1. คำนำ
ก่อนอื่นขอทบทวนความจำกันสักนิดครับ เนื่องจากรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ปรากฏว่าได้เกิดการคัดค้านโดย “เครือข่ายปกป้องอันดามัน” จนนำไปสู่การอดอาหารประท้วง (สิงหาคม 58) ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็คือ ขอเวลา 3 ปี เพื่อให้จังหวัดกระบี่ได้ทดลองใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาศึกษาความเป็นไปได้
ผมได้พบรายงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมไทย-เยอรมนี และกระทรวงพลังงานมีส่วนร่วมในการวิจัย แต่ผู้แทนของกระทรวงพลังงานไม่ยอมนำผลวิจัยชิ้นนี้มาอ้างถึงแม้แต่น้อย งานวิจัยนี้พบว่า จังหวัดน่านสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้พอใช้ทั้งจังหวัดภายในปี 2579 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดแผนพีดีพี 2015
ถ้าจังหวัดน่านสามารถพึ่งตนเองด้วยพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งจังหวัด แล้วทำไมจังหวัดกระบี่ซึ่งเต็มไปด้วยสวนปาล์มน้ำมันที่สามารถนำของเหลือมาผลิตไฟฟ้าได้จะพึ่งตนเอง 100% บ้างไม่ได้
ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอ (1) ผลงานวิจัยดังกล่าวเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการคาดหมายในอนาคต และ (2) นำเสนอสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในบางประเทศ
2. ผลงานวิจัยที่กระทรวงพลังงานร่วมทำกับประเทศเยอรมนี
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมนี และเพิ่งได้แถลงข่าวผลการวิจัยไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 หลังการอดอาหารประท้วง ผมได้ตัดบางส่วนของข่าวประชาสัมพันธ์มาให้ดูด้วยครับ
จากผลการศึกษาของ Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems (ISE) ประเทศเยอรมนี ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้นำเสนอโดยกระทรวงพลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) นั้น ได้ระบุว่า
“จังหวัดน่านมีศักยภาพพลังงานทดแทนเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของทั้งจังหวัดได้ภายในปี 2579 ซึ่งจะเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ 100% จากการผลิตพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตและระยองมีศักยภาพในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในระบบไฟฟ้าได้ 40% จากทรัพยากรใช้ในท้องถิ่น”
“ผลการศึกษาได้ชี้ชัดถึงโอกาสที่จะกำหนดภาพฉายการพัฒนาระบบไฟฟ้าที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นของประเทศไทย โดยจังหวัดน่านมีศักยภาพพลังงานทดแทนเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของทั้งจังหวัด ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตและระยองสามารถเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในระบบไฟฟ้าได้ 40%” นางจันทร์ศรี พงษ์พานิช รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้กล่าวว่า
“ปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสนับสนุนให้การวางแผนพลังงานในระดับจังหวัด จะต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรพลังงานทดแทนของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น”
“แหล่งพลังงานทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวภาพ ล้วนแต่เป็นคำตอบในการ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน ในขณะเดียวกัน (2) ศักยภาพพลังงานทดแทนในท้องถิ่น ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน พร้อมทั้ง (3) เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
รายงานนี้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อมูลที่ใช้ในการป้อนเข้าไปในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้รับการคัดเลือกอย่างระมัดระวัง และได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากกระทรวงพลังงานของไทยตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในแต่ละจังหวัด (The input data was carefully selected in close cooperation with the Thai Ministry of Energy and experts from the target provinces Nan, Phuket, and Rayong.)
แล้วผลการศึกษาก็ออกมาตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วครับ สำหรับผลการศึกษาที่เป็นตัวเลขผมจะนำเสนอในหัวข้อถัดไป โดยผมจะขอยกเฉพาะเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อจะได้เปรียบเทียบสถานการณ์จริงของประเทศอื่นๆ ที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ว่าผลการศึกษาในกรณี 3 จังหวัดของไทยจะเป็นได้หรือไม่
ผลการศึกษาบอกว่าจังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพ (Potential) ที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 1,715 เมกะวัตต์ ซึ่งคำว่าศักยภาพหมายถึง “ความสามารถสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน” ดังภาพประกอบ
น่าเสียดายที่การวิจัยชิ้นนี้เขาไม่ได้ศึกษาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ถ้าทางประเทศไทยจะขอให้เขาทำเพิ่มเติมก็ไม่ใช่ เนื่องจากเพราะตัวแบบจำลองมีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะทางภูมิอากาศก็น่าจะใกล้เคียงกับจังหวัดภูเก็ตมากเพราะอยู่ติดกัน ความแตกต่างจึงน่าจะอยู่ที่จำนวนครัวเรือนหรือจำนวนประชากร จากข้อมูลพบว่า จังหวัดกระบี่มีจำนวนประชากร 4.62 แสนคน ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตมี 3.87 แสนคน ดังนั้น ถ้าคิดบนฐานจำนวนประชากรอย่างเดียว ศักยภาพของจังหวัดกระบี่จึงน่าจะมากกว่า 1,715 เมกะวัตต์
แต่เชื่อไหมครับว่า ผู้แทนจากกระทรวงพลังงานในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการไตรภาคี นำเสนอศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์แค่ 55 เมกะวัตต์เท่านั้น น้อยกว่าผลการวิจัยที่กระทรวงพลังงานเป็น “ผู้คัดเลือกข้อมูลอย่างระมัดระวัง” ด้วยตนเองถึงหลายสิบเท่าตัว
ผมจะยังไม่วิจารณ์ที่มาของตัวเลข “55 เมกะวัตต์” ในที่นี้ แต่ผมจะขอนำเสนอความสำเร็จของ 3 ประเทศที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ทำได้แล้ว ตลอดจนการคาดหมายศักยภาพของเขา เพื่อจะได้ย้อนกลับมาดูในบ้านเรา
3. รัฐออสเตรเลียใต้ ผลิตไฟฟ้าจากหลังคาได้มากกว่าที่ชาวกระบี่ใช้ทั้งจังหวัด
นับถึงปี 2015 รัฐออสเตรเลียใต้ซึ่งมีประชากร 1.7 ล้านคน (3.7 เท่าของกระบี่) ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาไปแล้วจำนวน 575 เมกะวัตต์ (เฉลี่ยคนละ 339 วัตต์ หรือประมาณคนละ 1 แผ่น) สามารถผลิตไฟฟ้าได้รวม 857 ล้านหน่วย มากกว่าที่ชาวกระบี่ใช้ทั้งจังหวัด (ชาวกระบี่ใช้ไฟฟ้า 777 ล้านหน่วย) โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 18.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ในปี 2025 คาดว่าจำนวนการติดตั้งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,495 เมกะวัตต์ (ในสถานการณ์ปานกลาง) จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้รวมกันถึง 2,700 ล้านหน่วย
4. ประเทศเยอรมนี ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 22% ของที่คนไทยทั้งประเทศใช้
ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีมีพลังงานแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย โดยที่รัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในอัตรา 3.40 บาทต่อหน่วย (รัฐบาลไทยรับซื้อ 5.66 บาทต่อหน่วย) แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 22% ของไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน (โดยตราเป็นกฎหมาย) ว่า จะใช้พลังงานหมุนเวียน 50% ในอีก 14 ปีข้างหน้า
5. รัฐแคลิฟอร์เนีย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปี 2015 เพิ่มขึ้น 33%
ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีพลังงานแสงอาทิตย์ต่อตารางเมตรสูงกว่าประเทศไทย (ในตารางพลังงานไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์จะน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะมีการติดตั้งเพิ่มในช่วงกลางปี) โดยมีศักยภาพสูงถึง 128,900 เมกะวัตต์ แต่ได้ติดตั้งไปแล้ว 13,234 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 ล้านหน่วย
ค่าไฟฟ้าขายปลีกในรัฐแคลิฟอร์เนีย (ราคาปี 2016) ประมาณหน่วยละ 5.30 บาท ( $0.1515) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ 3.64 บาท (ถูกกว่าประเทศไทย) แต่ต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในสหรัฐฯ (ประเภทที่พักอาศัย) แพงมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 112,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศไทย (ประมาณ 2 เท่าของประเทศไทย)
จากข้อมูลโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย จะผลิตไฟฟ้าได้ 1505 หน่วยต่อปี ถ้าค่าไฟฟ้าขายปลีก 5.30 บาท ตลอด 25 ปีจะได้ค่าตอบแทนประมาณ 199,400 บาท หรือถ้าคิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดโครงการ (LCOE) จะประมาณ 2.98 บาท ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านต้องจ่ายให้กับบริษัท ถ้าเป็นราคาในประเทศไทยก็จะต่ำกว่านี้อีก แต่ที่คนไทยไม่สามารถติดตั้งได้เพราะนโยบายของรัฐบาลที่บังแดดเอาไว้
6. สรุป
จากตัวอย่างการเติบโตของโซลาร์เซลล์รัฐออสเตรเลียใต้ ของประเทศเยอรมนี และของรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้กล่าว ทำให้เราเห็นความจริง 3 ประการ คือ (1) ผลงานวิจัยร่วมไทย-เยอรมนี ในกรณีจังหวัดภูเก็ตไม่ใช่เรื่องที่มากเกินไป (2) ตัวเลขที่บอกว่าจังหวัดกระบี่มีศักยภาพที่ 55 เมกะวัตต์เป็นเรื่องเด็กๆ สะท้อนถึงความไม่จริงใจของกระทรวงพลังงาน ที่ได้ซุกผลงานวิจัยชิ้นนี้ไว้ตั้งแต่ต้น และ (3) ต้นทุนเฉลี่ยค่าไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าจากสายส่ง
ผมขอย้อนไปที่เอกสารประชาสัมพันธ์การแถลงข่าวเรื่องงานวิจัยที่กระทรวงพลังงานไทยซุกไว้ ที่ว่า “เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น” ถ้ามีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องมีการนำเข้าถ่านหินวันละ 8 พันตัน คิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 8 พันล้านบาท เงินจำนวนนี้จะไหลออกนอกประเทศทุกปี นานร่วม 40 ปี จะเกิดอะไรขึ้น และถ้ามีการนำแสงแดดที่อยู่บนหลังคาบ้านมา “เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น” อย่างไหนจะดีกว่ากันและกับใคร เรื่องนี้คนไทยต้องเป็นผู้ร่วมกันตอบ
สุดท้ายนี้ขอมอบรูปภาพ “โอ่งชีวิตพิชิตหนี้” มาเป็นข้อคิด ที่คนไทยเราถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมว่า “ยากจนเพราะอบายมุข” แทนที่จะเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลเอง
ก่อนอื่นขอทบทวนความจำกันสักนิดครับ เนื่องจากรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ปรากฏว่าได้เกิดการคัดค้านโดย “เครือข่ายปกป้องอันดามัน” จนนำไปสู่การอดอาหารประท้วง (สิงหาคม 58) ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็คือ ขอเวลา 3 ปี เพื่อให้จังหวัดกระบี่ได้ทดลองใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาศึกษาความเป็นไปได้
ผมได้พบรายงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมไทย-เยอรมนี และกระทรวงพลังงานมีส่วนร่วมในการวิจัย แต่ผู้แทนของกระทรวงพลังงานไม่ยอมนำผลวิจัยชิ้นนี้มาอ้างถึงแม้แต่น้อย งานวิจัยนี้พบว่า จังหวัดน่านสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้พอใช้ทั้งจังหวัดภายในปี 2579 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดแผนพีดีพี 2015
ถ้าจังหวัดน่านสามารถพึ่งตนเองด้วยพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งจังหวัด แล้วทำไมจังหวัดกระบี่ซึ่งเต็มไปด้วยสวนปาล์มน้ำมันที่สามารถนำของเหลือมาผลิตไฟฟ้าได้จะพึ่งตนเอง 100% บ้างไม่ได้
ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอ (1) ผลงานวิจัยดังกล่าวเพียงบางส่วนซึ่งเป็นการคาดหมายในอนาคต และ (2) นำเสนอสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในบางประเทศ
2. ผลงานวิจัยที่กระทรวงพลังงานร่วมทำกับประเทศเยอรมนี
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมนี และเพิ่งได้แถลงข่าวผลการวิจัยไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 หลังการอดอาหารประท้วง ผมได้ตัดบางส่วนของข่าวประชาสัมพันธ์มาให้ดูด้วยครับ
จากผลการศึกษาของ Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems (ISE) ประเทศเยอรมนี ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้นำเสนอโดยกระทรวงพลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) นั้น ได้ระบุว่า
“จังหวัดน่านมีศักยภาพพลังงานทดแทนเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของทั้งจังหวัดได้ภายในปี 2579 ซึ่งจะเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ 100% จากการผลิตพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตและระยองมีศักยภาพในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในระบบไฟฟ้าได้ 40% จากทรัพยากรใช้ในท้องถิ่น”
“ผลการศึกษาได้ชี้ชัดถึงโอกาสที่จะกำหนดภาพฉายการพัฒนาระบบไฟฟ้าที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นของประเทศไทย โดยจังหวัดน่านมีศักยภาพพลังงานทดแทนเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของทั้งจังหวัด ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตและระยองสามารถเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในระบบไฟฟ้าได้ 40%” นางจันทร์ศรี พงษ์พานิช รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้กล่าวว่า
“ปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสนับสนุนให้การวางแผนพลังงานในระดับจังหวัด จะต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรพลังงานทดแทนของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น”
“แหล่งพลังงานทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวภาพ ล้วนแต่เป็นคำตอบในการ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน ในขณะเดียวกัน (2) ศักยภาพพลังงานทดแทนในท้องถิ่น ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน พร้อมทั้ง (3) เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
รายงานนี้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อมูลที่ใช้ในการป้อนเข้าไปในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้รับการคัดเลือกอย่างระมัดระวัง และได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากกระทรวงพลังงานของไทยตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในแต่ละจังหวัด (The input data was carefully selected in close cooperation with the Thai Ministry of Energy and experts from the target provinces Nan, Phuket, and Rayong.)
แล้วผลการศึกษาก็ออกมาตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วครับ สำหรับผลการศึกษาที่เป็นตัวเลขผมจะนำเสนอในหัวข้อถัดไป โดยผมจะขอยกเฉพาะเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อจะได้เปรียบเทียบสถานการณ์จริงของประเทศอื่นๆ ที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ว่าผลการศึกษาในกรณี 3 จังหวัดของไทยจะเป็นได้หรือไม่
ผลการศึกษาบอกว่าจังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพ (Potential) ที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 1,715 เมกะวัตต์ ซึ่งคำว่าศักยภาพหมายถึง “ความสามารถสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน” ดังภาพประกอบ
น่าเสียดายที่การวิจัยชิ้นนี้เขาไม่ได้ศึกษาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ถ้าทางประเทศไทยจะขอให้เขาทำเพิ่มเติมก็ไม่ใช่ เนื่องจากเพราะตัวแบบจำลองมีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะทางภูมิอากาศก็น่าจะใกล้เคียงกับจังหวัดภูเก็ตมากเพราะอยู่ติดกัน ความแตกต่างจึงน่าจะอยู่ที่จำนวนครัวเรือนหรือจำนวนประชากร จากข้อมูลพบว่า จังหวัดกระบี่มีจำนวนประชากร 4.62 แสนคน ในขณะที่จังหวัดภูเก็ตมี 3.87 แสนคน ดังนั้น ถ้าคิดบนฐานจำนวนประชากรอย่างเดียว ศักยภาพของจังหวัดกระบี่จึงน่าจะมากกว่า 1,715 เมกะวัตต์
แต่เชื่อไหมครับว่า ผู้แทนจากกระทรวงพลังงานในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการไตรภาคี นำเสนอศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์แค่ 55 เมกะวัตต์เท่านั้น น้อยกว่าผลการวิจัยที่กระทรวงพลังงานเป็น “ผู้คัดเลือกข้อมูลอย่างระมัดระวัง” ด้วยตนเองถึงหลายสิบเท่าตัว
ผมจะยังไม่วิจารณ์ที่มาของตัวเลข “55 เมกะวัตต์” ในที่นี้ แต่ผมจะขอนำเสนอความสำเร็จของ 3 ประเทศที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ทำได้แล้ว ตลอดจนการคาดหมายศักยภาพของเขา เพื่อจะได้ย้อนกลับมาดูในบ้านเรา
3. รัฐออสเตรเลียใต้ ผลิตไฟฟ้าจากหลังคาได้มากกว่าที่ชาวกระบี่ใช้ทั้งจังหวัด
นับถึงปี 2015 รัฐออสเตรเลียใต้ซึ่งมีประชากร 1.7 ล้านคน (3.7 เท่าของกระบี่) ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาไปแล้วจำนวน 575 เมกะวัตต์ (เฉลี่ยคนละ 339 วัตต์ หรือประมาณคนละ 1 แผ่น) สามารถผลิตไฟฟ้าได้รวม 857 ล้านหน่วย มากกว่าที่ชาวกระบี่ใช้ทั้งจังหวัด (ชาวกระบี่ใช้ไฟฟ้า 777 ล้านหน่วย) โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 18.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ในปี 2025 คาดว่าจำนวนการติดตั้งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,495 เมกะวัตต์ (ในสถานการณ์ปานกลาง) จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้รวมกันถึง 2,700 ล้านหน่วย
4. ประเทศเยอรมนี ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 22% ของที่คนไทยทั้งประเทศใช้
ทั้งๆ ที่ประเทศเยอรมนีมีพลังงานแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย โดยที่รัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในอัตรา 3.40 บาทต่อหน่วย (รัฐบาลไทยรับซื้อ 5.66 บาทต่อหน่วย) แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 22% ของไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน (โดยตราเป็นกฎหมาย) ว่า จะใช้พลังงานหมุนเวียน 50% ในอีก 14 ปีข้างหน้า
5. รัฐแคลิฟอร์เนีย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปี 2015 เพิ่มขึ้น 33%
ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีพลังงานแสงอาทิตย์ต่อตารางเมตรสูงกว่าประเทศไทย (ในตารางพลังงานไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์จะน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะมีการติดตั้งเพิ่มในช่วงกลางปี) โดยมีศักยภาพสูงถึง 128,900 เมกะวัตต์ แต่ได้ติดตั้งไปแล้ว 13,234 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 ล้านหน่วย
ค่าไฟฟ้าขายปลีกในรัฐแคลิฟอร์เนีย (ราคาปี 2016) ประมาณหน่วยละ 5.30 บาท ( $0.1515) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ 3.64 บาท (ถูกกว่าประเทศไทย) แต่ต้นทุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในสหรัฐฯ (ประเภทที่พักอาศัย) แพงมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 112,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศไทย (ประมาณ 2 เท่าของประเทศไทย)
จากข้อมูลโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย จะผลิตไฟฟ้าได้ 1505 หน่วยต่อปี ถ้าค่าไฟฟ้าขายปลีก 5.30 บาท ตลอด 25 ปีจะได้ค่าตอบแทนประมาณ 199,400 บาท หรือถ้าคิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดโครงการ (LCOE) จะประมาณ 2.98 บาท ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านต้องจ่ายให้กับบริษัท ถ้าเป็นราคาในประเทศไทยก็จะต่ำกว่านี้อีก แต่ที่คนไทยไม่สามารถติดตั้งได้เพราะนโยบายของรัฐบาลที่บังแดดเอาไว้
6. สรุป
จากตัวอย่างการเติบโตของโซลาร์เซลล์รัฐออสเตรเลียใต้ ของประเทศเยอรมนี และของรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้กล่าว ทำให้เราเห็นความจริง 3 ประการ คือ (1) ผลงานวิจัยร่วมไทย-เยอรมนี ในกรณีจังหวัดภูเก็ตไม่ใช่เรื่องที่มากเกินไป (2) ตัวเลขที่บอกว่าจังหวัดกระบี่มีศักยภาพที่ 55 เมกะวัตต์เป็นเรื่องเด็กๆ สะท้อนถึงความไม่จริงใจของกระทรวงพลังงาน ที่ได้ซุกผลงานวิจัยชิ้นนี้ไว้ตั้งแต่ต้น และ (3) ต้นทุนเฉลี่ยค่าไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าจากสายส่ง
ผมขอย้อนไปที่เอกสารประชาสัมพันธ์การแถลงข่าวเรื่องงานวิจัยที่กระทรวงพลังงานไทยซุกไว้ ที่ว่า “เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น” ถ้ามีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องมีการนำเข้าถ่านหินวันละ 8 พันตัน คิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 8 พันล้านบาท เงินจำนวนนี้จะไหลออกนอกประเทศทุกปี นานร่วม 40 ปี จะเกิดอะไรขึ้น และถ้ามีการนำแสงแดดที่อยู่บนหลังคาบ้านมา “เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น” อย่างไหนจะดีกว่ากันและกับใคร เรื่องนี้คนไทยต้องเป็นผู้ร่วมกันตอบ
สุดท้ายนี้ขอมอบรูปภาพ “โอ่งชีวิตพิชิตหนี้” มาเป็นข้อคิด ที่คนไทยเราถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมว่า “ยากจนเพราะอบายมุข” แทนที่จะเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลเอง