นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านการมีส่วนร่วม เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประชามติร่างรธน.ผ่านสื่อสาธารณะ พบว่า มีการเผยแพร่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการ์ตูนผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยส่วนตัวได้ประสานสอบถามไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) แล้ว และได้รับคำยืนยันมาอย่างไม่เป็นทางการ ว่า ข้อความดังกล่าว เป็นเท็จ เพราะไม่มีปรากฏในร่างรธน. ที่จะลงประชามติ เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลโดยนำการ์ตูนที่เขียนต่างเวลามารวมกัน เพื่อให้เกิดความสำคัญผิด จนส่งผลต่อการออกเสียงประชามติร่างรธน.
ดังนั้นในวันนี้ ( 23 มิ.ย.) ตนจะส่งหนังสือในนามส่วนตัวเชิญ นายอรุณ วัชรสวัสดิ์ ผู้เขียนการ์ตูน และบรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์ มาพบ ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ชี้แจงว่า มาจากความเข้าใจผิด หรือมีเจตนาอย่างไร หากเข้าใจผิดก็ต้องแสดงความรับผิดชอบแก้ไขเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ถ้ายังไม่มีการแก้ไข ก็ต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไป แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
"ขณะนี้ทุกอย่างยังไม่เป็นทางการ จึงต้องขอข้อเท็จจริงก่อน ตอนนี้มีเวลา 7 วัน หาข้อเท็จจริง และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน โดยอยากให้มาด้วยตัวเองจะได้สอบถามข้อเท็จจริง หรือจะไม่มาก็ได้ รวมทั้งจะได้รอหนังสือชี้แจงอย่างเป็นทางการจาก กรธ. เมื่อเวลานั้นได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว จึงจะบอกได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามีใครหยิบเรื่องนี้ไปดำเนินการทางกฎหมายก่อน ก็สามารถทำได้"
ส่วนกรณีที่ฮิวแมนไรท์วอช เรียกร้องให้เปิดพื้นที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรธน. โดยให้มีการขยายการจัดเวทีชี้แจงเพิ่มเติม ต้องเอาเข้าสู่ที่ประชุม กกต. ว่าจำเป็นต้องเปิดเวทีเพิ่มหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เป็นผู้รับผิดชอบ
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณี ที่กกต.เปิดให้มีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ปรากฏว่าถึงวันที่ 22 มิ.ย. มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 48,050 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่มากนัก น่าจะเกิดจากความไม่เข้าใจ และความไม่รู้ของประชาชนเกี่ยวกับวิธีการลงทะเบียน จึงขอให้ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดเร่งลงทะเบียน โดยสามารถยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร สำนักทะเบียนทอ้งถิ่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-7ก.ค. ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ หรือผ่านทางอินเตอร์เนต เว็บไซต์ http://election.dopa.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค-30 มิ.ย. เพราะเมื่อครบเวลาดังกล่าว กกต.จะไม่สามารถขยายเวลาการลงทะเบียนฯได้ เนื่องจากจะกระทบต่อการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง
อย่างไรก็ตาม การออกเสียงประชามติจะแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่หากลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดแล้ว สิทธิจะค้างอยู่จนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลง แต่นับจากนี้ ทั้งการลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงประชามติ หรือใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด จะเป็นการลงทะเบียนเป็นคราวๆไป รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ไม่มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าด้วย
"ยอดขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด 4 หมื่นกว่าคน ถ้าเทียบกับตัวเลขการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผู้ยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด 2 แสนคน ยังถือว่าน้อย และขอยืนยันว่าการยื่นขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดครั้งทำประชามติปี 50 ไม่ใช่ 2 ล้านคน อย่างที่เป็นข่าว จำนวนดังกล่าวเป็นตัวเลขสะสมการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.นอกเขตจังหวัด ตั้งแต่การเลือกตั้งปี 40 "นายสมชัย กล่าว
ดังนั้นในวันนี้ ( 23 มิ.ย.) ตนจะส่งหนังสือในนามส่วนตัวเชิญ นายอรุณ วัชรสวัสดิ์ ผู้เขียนการ์ตูน และบรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์ มาพบ ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ชี้แจงว่า มาจากความเข้าใจผิด หรือมีเจตนาอย่างไร หากเข้าใจผิดก็ต้องแสดงความรับผิดชอบแก้ไขเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ถ้ายังไม่มีการแก้ไข ก็ต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไป แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
"ขณะนี้ทุกอย่างยังไม่เป็นทางการ จึงต้องขอข้อเท็จจริงก่อน ตอนนี้มีเวลา 7 วัน หาข้อเท็จจริง และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน โดยอยากให้มาด้วยตัวเองจะได้สอบถามข้อเท็จจริง หรือจะไม่มาก็ได้ รวมทั้งจะได้รอหนังสือชี้แจงอย่างเป็นทางการจาก กรธ. เมื่อเวลานั้นได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว จึงจะบอกได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามีใครหยิบเรื่องนี้ไปดำเนินการทางกฎหมายก่อน ก็สามารถทำได้"
ส่วนกรณีที่ฮิวแมนไรท์วอช เรียกร้องให้เปิดพื้นที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรธน. โดยให้มีการขยายการจัดเวทีชี้แจงเพิ่มเติม ต้องเอาเข้าสู่ที่ประชุม กกต. ว่าจำเป็นต้องเปิดเวทีเพิ่มหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของ นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เป็นผู้รับผิดชอบ
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณี ที่กกต.เปิดให้มีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ปรากฏว่าถึงวันที่ 22 มิ.ย. มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 48,050 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่มากนัก น่าจะเกิดจากความไม่เข้าใจ และความไม่รู้ของประชาชนเกี่ยวกับวิธีการลงทะเบียน จึงขอให้ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดเร่งลงทะเบียน โดยสามารถยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร สำนักทะเบียนทอ้งถิ่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-7ก.ค. ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ หรือผ่านทางอินเตอร์เนต เว็บไซต์ http://election.dopa.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค-30 มิ.ย. เพราะเมื่อครบเวลาดังกล่าว กกต.จะไม่สามารถขยายเวลาการลงทะเบียนฯได้ เนื่องจากจะกระทบต่อการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง
อย่างไรก็ตาม การออกเสียงประชามติจะแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่หากลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดแล้ว สิทธิจะค้างอยู่จนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลง แต่นับจากนี้ ทั้งการลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงประชามติ หรือใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด จะเป็นการลงทะเบียนเป็นคราวๆไป รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ไม่มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าด้วย
"ยอดขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด 4 หมื่นกว่าคน ถ้าเทียบกับตัวเลขการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผู้ยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด 2 แสนคน ยังถือว่าน้อย และขอยืนยันว่าการยื่นขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดครั้งทำประชามติปี 50 ไม่ใช่ 2 ล้านคน อย่างที่เป็นข่าว จำนวนดังกล่าวเป็นตัวเลขสะสมการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.นอกเขตจังหวัด ตั้งแต่การเลือกตั้งปี 40 "นายสมชัย กล่าว