ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
รศ.พญ.โสภาพรรณ เงินฉ่ำ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากสารสีเหลืองชื่อ ”บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง ผ่านขบวนการที่ตับ และถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบ่งเป็น
1.ภาวะตัวเหลืองปกติ ทารกจะไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย หายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
2.ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น
2.1 ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในคู่ที่แม่มีเลือดหมู่โอกับลูกเลือดหมู่เอหรือบี และคู่ที่แม่มีเลือดหมู่ Rh ลบกับลูกเลือดหมู่ Rh บวก
2.2 ภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD จึงแตกได้ง่ายกว่าปกติ พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
2.3 ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดจากทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยทางลูก เช่น เกิดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติดจึงดูดนมแม่ได้ไม่ดี แต่สามารถพบในทารกบางรายที่กินนมแม่ได้ปกติและน้ำหนักตัวขึ้นดี
2.4 สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีดและปัสสาวะสีเข้ม การมีเลือดออกที่หนังศีรษะ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด การติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอักเสบ เป็นต้น
อันตรายจากภาวะตัวเหลือง
หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมาก จะผ่านเข้าไปจับกับเนื้อสมองด้านใน ทำให้ทารกมีอาการผิดปกติทางสมอง เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ในระยะแรกทารกจะซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียกหรือเกร็งหลังแอ่น ชัก และมีไข้ได้ ในระยะยาวทารกจะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา มีความผิดปกติของการได้ยินและการเคลื่อนไหวของลูกตา ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้ากว่าปกติและอาจมีระดับสติปัญญาลดลงด้วย ความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาภาวะตัวเหลือง
1.การส่องไฟรักษา โดยการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น แสงแดดตามธรรมชาติไม่สามารถรักษาภาวะตัวเหลืองได้
2.การถ่ายเปลี่ยนเลือด ทำในกรณีที่ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากหรือทารกเริ่มแสดงอาการทางสมองแล้ว เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว
3. การแก้ไขสาเหตุของภาวะตัวเหลือง เช่น
•ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับนมแม่ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
•ภาวะท่อน้ำตีบ รักษาด้วยการผ่าตัด
•การติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประคับประคองร่วมด้วย
•ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด ต้องให้ฮอร์โมนทดแทน
บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกที่มีภาวะตัวเหลือง
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกทุกคน หากมีปัญหาหรือยังไม่มั่นใจว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนหรือที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจดูว่าลูกตัวเหลืองหรือไม่ อย่างง่ายๆ คือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจจะได้เห็นสีผิวที่แท้จริง ควรตรวจหลายๆที่เช่น หน้าผาก หน้าอก แขนและขา ควรตรวจในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และหากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบพามาพบแพทย์
1.ลูกตัวเหลืองมากหรือเพิ่มขึ้นเร็ว (ถ้าไม่แน่ใจควรพามาพบแพทย์ เพราะการตรวจดูตัวเหลืองด้วยตาเปล่าอาจผิดพลาดได้)
2.สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
3.มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
********************
รศ.พญ.โสภาพรรณ เงินฉ่ำ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากสารสีเหลืองชื่อ ”บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง ผ่านขบวนการที่ตับ และถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบ่งเป็น
1.ภาวะตัวเหลืองปกติ ทารกจะไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย หายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
2.ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น
2.1 ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในคู่ที่แม่มีเลือดหมู่โอกับลูกเลือดหมู่เอหรือบี และคู่ที่แม่มีเลือดหมู่ Rh ลบกับลูกเลือดหมู่ Rh บวก
2.2 ภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD จึงแตกได้ง่ายกว่าปกติ พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
2.3 ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดจากทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยทางลูก เช่น เกิดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติดจึงดูดนมแม่ได้ไม่ดี แต่สามารถพบในทารกบางรายที่กินนมแม่ได้ปกติและน้ำหนักตัวขึ้นดี
2.4 สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีดและปัสสาวะสีเข้ม การมีเลือดออกที่หนังศีรษะ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด การติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอักเสบ เป็นต้น
อันตรายจากภาวะตัวเหลือง
หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมาก จะผ่านเข้าไปจับกับเนื้อสมองด้านใน ทำให้ทารกมีอาการผิดปกติทางสมอง เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ในระยะแรกทารกจะซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียกหรือเกร็งหลังแอ่น ชัก และมีไข้ได้ ในระยะยาวทารกจะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา มีความผิดปกติของการได้ยินและการเคลื่อนไหวของลูกตา ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้ากว่าปกติและอาจมีระดับสติปัญญาลดลงด้วย ความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาภาวะตัวเหลือง
1.การส่องไฟรักษา โดยการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น แสงแดดตามธรรมชาติไม่สามารถรักษาภาวะตัวเหลืองได้
2.การถ่ายเปลี่ยนเลือด ทำในกรณีที่ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากหรือทารกเริ่มแสดงอาการทางสมองแล้ว เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว
3. การแก้ไขสาเหตุของภาวะตัวเหลือง เช่น
•ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับนมแม่ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
•ภาวะท่อน้ำตีบ รักษาด้วยการผ่าตัด
•การติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประคับประคองร่วมด้วย
•ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด ต้องให้ฮอร์โมนทดแทน
บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกที่มีภาวะตัวเหลือง
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกทุกคน หากมีปัญหาหรือยังไม่มั่นใจว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนหรือที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจดูว่าลูกตัวเหลืองหรือไม่ อย่างง่ายๆ คือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจจะได้เห็นสีผิวที่แท้จริง ควรตรวจหลายๆที่เช่น หน้าผาก หน้าอก แขนและขา ควรตรวจในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และหากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบพามาพบแพทย์
1.ลูกตัวเหลืองมากหรือเพิ่มขึ้นเร็ว (ถ้าไม่แน่ใจควรพามาพบแพทย์ เพราะการตรวจดูตัวเหลืองด้วยตาเปล่าอาจผิดพลาดได้)
2.สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
3.มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
********************