ผู้จัดการรายวัน360- "ประยุทธ์" งัด "ม.44" แก้ปัญหาการเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเฉลิมรัชมงคล กับส่วนต่อขยาย มอบบอร์ดรฟม.กำหนดหลักเกณฑ์ แบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร พร้อมเร่งเจรจาตรง BEM รับงานส่วนต่อขยายและ แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนสายเฉลิมรัชมงคล ให้ระยะเวลาดำเนินงานสอดคล้องกัน เพื่อให้เดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่าย (Through Operation)
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ ( 21 ก.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 42/2559 เรื่อง การดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากการจัดระบบการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งประกอบด้วย สายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในปัจจุบันยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า การพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation)
แม้คณะรัฐมนตรีจะได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2559 เร่งรัดให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า เพื่อให้การเดินรถแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถดำเนินการร่วมกันให้เป็นผลสำเร็จได้ ซึ่งจะทำให้การเปิดให้บริการเดินรถ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย มีความล่าช้าออกไปมาก ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก และรัฐยังต้องสูญเสียรายได้
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิผลและรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง -บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ยุติการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และ ให้คณะกรรมการการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดหลักเกณฑ์ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2543 สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย
ทั้งนี้ ให้รับฟังความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และให้เสนอหลักเกณฑ์พร้อมทั้งความเห็นของหน่วยงานดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วเสร็จภายใน 15 วัน และเพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน และการกำหนดะยะเวลาการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้มีระยะเวลาสิ้นสุดลงพร้อมกัน หรือสอดคล้องกัน
ให้คณะกรรมการคัดเลือก(กก.มาตรา 35)และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ตามมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา งานระบบรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบ จากนั้น ให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดำเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยให้ดำเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่า รฟม.กล่าวว่า ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.คือให้คณะกรรมการมาตรา 35 ยุติการดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ที่มีคำสั่งของหัวหน้าคสช. ซึ่งล่าสุดคณะกก.มาตรา 35 ได้เสนอแนวทางการเจรจาตรงกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้เดินรถสายเฉลิมรัชมงคล ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณา อย่างไรก็ตาม ทางรฟม.จะเร่งดำเนินการตามคำสั่งล่าสุด
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ ( 21 ก.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 42/2559 เรื่อง การดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากการจัดระบบการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งประกอบด้วย สายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในปัจจุบันยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า การพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation)
แม้คณะรัฐมนตรีจะได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2559 เร่งรัดให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า เพื่อให้การเดินรถแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถดำเนินการร่วมกันให้เป็นผลสำเร็จได้ ซึ่งจะทำให้การเปิดให้บริการเดินรถ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย มีความล่าช้าออกไปมาก ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก และรัฐยังต้องสูญเสียรายได้
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิผลและรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง -บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ยุติการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และ ให้คณะกรรมการการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดหลักเกณฑ์ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2543 สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย
ทั้งนี้ ให้รับฟังความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และให้เสนอหลักเกณฑ์พร้อมทั้งความเห็นของหน่วยงานดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วเสร็จภายใน 15 วัน และเพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน และการกำหนดะยะเวลาการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้มีระยะเวลาสิ้นสุดลงพร้อมกัน หรือสอดคล้องกัน
ให้คณะกรรมการคัดเลือก(กก.มาตรา 35)และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ตามมาตรา 43 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา งานระบบรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบ จากนั้น ให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดำเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยให้ดำเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่า รฟม.กล่าวว่า ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.คือให้คณะกรรมการมาตรา 35 ยุติการดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ที่มีคำสั่งของหัวหน้าคสช. ซึ่งล่าสุดคณะกก.มาตรา 35 ได้เสนอแนวทางการเจรจาตรงกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้เดินรถสายเฉลิมรัชมงคล ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณา อย่างไรก็ตาม ทางรฟม.จะเร่งดำเนินการตามคำสั่งล่าสุด