ผู้จัดการรายวัน360- คปพ. หอบเอกสารพร้อม 2 พันรายชื่อ ยื่น สนช. ค้าน ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ วอนช่วยยับยั้งเพื่อประโยชน์แผ่นดินและลูกหลาน เหตุเนื้อหาบกพร่อง-ขาดความชอบธรรม พร้อมเสนอร่างฉบับประชาชนเข้าสภา ด้าน“สุรชัย”รับพิจารณา เชื่อ สนช.ก็คนไทย ห่วงใยประเทศชาติเช่นกัน
วานนี้ (23มิ.ย.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ 2,000 รายชื่อ ต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ต่อ สนช. สำคัญ 2 เรื่อง คือ 1. หนังสือคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.. และพ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของครม. เมื่อ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา และกำลังเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม สนช.ในวันนี้ (24 มิ.ย.) ในวาระเร่งด่วน
ทั้งนี้ สืบเนื่องร่างดังกล่าวไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดรับและสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลี่ยม 2514 ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่งตั้ง และมีการลงมติไปแล้ว และยังผ่านการรับฟังความเห็นของประชาชนมาแล้ว จึงถือว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีความบกพร่อง และไม่สอดรับกับรายงานดังกล่าว จึงขาดความชอบธรรมที่จะนำเสนอและขอมติต่อ สนช.
ดังนั้น จึงอยากให้สนช.ยับยั้ง และไม่รับร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ เพราะจะเป็นผลเสียต่อประเทศชาติ และเป็นมรดกบาปแก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต
นายปานเทพ กล่าวว่า การที่พวกตนคัดค้านเพราะร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ ไม่ได้สร้างอธิปไตยทางพลังงานอย่างแท้จริง แต่กลับยกเอกสิทธิ์ในการบริหารปิโตรเลียมและการขายปิโตรเลียมให้กับเอกชน โดยปราศจากองค์กรที่ถือกรรมสิทธิ์บริหารและขายปิโตรเลียมในนามบริษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ บริษัทน้ำมันแห่งชาติที่สปช. เคยรับรองผลการศึกษาเอาไว้ ทำให้รูปแบบทางเลือกในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ ระบบจ้างผลิต เพื่อให้ทรัพยากรตกเป็นของชาตินั้น กลับเป็นเพียงการอำพรางเท่านั้น เพราะเนื้อแท้แล้ว กรรมสิทธิ์การบริหารและการขาย ก็ยังตกเป็นของเอกชนเช่นเดิม
" เนื่องในโอกาสที่ไทยใกล้หมดอายุสัมปทานปิโตรเลียมที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2565 และ 2566 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นโอกาสเดียวที่เราจะแก้ไขกฎหมายให้การผลิต การบริหาร และการขายปิโตรเลียม เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง จึงขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อนำอธิปไตยการใช้พลังงาน อิสรภาพในการบริหารและการขายให้เป็นของรัฐไทยเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย และเป็นข้อเสนอของปวงชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายยังได้จัดทำเอกสารถึง สนช. ทั้ง 218 คนเป็นรายบุคคล เพื่อขอให้นายสุรชัย ได้นำส่งไปยังสมาชิกเพื่อประกอบการประชุมในวันนี้ด้วย”
นอกจากนี้ ทางเครือข่ายยังได้ทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นร่างที่ภาคประชาชนทำการร่างขึ้น โดยอาศัยการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯของสปช. จึงมีความชอบธรรมที่จะนำไปพิจารณาในการประชุมของ สนช. โดยเราได้ปฏิบัติตาม ม. 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ หรือสิทธิใดของประชาชนที่เคยถูกคุ้มครองยังคงได้รับการคุ้มครองตามรธน.นี้ เราจึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อของประชาชนตามกฎหมายและ ตนพิจารณาแล้วว่า ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.การเงิน ที่ต้องขอความเห็นชอบจากครม. เพราะเป็นการบริหารทรัพยากรของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อจำนวน 1 หมื่นรายชื่อ ให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมของ สนช. จึงฝากความหวังไว้กับสมาชิก สนช.โปรดคุ้มครองอธิปไตยของชาติ และให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับประชาชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายจะมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อขอร่วมฟังการประชุมสนช. ในวันนี้ด้วย
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า จะรับทั้งสองเรื่องนี้ไว้ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตนก็เป็นประชาชนเหมือนกัน จากนี้จะต้องนำเข้ากระบวนการตามขั้นตอน เรื่องที่เสนอมาเป็นเรื่องของการริเริ่ม ก็จะส่งให้ฝ่ายกฎหมายเป็นคนศึกษา เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรแผ่นดิน ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน และเป็นหน้าที่โดยตรงของคนไทยทุกคน และสนช.ทุกคน ก็เป็นคนไทย ก็มีความห่วงใยเช่นกัน และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
วานนี้ (23มิ.ย.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ 2,000 รายชื่อ ต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ต่อ สนช. สำคัญ 2 เรื่อง คือ 1. หนังสือคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.. และพ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของครม. เมื่อ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา และกำลังเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม สนช.ในวันนี้ (24 มิ.ย.) ในวาระเร่งด่วน
ทั้งนี้ สืบเนื่องร่างดังกล่าวไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดรับและสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลี่ยม 2514 ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่งตั้ง และมีการลงมติไปแล้ว และยังผ่านการรับฟังความเห็นของประชาชนมาแล้ว จึงถือว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีความบกพร่อง และไม่สอดรับกับรายงานดังกล่าว จึงขาดความชอบธรรมที่จะนำเสนอและขอมติต่อ สนช.
ดังนั้น จึงอยากให้สนช.ยับยั้ง และไม่รับร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ เพราะจะเป็นผลเสียต่อประเทศชาติ และเป็นมรดกบาปแก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต
นายปานเทพ กล่าวว่า การที่พวกตนคัดค้านเพราะร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ ไม่ได้สร้างอธิปไตยทางพลังงานอย่างแท้จริง แต่กลับยกเอกสิทธิ์ในการบริหารปิโตรเลียมและการขายปิโตรเลียมให้กับเอกชน โดยปราศจากองค์กรที่ถือกรรมสิทธิ์บริหารและขายปิโตรเลียมในนามบริษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ บริษัทน้ำมันแห่งชาติที่สปช. เคยรับรองผลการศึกษาเอาไว้ ทำให้รูปแบบทางเลือกในระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ ระบบจ้างผลิต เพื่อให้ทรัพยากรตกเป็นของชาตินั้น กลับเป็นเพียงการอำพรางเท่านั้น เพราะเนื้อแท้แล้ว กรรมสิทธิ์การบริหารและการขาย ก็ยังตกเป็นของเอกชนเช่นเดิม
" เนื่องในโอกาสที่ไทยใกล้หมดอายุสัมปทานปิโตรเลียมที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2565 และ 2566 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นโอกาสเดียวที่เราจะแก้ไขกฎหมายให้การผลิต การบริหาร และการขายปิโตรเลียม เป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง จึงขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อนำอธิปไตยการใช้พลังงาน อิสรภาพในการบริหารและการขายให้เป็นของรัฐไทยเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย และเป็นข้อเสนอของปวงชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายยังได้จัดทำเอกสารถึง สนช. ทั้ง 218 คนเป็นรายบุคคล เพื่อขอให้นายสุรชัย ได้นำส่งไปยังสมาชิกเพื่อประกอบการประชุมในวันนี้ด้วย”
นอกจากนี้ ทางเครือข่ายยังได้ทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นร่างที่ภาคประชาชนทำการร่างขึ้น โดยอาศัยการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯของสปช. จึงมีความชอบธรรมที่จะนำไปพิจารณาในการประชุมของ สนช. โดยเราได้ปฏิบัติตาม ม. 4 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ หรือสิทธิใดของประชาชนที่เคยถูกคุ้มครองยังคงได้รับการคุ้มครองตามรธน.นี้ เราจึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อของประชาชนตามกฎหมายและ ตนพิจารณาแล้วว่า ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.การเงิน ที่ต้องขอความเห็นชอบจากครม. เพราะเป็นการบริหารทรัพยากรของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อจำนวน 1 หมื่นรายชื่อ ให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมของ สนช. จึงฝากความหวังไว้กับสมาชิก สนช.โปรดคุ้มครองอธิปไตยของชาติ และให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับประชาชนชาวไทย โดยทางเครือข่ายจะมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อขอร่วมฟังการประชุมสนช. ในวันนี้ด้วย
ด้านนายสุรชัย กล่าวว่า จะรับทั้งสองเรื่องนี้ไว้ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตนก็เป็นประชาชนเหมือนกัน จากนี้จะต้องนำเข้ากระบวนการตามขั้นตอน เรื่องที่เสนอมาเป็นเรื่องของการริเริ่ม ก็จะส่งให้ฝ่ายกฎหมายเป็นคนศึกษา เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรแผ่นดิน ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน และเป็นหน้าที่โดยตรงของคนไทยทุกคน และสนช.ทุกคน ก็เป็นคนไทย ก็มีความห่วงใยเช่นกัน และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด