นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวในเวทีโต๊ะกลม หัวข้อ“ถกแถลงสาธารณะ มองไปข้างหน้า หลังประชามติ”ที่จัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล และเครือข่ายว่า ได้ตั้งสมมุติฐานถ้าร่างรธน. และคำถามพ่วงไม่ผ่านการประชามติ ดังนั้น รธน.ฉบับที่ 20 จึงขาดองค์ประกอบของประชาชน ดังนั้นขอให้รธน.ฉบับที่ 20 เป็นเพียงรธน.ชั่วคราว เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมปที่วางไว้ และนำไปสู่การร่างรธน. ฉบับที่ 21 ที่เป็นฉบับที่ถาวรต่อไป โดยมีทางเลือก 2 ทาง คือ คสช. ยังคงมีบทบาทนำการร่างรธน.ฉบับที่ 21อยู่ หรือคสช. ปล่อยมือ เน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วยการตั้งสภาร่างรธน. ที่มีสมาชิกที่มีที่มาอย่างหลากหลาย ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เป็นที่ยอมรับ และการเมืองจะมีเสถียรภาพ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุ ส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อประชาชนศึกษาข้อมูลแล้ว คงจะออกเสียงประชามติไปในทางเดียวกัน ทั้งร่างรธน. และ คำถามพ่วง คือ ผ่าน หรือไม่ผ่านทั้งคู่ แต่ปัญหาคือ ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เพราะการแสดงความเห็นถูกปิดกั้นมาก หากร่างรธน. และคำถามพ่วงไม่ผ่านทั้งสองอย่าง ส่วนตัวอยากให้มีการร่างรธน.ใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประเด็นที่เป็นปัญหามาก คือ ถ้ารธน.ผ่าน แล้วคสช.จะไปเร็ว
นางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช. เห็นว่า กระบวนการในขณะนี้ มีการปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพ ดังนั้น ประชามติครั้งนี้ไม่สมควรเรียกว่าประชามติ และเชื่อว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นก่อนวันที่ 7 ส.ค. เพราะ ฮิวเมนไรท์วอช ประกาศให้นานาประเทศไม่ควรรับผลประชามติ เนื่องจากมีการปิดกั้นความเห็นต่างๆ ดังนั้น สมมุติฐานที่ระบุว่าวันที่ 7 ส.ค. จะไม่มีการทำประชามติ ก็อาจเป็นได้ หรือถ้ามีแล้วร่างรธน. และคำถามพ่วงผ่าน ต้องดูว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้นอีก
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวว่า ถ้ารธน.และคำถามพ่วงผ่านทั้งคู่ กรธ. ต้องแก้ร่างรธน.ให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ส่งศาลรธน.ตีความ จะทำให้กระบวนการเลือกตั้งช้าไป 2 เดือน คือ การเลือกตั้งเกิดขึ้นเดือน ต.ค.60 แต่หากร่างรธน.คำถามพ่วงไม่ผ่าน จะมีการเลือกตั้งในเดือน ส.ค.60 ตามปกติ หรือหากร่างรธน.ไม่ผ่าน แต่คำถามพ่วงผ่าน และ ทั้งร่างรธน.และคำถามพ่วงไม่ผ่าน การเลือกตั้งจะช้าออกไป 3-4 เดือน เพราะต้องร่างรธน.ใหม่ แต่จะไม่ผ่านกระบวนการออกเสียงประชามติ เพราะรธน.ฉบับชั่วคราว ไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งยืนยันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 60 แน่นอน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุ ส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อประชาชนศึกษาข้อมูลแล้ว คงจะออกเสียงประชามติไปในทางเดียวกัน ทั้งร่างรธน. และ คำถามพ่วง คือ ผ่าน หรือไม่ผ่านทั้งคู่ แต่ปัญหาคือ ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เพราะการแสดงความเห็นถูกปิดกั้นมาก หากร่างรธน. และคำถามพ่วงไม่ผ่านทั้งสองอย่าง ส่วนตัวอยากให้มีการร่างรธน.ใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประเด็นที่เป็นปัญหามาก คือ ถ้ารธน.ผ่าน แล้วคสช.จะไปเร็ว
นางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช. เห็นว่า กระบวนการในขณะนี้ มีการปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพ ดังนั้น ประชามติครั้งนี้ไม่สมควรเรียกว่าประชามติ และเชื่อว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นก่อนวันที่ 7 ส.ค. เพราะ ฮิวเมนไรท์วอช ประกาศให้นานาประเทศไม่ควรรับผลประชามติ เนื่องจากมีการปิดกั้นความเห็นต่างๆ ดังนั้น สมมุติฐานที่ระบุว่าวันที่ 7 ส.ค. จะไม่มีการทำประชามติ ก็อาจเป็นได้ หรือถ้ามีแล้วร่างรธน. และคำถามพ่วงผ่าน ต้องดูว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้นอีก
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวว่า ถ้ารธน.และคำถามพ่วงผ่านทั้งคู่ กรธ. ต้องแก้ร่างรธน.ให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ส่งศาลรธน.ตีความ จะทำให้กระบวนการเลือกตั้งช้าไป 2 เดือน คือ การเลือกตั้งเกิดขึ้นเดือน ต.ค.60 แต่หากร่างรธน.คำถามพ่วงไม่ผ่าน จะมีการเลือกตั้งในเดือน ส.ค.60 ตามปกติ หรือหากร่างรธน.ไม่ผ่าน แต่คำถามพ่วงผ่าน และ ทั้งร่างรธน.และคำถามพ่วงไม่ผ่าน การเลือกตั้งจะช้าออกไป 3-4 เดือน เพราะต้องร่างรธน.ใหม่ แต่จะไม่ผ่านกระบวนการออกเสียงประชามติ เพราะรธน.ฉบับชั่วคราว ไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งยืนยันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 60 แน่นอน