นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จว่า หากร่างรธน.ผ่านการประชามติ จะส่งผลให้ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ว่า เป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ และขอให้คนที่คิดโครงการปราบโกงดูด้วย เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นการโกง ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ คนเป็นมนุษย์ต้องคำนึงถึงชาติบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองด้วย และย้ำว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้การรักษาพยาบาลน้อยลง
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ.กล่าวว่า ในร่างรธน.ไม่มีเนื้อหาที่มีผลให้ต้องตัดการให้บริการสาธารณะออก และไม่ได้ห้าม หรือยกเลิกบริการสาธารณะของรัฐที่มีอยู่แล้ว โดยจะส่งเรื่องให้กกต.ในฐานะผู้รักษาตามกฎหมาย ดำเนินการพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ขณะที่เรื่องการศึกษาร่างรธน. ก็กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาถึง 15 ปี และไม่ได้ตัดโอกาสการเรียนชั้นมัธยมปลาย หรืออาชีวะศึกษา
นายอุดม ยังแถลงสรุปหลังจากกรธ. ลงพื้นที่สังเกตการณ์การอบรมวิทยากรเพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระ ร่างรธน.ระดับอำเภอ หรือครู ข. ว่า โดยภาพรวมเป็นที่น่าพอใจและวิทยากรในระดับจังหวัดหรือครู ก. ก็นำเนื้อหาอธิบายสาระสำคัญได้อย่างดี แต่ก็มีข้อสังเกตจาก กรธ. ที่ลงพื้นที่ว่า หลายเรื่องเป็นการพูดตามเอกสาร บรรยากาศค่อนข้างเรียบง่าย เข้าใจว่าอาจเกิดการเกร็ง หรือวิตกในข้อมูล ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น เช่น การเผยแพร่ว่า ร่างรธนงจะตอบโจทย์อย่างไร
ส่วนการอบรมวิทยากรระดับพื้นที่ หรือครู ค. จะเริ่มตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 21 มิ.ย. โดยกรธ. จะกระจายกันลงไปสังเกตการณ์ และให้กำลังใจ ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมหารือกัน และการลงพื้นที่ในแต่ละที่ ก็จะมีการสรุปเป็นรายงานให้กรธ.รับทราบด้วย ขณะที่วันที่ 22 -23 มิ.ย.นี้ ก็จะมีการอบรมวิทยากรระดับพื้นที่ในส่วนของกทม. กว่า 4,000 ชุมชน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ.กล่าวว่า ในร่างรธน.ไม่มีเนื้อหาที่มีผลให้ต้องตัดการให้บริการสาธารณะออก และไม่ได้ห้าม หรือยกเลิกบริการสาธารณะของรัฐที่มีอยู่แล้ว โดยจะส่งเรื่องให้กกต.ในฐานะผู้รักษาตามกฎหมาย ดำเนินการพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ขณะที่เรื่องการศึกษาร่างรธน. ก็กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาถึง 15 ปี และไม่ได้ตัดโอกาสการเรียนชั้นมัธยมปลาย หรืออาชีวะศึกษา
นายอุดม ยังแถลงสรุปหลังจากกรธ. ลงพื้นที่สังเกตการณ์การอบรมวิทยากรเพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระ ร่างรธน.ระดับอำเภอ หรือครู ข. ว่า โดยภาพรวมเป็นที่น่าพอใจและวิทยากรในระดับจังหวัดหรือครู ก. ก็นำเนื้อหาอธิบายสาระสำคัญได้อย่างดี แต่ก็มีข้อสังเกตจาก กรธ. ที่ลงพื้นที่ว่า หลายเรื่องเป็นการพูดตามเอกสาร บรรยากาศค่อนข้างเรียบง่าย เข้าใจว่าอาจเกิดการเกร็ง หรือวิตกในข้อมูล ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น เช่น การเผยแพร่ว่า ร่างรธนงจะตอบโจทย์อย่างไร
ส่วนการอบรมวิทยากรระดับพื้นที่ หรือครู ค. จะเริ่มตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 21 มิ.ย. โดยกรธ. จะกระจายกันลงไปสังเกตการณ์ และให้กำลังใจ ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมหารือกัน และการลงพื้นที่ในแต่ละที่ ก็จะมีการสรุปเป็นรายงานให้กรธ.รับทราบด้วย ขณะที่วันที่ 22 -23 มิ.ย.นี้ ก็จะมีการอบรมวิทยากรระดับพื้นที่ในส่วนของกทม. กว่า 4,000 ชุมชน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร