วานนี้ (5ก.ค.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) แถลงข่าวผ่านเฟซบุ๊กเพจส่วนตัว แสดงจุดยืนสนับสนุนร่างรธน. โดยกล่าวถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนว่า ตนศึกษาร่างรธน.แล้ว ต้องบอกว่ารธน.ฉบับนี้พิเศษสุด เพราะเขียนเรื่องสิทธิ เสรีภาพไว้ดีมาก ตั้งแต่ ม.25 จนถึง ม.49 มีการระบุเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของปวงชนเอาไว้ครบทุกเรื่อง และสิ่งที่พิเศษคือ ใน ม.25 นั้น บัญญัติไว้เลยว่า สิทธิใดนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติให้คุ้มครองไว้ในรธน. การใดที่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรธน. หรือจำกัดไว้ในกฎหมายอื่น ประชาชนย่อมมีสิทธิเหล่านั้นได้ ซึ่งนี่แหละเป็นสิ่งพิเศษ ที่ผ่านมาเราอ่านรธน. ก็รู้ว่ามีสิทธิทำอะไร แต่ไม่กล้าจะทำนอกเหนือจากนั้น เพราะกังวลว่ารธน.จะไม่รับรอง แต่ฉบับนี้ระบุเอาไว้เลยว่า สิ่งใดที่นอกเหนือจากที่รธน. ที่ได้ห้ามเอาไว้ เราสามารถทำสิ่งนั้นได้ และจะคุ้มครองด้วย นี่เป็นสิ่งสำคัญ ต่อจากนี้ตนจะสามารถต่อสู้ร่วมกับมวลมหาประชาชนได้ตลอดรอดฝั่ง ที่ผ่านมาร.ต.อ.เฉลิมอยู่ บำรุง อดีตรองนายกฯ ได้พยายามใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการกับพวกตน แต่โชคดีว่า ศาลรธน.คุ้มครอง
ร่างรธน. ได้เขียนเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ที่สำคัญใน 2 ประเด็น คือ ใน ม.26 ระบุว่า การจะตรากฎหมายนั้น จะต้องไม่ขัดกับหลักนิติธรรม พวกตนเคยออกมาต่อสู้เพื่อต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ต่อจากนี้ถ้าร่างรธน.ผ่าน กฎหมายแบบนี้ ออกไม่ได้แล้ว และต้องไม่ออกกฎหมายที่ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย ส่วน ม. 41 ระบุชัดเจนว่า ประชาชนมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในการครอบครองของทางราชการ มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อราชการ มีสิทธิ์ที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ ในฐานที่ละเว้นจากการกระทำใด หรือกระทำการละเมิดสิทธิของเรา ตนชอบเรื่องเหล่านี้มาก นี่เป็นการเคารพประชาชน ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ รธน.ระบุว่า ถ้ามีใครก็ตามไปกระทำการใดๆ ที่จะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทำไม่ได้ และถ้าใครทำ ประชาชนมีสิทธิไปฟ้องอัยการสูงสุด (อสส.) ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และถ้าอสส.ไม่ทำภายใน 15 วัน ประชาชนสามารถฟ้องต่อศาลรธน. ได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้ประชาชนมีสิทธิ ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันฯ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ และใน ม.43 ระบุว่า ประชาชนมีสิทธิเสนอให้รัฐหยุดดำเนินการในสิ่งที่กระทบต่อความสงบสุขของประชาชน และหน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาให้ประขาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้น ซึ่งตนคิดว่าเรื่องเหล่านี้ดีมาก เพราะประชาชน จะไม่ต้องไปเดินขบวนร้องเรียนเวลาได้รับความเดือดร้อนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากมีช่องทางที่จะไปขอให้รัฐหยุดดำเนินการได้ ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ทำก็ถือว่าหน่วยงานรัฐนั้นมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามรธน.
ร่างรธน. ได้เขียนเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ที่สำคัญใน 2 ประเด็น คือ ใน ม.26 ระบุว่า การจะตรากฎหมายนั้น จะต้องไม่ขัดกับหลักนิติธรรม พวกตนเคยออกมาต่อสู้เพื่อต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ต่อจากนี้ถ้าร่างรธน.ผ่าน กฎหมายแบบนี้ ออกไม่ได้แล้ว และต้องไม่ออกกฎหมายที่ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย ส่วน ม. 41 ระบุชัดเจนว่า ประชาชนมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในการครอบครองของทางราชการ มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อราชการ มีสิทธิ์ที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ ในฐานที่ละเว้นจากการกระทำใด หรือกระทำการละเมิดสิทธิของเรา ตนชอบเรื่องเหล่านี้มาก นี่เป็นการเคารพประชาชน ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ รธน.ระบุว่า ถ้ามีใครก็ตามไปกระทำการใดๆ ที่จะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทำไม่ได้ และถ้าใครทำ ประชาชนมีสิทธิไปฟ้องอัยการสูงสุด (อสส.) ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และถ้าอสส.ไม่ทำภายใน 15 วัน ประชาชนสามารถฟ้องต่อศาลรธน. ได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้ประชาชนมีสิทธิ ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันฯ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ และใน ม.43 ระบุว่า ประชาชนมีสิทธิเสนอให้รัฐหยุดดำเนินการในสิ่งที่กระทบต่อความสงบสุขของประชาชน และหน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาให้ประขาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้น ซึ่งตนคิดว่าเรื่องเหล่านี้ดีมาก เพราะประชาชน จะไม่ต้องไปเดินขบวนร้องเรียนเวลาได้รับความเดือดร้อนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากมีช่องทางที่จะไปขอให้รัฐหยุดดำเนินการได้ ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ทำก็ถือว่าหน่วยงานรัฐนั้นมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามรธน.