ผู้จัดการรายวัน360- รถไฟไทย-จีน ส่อแววหลุดเป้าตอกเข็ม หลัง ประชุมครั้งที่ 12 ต่อรองค่าก่อสร้างไม่จบ "อาคม" ยังมั่นใจเริ่มก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม.ไม่เกิน ก.ย. 59 ขีดเส้นมูลค่าโครงการที่ 1.79 แสนล. โดยจะสรุปกรอบความร่วมมือ (FOC) ที่ปรับใหม่เป็นรถไฟความเร็วสูง โดยไทยลงทุนเอง 100% ชงครม.อนุมัติภายใน ส.ค. นี้ ด้านจีน เสนอเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ ดอกเบี้ย แพงหูฉี่ 3.2%
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 วานนี้ (28 ก.ค.) ว่า ประเด็นมูลค่าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-โคราช ระยะทาง 252.5กม. ซึ่งตัวเลขรวมอยู่ที่ประมาณ 1.79 แสนล้านบาทโดยยังมีรายละเอียด2
รายการที่ยังหารือฝ่ายจีนไม่ได้ข้อยุติ คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเหมาะสมที่ให้จีนเป็นฝ่ายรับผิดชอบและค่าฝึกอบรมที่ให้ฝ่ายจีนแยกรายละเอียดระหว่างค่าอบรมที่เกี่ยวกับตัวรถ และค่าอบรม ที่เกี่ยวกับงานด้านพื้นฐาน
ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเริ่มการก่อสร้างตอนที่ 1 ข่วงสถานีกลางดง (นครราชสีมา) ระยะทาง 3.5 กม.ก่อน ภายในเดือนส.ค-ก.ย.2559 ตามแผน ซึ่งล่าสุดจีนได้ส่งแบบรายละเอียด (Detail&Design) มาแล้ว โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการถอดแบบเพื่อคำนวนค่าก่อสร้างโดยละเอียด ตามระเบียบกฎหมายของไทย ส่วนตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ11 กม.หลังจากคณะทำงานได้ลงพื้นที่เพื่อออกแบบ พบว่า พื้นที่มีปัญหาในด้านกายภาพ เป็นดินอ่อน ช่วงจากสถานีกลางดง ระยะทางประมาณ10 กม. ฝ่ายจีนจึงเสนอปรับแนวช่วงที่มีปัญหา หรือหากไม่ต้องการปรับแนวจะต้องหาทางแก้ไบปัญหาดินสไลด์ เพื่อให้รองรับโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ได้โดยขอขยับเวลาในการส่งแบบออกไปจากเดือนต.ค.เป็นเดือน พ.ย. 2559 แทน
สำหรับการแก้ไขกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC) ใหม่ ตามที่ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงกันว่า จะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง และไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จะเร่งสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนส.ค.นี้ โดยจะแก้ไขรูปแบบ EPC-2 แยกออกเป็น3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ โดยจะเร่งทำส่วนนี้ก่อนเพื่อให้สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และEPC-2.2 สัญญาควบคุมงาน และ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจ้างจีนนั้น ร่างสัญญายังหารือในประเด็นการใช้ข้อกฎหมายไทย บนพื้นฐานหลักการร่างสัญญาสากล โดยมีบางข้อที่เห็นไม่ตรงกัน
ส่วนด้านการเงินนั้น กระทรวงการคลังกำลังหารือกับทางธนาคารเอ็กซิมแบงก์ของจีน โดยจีนเสนอเงื่อนไขกู้เงินสกุลหยวน อันตราดอกเบี้ย 3.2% ขณะที่เงินกู้สกุลดอลล่าร์ ขณะที่เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีก เพือเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน โดยไทยต้องการดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด
จึงยังไม่ได้สรุปเรื่องเงินกู้ โดยจะใช้เงินกู้เฉพาะของนำเข้าเท่านั้น
โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างนั้นยังยืนยันว่าจะใช้ตามขั้นตอนปกติ ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. ตอนที่ 2 จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.ตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กม.ตอนที่4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ขณะที่การพัฒนาพื้นที่2ข้างทางนั้นทางการรถไฟฯ จะดำเนินการเอง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 วานนี้ (28 ก.ค.) ว่า ประเด็นมูลค่าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-โคราช ระยะทาง 252.5กม. ซึ่งตัวเลขรวมอยู่ที่ประมาณ 1.79 แสนล้านบาทโดยยังมีรายละเอียด2
รายการที่ยังหารือฝ่ายจีนไม่ได้ข้อยุติ คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเหมาะสมที่ให้จีนเป็นฝ่ายรับผิดชอบและค่าฝึกอบรมที่ให้ฝ่ายจีนแยกรายละเอียดระหว่างค่าอบรมที่เกี่ยวกับตัวรถ และค่าอบรม ที่เกี่ยวกับงานด้านพื้นฐาน
ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเริ่มการก่อสร้างตอนที่ 1 ข่วงสถานีกลางดง (นครราชสีมา) ระยะทาง 3.5 กม.ก่อน ภายในเดือนส.ค-ก.ย.2559 ตามแผน ซึ่งล่าสุดจีนได้ส่งแบบรายละเอียด (Detail&Design) มาแล้ว โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการถอดแบบเพื่อคำนวนค่าก่อสร้างโดยละเอียด ตามระเบียบกฎหมายของไทย ส่วนตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ11 กม.หลังจากคณะทำงานได้ลงพื้นที่เพื่อออกแบบ พบว่า พื้นที่มีปัญหาในด้านกายภาพ เป็นดินอ่อน ช่วงจากสถานีกลางดง ระยะทางประมาณ10 กม. ฝ่ายจีนจึงเสนอปรับแนวช่วงที่มีปัญหา หรือหากไม่ต้องการปรับแนวจะต้องหาทางแก้ไบปัญหาดินสไลด์ เพื่อให้รองรับโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ได้โดยขอขยับเวลาในการส่งแบบออกไปจากเดือนต.ค.เป็นเดือน พ.ย. 2559 แทน
สำหรับการแก้ไขกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC) ใหม่ ตามที่ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงกันว่า จะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง และไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จะเร่งสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนส.ค.นี้ โดยจะแก้ไขรูปแบบ EPC-2 แยกออกเป็น3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ โดยจะเร่งทำส่วนนี้ก่อนเพื่อให้สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และEPC-2.2 สัญญาควบคุมงาน และ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจ้างจีนนั้น ร่างสัญญายังหารือในประเด็นการใช้ข้อกฎหมายไทย บนพื้นฐานหลักการร่างสัญญาสากล โดยมีบางข้อที่เห็นไม่ตรงกัน
ส่วนด้านการเงินนั้น กระทรวงการคลังกำลังหารือกับทางธนาคารเอ็กซิมแบงก์ของจีน โดยจีนเสนอเงื่อนไขกู้เงินสกุลหยวน อันตราดอกเบี้ย 3.2% ขณะที่เงินกู้สกุลดอลล่าร์ ขณะที่เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีก เพือเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน โดยไทยต้องการดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด
จึงยังไม่ได้สรุปเรื่องเงินกู้ โดยจะใช้เงินกู้เฉพาะของนำเข้าเท่านั้น
โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างนั้นยังยืนยันว่าจะใช้ตามขั้นตอนปกติ ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. ตอนที่ 2 จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.ตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กม.ตอนที่4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ขณะที่การพัฒนาพื้นที่2ข้างทางนั้นทางการรถไฟฯ จะดำเนินการเอง