คำว่า สมณะ เป็นชื่อเรียกนักบวชในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่าเป็นผู้สงบ และคำนี้เองเป็นที่มาของคำว่า สามเณร มีความหมายว่าเหล่ากอหรือทายาทของสมณะ
ความเป็นสมณะหรือความเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา มีผลดีที่เห็นได้ในปัจจุบันหลายประการ ดังปรากฏในสามัญญผลสูตร มีใจความโดยย่อดังนี้
“พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ ป่ามะม่วง ของหมอชีวกใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ คืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถเดือน 12 พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปเฝ้าทูลถามผลดีของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน และตรัสเล่าว่า เคยไปถามครูทั้ง 6 มาแล้ว แต่ตอบไม่ตรงคำถาม เปรียบเหมือนถามถึงเรื่องมะม่วง แต่ไปตอบเรื่องขนุน จึงต้องตรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบ (ด้วยการถามใน 2 ข้อแรก และเพิ่มเติมในข้อที่ 3) ดังนี้
1. ผู้เคยเป็นทาสหรือกรรมกรของพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อออกบวชประพฤติดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปเป็นทาสหรือกรรมกรตามเดิมหรือไม่ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสตอบว่า ไม่ แต่จะแสดงความเคารพถวายปัจจัย 4 และถวายความคุ้มครอง ตรัสสรุปว่า นี่เป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน
2. คนทำนาของพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อออกบวชประพฤติดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปทำนาตามเดิมหรือไม่ จึงทรงตรัสตอบเหมือนข้อแรก จึงนับเป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน
3. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ฟังธรรม เลื่อมใสแล้วออกบวชประพฤติพรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างเล็ก อย่างกลาง และอย่างใหญ่ สำรวมอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้บาปอกุศลเกิดขึ้นท่วมทับจิต มีสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ ยินดี ด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ออกป่าบำเพ็ญสมาธิ ละกิเลสที่เรียกว่านิวรณ์เสียได้ จึงได้บรรลุฌานที่ 1-4 และได้วิชา 8 คือ
1) วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
2) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ
3) อิทธิวิชาหรืออิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
4) ทิพยโสต คือ หูทิพย์
5) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้
6) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้
7) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
8) อาสาวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
ผลดีทั้ง 8 ประการนี้ ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แล้วปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบสามารถได้รับในปัจจุบัน
ส่วนยศถาบรรดาศักดิ์ที่วงการสงฆ์ไทยได้รับ ในทำนองเดียวกันกับการแต่งตั้งเอตทัคคะ ในสมัยพุทธกาลนั้น เป็นการตอบแทนที่ทางฝ่ายอาณาจักรถวายให้แก่ผู้ที่เป็นสมณะ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย และประกอบคุณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม เช่น เป็นพระนักพัฒนา และเป็นพระนักเผยแผ่ศาสนา เป็นต้น มิใช่สิ่งตอบแทนที่นักบวชทุกรูปจะต้องได้ โดยอาศัยเพศและภาวะความเป็นนักบวช และมีกฎหมายรองรับเพียงอย่างเดียว
ด้วยเหตุนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์กลุ่มหนึ่งจะออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องแกมบังคับให้รัฐบาลรีบเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตามนัยแห่งมาตรา 7 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ทั้งๆ ที่ในขณะนี้ ผู้มีสิทธิตามกฎหมายยังมีคดีความเรื่องครอบครองรถผิดกฎหมายอยู่ จึงเป็นการเรียกร้องที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่เพศและภาวะ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่ผู้เป็นสมณะพึงได้ ตามนัยแห่งสามัญญผลสูตร และยังขัดต่อหลักการในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในทางราชการด้วย
ยิ่งกว่านี้ การที่ภิกษุสงฆ์กลุ่มนี้อ้างว่าในขณะนี้ พระพุทธศาสนาถูกย่ำยี และขอให้ภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศไทย รวมไปถึงสงฆ์ในต่างประเทศออกมาชุมนุม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนาที่พระกลุ่มนี้หมายถึง เป็นปัจเจกสมมติสงฆ์หรือเป็นพระธรรมวินัย ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์ที่ว่า
“ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคต แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยอันนั้นจัดเป็นศาสนาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว” และตามนัยแห่งพุทธพจน์นี้ คำว่า พระพุทธศาสนา คงจะหมายถึงคำสอน มิใช่เพียงสาวกรูปใดรูปหนึ่ง
ดังนั้น การอ้างเพียงปัจเจกสมมติสงฆ์เพียงรูปเดียว ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดแห่งวงการสงฆ์ ว่าเป็นการย่ำยีพระพุทธศาสนา คงจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
2. สิทธิในการปกป้องพระพุทธศาสนา เป็นภาระหน้าที่ของพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า
“ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพซึ่งกันและกันนี้แล กิมพิละเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว
จากนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าหน้าที่ในการปกป้องพระพุทธศาสนา มิได้เป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นของพุทธบริษัท 4 จะต้องร่วมมือกันมิได้ผูกขาดให้ภิกษุเพียงกลุ่มเดียว
3. ในความเป็นจริง ในขณะนี้ทางรัฐบาลมิได้ปฏิเสธที่จะเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ตามที่ มส.มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา แต่เพียงชะลอไปก่อนจนกว่าคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้มีสิทธิจะได้รับการเสนอชื่อไว้ก่อน เพื่อรอผลทางคดีความเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ออกมาเรียกร้องจึงควรรอไปก่อนเช่นกัน
ข้อสรุปที่น่าจะได้นำมาพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ นักบวชควรจะแสวงหาสิ่งที่นักบวชพึงได้คือ การได้รับยกย่องในฐานะเป็นผู้มีศีลและมีธรรมแล้วก้าวไปสู่ความหลุดพ้น มิใช่แสวงหาลาภสักการะที่ตนไม่พึงมีพึงได้ด้วยความเป็นสมณะ แต่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของนายกฯ ผู้ศรัทธามอบให้เพื่อตอบแทนความเป็นนักบวชที่ดีจะดีกว่า
ความเป็นสมณะหรือความเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา มีผลดีที่เห็นได้ในปัจจุบันหลายประการ ดังปรากฏในสามัญญผลสูตร มีใจความโดยย่อดังนี้
“พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ ป่ามะม่วง ของหมอชีวกใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ คืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถเดือน 12 พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปเฝ้าทูลถามผลดีของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน และตรัสเล่าว่า เคยไปถามครูทั้ง 6 มาแล้ว แต่ตอบไม่ตรงคำถาม เปรียบเหมือนถามถึงเรื่องมะม่วง แต่ไปตอบเรื่องขนุน จึงต้องตรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบ (ด้วยการถามใน 2 ข้อแรก และเพิ่มเติมในข้อที่ 3) ดังนี้
1. ผู้เคยเป็นทาสหรือกรรมกรของพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อออกบวชประพฤติดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปเป็นทาสหรือกรรมกรตามเดิมหรือไม่ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสตอบว่า ไม่ แต่จะแสดงความเคารพถวายปัจจัย 4 และถวายความคุ้มครอง ตรัสสรุปว่า นี่เป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน
2. คนทำนาของพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อออกบวชประพฤติดีงามแล้ว จะทรงเรียกร้องให้กลับไปทำนาตามเดิมหรือไม่ จึงทรงตรัสตอบเหมือนข้อแรก จึงนับเป็นผลของความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน
3. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ฟังธรรม เลื่อมใสแล้วออกบวชประพฤติพรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างเล็ก อย่างกลาง และอย่างใหญ่ สำรวมอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้บาปอกุศลเกิดขึ้นท่วมทับจิต มีสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ ยินดี ด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ออกป่าบำเพ็ญสมาธิ ละกิเลสที่เรียกว่านิวรณ์เสียได้ จึงได้บรรลุฌานที่ 1-4 และได้วิชา 8 คือ
1) วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร โดยไตรลักษณ์คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
2) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ
3) อิทธิวิชาหรืออิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
4) ทิพยโสต คือ หูทิพย์
5) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้
6) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้
7) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
8) อาสาวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
ผลดีทั้ง 8 ประการนี้ ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แล้วปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบสามารถได้รับในปัจจุบัน
ส่วนยศถาบรรดาศักดิ์ที่วงการสงฆ์ไทยได้รับ ในทำนองเดียวกันกับการแต่งตั้งเอตทัคคะ ในสมัยพุทธกาลนั้น เป็นการตอบแทนที่ทางฝ่ายอาณาจักรถวายให้แก่ผู้ที่เป็นสมณะ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย และประกอบคุณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม เช่น เป็นพระนักพัฒนา และเป็นพระนักเผยแผ่ศาสนา เป็นต้น มิใช่สิ่งตอบแทนที่นักบวชทุกรูปจะต้องได้ โดยอาศัยเพศและภาวะความเป็นนักบวช และมีกฎหมายรองรับเพียงอย่างเดียว
ด้วยเหตุนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์กลุ่มหนึ่งจะออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องแกมบังคับให้รัฐบาลรีบเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตามนัยแห่งมาตรา 7 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ทั้งๆ ที่ในขณะนี้ ผู้มีสิทธิตามกฎหมายยังมีคดีความเรื่องครอบครองรถผิดกฎหมายอยู่ จึงเป็นการเรียกร้องที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่เพศและภาวะ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่ผู้เป็นสมณะพึงได้ ตามนัยแห่งสามัญญผลสูตร และยังขัดต่อหลักการในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในทางราชการด้วย
ยิ่งกว่านี้ การที่ภิกษุสงฆ์กลุ่มนี้อ้างว่าในขณะนี้ พระพุทธศาสนาถูกย่ำยี และขอให้ภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศไทย รวมไปถึงสงฆ์ในต่างประเทศออกมาชุมนุม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนาที่พระกลุ่มนี้หมายถึง เป็นปัจเจกสมมติสงฆ์หรือเป็นพระธรรมวินัย ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์ที่ว่า
“ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคต แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยอันนั้นจัดเป็นศาสนาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว” และตามนัยแห่งพุทธพจน์นี้ คำว่า พระพุทธศาสนา คงจะหมายถึงคำสอน มิใช่เพียงสาวกรูปใดรูปหนึ่ง
ดังนั้น การอ้างเพียงปัจเจกสมมติสงฆ์เพียงรูปเดียว ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดแห่งวงการสงฆ์ ว่าเป็นการย่ำยีพระพุทธศาสนา คงจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
2. สิทธิในการปกป้องพระพุทธศาสนา เป็นภาระหน้าที่ของพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า
“ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพซึ่งกันและกันนี้แล กิมพิละเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว
จากนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าหน้าที่ในการปกป้องพระพุทธศาสนา มิได้เป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นของพุทธบริษัท 4 จะต้องร่วมมือกันมิได้ผูกขาดให้ภิกษุเพียงกลุ่มเดียว
3. ในความเป็นจริง ในขณะนี้ทางรัฐบาลมิได้ปฏิเสธที่จะเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ตามที่ มส.มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา แต่เพียงชะลอไปก่อนจนกว่าคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้มีสิทธิจะได้รับการเสนอชื่อไว้ก่อน เพื่อรอผลทางคดีความเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ออกมาเรียกร้องจึงควรรอไปก่อนเช่นกัน
ข้อสรุปที่น่าจะได้นำมาพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ นักบวชควรจะแสวงหาสิ่งที่นักบวชพึงได้คือ การได้รับยกย่องในฐานะเป็นผู้มีศีลและมีธรรมแล้วก้าวไปสู่ความหลุดพ้น มิใช่แสวงหาลาภสักการะที่ตนไม่พึงมีพึงได้ด้วยความเป็นสมณะ แต่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของนายกฯ ผู้ศรัทธามอบให้เพื่อตอบแทนความเป็นนักบวชที่ดีจะดีกว่า