แหล่งข่าวกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี เปิดเผยว่า ผู้บริหารเอ็นวีพีเอสเคจี เตรียมเข้ายื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่รัฐบาลชะลอจ่ายค่าเสียหายให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ในโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน งวดที่ 2 และ งวดที่ 3 เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า การดำเนินการของกิจการร่วมค้าฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ คือให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินให้แก่กิจการร่วมค้าฯ และมติครม. มีมติให้จ่ายเงินแก่กิจการร่วมค้าฯ
ทั้งนี้ เตรียมฟ้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการฟอกเงิน (ปปง.) กรณีอายัดทรัพย์สินของกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอส) ดำเนินคดีฟอกเงินกับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคดีดังกล่าว คดีศาลอาญาที่มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกข้าราชการกรมควบคุมมลพิษไปแล้ว แต่ปปง. กลับใช้อ้างเป็นความผิดมูลฐานในการหาเหตุยึดทรัพย์ และดำเนินคดีฐานฟอกเงิน และคดีนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้าฯไม่ได้เป็นคู่ความในคดี เพราะคณะกรรมการปปง.ได้มีมติไม่ชี้มูลความผิด และให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไปแล้ว ผลของคดีจึงไม่ผูกพันกิจการร่วมค้าฯ
" ภาครัฐได้ชำระเงินงวดที่หนึ่งไปแล้ว ดังนั้นปปง.จะยังอายัดทรัพย์ของกิจการร่วมค้าฯ ด้วยมติใด และที่สำคัญ ดีเอสไอ จะมารื้อฟื้นคดีอีกได้อย่างไร ในเมื่อ รัฐ ได้ชำระเงินงวดหนึ่งตามมติครม.และศาลปกครองสูงสุด เสมือนว่ากิจการร่วมค้าฯและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ถูกรังแก" ผู้บริหารกิจการร่วมค้า ระบุ
ทั้งนี้ หนังสือระบุว่า คดีศาลอาญาที่ ปปง.ใช้อ้างอิงดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ยังไม่เป็นที่สุด ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ในขณะที่คดีที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงดุสิต ข้อหาฉ้อโกงนั้น ขณะนี้ศาลอุธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้ว และกรณีที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาว่าจ้างระหว่างกรมควบคุมมลพิษและกิจการร่วมค้าฯ เมื่อวันที่ 20 ส.ค.50 แต่ความผิดฐานฟอกเงินตามพ.ร.บ.ปปง. พ.ศ. 2542 เป็นบทบัญญัติกฎหมายที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.42 จึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลังไปดำเนินคดีกับกิจการร่วมค้าฯได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
นอกจากนี้ เอกสารระบุว่า ในกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการดำเนนการตามกระบวนการยุติธรรมแล้วทั้งสิ้น ซึ่งจะมีผลเป็นประการใดก็ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ อันได้แก่คดีของศาลแขวงดุสิต ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องบริษัทและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกกิจการร่วมค้าฯ ในข้อหาฉ้อโกง ปรากฏว่าศาลอุธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีของศาลอาญาที่มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกข้าราชการกรมควบคุมมลพิษ 3 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุธรณ์ เป็นคดีซึ่งกิจการร่วมค้าฯ ไม่ได้เป็นคู่ความด้วย เพราะคณะกรรมการปปช.ได้มีมติไม่ชี้มูลความผิดบริษัทและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกกิจการร่วมค้าฯ และให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไปแล้ว
"ผลของคดีนี้ จึงไม่ผูกพันกิจการร่วมค้าฯ แต่อย่างใด และคดีของศาลปกครองกลาง ที่เกี่ยวกับเงินค่าว่าจ้างและค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งกิจการร่วมค้าฯ ได้ยื่นฟ้องสำนักงานปปง. เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งการอายัดการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางขอให้พิจารณาคดีที่มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายเงินค่าว่าจ้างดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งการรับเงินค่าว่าจ้างและค่าเสียหายของกิจการร่วมค้าฯ ที่นำมาสู่คำสั่งอายัดของสำนักงานปปง.นั้น ก็มีที่มาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และมติคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น" เอกสาร ระบุ
ทั้งนี้ เตรียมฟ้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันการฟอกเงิน (ปปง.) กรณีอายัดทรัพย์สินของกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอส) ดำเนินคดีฟอกเงินกับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคดีดังกล่าว คดีศาลอาญาที่มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกข้าราชการกรมควบคุมมลพิษไปแล้ว แต่ปปง. กลับใช้อ้างเป็นความผิดมูลฐานในการหาเหตุยึดทรัพย์ และดำเนินคดีฐานฟอกเงิน และคดีนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้าฯไม่ได้เป็นคู่ความในคดี เพราะคณะกรรมการปปง.ได้มีมติไม่ชี้มูลความผิด และให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไปแล้ว ผลของคดีจึงไม่ผูกพันกิจการร่วมค้าฯ
" ภาครัฐได้ชำระเงินงวดที่หนึ่งไปแล้ว ดังนั้นปปง.จะยังอายัดทรัพย์ของกิจการร่วมค้าฯ ด้วยมติใด และที่สำคัญ ดีเอสไอ จะมารื้อฟื้นคดีอีกได้อย่างไร ในเมื่อ รัฐ ได้ชำระเงินงวดหนึ่งตามมติครม.และศาลปกครองสูงสุด เสมือนว่ากิจการร่วมค้าฯและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ถูกรังแก" ผู้บริหารกิจการร่วมค้า ระบุ
ทั้งนี้ หนังสือระบุว่า คดีศาลอาญาที่ ปปง.ใช้อ้างอิงดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ยังไม่เป็นที่สุด ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ในขณะที่คดีที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงดุสิต ข้อหาฉ้อโกงนั้น ขณะนี้ศาลอุธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้ว และกรณีที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาว่าจ้างระหว่างกรมควบคุมมลพิษและกิจการร่วมค้าฯ เมื่อวันที่ 20 ส.ค.50 แต่ความผิดฐานฟอกเงินตามพ.ร.บ.ปปง. พ.ศ. 2542 เป็นบทบัญญัติกฎหมายที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.42 จึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลังไปดำเนินคดีกับกิจการร่วมค้าฯได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
นอกจากนี้ เอกสารระบุว่า ในกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ได้มีการดำเนนการตามกระบวนการยุติธรรมแล้วทั้งสิ้น ซึ่งจะมีผลเป็นประการใดก็ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ อันได้แก่คดีของศาลแขวงดุสิต ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ ได้ยื่นฟ้องบริษัทและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกกิจการร่วมค้าฯ ในข้อหาฉ้อโกง ปรากฏว่าศาลอุธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีของศาลอาญาที่มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกข้าราชการกรมควบคุมมลพิษ 3 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุธรณ์ เป็นคดีซึ่งกิจการร่วมค้าฯ ไม่ได้เป็นคู่ความด้วย เพราะคณะกรรมการปปช.ได้มีมติไม่ชี้มูลความผิดบริษัทและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกกิจการร่วมค้าฯ และให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไปแล้ว
"ผลของคดีนี้ จึงไม่ผูกพันกิจการร่วมค้าฯ แต่อย่างใด และคดีของศาลปกครองกลาง ที่เกี่ยวกับเงินค่าว่าจ้างและค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งกิจการร่วมค้าฯ ได้ยื่นฟ้องสำนักงานปปง. เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งการอายัดการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางขอให้พิจารณาคดีที่มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายเงินค่าว่าจ้างดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งการรับเงินค่าว่าจ้างและค่าเสียหายของกิจการร่วมค้าฯ ที่นำมาสู่คำสั่งอายัดของสำนักงานปปง.นั้น ก็มีที่มาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และมติคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น" เอกสาร ระบุ