รายงานข่าวจากรัฐสภา เปิดเผยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยผลักดันให้ ร่าง รธน. ผ่านประชามติ โดยใช้วิทยากรอาสาสมัครเผยแพร่ประชาธิปไตย ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่หมู่บ้าน และชุมชนเป็นเครื่องมือ ที่เรียกกันว่า ครูก. ครูข. ครูค. นั้น ปรากฏว่าขณะนี้ กรธ.กำลังหนักใจกับคำร้องของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ที่ศาลปกครองสูงสุด ใกล้จะพิจารณา จำนวน 2 คำร้อง
คำร้องแรก ระบุว่า กรธ.ไม่ปฏิบัติตามรธน.ฉบับชั่วคราว มาตรา 39 / 1 วรรคสาม ที่เขียนว่า “ในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รับฟังความคิดเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชนประกอบด้วย ทั้งนี้ “ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำหนด”
แต่ตลอดการร่าง รธน. ทางกรธ.ไม่ได้ออกข้อกำหนดใดๆ ที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเท่ากับขัดต่อ รธน.ฉบับชั่วคราว อีกทั้งการรับฟังความเห็นประชาชน เพื่อประกอบการจัดทำร่างรธน. ก็ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง ไม่มีขั้นตอน ไม่เป็นสาระบบ
คำร้องที่สอง ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทำในสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายประชามติ เพราะไปออกประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน ส่วนพ.ร.บ.ประชามติ มีผลใช้บังคับเป็นกฏหมาย วันที่ 23 เมษายน เท่ากับว่า กกต.ออกประกาศให้ลงประชามติ 7 สิงหาคม ก่อนกฎหมายประชามติ จะมีผลบังคับใช้ 2 วัน ในขณะที่กฎหมายประชามติ มาตรา 14 มาตรา 23 และมาตรา 27 มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน โดยกฎหมายบัญญัติให้ กกต. กำหนดวันออกเสียงประชามติ จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไปกำหนดหน่วยออกเสียงประชามติ ในเขตออกเสียง การไปกำหนดวันลงประชามติ เอาเองโดยที่ยังไม่มีกฎหมายประชามติบังคับใช้ จึงผิดหลักเกณฑ์
"ทั้ง 2 คำร้องนี้ ทางกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กำลังเฝ้ารอดูว่า ศาลปกครองสูงสุด จะมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาอย่างไร จะกระทบต่อการออกเสียงประชามติ วันที่ 7 ส.ค.นี้หรือไม่ ไม่ว่าศาลปกครองสูงสุดจะออกมาอย่างไร เราก็ต้องเคารพ เรื่องของ กกต.ทางกรรมการร่างฯ เราไม่เกี่ยว แต่เรื่องที่ร้องไปว่า กรธ.ไม่ออกประกาศ หรือแนวทางอันเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการภายในกำหนดเวลาในการรับฟังความเห็น คสช. ครม. สนช. และประชาชน ในช่วงที่จัดทำร่างรธน. นั้น ก็คงต้องแล้วแต่ศาลปกครองสูงสุด" แหล่งข่าว กล่าว
นายเรืองไกร กล่าวว่า ขณะนี้ ศาลปกครองสูงสุดกำลังพิจารณา 2 คำร้องดังกล่าว คาดว่าจะตัดสินภายในเดือนมิ.ย.นี้ ทั้งนี้ หากศาลตัดสินว่า กระบวนการรับฟังความเห็น ที่นายมีชัย ไม่ยอมออก หลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกำหนดเวลาที่กรธ.กำหนด ผิด ร่าง รธน.ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีผลให้ร่าง รธน. พ้นสภาพไป ขณะที่เรื่องการออกระเบียบของกกต. หากศาลฯตัดสินว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจัดทำประชามติ ก็ไม่สามารถจัดทำได้เช่นกัน
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. กล่าวว่า ประเด็นแรก เราชี้แจงต่อศาลปกครองได้ เพราะในแง่การทำงาน เรามีการรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง และยังทำหนังสือชี้แจงกลับไปแก่ผู้เสนอแนะ และแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ซึ่งเชื่อว่าประเด็นนี้ จะไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้ง รธน.ชั่วคราว ก็ไม่ได้บังคับให้ กรธ. ต้องออกหลักเกณฑ์การรับฟังความเห็นในการยกร่าง รธน. อีกด้วย ส่วนประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องของกกต. ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญ 2 ประเด็นนี้ ตนพึ่งจะได้ยินจากสื่อฯ และยังไม่มีการเรียก กรธ.ไปชี้แจง
คำร้องแรก ระบุว่า กรธ.ไม่ปฏิบัติตามรธน.ฉบับชั่วคราว มาตรา 39 / 1 วรรคสาม ที่เขียนว่า “ในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รับฟังความคิดเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชนประกอบด้วย ทั้งนี้ “ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำหนด”
แต่ตลอดการร่าง รธน. ทางกรธ.ไม่ได้ออกข้อกำหนดใดๆ ที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเท่ากับขัดต่อ รธน.ฉบับชั่วคราว อีกทั้งการรับฟังความเห็นประชาชน เพื่อประกอบการจัดทำร่างรธน. ก็ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง ไม่มีขั้นตอน ไม่เป็นสาระบบ
คำร้องที่สอง ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทำในสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายประชามติ เพราะไปออกประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มีผลใช้บังคับ 21 เมษายน ส่วนพ.ร.บ.ประชามติ มีผลใช้บังคับเป็นกฏหมาย วันที่ 23 เมษายน เท่ากับว่า กกต.ออกประกาศให้ลงประชามติ 7 สิงหาคม ก่อนกฎหมายประชามติ จะมีผลบังคับใช้ 2 วัน ในขณะที่กฎหมายประชามติ มาตรา 14 มาตรา 23 และมาตรา 27 มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน โดยกฎหมายบัญญัติให้ กกต. กำหนดวันออกเสียงประชามติ จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไปกำหนดหน่วยออกเสียงประชามติ ในเขตออกเสียง การไปกำหนดวันลงประชามติ เอาเองโดยที่ยังไม่มีกฎหมายประชามติบังคับใช้ จึงผิดหลักเกณฑ์
"ทั้ง 2 คำร้องนี้ ทางกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กำลังเฝ้ารอดูว่า ศาลปกครองสูงสุด จะมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาอย่างไร จะกระทบต่อการออกเสียงประชามติ วันที่ 7 ส.ค.นี้หรือไม่ ไม่ว่าศาลปกครองสูงสุดจะออกมาอย่างไร เราก็ต้องเคารพ เรื่องของ กกต.ทางกรรมการร่างฯ เราไม่เกี่ยว แต่เรื่องที่ร้องไปว่า กรธ.ไม่ออกประกาศ หรือแนวทางอันเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการภายในกำหนดเวลาในการรับฟังความเห็น คสช. ครม. สนช. และประชาชน ในช่วงที่จัดทำร่างรธน. นั้น ก็คงต้องแล้วแต่ศาลปกครองสูงสุด" แหล่งข่าว กล่าว
นายเรืองไกร กล่าวว่า ขณะนี้ ศาลปกครองสูงสุดกำลังพิจารณา 2 คำร้องดังกล่าว คาดว่าจะตัดสินภายในเดือนมิ.ย.นี้ ทั้งนี้ หากศาลตัดสินว่า กระบวนการรับฟังความเห็น ที่นายมีชัย ไม่ยอมออก หลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกำหนดเวลาที่กรธ.กำหนด ผิด ร่าง รธน.ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีผลให้ร่าง รธน. พ้นสภาพไป ขณะที่เรื่องการออกระเบียบของกกต. หากศาลฯตัดสินว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจัดทำประชามติ ก็ไม่สามารถจัดทำได้เช่นกัน
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. กล่าวว่า ประเด็นแรก เราชี้แจงต่อศาลปกครองได้ เพราะในแง่การทำงาน เรามีการรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง และยังทำหนังสือชี้แจงกลับไปแก่ผู้เสนอแนะ และแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ซึ่งเชื่อว่าประเด็นนี้ จะไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้ง รธน.ชั่วคราว ก็ไม่ได้บังคับให้ กรธ. ต้องออกหลักเกณฑ์การรับฟังความเห็นในการยกร่าง รธน. อีกด้วย ส่วนประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องของกกต. ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญ 2 ประเด็นนี้ ตนพึ่งจะได้ยินจากสื่อฯ และยังไม่มีการเรียก กรธ.ไปชี้แจง