ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) 21 คน ที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน พบว่า หลังจากร่าง รธน.ฉบับสุดท้ายเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 116 ทาง กรธ.ได้ส่งร่าง รธน.ให้คสช. ครม. แล ะสนช. ทางกรธ. ได้นัดประชุมต่อเนื่อง กระทั่งมาถึงวันที่ 10 มิ.ย.รวมการประชุมทั้งสิ้น 145 ครั้ง กรรมการร่างฯ จำนวน 20 คน ที่เข้าประชุมทุกครั้ง จะได้เบี้ยประชุมครั้งละ 6,000 บาท เป็นเงินคนละ 870,000 บาท ส่วนนายมีชัย เป็นประธานได้ครั้งละ 9 ,000 บาท รวมเป็น 1,305,000 บาท นอกจากนี้ กรธ. ยังได้เบี้ยประชุมจากการเป็นอนุกรรมการอีก ครั้งละ 800 บาท เมื่อรวมค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการ กรธ. ก็จะมีรายได้เกินกว่า 870,000 บาท
แหล่งข่าวจากรัฐสภาแจ้งว่า การนัดประชุมกรธ. ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.เป็นต้นมา ถึงวันที่ 10 มิ.ย. แทบทุกครั้งจะนัดประชุมเวลา 11.30 น. เรื่องพิจารณาในวาระ ก็เป็นเรื่องเดียว คือ “การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับบทบัญญัติ และสาระสำคัญของร่างรธน. ให้แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป”
“เหตุที่นัดประชุมใกล้เที่ยง ก็เพื่อให้กรรมการร่างรธน. ได้มากินอาหารกลางวันที่ทางสภาต้องจัดตรียมไว้นั่นเอง ถ้านัดประชุมบ่าย หรือบ่ายครึ่ง กรรมการร่างฯ ก็ต้องกินข้าวกันมาก่อน แต่ก็จะดีในแง่ที่ประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้ ส่วนวาระพิจารณาเรื่องเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเผยแพร่ และประชาชนสัมพันธ์เนื้อหาร่างรธน. ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมต้องพิจารณากันทุกครั้ง ไม่รู้จะเตรียมความพร้อมอะไรกันหนักหนา ผลการประชุม ก็ไม่เคยแจ้งให้ประชาชนรับรู้ เข้าไปดูในเว็บไซต์ของกรรมการร่างรธน. ก็ไม่มีบอกไว้ กว่าจะถึงวันที่ 7 ส.ค. คงได้เบี้ยประชุมอื้อซ่า นี่ยังไม่ต้องพูดถึงกรณี ร่างรธน.ผ่านประชาชน กรธ. ต้องทำกฏหมายลูกอีก จะได้เบี้ยประชุมอีกเท่าไหร่”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เวบไซต์ของกรธ. ที่อธิบายชี้แจงเนื้อหาร่างรธน. ซึ่งกดเข้าดูได้ง่าย แต่ปรากฏว่า มีคนกดเข้าไปดูน้อยมาก โดยเฉพาะบันทึกวิดีโอ การบรรยายของนายมีชัย มีคนเข้ามาดูแค่ 300 กว่าครั้ง นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งประเทศ อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารสาธารณะของกรธ. ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรธ. กล่าวว่า หลังจากทำร่างรธน.เสร็จแล้ว ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. ทางกรธ.ก็ประชุมแต่ที่จำเป็น ในเรื่องภารกิจของครู ก. ข. และ ค. และประชุมประสานงานกับ กกต. และสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ประชุมแค่วันเดียว และไปประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 มิ.ย. จากนั้นก็ยังไม่มีการนัดประชุมอีก ดังนั้นข้อกล่าวหาเรื่องนัดประชุม หวังเบี้ยประชุมจึงไม่จริง
ส่วนการประชุมในช่วงนี้ ก็เริ่มตั้งแต่ 11.30น. ซึ่งเป็นแบบนอกรอบ เพราะองค์ประชุมยังไม่ครบ และหลังจากรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ก็ประชุมเต็มคณะ ส่วนสาเหตุที่ไม่ยอมแถลงข่าว ส่วนใหญ่ก็ไม่มีประเด็นอะไร เพราะเป็นเรื่องตอบโต้ประเด็นทางการเมือง หรือแจ้งความคืบหน้าเรื่องการจัดอบรมคม ครู ก. ข. และ ค. อยู่แล้ว ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ก็มาดักสัมภาษณ์ นายมีชัย และทีมโฆษกกรธ. อยู่แล้ว สำหรับเรื่องเว็บไซต์ของกรธ. ที่ประชาชนดูน้อย อาจเป็นเพราะประชาชนมีทางเลือกเสพข้อมูลหลายทาง โดยเฉพาะจากสื่อมวลชนที่สะดวกกว่า แต่ทางกรธ.ก็จะรับนำกลับไปแก้ไข
แหล่งข่าวจากรัฐสภาแจ้งว่า การนัดประชุมกรธ. ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.เป็นต้นมา ถึงวันที่ 10 มิ.ย. แทบทุกครั้งจะนัดประชุมเวลา 11.30 น. เรื่องพิจารณาในวาระ ก็เป็นเรื่องเดียว คือ “การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับบทบัญญัติ และสาระสำคัญของร่างรธน. ให้แก่ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป”
“เหตุที่นัดประชุมใกล้เที่ยง ก็เพื่อให้กรรมการร่างรธน. ได้มากินอาหารกลางวันที่ทางสภาต้องจัดตรียมไว้นั่นเอง ถ้านัดประชุมบ่าย หรือบ่ายครึ่ง กรรมการร่างฯ ก็ต้องกินข้าวกันมาก่อน แต่ก็จะดีในแง่ที่ประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้ ส่วนวาระพิจารณาเรื่องเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเผยแพร่ และประชาชนสัมพันธ์เนื้อหาร่างรธน. ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมต้องพิจารณากันทุกครั้ง ไม่รู้จะเตรียมความพร้อมอะไรกันหนักหนา ผลการประชุม ก็ไม่เคยแจ้งให้ประชาชนรับรู้ เข้าไปดูในเว็บไซต์ของกรรมการร่างรธน. ก็ไม่มีบอกไว้ กว่าจะถึงวันที่ 7 ส.ค. คงได้เบี้ยประชุมอื้อซ่า นี่ยังไม่ต้องพูดถึงกรณี ร่างรธน.ผ่านประชาชน กรธ. ต้องทำกฏหมายลูกอีก จะได้เบี้ยประชุมอีกเท่าไหร่”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เวบไซต์ของกรธ. ที่อธิบายชี้แจงเนื้อหาร่างรธน. ซึ่งกดเข้าดูได้ง่าย แต่ปรากฏว่า มีคนกดเข้าไปดูน้อยมาก โดยเฉพาะบันทึกวิดีโอ การบรรยายของนายมีชัย มีคนเข้ามาดูแค่ 300 กว่าครั้ง นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งประเทศ อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารสาธารณะของกรธ. ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรธ. กล่าวว่า หลังจากทำร่างรธน.เสร็จแล้ว ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. ทางกรธ.ก็ประชุมแต่ที่จำเป็น ในเรื่องภารกิจของครู ก. ข. และ ค. และประชุมประสานงานกับ กกต. และสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ประชุมแค่วันเดียว และไปประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 มิ.ย. จากนั้นก็ยังไม่มีการนัดประชุมอีก ดังนั้นข้อกล่าวหาเรื่องนัดประชุม หวังเบี้ยประชุมจึงไม่จริง
ส่วนการประชุมในช่วงนี้ ก็เริ่มตั้งแต่ 11.30น. ซึ่งเป็นแบบนอกรอบ เพราะองค์ประชุมยังไม่ครบ และหลังจากรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ก็ประชุมเต็มคณะ ส่วนสาเหตุที่ไม่ยอมแถลงข่าว ส่วนใหญ่ก็ไม่มีประเด็นอะไร เพราะเป็นเรื่องตอบโต้ประเด็นทางการเมือง หรือแจ้งความคืบหน้าเรื่องการจัดอบรมคม ครู ก. ข. และ ค. อยู่แล้ว ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ก็มาดักสัมภาษณ์ นายมีชัย และทีมโฆษกกรธ. อยู่แล้ว สำหรับเรื่องเว็บไซต์ของกรธ. ที่ประชาชนดูน้อย อาจเป็นเพราะประชาชนมีทางเลือกเสพข้อมูลหลายทาง โดยเฉพาะจากสื่อมวลชนที่สะดวกกว่า แต่ทางกรธ.ก็จะรับนำกลับไปแก้ไข