รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากกกต.ได้จัดเวทีชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำประชามติร่างรธน. ที่มีการเชิญตัวแทนจาก71 พรรคการเมือง เข้าร่วมไปเมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ สโมสร ทบ. ซึ่งรัฐบาลได้มีการประเมินแล้ว เห็นว่าการจัดเวทีลักษณะดังกล่าว สามารถคลายข้อสงสัยให้กับพรรคการเมืองได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งทำให้รัฐบาลสามารถประเมินท่าทีของพรรคการเมือง ต่อการออกเสียงประชามติได้ จึงควรที่ กกต.จะได้มีการจัดเวทีรูปแบบดังกล่าวขึ้นในแต่ละภูมิภาค ก่อนจะถึงวันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค.
ดังนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ จึงได้เชิญผู้บริหารสำนักงานกกต. เข้าหารือ เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ให้กกต.จัดเวทีชี้แจงขึ้นในแต่ละภูมิภาค รวม 3 ครั้ง ครั้งแรกพื้นที่ภาคใต้จัดที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันที่ 11 มิ.ย. ครั้งที่ 2 พื้นที่ภาคเหนือจัดที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 18 มิ.ย. และครั้งสุดท้ายพื้นที่ภาคอีสาน ที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 25 มิ.ย. โดยการจัดเวทีแต่ละภาค อยู่ระหว่างรัฐบาลจัดหาสถานที่ประชุมให้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นในหน่วยงานราชการ เพราะจะสามารถควบคุมดูแลได้สะดวก หากมีการก่อกวน หรือการชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น
สำหรับผู้ชี้แจงในทุกเวที ยังคงประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล กกต. , กรธ. และ สนช. โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ประกอบด้วย อดีตนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่ภาคนั้นๆ ผู้บริหาร และสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาขาพรรคการเมือง ภาคพลเมือง และนักวิชาการในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าแต่ละเวที จะมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังประมาณ 400 คน
นอกจากนี้ในการหารือ กกต.จะร่วมกับกองทัพบก จัดกิจกรรมปั่นจักรยานรณรงค์เชิญชวน กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ร่างรธน. โดยจะเป็นการปั่นจักรยานส่งต่อธงรณรงค์การออกเสียงประชามติ ไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะเริ่มขึ้นในช่วง 25 วัน ก่อนวันที่ 4 ส.ค. ที่เป็นโค้งสุดท้ายก่อนวันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค.
ดังนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ จึงได้เชิญผู้บริหารสำนักงานกกต. เข้าหารือ เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ให้กกต.จัดเวทีชี้แจงขึ้นในแต่ละภูมิภาค รวม 3 ครั้ง ครั้งแรกพื้นที่ภาคใต้จัดที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันที่ 11 มิ.ย. ครั้งที่ 2 พื้นที่ภาคเหนือจัดที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 18 มิ.ย. และครั้งสุดท้ายพื้นที่ภาคอีสาน ที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 25 มิ.ย. โดยการจัดเวทีแต่ละภาค อยู่ระหว่างรัฐบาลจัดหาสถานที่ประชุมให้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นในหน่วยงานราชการ เพราะจะสามารถควบคุมดูแลได้สะดวก หากมีการก่อกวน หรือการชุมนุมคัดค้านเกิดขึ้น
สำหรับผู้ชี้แจงในทุกเวที ยังคงประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล กกต. , กรธ. และ สนช. โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ประกอบด้วย อดีตนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่ภาคนั้นๆ ผู้บริหาร และสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาขาพรรคการเมือง ภาคพลเมือง และนักวิชาการในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าแต่ละเวที จะมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังประมาณ 400 คน
นอกจากนี้ในการหารือ กกต.จะร่วมกับกองทัพบก จัดกิจกรรมปั่นจักรยานรณรงค์เชิญชวน กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ร่างรธน. โดยจะเป็นการปั่นจักรยานส่งต่อธงรณรงค์การออกเสียงประชามติ ไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จะเริ่มขึ้นในช่วง 25 วัน ก่อนวันที่ 4 ส.ค. ที่เป็นโค้งสุดท้ายก่อนวันออกเสียงประชามติ 7 ส.ค.