ก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 เพียง 2 -3 วัน ได้มีข่าวออกมาว่า การแสดงในพิธีเปิดจะไม่เน้นเรื่องของประเทศบราซิลมากนัก แต่จะเป็นเรื่องของชาวโลกโดยรวม ผมจึงได้คาดเดาว่าน่าจะมีเรื่องโลกร้อนซึ่งนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกได้ยกให้เป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุดของโลกยิ่งมีข่าวว่า “อาจจะทำให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ โกรธ” ผมก็ยิ่งมั่นใจในการคาดเดาของผม ด้วยเหตุนี้ในเช้าตรู่ของวันเสาร์ (6 ส.ค. 59) ผมจึงได้ติดตามชมการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเอาจริงเอาจัง
แต่เมื่อผมดูไปถึงฉากที่เด็กหนุ่มนั่งลงปลูกต้นไม้ พร้อมๆ กับภาพกราฟิกที่เกี่ยวกับ “การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น” ตลอดจนภาพเด็กๆ ชาย-หญิงที่ถือถุงต้นกล้าไม้เคียงคู่ผู้ถือธงชาติในขบวนนักกีฬาทุกชาติแล้ว แม้ผมจะรู้สึกชื่นชมวิธีคิดในการถือโอกาสรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของโลกในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติประเทศเจ้าภาพนำมาเสนอ แต่ผมก็คิดอยู่ในใจว่า นี่มั่นแค่ปลายเหตุเท่านั้นเอง
การปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แม้จะสามารถลดปัญหาโลกร้อนได้บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องปลายเหตุ ต้นเหตุสำคัญจริงๆ คือการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ้าไม่เริ่มที่ต้นเหตุก็ถือว่าเป็นการหลอกลวงกันเท่านั้นเอง
ในฐานะที่เป็นอาจารย์คณิตศาสตร์ ผมรู้สึกผิดหวังกับการมองบริบทที่ไม่ครบองค์ประกอบและคิดในใจว่า “ถ้าอย่างนี้ในประเด็นการรณรงค์ปัญหาโลกร้อน ผมให้คะแนนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะเขาลืมสิ่งสำคัญไปอีกครึ่งหนึ่ง” นี่เป็นการให้คะแนนแบบเกรงใจของผมแล้วนะ เพราะถ้าหลักคิดของคนเราผิดพลาดก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่แล้วนะ
แต่เมื่อมาถึงฉากสุดท้ายซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่สุด (ไฮไลต์) ของพิธีเปิด ก็คือพิธีจุดคบเพลิง ซึ่งเราก็ทราบล่วงหน้าว่าจะเป็นการจุดที่เรียบง่าย ไม่ตื่นเต้นเหมือนกับบางครั้งที่ใช้นักยิงธนูยิงเพลิงให้ไปลงกระถางไฟซึ่งอยู่ที่สูงอย่างแม่นยำ
โดยปกติในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬานานาชาติ แม้แต่เอเชียนเกมส์ก็ตาม เขาจะปกปิดวิธีการจุดไฟในกระถางและชื่อผู้จุดไว้เป็นความลับ ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันเมื่อผู้ถือคบเพลิงเป็นคนสุดท้ายคืออดีตนักวิ่งมาราธอนที่เคยได้เหรียญทองแดงในปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์ (ทั้งๆ ที่เขานำมาเป็นที่หนึ่ง แต่ได้ถูกผู้ชมผลักล้มลง) เมื่อผู้จุดไฟที่ไม่ธรรมดาผู้นี้วิ่งขึ้นไปจุดไฟในกระถางที่เคลื่อนที่ได้ ผู้บรรยายภาษาไทยได้พูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างตื่นเต้นว่า “เขาจะเอากระถางไฟไปไว้ที่ไหน”
เมื่อผมดูจากภาพ ผมเข้าใจว่าไฟในกระถางไฟขนาดใหญ่ก็ไปจุดต่อให้กับดวงเล็กๆ ที่กระจายอยู่รอบสนาม ไม่ใช่เป็นกระถางใหญ่เพียงกระถางเดียวเหมือนอย่างกับการแข่งทุกครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งต่อมาผมรู้ว่า ผมเข้าใจผิดครับ
ถึงตอนนี้แหละที่ผมฟังคำบรรยายไม่ถนัดและดูภาพก็ไม่ชัดเจน ผมได้ยินผู้บรรยายว่าเป็นระบบ “ไฮบริด” ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจอีกเพราะคำบรรยายสั้นมาก ไม่มีการขยายความอะไรเลย “มันไฮบริด หรือผสมกันระหว่างอะไรกับอะไร” ผมตั้งคำถามกับตัวเอง
หลังจากได้ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตอยู่หลายชั่วโมง ผมจึงได้ข้อสรุปดังภาพที่ผมทำขึ้นมาครับ
โดยสรุปก็คือ
(1) กระถางไฟซึ่งจะต้องให้ไฟลุกโชติช่วงอยู่ตลอดการแข่งขันประมาณ 14 วัน มีขนาดเล็กลงมาก (ดูภาพประกอบ เมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ โดยเฉพาะปี 2012 ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน) ผู้ออกแบบต้องการจะบอกว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อน
(2) มีประติมากรรมเป็นชุดที่เคลื่อนที่ด้วยแรงลม (Kinetic Wind Sculptures) คล้ายๆ กับโมบายที่เราใช้ห้อยไว้ตามชายคาบ้านนั่นแหละครับ แต่มันซับซ้อนกว่านั้นมาก กล่าวคือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ฟุต เมื่อมีแรงลมมาปะทะมันจะเคลื่อนที่เป็นแบบลายก้นหอย (Spiral) อย่างอ่อนช้อย และเมื่อได้รับแสงจากกระถางไฟ (ที่ถูกจุด) ก็จะสะท้อนให้เกิดแสงที่มีสีสันระยิบระยับสวยงามมากๆ ในแง่ของพลังงานถือว่าใช้พลังงานน้อยแต่ได้แสงสว่างมากแถมมีสีสันอีก
ผู้ออกแบบประติมากรรมชิ้นนี้คือ Mr. Antony Howe ซึ่งเป็นศิลปินชาวบราซิลที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อดูมาถึงฉากนี้ ทำให้เราได้เข้าใจบริบทของโลกร้อนได้ครบถ้วนทั้ง 2 ด้าน คือ (1) ด้านปลายเหตุ คือการปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ และ (2) ด้านต้นเหตุ คือใช้พลังงานแสงอาทิตย์และให้มีประสิทธิภาพ ผมจึงขอเปลี่ยนใจให้คะแนนเกิน 100% ครับ ซึ่งในชีวิตอาจารย์จริงๆ ผมก็เคยทำมาแล้ว
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆ ที่ผู้บรรยายไม่ได้กล่าวถึงเลยคือ “คุณค่าของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Values)” ซึ่งมี 3 ข้อคือ มิตรภาพ (Friendship) ความเคารพ (Respect) และ ความเป็นเลิศ (Excellence) ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกคนพิการ (Paralympic) จะเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ข้อ คือ ความกล้าหาญ (Courage) ความมุ่งมั่น (Determination) ความบันดาลใจ (Inspiration) และ ความเท่าเทียม (Equality) ผมได้รับความรู้ในเรื่องนี้จากเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กที่ส่งรายงานเป็นเล่มมาให้ผม
โดยสรุปนะครับ นอกจากกีฬาโอลิมปิกจะยึดหลักคุณค่า 3-7 ประการดังที่กล่าวมาแล้ว ก็จำเป็นจะมุ่งเน้นเพื่อการกระตุ้นเตือนมวลมนุษยชาติให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของชาวโลกในวันนี้คือปัญหาโลกร้อน
คราวนี้มาถึงเรื่อง “เจตจำนงของรัฐบาลไทยต่อความตกลงปารีส” ซึ่งก็เป็นเรื่องปัญหาโลกร้อนเช่นเดียวกันครับ เรื่องราวมีอยู่ว่า เมื่อปลายปี 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ไปประกาศในเวทีที่เรียกว่า “COP21 ปารีส” ความว่า“ประเทศต่างๆ จะไม่สามารถบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หากยังคงต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร ความพยายามในการขจัดความยากจน และการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ภายในปี ค.ศ. 2030 ที่ร้อยละ 20 ถึง 25 รวมถึงบทบาทของไทยในฐานะประธานกลุ่ม 77 และความพร้อมที่จะเป็น “สะพานเชื่อม” ระหว่างประเทศต่างๆ”
แต่จากข้อมูลที่เปิดเผยโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2559 (หรือ 4 เดือนหลังจากนายกฯ ประกาศ) คือ มกราคมถึงมีนาคม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของไทย(ซึ่งก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง) แทนที่จะมีแนวโน้มลดลงตามเจตนารมณ์ของประเทศที่ได้ประกาศไป แต่กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ดูภาพประกอบ)
ในปี 2558 ประเทศไทยได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 254 ล้านตัน (ภาคการผลิตไฟฟ้ามีส่วนร่วมมากที่สุด 37%) โดยมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยจากปี 2006 ถึง 2015 ร้อยละ 3.52 ต่อปี แต่ถ้าคิดอัตราการเติบโตในปีสุดท้ายปีเดียวก็เท่ากับ 1.60%
ประเด็นที่เป็นปัญหามี 2 ประการ คือ
หนึ่ง นายกฯ พูดถึงการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นส่วนใหญ่ (คือ 73%) กับส่วนที่ไม่ใช่พลังงาน 27% (ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 16% ภาคอุตสาหกรรม (ที่ไม่เกี่ยวกับพลังงาน) 10% และของเสีย 1%) แต่ข้อมูลที่มาจากกระทรวงพลังงานนั้น เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเดียว คือ 254 ล้านตัน
สอง การลดลงจะเทียบกับระดับในปีใด ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะประกาศว่าจะลดลงจากปีที่ได้ผ่านมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา จะลดลง 26-28% จากปี 2005 ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องมาเถียงกันว่ามันเท่าใดกันแน่ แต่ของประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน และไทย ประกาศจะลดจากระดับในปีที่คาดการณ์เอาในอนาคตภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ต้องมีมาตรการลดอะไรเลย (Business As Usual) จึงเป็นปัญหาว่ามันเท่าใดกันแน่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการตุกติกเกิดขึ้นได้ เช่น จะใช้อัตราการเติบโต 1.60% หรือ 3.52% เมื่อเอาอัตราการเติบโต 2 อัตรานี้ไปคำนวณ ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันมาก จึงเปิดโอกาสให้มั่วนิ่มได้สบายๆ
แนวคิดของรัฐบาลไทยดังกล่าว เป็นไปในทำนองเดียวกับการตั้งราคาสินค้าไว้สูงๆ ของแม่ค้า แล้วลดลงมาเยอะๆ คนซื้อจะรู้สึกว่าได้รับการลดราคาลงเยอะแล้ว แต่ในที่สุดราคาสินค้านี้ก็อาจจะยังแพงกว่าปกติ หรือหลอกกันนั่นเอง และผมพยากรณ์ว่า ส่วนราชการของไทยน่าจะฉวยโอกาสดังกล่าว
การเพิ่มขึ้นของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 3.3 นั้น เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 7,400 เมกะวัตต์ ในช่วงแผนพีดีพี 2015 จาก 2558 ถึง 2579 ดังนั้น โดยอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาพบว่า
ทุกๆ 1,000 เมกะวัตต์ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เชื้อเพลิงชนิด Subbituminous (ชนิดดีกว่าลิกไนต์เล็กน้อย) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 6.87 ล้านตันต่อปี หรือ 2.70% ของปริมาณการปล่อยในปี 2558 (ดูภาพประกอบ)
ถ้าเราเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นอีก 7,400 เมกะวัตต์ (ตามแผน) ก็เท่ากับว่าเราต้องปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นอีก 19.9% ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ท่านประยุทธ์ จันทร์โอชาไปประกาศไว้
ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงถึงเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศไทยต่อคำประกาศเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดของชาวโลก ซึ่งเพิ่งถูกย้ำในพิธีเปิดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ประเทศบราซิล
ขอขอบคุณน้องแนน (โสภิตา ธนสาร) นักกีฬายกน้ำหนักที่นำเหรียญทอง ความสุข และศักดิ์ศรีมาให้คนไทยทั้งประเทศ หวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้จะฉุกคิดได้บ้าง
แต่เมื่อผมดูไปถึงฉากที่เด็กหนุ่มนั่งลงปลูกต้นไม้ พร้อมๆ กับภาพกราฟิกที่เกี่ยวกับ “การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น” ตลอดจนภาพเด็กๆ ชาย-หญิงที่ถือถุงต้นกล้าไม้เคียงคู่ผู้ถือธงชาติในขบวนนักกีฬาทุกชาติแล้ว แม้ผมจะรู้สึกชื่นชมวิธีคิดในการถือโอกาสรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของโลกในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติประเทศเจ้าภาพนำมาเสนอ แต่ผมก็คิดอยู่ในใจว่า นี่มั่นแค่ปลายเหตุเท่านั้นเอง
การปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แม้จะสามารถลดปัญหาโลกร้อนได้บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องปลายเหตุ ต้นเหตุสำคัญจริงๆ คือการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ้าไม่เริ่มที่ต้นเหตุก็ถือว่าเป็นการหลอกลวงกันเท่านั้นเอง
ในฐานะที่เป็นอาจารย์คณิตศาสตร์ ผมรู้สึกผิดหวังกับการมองบริบทที่ไม่ครบองค์ประกอบและคิดในใจว่า “ถ้าอย่างนี้ในประเด็นการรณรงค์ปัญหาโลกร้อน ผมให้คะแนนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะเขาลืมสิ่งสำคัญไปอีกครึ่งหนึ่ง” นี่เป็นการให้คะแนนแบบเกรงใจของผมแล้วนะ เพราะถ้าหลักคิดของคนเราผิดพลาดก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่แล้วนะ
แต่เมื่อมาถึงฉากสุดท้ายซึ่งถือเป็นจุดสำคัญที่สุด (ไฮไลต์) ของพิธีเปิด ก็คือพิธีจุดคบเพลิง ซึ่งเราก็ทราบล่วงหน้าว่าจะเป็นการจุดที่เรียบง่าย ไม่ตื่นเต้นเหมือนกับบางครั้งที่ใช้นักยิงธนูยิงเพลิงให้ไปลงกระถางไฟซึ่งอยู่ที่สูงอย่างแม่นยำ
โดยปกติในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬานานาชาติ แม้แต่เอเชียนเกมส์ก็ตาม เขาจะปกปิดวิธีการจุดไฟในกระถางและชื่อผู้จุดไว้เป็นความลับ ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันเมื่อผู้ถือคบเพลิงเป็นคนสุดท้ายคืออดีตนักวิ่งมาราธอนที่เคยได้เหรียญทองแดงในปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์ (ทั้งๆ ที่เขานำมาเป็นที่หนึ่ง แต่ได้ถูกผู้ชมผลักล้มลง) เมื่อผู้จุดไฟที่ไม่ธรรมดาผู้นี้วิ่งขึ้นไปจุดไฟในกระถางที่เคลื่อนที่ได้ ผู้บรรยายภาษาไทยได้พูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างตื่นเต้นว่า “เขาจะเอากระถางไฟไปไว้ที่ไหน”
เมื่อผมดูจากภาพ ผมเข้าใจว่าไฟในกระถางไฟขนาดใหญ่ก็ไปจุดต่อให้กับดวงเล็กๆ ที่กระจายอยู่รอบสนาม ไม่ใช่เป็นกระถางใหญ่เพียงกระถางเดียวเหมือนอย่างกับการแข่งทุกครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งต่อมาผมรู้ว่า ผมเข้าใจผิดครับ
ถึงตอนนี้แหละที่ผมฟังคำบรรยายไม่ถนัดและดูภาพก็ไม่ชัดเจน ผมได้ยินผู้บรรยายว่าเป็นระบบ “ไฮบริด” ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจอีกเพราะคำบรรยายสั้นมาก ไม่มีการขยายความอะไรเลย “มันไฮบริด หรือผสมกันระหว่างอะไรกับอะไร” ผมตั้งคำถามกับตัวเอง
หลังจากได้ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตอยู่หลายชั่วโมง ผมจึงได้ข้อสรุปดังภาพที่ผมทำขึ้นมาครับ
โดยสรุปก็คือ
(1) กระถางไฟซึ่งจะต้องให้ไฟลุกโชติช่วงอยู่ตลอดการแข่งขันประมาณ 14 วัน มีขนาดเล็กลงมาก (ดูภาพประกอบ เมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ โดยเฉพาะปี 2012 ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน) ผู้ออกแบบต้องการจะบอกว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อน
(2) มีประติมากรรมเป็นชุดที่เคลื่อนที่ด้วยแรงลม (Kinetic Wind Sculptures) คล้ายๆ กับโมบายที่เราใช้ห้อยไว้ตามชายคาบ้านนั่นแหละครับ แต่มันซับซ้อนกว่านั้นมาก กล่าวคือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ฟุต เมื่อมีแรงลมมาปะทะมันจะเคลื่อนที่เป็นแบบลายก้นหอย (Spiral) อย่างอ่อนช้อย และเมื่อได้รับแสงจากกระถางไฟ (ที่ถูกจุด) ก็จะสะท้อนให้เกิดแสงที่มีสีสันระยิบระยับสวยงามมากๆ ในแง่ของพลังงานถือว่าใช้พลังงานน้อยแต่ได้แสงสว่างมากแถมมีสีสันอีก
ผู้ออกแบบประติมากรรมชิ้นนี้คือ Mr. Antony Howe ซึ่งเป็นศิลปินชาวบราซิลที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อดูมาถึงฉากนี้ ทำให้เราได้เข้าใจบริบทของโลกร้อนได้ครบถ้วนทั้ง 2 ด้าน คือ (1) ด้านปลายเหตุ คือการปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ และ (2) ด้านต้นเหตุ คือใช้พลังงานแสงอาทิตย์และให้มีประสิทธิภาพ ผมจึงขอเปลี่ยนใจให้คะแนนเกิน 100% ครับ ซึ่งในชีวิตอาจารย์จริงๆ ผมก็เคยทำมาแล้ว
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆ ที่ผู้บรรยายไม่ได้กล่าวถึงเลยคือ “คุณค่าของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Values)” ซึ่งมี 3 ข้อคือ มิตรภาพ (Friendship) ความเคารพ (Respect) และ ความเป็นเลิศ (Excellence) ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกคนพิการ (Paralympic) จะเพิ่มขึ้นมาอีก 4 ข้อ คือ ความกล้าหาญ (Courage) ความมุ่งมั่น (Determination) ความบันดาลใจ (Inspiration) และ ความเท่าเทียม (Equality) ผมได้รับความรู้ในเรื่องนี้จากเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กที่ส่งรายงานเป็นเล่มมาให้ผม
โดยสรุปนะครับ นอกจากกีฬาโอลิมปิกจะยึดหลักคุณค่า 3-7 ประการดังที่กล่าวมาแล้ว ก็จำเป็นจะมุ่งเน้นเพื่อการกระตุ้นเตือนมวลมนุษยชาติให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของชาวโลกในวันนี้คือปัญหาโลกร้อน
คราวนี้มาถึงเรื่อง “เจตจำนงของรัฐบาลไทยต่อความตกลงปารีส” ซึ่งก็เป็นเรื่องปัญหาโลกร้อนเช่นเดียวกันครับ เรื่องราวมีอยู่ว่า เมื่อปลายปี 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ไปประกาศในเวทีที่เรียกว่า “COP21 ปารีส” ความว่า“ประเทศต่างๆ จะไม่สามารถบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หากยังคงต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร ความพยายามในการขจัดความยากจน และการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ภายในปี ค.ศ. 2030 ที่ร้อยละ 20 ถึง 25 รวมถึงบทบาทของไทยในฐานะประธานกลุ่ม 77 และความพร้อมที่จะเป็น “สะพานเชื่อม” ระหว่างประเทศต่างๆ”
แต่จากข้อมูลที่เปิดเผยโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2559 (หรือ 4 เดือนหลังจากนายกฯ ประกาศ) คือ มกราคมถึงมีนาคม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของไทย(ซึ่งก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง) แทนที่จะมีแนวโน้มลดลงตามเจตนารมณ์ของประเทศที่ได้ประกาศไป แต่กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ดูภาพประกอบ)
ในปี 2558 ประเทศไทยได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 254 ล้านตัน (ภาคการผลิตไฟฟ้ามีส่วนร่วมมากที่สุด 37%) โดยมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยจากปี 2006 ถึง 2015 ร้อยละ 3.52 ต่อปี แต่ถ้าคิดอัตราการเติบโตในปีสุดท้ายปีเดียวก็เท่ากับ 1.60%
ประเด็นที่เป็นปัญหามี 2 ประการ คือ
หนึ่ง นายกฯ พูดถึงการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นส่วนใหญ่ (คือ 73%) กับส่วนที่ไม่ใช่พลังงาน 27% (ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 16% ภาคอุตสาหกรรม (ที่ไม่เกี่ยวกับพลังงาน) 10% และของเสีย 1%) แต่ข้อมูลที่มาจากกระทรวงพลังงานนั้น เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเดียว คือ 254 ล้านตัน
สอง การลดลงจะเทียบกับระดับในปีใด ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะประกาศว่าจะลดลงจากปีที่ได้ผ่านมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา จะลดลง 26-28% จากปี 2005 ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องมาเถียงกันว่ามันเท่าใดกันแน่ แต่ของประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน และไทย ประกาศจะลดจากระดับในปีที่คาดการณ์เอาในอนาคตภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ต้องมีมาตรการลดอะไรเลย (Business As Usual) จึงเป็นปัญหาว่ามันเท่าใดกันแน่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการตุกติกเกิดขึ้นได้ เช่น จะใช้อัตราการเติบโต 1.60% หรือ 3.52% เมื่อเอาอัตราการเติบโต 2 อัตรานี้ไปคำนวณ ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันมาก จึงเปิดโอกาสให้มั่วนิ่มได้สบายๆ
แนวคิดของรัฐบาลไทยดังกล่าว เป็นไปในทำนองเดียวกับการตั้งราคาสินค้าไว้สูงๆ ของแม่ค้า แล้วลดลงมาเยอะๆ คนซื้อจะรู้สึกว่าได้รับการลดราคาลงเยอะแล้ว แต่ในที่สุดราคาสินค้านี้ก็อาจจะยังแพงกว่าปกติ หรือหลอกกันนั่นเอง และผมพยากรณ์ว่า ส่วนราชการของไทยน่าจะฉวยโอกาสดังกล่าว
การเพิ่มขึ้นของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 3.3 นั้น เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 7,400 เมกะวัตต์ ในช่วงแผนพีดีพี 2015 จาก 2558 ถึง 2579 ดังนั้น โดยอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาพบว่า
ทุกๆ 1,000 เมกะวัตต์ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เชื้อเพลิงชนิด Subbituminous (ชนิดดีกว่าลิกไนต์เล็กน้อย) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 6.87 ล้านตันต่อปี หรือ 2.70% ของปริมาณการปล่อยในปี 2558 (ดูภาพประกอบ)
ถ้าเราเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นอีก 7,400 เมกะวัตต์ (ตามแผน) ก็เท่ากับว่าเราต้องปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นอีก 19.9% ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ท่านประยุทธ์ จันทร์โอชาไปประกาศไว้
ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงถึงเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศไทยต่อคำประกาศเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดของชาวโลก ซึ่งเพิ่งถูกย้ำในพิธีเปิดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ประเทศบราซิล
ขอขอบคุณน้องแนน (โสภิตา ธนสาร) นักกีฬายกน้ำหนักที่นำเหรียญทอง ความสุข และศักดิ์ศรีมาให้คนไทยทั้งประเทศ หวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้จะฉุกคิดได้บ้าง