นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ถึงงานดิจิตอลทีวีที่ทางกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ต้องมีการติดตั้งโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอลมาตรฐาน DVB-T2 (MUX) ที่จะมีทั้งหมด 4 เฟส โดยในเฟสแรกได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วจากวงเงิน 980 ล้านบาท ได้จัดซื้อจัดจ้างในราคา 769 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคากลางจากการแข่งขันของทางผู้ประกอบการที่เข้าร่วม
ถัดมาคือ โครงการในเฟส 2 ที่กำลังดำเนินการและมีปัญหาในขณะนี้ ที่ตั้งงบประมาณไว้ 1,000 ล้านบาท โดยมีราคากลางอยู่ที่ 968.4 ล้านบาท ถ้ามีการจัดซื้อจัดจ้างตามกระบวนการที่ทำอยู่จะลดลงมาเหลือ 887 ล้านบาท จากผู้เสนอราคาที่ทำตามระเบียบของการจัดซื้อจัดจ้าง และเสนอราคาต่ำที่สุด
อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในคราวนี้ รวมถึงคราวที่แล้วที่ใช้วิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ที่ทางรัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อให้มีความรอบคอบ โดยกำหนดให้มีนักวิชาการ และบุคคลภายนอก โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีความรู้เข้ามาดูแลการดำเนินงานตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นการทำร่างข้อกำหนด (ทีโออาร์) ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญาทุกอย่าง แม้กระทั่งการตรวจรับเอกสาร ก็สามารถเข้ามาดูแลได้ทั้งหมด ซึ่งได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมด
เมื่อมาถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ก็มีผู้เสนอเข้ามาทั้งหมด 4 ราย ก็ดำเนินตามขั้นตอนปกติ ตามหลักเกณฑ์ต้องดูที่คุณสมบัติของบริษัทก่อน จึงมาดูที่ข้อเสนอว่าเป็นไปตามประกาศ และทีโออาร์ ทั้งในส่วนของเงื่อนไขทั่วไปและข้อกำหนดทางเทคนิคหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดเป็นรายละเอียดที่ต้องยืดถือ เนื่องจากทีโออาร์เป็นกรอบที่ต้องยึดถือเพราะสุดท้ายก็ต้องมีการนำทีโออาร์มาตรวจรับหลังจากจัดซื้อจัดจ้าง
“ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ว่า มีบริษัทที่ไม่ผ่านข้อกำหนด เรื่องคุณสมบัติไปยื่นอุทธรณ์ร้องเรียนขอความเป็นธรรมที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) และร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งทางกรมฯก็ให้โอกาสมาชี้แจงถึง 3 ครั้ง และทางคณะกรรมการพิจารณาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมด7 คน ก็มีความเห็นยืนตามที่พิจารณาไป”
ขณะเดียวกัน ยังได้มีการหารือกับทาง สปน. ถึงเหตุผลเพิ่มเติมที่ทางกรมฯ เห็นว่าการตัดสินดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยได้เชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วความคิดเห็นของทางอาจารย์ก็สอดคล้องกับทางคณะกรรมการฯ ทำให้ทางกรมยังยืนยันถึงความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อดังกล่าว
ในเรื่องนี้ทาง สปน. ได้รับเรื่องอุทรณ์ในเรื่องของเทคนิค และมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ขณะที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดินที่ได้รับเรื่องร้องทุกข์ ก็มีความเห็นสอดคล้องกับทาง สปน. โดยทาง กปส. ยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ต้องยึดถือ กรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความเห็นทาง กปส. ก็ต้องรับฟัง และยินดีปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นสปน. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน
“ตอนนี้ยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน ในเรื่องของการพิจารณาที่ไม่ตรงกัน ที่ไม่สอดคล้องกัน คงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบอีกครั้ง ว่า ในความเห็นที่ไม่ตรงกันนั้นคืออะไร และอะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งท้ายที่สุด กปส. ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งตามขั้นตอนดังกล่าว”
นอกจากนี้ ยังระบุว่า โครงการประกวดราคาในครั้งนี้ ทาง กปส. มีการทำข้อตกลงคุณธรรมที่จะมีตัวแทนจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคเอกชน ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ รวมถึงผู้แทนจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ที่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ทำให้มั่นใจว่าทั้งคณะกรรมการการประกวดราคา และคณะกรรมการคุณธรรม ทำงานซื่อสัตย์ สุจริต ตามหลักวิชาการ
“ในกระบวนการต่อไปทาง กปส. ก็จะนำรายงานขึ้นไปตามที่ทาง สปน. ได้สั่งการลงมา พร้อมกับความเห็นของทางผู้ตรวจการแผ่นดินว่าทาง กปส. มีแนวทางดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้ทาง สปน. เสนอแก่รัฐมนตรีที่มีอำนาจในการพิจารณาสั่งการว่าเป็นอย่างไร ซึ่งยังมีอีกหลายขั้นตอน เพราะเมื่อมีการสั่งการลงมาแล้วก็ต้องเปิดช่องให้บริษัทต่าง ๆ สามารถแสดงความคิดเห็นหรือทบทวน อุทธรณ์ได้”
ทั้งนี้ ทางอธิบดี กปส. มั่นใจว่า เรื่องดังกล่าวทั้งหมดจะสามารถสรุปได้ภายในวันที่ 30 ก.ย. ไม่งั้นงบประมาณก็จะตกไป ที่สำคัญคือ เป็นโครงการที่ให้ผลประโยชน์แก่ประชาชน ที่จะได้รับชมโทรทัศน์บนระบบดิจิตอลที่มีคุณภาพได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีผู้ประกอบการหลายรายที่มีความประสงค์มาใช้บริการเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงธุรกิจ
***เปิดขั้นตอนประกวดราคา
โครงการเปลี่ยนผ่านการส่งโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล หรือ MUXเฟส 2 ของ กปส. ครั้งนี้ ยื่นซองประกวดราคาตั้งแต่ 21 ก.ค. 2558 ระยะเวลาส่งมอบงาน 240 วัน นับจากวันเซ็นสัญญา มีบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 4 ราย ประกอบไปด้วย 1. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 4. บริษัท สตรองบราเดอร์ส ๑๙๖๑ จำกัด
โดยองค์ประกอบสำคัญของโครงการนี้ ได้แก่ เครื่องส่งโทรทัศน์ระบบดิจิตอล 40 สถานี (ในจำนวนนี้ มี 10 สถานี ที่เป็น Infrastructure ซึ่งเป็นกลุ่มสถานีที่กรมประชา สัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้ให้บริการโครงข่ายรายอื่นมาร่วมใช้บริการ) และอุปกรณ์ส่วนควบของแต่ละสถานี เช่น เสาอากาศ อาคารสำเร็จรูปสำหรับติดตั้งเครื่องส่งและอุปกรณ์ เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า ระบบรวมสัญญาณ (Combiner) และแผงสายอากาศ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรรมการพิจารณาโครงการสรุปว่า มีผู้เสนอราคาที่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2 ราย คือ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สตรองบราเดอร์ส ๑๙๖๑ จำกัด หลังจากนั้น คณะกรรมการจึงพิจารณาใบเสนอราคาของผู้ผ่านข้อกำหนดการจัดซื้อจ้างทั้ง 2 ราย โดยผู้เสนอราคาต่ำสุดได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ที่เสนอราคา 887 ล้านบาท ก่อนนำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างต่อไป
สำหรับบริษัทอีก 2 รายที่ไม่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง คือ บริษัท บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยทั้ง 2 บริษัท ไม่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างทั้งเงื่อนไขทั่วไป และข้อกำหนดทางเทคนิค (ทีโออาร์) ซึ่งตามระเบียบของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการพิจารณาผลจะพิจารณาราคาเฉพาะผู้ที่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น.
ถัดมาคือ โครงการในเฟส 2 ที่กำลังดำเนินการและมีปัญหาในขณะนี้ ที่ตั้งงบประมาณไว้ 1,000 ล้านบาท โดยมีราคากลางอยู่ที่ 968.4 ล้านบาท ถ้ามีการจัดซื้อจัดจ้างตามกระบวนการที่ทำอยู่จะลดลงมาเหลือ 887 ล้านบาท จากผู้เสนอราคาที่ทำตามระเบียบของการจัดซื้อจัดจ้าง และเสนอราคาต่ำที่สุด
อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในคราวนี้ รวมถึงคราวที่แล้วที่ใช้วิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ที่ทางรัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อให้มีความรอบคอบ โดยกำหนดให้มีนักวิชาการ และบุคคลภายนอก โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีความรู้เข้ามาดูแลการดำเนินงานตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นการทำร่างข้อกำหนด (ทีโออาร์) ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญาทุกอย่าง แม้กระทั่งการตรวจรับเอกสาร ก็สามารถเข้ามาดูแลได้ทั้งหมด ซึ่งได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมด
เมื่อมาถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ก็มีผู้เสนอเข้ามาทั้งหมด 4 ราย ก็ดำเนินตามขั้นตอนปกติ ตามหลักเกณฑ์ต้องดูที่คุณสมบัติของบริษัทก่อน จึงมาดูที่ข้อเสนอว่าเป็นไปตามประกาศ และทีโออาร์ ทั้งในส่วนของเงื่อนไขทั่วไปและข้อกำหนดทางเทคนิคหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดเป็นรายละเอียดที่ต้องยืดถือ เนื่องจากทีโออาร์เป็นกรอบที่ต้องยึดถือเพราะสุดท้ายก็ต้องมีการนำทีโออาร์มาตรวจรับหลังจากจัดซื้อจัดจ้าง
“ที่ผ่านมา มีประเด็นที่ว่า มีบริษัทที่ไม่ผ่านข้อกำหนด เรื่องคุณสมบัติไปยื่นอุทธรณ์ร้องเรียนขอความเป็นธรรมที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) และร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งทางกรมฯก็ให้โอกาสมาชี้แจงถึง 3 ครั้ง และทางคณะกรรมการพิจารณาโครงการที่มีอยู่ทั้งหมด7 คน ก็มีความเห็นยืนตามที่พิจารณาไป”
ขณะเดียวกัน ยังได้มีการหารือกับทาง สปน. ถึงเหตุผลเพิ่มเติมที่ทางกรมฯ เห็นว่าการตัดสินดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยได้เชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วความคิดเห็นของทางอาจารย์ก็สอดคล้องกับทางคณะกรรมการฯ ทำให้ทางกรมยังยืนยันถึงความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อดังกล่าว
ในเรื่องนี้ทาง สปน. ได้รับเรื่องอุทรณ์ในเรื่องของเทคนิค และมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ขณะที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดินที่ได้รับเรื่องร้องทุกข์ ก็มีความเห็นสอดคล้องกับทาง สปน. โดยทาง กปส. ยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ต้องยึดถือ กรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความเห็นทาง กปส. ก็ต้องรับฟัง และยินดีปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นสปน. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน
“ตอนนี้ยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน ในเรื่องของการพิจารณาที่ไม่ตรงกัน ที่ไม่สอดคล้องกัน คงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบอีกครั้ง ว่า ในความเห็นที่ไม่ตรงกันนั้นคืออะไร และอะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งท้ายที่สุด กปส. ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งตามขั้นตอนดังกล่าว”
นอกจากนี้ ยังระบุว่า โครงการประกวดราคาในครั้งนี้ ทาง กปส. มีการทำข้อตกลงคุณธรรมที่จะมีตัวแทนจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคเอกชน ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ รวมถึงผู้แทนจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ที่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ทำให้มั่นใจว่าทั้งคณะกรรมการการประกวดราคา และคณะกรรมการคุณธรรม ทำงานซื่อสัตย์ สุจริต ตามหลักวิชาการ
“ในกระบวนการต่อไปทาง กปส. ก็จะนำรายงานขึ้นไปตามที่ทาง สปน. ได้สั่งการลงมา พร้อมกับความเห็นของทางผู้ตรวจการแผ่นดินว่าทาง กปส. มีแนวทางดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้ทาง สปน. เสนอแก่รัฐมนตรีที่มีอำนาจในการพิจารณาสั่งการว่าเป็นอย่างไร ซึ่งยังมีอีกหลายขั้นตอน เพราะเมื่อมีการสั่งการลงมาแล้วก็ต้องเปิดช่องให้บริษัทต่าง ๆ สามารถแสดงความคิดเห็นหรือทบทวน อุทธรณ์ได้”
ทั้งนี้ ทางอธิบดี กปส. มั่นใจว่า เรื่องดังกล่าวทั้งหมดจะสามารถสรุปได้ภายในวันที่ 30 ก.ย. ไม่งั้นงบประมาณก็จะตกไป ที่สำคัญคือ เป็นโครงการที่ให้ผลประโยชน์แก่ประชาชน ที่จะได้รับชมโทรทัศน์บนระบบดิจิตอลที่มีคุณภาพได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีผู้ประกอบการหลายรายที่มีความประสงค์มาใช้บริการเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงธุรกิจ
***เปิดขั้นตอนประกวดราคา
โครงการเปลี่ยนผ่านการส่งโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล หรือ MUXเฟส 2 ของ กปส. ครั้งนี้ ยื่นซองประกวดราคาตั้งแต่ 21 ก.ค. 2558 ระยะเวลาส่งมอบงาน 240 วัน นับจากวันเซ็นสัญญา มีบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 4 ราย ประกอบไปด้วย 1. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 4. บริษัท สตรองบราเดอร์ส ๑๙๖๑ จำกัด
โดยองค์ประกอบสำคัญของโครงการนี้ ได้แก่ เครื่องส่งโทรทัศน์ระบบดิจิตอล 40 สถานี (ในจำนวนนี้ มี 10 สถานี ที่เป็น Infrastructure ซึ่งเป็นกลุ่มสถานีที่กรมประชา สัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้ให้บริการโครงข่ายรายอื่นมาร่วมใช้บริการ) และอุปกรณ์ส่วนควบของแต่ละสถานี เช่น เสาอากาศ อาคารสำเร็จรูปสำหรับติดตั้งเครื่องส่งและอุปกรณ์ เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า ระบบรวมสัญญาณ (Combiner) และแผงสายอากาศ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรรมการพิจารณาโครงการสรุปว่า มีผู้เสนอราคาที่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2 ราย คือ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สตรองบราเดอร์ส ๑๙๖๑ จำกัด หลังจากนั้น คณะกรรมการจึงพิจารณาใบเสนอราคาของผู้ผ่านข้อกำหนดการจัดซื้อจ้างทั้ง 2 ราย โดยผู้เสนอราคาต่ำสุดได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ที่เสนอราคา 887 ล้านบาท ก่อนนำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างต่อไป
สำหรับบริษัทอีก 2 รายที่ไม่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง คือ บริษัท บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยทั้ง 2 บริษัท ไม่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างทั้งเงื่อนไขทั่วไป และข้อกำหนดทางเทคนิค (ทีโออาร์) ซึ่งตามระเบียบของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการพิจารณาผลจะพิจารณาราคาเฉพาะผู้ที่ผ่านเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น.