ประธานบอร์ดรฟม.ชี้ ม.44 ช่วยเร่งเดินรถสีน้ำเงินต่อขยาย แก้รอยต่อ 1 สถานี ได้เร็วขึ้น เตรียมหารือหน่วยงานตามคำสั่ง เพื่อเร่งกำหนดกรอบเจรจาตรงBEM รับสัมปทานเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยบอร์ดรฟม.นัดประชุม2 ส.ค. ถก แก้สัญญาเฉลิมรัชมงคล หรือทำสัญญาส่วนต่อขยายใหม่โดยลดอายุให้จบพร้อมกัน
จากกรณี ที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้มาตรา 44 ในการดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. และ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ที่ยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า นั้น พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า บอร์ดรฟม.จะเร่งดำเนินการตามคำสั่ง ม .44 ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน ในเรื่องการพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation)
โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ร่วมหารือ เพื่อรับฟังความคิดเห็น เนำมาประกอบการกำหนดหลักเกณฑ์ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2543 สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย
ส่วนบอร์ด รฟม.จะประชุมในวันที่ 2 ส.ค. นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีกรอบที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งตามคำสั่ง ม.44 ให้เวลาบอร์ด รฟม.พิจารณา 30 วัน แต่บอร์ดจะเร่งดำเนินการภายใน15 วันจะสรุปเรื่องเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ และจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือก(กก.มาตรา 35) ตามพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ2556 และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ตามมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ประชุมร่วมกัน และเจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาประมาณ20 วันจะไข้อยุติ
พลเอกยอดยุทธกล่าวว่า คำสั่ง ม.44 ถือว่าช่วยให้การพิจารณาหาผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 และเมื่อสรุปการเจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายแล้ว รฟม.จะสามารถเร่งรัดให้เปิดเดินรถช่วงสถานีบางซื่อ- เตาปูน โดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ปัญหารอยต่อระหว่างสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน)
อย่างไรก็ตาม คำสั่ง ม.44 นั้น ให้ดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับบริษัท สัมปทาน เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน และการกำหนดะยะเวลาการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้มีระยะเวลาสิ้นสุดลงพร้อมกัน หรือสอดคล้องกันนั้น จะต้องพิจารณาว่าจะมีการปรับสัญญาสัมปทานสายเฉลิมรัชมงคลเดิม ซึ่งจะหมดอายุในปี 2572 อย่างไร หรือ ปรับลดอายุสัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้รวมกับสัญญาสายเฉลิมรัชมงคล และหมดอายุไปพร้อมกัน ซึ่งจะต้องดูที่ความสอดคล้องเป็นหลัก โดยงานเดินรถทั้ง 2 ส่วนมีรูปแบบการลงทุน รูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) เหมือนกัน.
จากกรณี ที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้มาตรา 44 ในการดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. และ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ที่ยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า นั้น พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า บอร์ดรฟม.จะเร่งดำเนินการตามคำสั่ง ม .44 ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน ในเรื่องการพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation)
โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ร่วมหารือ เพื่อรับฟังความคิดเห็น เนำมาประกอบการกำหนดหลักเกณฑ์ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2543 สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย
ส่วนบอร์ด รฟม.จะประชุมในวันที่ 2 ส.ค. นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีกรอบที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งตามคำสั่ง ม.44 ให้เวลาบอร์ด รฟม.พิจารณา 30 วัน แต่บอร์ดจะเร่งดำเนินการภายใน15 วันจะสรุปเรื่องเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ และจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือก(กก.มาตรา 35) ตามพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ2556 และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ตามมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ประชุมร่วมกัน และเจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาประมาณ20 วันจะไข้อยุติ
พลเอกยอดยุทธกล่าวว่า คำสั่ง ม.44 ถือว่าช่วยให้การพิจารณาหาผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 และเมื่อสรุปการเจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายแล้ว รฟม.จะสามารถเร่งรัดให้เปิดเดินรถช่วงสถานีบางซื่อ- เตาปูน โดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ปัญหารอยต่อระหว่างสายสีน้ำเงินกับสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน)
อย่างไรก็ตาม คำสั่ง ม.44 นั้น ให้ดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับบริษัท สัมปทาน เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน และการกำหนดะยะเวลาการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้มีระยะเวลาสิ้นสุดลงพร้อมกัน หรือสอดคล้องกันนั้น จะต้องพิจารณาว่าจะมีการปรับสัญญาสัมปทานสายเฉลิมรัชมงคลเดิม ซึ่งจะหมดอายุในปี 2572 อย่างไร หรือ ปรับลดอายุสัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้รวมกับสัญญาสายเฉลิมรัชมงคล และหมดอายุไปพร้อมกัน ซึ่งจะต้องดูที่ความสอดคล้องเป็นหลัก โดยงานเดินรถทั้ง 2 ส่วนมีรูปแบบการลงทุน รูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) เหมือนกัน.