือง จะมีพรรคใดที่สามารถรวมเสียงส.ส. ได้มากกว่า 250 เสียง หรือไม่ อย่างไร
** กกต.ชงเลือกตั้ง 10ธ.ค.60
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวบรรยายพิเศษ หัวข้อ“ระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่”ให้กับนักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 20 สถาบันพระปกเกล้า ตอนหนึ่ง ว่า ในการจัดทำกฎหมายลูก ร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ตนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเซตซีโรพรรคการเมือง เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้พรรคการเมืองไปเริ่มต้นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองกันใหม่ ที่ผ่านมามีพัฒนาการมาอยู่แล้ว และมีรากฐานที่จะทำให้พรรคการเมืองเกิดความเข้มแข็ง แต่เห็นว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองในอนาคต ควรอยู่ภายใต้ 3 หลักการ คือ ตั้งยาก อยู่ง่าย ยุบยาก ซึ่งแตกต่างจากที่ผ่านมา คือ ตั้งง่าย อยู่ยาก ยุบง่าย จึงเกิดพรรคการเมืองมากมาย 70-80 พรรค
ทั้งนี้ นายสมชัย ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ถึงปฏิทินการเลือกตั้งส.ส. ว่า จากการดูกำหนดการต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่กำหนดโรดแมปการเลือกตั้ง ส.ส.ไว้ในปลายปี 60 หากขั้นตอนการจัดทำกฎหมายลูกไม่มีปัญหาติดขัดใดๆ คาดว่าการเลือกตั้งส.ส. สามารถมีขึ้นได้ในวันที่ 10 ธ.ค. 60 ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญ และเป็นช่วงวันหยุดยาว ถือเป็นวันที่เหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนดวันดังกล่าว ยังไม่ใช่มติ กกต. เป็นการทดลองเสนอวันที่เป็นไปได้ ยังไม่ใช่วันจริง เพราะต้องรอให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้ง 4 ฉบับ มีผลบังคับใช้ก่อน จึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่แท้จริงได้