“ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ 10 ประการคือ ธรรมที่บรรพชิตหรือนักบวชในพระพุทธศาสนาพึงพิจารณาเนืองๆ หรือเป็นมิตรได้แก่
1. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. เรามีอากัปกิริยาอื่นที่จะพึงทำ
4. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองด้วยศีลได้อยู่ไม่
5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลได้อยู่หรือไม่
6. เราจักพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
7. เราทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาทของกรรมนั้น
8. วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
9. เรายินดีที่สงัดอยู่หรือไม่
10. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกบรรพชิตถามในกาลภายหลัง” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ 10 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ได้มุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ระลึกเสมอๆ ถึงเพศภาวะ และอากัปกิริยาของตนและเกี่ยวกับพุทธพจน์ 10 ประการนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายขยายความในแต่ละข้อดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ในการพิจารณาธรรมข้อนี้ก็เพื่อจะละความกำเริบใจ และมานะคือการถือตัวเสียได้
อนึ่ง เกี่ยวกับธรรมข้อนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ หรือ ป.ปยุตฺโต ได้อธิบายไว้ว่า “ข้อนี้บาลีว่า เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโต ในที่นี้แปล เววณฺณิย ว่า ความมีเพศต่างๆ (จากคฤหัสถ์) แต่หลายท่านแปลว่า ความปราศจากวรรณะ (Tasteless State) คือเป็นคนนอกจาก ระบบชนชั้น หรือหมดวรรณะคือ หมดฐานะทางสังคมหรือเป็นคนนอกสังคม (Out Cost) ความต่างหรือปราศจากหรือหมดไปนี้อรรถาธิบายว่า เป็นไปในสองทางคือทางสรีระ เพราะปลงผมและหนวดแล้ว และทางบริขารคือเครื่องใช้ เพราะแต่ก่อนครั้งเป็นคฤหัสถ์เคยใช้ผ้าดีๆ รับประทานอาหารรสเลิศ ในภาชนะเงินทอง เป็นต้น ครั้นบวชแล้วก็นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ฉันอาหารคลุกเคล้าในบาตรเหล็ก และบาตรดิน ปูหญ้านอนต่างเตียง เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ ตามนัยอรรถก็เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อย เหมาะสม มีอาชีวะบริสุทธิ์ เคารพในบิณฑบาต และบริโภคปัจจัย 4 ด้วยใจใส่พิจารณา
3. อรรถาธิบายว่า ควรทำอากัปกิริยาให้ต่างจากคฤหัสถ์เช่นนี้ อินทรียสังวร ก้าวเดินสม่ำเสมอ เป็นต้น และแสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อย เหมาะสม บำเพ็ญไตรสิกขาได้บริบูรณ์
4. ข้อนี้เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดหิริพรั่งพร้อมอยู่ในใจ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
5. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ดำรงโอตตัปปะในภายนอกไว้ได้ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
6. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาท และเป็นอันได้ตั้งมรณสติไปด้วย
7. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้กระทำชั่ว
8. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความไม่ประมาทให้สมบูรณ์
9. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกายวิเวกให้สมบูรณ์
10. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้กายเปล่า
ธรรม 10 ประการนี้ เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบความเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงมีความจำเป็นในการเลือกปฏิคาหกคือ ผู้รับก่อนที่จะทำบุญด้วยการให้ทานกับภิกษุรูปใด และวัดไหน ทั้งนี้ เพื่อให้องค์ประกอบในการให้ทาน 3 ประการครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลให้การทำทานบรรลุผลสมบูรณ์
องค์ประกอบในการให้ทาน 3 ประการคือ
1. ปฏิคาหก คือผู้รับทานจะต้องเป็นผู้มีศีล อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี ซึ่งเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา
แต่ในปัจจุบัน ผู้รับในประเทศไทยมีอยู่เพียง 2 ประเภทคือ ภิกษุมีศีล 227 ข้อ และสามเณรมีศีล 100 ข้อ (นาสนังคะ 10 ทัณฑกรรม 15 และเสขิยวัตร 75) และในสองประเภทนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่ขาดธรรม 10 ประการดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1.1 มีพฤติกรรมแสวงหาลาภ ยศ เยี่ยงคฤหัสถ์ รวมไปถึงการเลี้ยงชีพด้วยวิธีการซึ่งขัดต่อพระธรรมวินัยที่เรียกว่า อเนสนา คือการแสวงหาอันไม่สมควร เช่น ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และทอดกายรับใช้คฤหัสถ์ เป็นต้น
1.2 บิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ และนำความคิดเห็นของท่านมาสอน โดยอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า เข้าข่ายตู่พระศาสดา ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องศรัทธา และหวังได้มาซึ่งลาภสักการะ
1.3 ออกมาชุมนุมเรียกร้องเชิงข่มขู่ภาครัฐให้ทำตามคำเรียกร้องของตน จะเห็นได้ชัดเจนในการเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งสังฆราช และปกป้องผู้กระทำผิดวินัย ทั้งยังกระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองด้วย
2. ทายกคือผู้ให้จะต้องมีศรัทธา อันประกอบด้วยปัญญา ตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกาลามสูตร มิใช่ศรัทธาอาศัยหรือศรัทธามืดบอด ดังที่ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งซึ่งตกเป็นเหยื่อการต้มตุ๋น หลอกลวงของปฏิคาหก ในทางสำนักอยู่ในขณะนี้
3. วัตถุทาน อันได้แก่ปัจจัยที่จะนำมาถวาย จะต้องเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ มิได้ยักยอกหรือฉ้อโกงใครมา ดังที่ทายกบางคนได้กระทำ และต้องรับผลของกรรมด้วยการตกเป็นผู้ต้องหาทางกฎหมาย และนอนกินข้าวแดงอยู่ในขณะนี้
ทานอันประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น จึงจะได้บุญมาก
แต่ในปัจจุบันมีอยู่ไม่น้อยที่ปฏิคาหกทุศีล ทายกงมงายและวัตถุทานมาจากการฉ้อโกง มีอยู่อย่างดาษดื่น และดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนคนเลวที่เพิ่มขึ้น และการทำบุญทำทานในทำนองนี้เองคือ ตัวการบ่อนทำลายคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เสื่อม ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องทำการปฏิรูปวงการสงฆ์โดยด่วน มิฉะนั้นศาสนาพุทธในประเทศไทย จะถูกคนกลุ่มนี้บิดเบือนจนไม่เหลือสัจธรรมที่แท้จริงให้เห็นแน่นอน
1. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. เรามีอากัปกิริยาอื่นที่จะพึงทำ
4. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองด้วยศีลได้อยู่ไม่
5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลได้อยู่หรือไม่
6. เราจักพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
7. เราทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาทของกรรมนั้น
8. วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
9. เรายินดีที่สงัดอยู่หรือไม่
10. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกบรรพชิตถามในกาลภายหลัง” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ 10 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ได้มุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ระลึกเสมอๆ ถึงเพศภาวะ และอากัปกิริยาของตนและเกี่ยวกับพุทธพจน์ 10 ประการนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายขยายความในแต่ละข้อดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ในการพิจารณาธรรมข้อนี้ก็เพื่อจะละความกำเริบใจ และมานะคือการถือตัวเสียได้
อนึ่ง เกี่ยวกับธรรมข้อนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ หรือ ป.ปยุตฺโต ได้อธิบายไว้ว่า “ข้อนี้บาลีว่า เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโต ในที่นี้แปล เววณฺณิย ว่า ความมีเพศต่างๆ (จากคฤหัสถ์) แต่หลายท่านแปลว่า ความปราศจากวรรณะ (Tasteless State) คือเป็นคนนอกจาก ระบบชนชั้น หรือหมดวรรณะคือ หมดฐานะทางสังคมหรือเป็นคนนอกสังคม (Out Cost) ความต่างหรือปราศจากหรือหมดไปนี้อรรถาธิบายว่า เป็นไปในสองทางคือทางสรีระ เพราะปลงผมและหนวดแล้ว และทางบริขารคือเครื่องใช้ เพราะแต่ก่อนครั้งเป็นคฤหัสถ์เคยใช้ผ้าดีๆ รับประทานอาหารรสเลิศ ในภาชนะเงินทอง เป็นต้น ครั้นบวชแล้วก็นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ฉันอาหารคลุกเคล้าในบาตรเหล็ก และบาตรดิน ปูหญ้านอนต่างเตียง เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ ตามนัยอรรถก็เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อย เหมาะสม มีอาชีวะบริสุทธิ์ เคารพในบิณฑบาต และบริโภคปัจจัย 4 ด้วยใจใส่พิจารณา
3. อรรถาธิบายว่า ควรทำอากัปกิริยาให้ต่างจากคฤหัสถ์เช่นนี้ อินทรียสังวร ก้าวเดินสม่ำเสมอ เป็นต้น และแสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อย เหมาะสม บำเพ็ญไตรสิกขาได้บริบูรณ์
4. ข้อนี้เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดหิริพรั่งพร้อมอยู่ในใจ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
5. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ดำรงโอตตัปปะในภายนอกไว้ได้ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
6. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาท และเป็นอันได้ตั้งมรณสติไปด้วย
7. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้กระทำชั่ว
8. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความไม่ประมาทให้สมบูรณ์
9. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกายวิเวกให้สมบูรณ์
10. ข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้กายเปล่า
ธรรม 10 ประการนี้ เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบความเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงมีความจำเป็นในการเลือกปฏิคาหกคือ ผู้รับก่อนที่จะทำบุญด้วยการให้ทานกับภิกษุรูปใด และวัดไหน ทั้งนี้ เพื่อให้องค์ประกอบในการให้ทาน 3 ประการครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลให้การทำทานบรรลุผลสมบูรณ์
องค์ประกอบในการให้ทาน 3 ประการคือ
1. ปฏิคาหก คือผู้รับทานจะต้องเป็นผู้มีศีล อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี ซึ่งเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา
แต่ในปัจจุบัน ผู้รับในประเทศไทยมีอยู่เพียง 2 ประเภทคือ ภิกษุมีศีล 227 ข้อ และสามเณรมีศีล 100 ข้อ (นาสนังคะ 10 ทัณฑกรรม 15 และเสขิยวัตร 75) และในสองประเภทนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่ขาดธรรม 10 ประการดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1.1 มีพฤติกรรมแสวงหาลาภ ยศ เยี่ยงคฤหัสถ์ รวมไปถึงการเลี้ยงชีพด้วยวิธีการซึ่งขัดต่อพระธรรมวินัยที่เรียกว่า อเนสนา คือการแสวงหาอันไม่สมควร เช่น ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และทอดกายรับใช้คฤหัสถ์ เป็นต้น
1.2 บิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ และนำความคิดเห็นของท่านมาสอน โดยอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า เข้าข่ายตู่พระศาสดา ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องศรัทธา และหวังได้มาซึ่งลาภสักการะ
1.3 ออกมาชุมนุมเรียกร้องเชิงข่มขู่ภาครัฐให้ทำตามคำเรียกร้องของตน จะเห็นได้ชัดเจนในการเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งสังฆราช และปกป้องผู้กระทำผิดวินัย ทั้งยังกระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองด้วย
2. ทายกคือผู้ให้จะต้องมีศรัทธา อันประกอบด้วยปัญญา ตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกาลามสูตร มิใช่ศรัทธาอาศัยหรือศรัทธามืดบอด ดังที่ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งซึ่งตกเป็นเหยื่อการต้มตุ๋น หลอกลวงของปฏิคาหก ในทางสำนักอยู่ในขณะนี้
3. วัตถุทาน อันได้แก่ปัจจัยที่จะนำมาถวาย จะต้องเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ มิได้ยักยอกหรือฉ้อโกงใครมา ดังที่ทายกบางคนได้กระทำ และต้องรับผลของกรรมด้วยการตกเป็นผู้ต้องหาทางกฎหมาย และนอนกินข้าวแดงอยู่ในขณะนี้
ทานอันประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น จึงจะได้บุญมาก
แต่ในปัจจุบันมีอยู่ไม่น้อยที่ปฏิคาหกทุศีล ทายกงมงายและวัตถุทานมาจากการฉ้อโกง มีอยู่อย่างดาษดื่น และดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนคนเลวที่เพิ่มขึ้น และการทำบุญทำทานในทำนองนี้เองคือ ตัวการบ่อนทำลายคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เสื่อม ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องทำการปฏิรูปวงการสงฆ์โดยด่วน มิฉะนั้นศาสนาพุทธในประเทศไทย จะถูกคนกลุ่มนี้บิดเบือนจนไม่เหลือสัจธรรมที่แท้จริงให้เห็นแน่นอน