รศ.พญ.โสภาพรรณ เงินฉ่ำ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากสารสีเหลืองชื่อ “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง ผ่านขบวนการที่ตับ และถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบ่งเป็น
1.ภาวะตัวเหลืองปกติ ทารกจะไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย หายเองได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์
2.ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น
2.1 ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในคู่ที่แม่มีเลือดหมู่โอ กับลูกเลือดหมู่เอ หรือ บี และคู่ที่แม่มีเลือดหมู่ Rh ลบ กับลูกเลือดหมู่ Rh บวก
2.2 ภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอมไซม์ G6PD จึงแตกได้ง่ายกว่าปกติ พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
2.3 ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดจากทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย คือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยทางลูก เช่น เกิดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติดจึงดูดนมแม่ได้ไม่ดี แต่สามารถพบในทารกบางรายที่กินนมแม่ได้ปกติและน้ำหนักตัวขึ้นดี
2.4 สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด และปัสสาวะสีเข้ม การมีเลือดออกที่หนังศีรษะ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด การติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอักเสบ เป็นต้น
อันตรายจากภาวะตัวเหลือง
หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมาก จะผ่านเข้าไปจับกับเนื้อสมองด้านใน ทำให้ทารกมีอาการผิดปกติทางสมอง เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ในระยะแรกทารกจะซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก หรือเกร็งหลังแอ่น ชัก และมีไข้ได้ ในระยะยาวทารกจะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา มีความผิดปกติของการได้ยิน และการเคลื่อนไหวของลูกตา ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ และอาจมีระดับสติปัญญาลดลงด้วย ความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาภาวะตัวเหลือง
1.การส่องไฟรักษา โดยการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น แสงแดดตามธรรมชาติไม่สามารถรักษาภาวะตัวเหลืองได้
2.การถ่ายเปลี่ยนเลือด ทำในกรณีที่ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากหรือทารกเริ่มแสดงอาการทางสมองแล้ว เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว
3. การแก้ไขสาเหตุของภาวะตัวเหลือง เช่น
•ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับนมแม่ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
•ภาวะท่อน้ำตีบ รักษาด้วยการผ่าตัด
•การติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประคับประคองร่วมด้วย
•ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด ต้องให้ฮอร์โมนทดแทน
บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกที่มีภาวะตัวเหลือง
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกทุกคน หากมีปัญหาหรือยังไม่มั่นใจว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนหรือที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจดูว่าลูกตัวเหลืองหรือไม่ อย่างง่าย ๆ คือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจจะได้เห็นสีผิวที่แท้จริง ควรตรวจหลาย ๆ ที่ เช่น หน้าผาก หน้าอก แขน และ ขา ควรตรวจในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และหากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบพามาพบแพทย์
1.ลูกตัวเหลืองมากหรือเพิ่มขึ้นเร็ว (ถ้าไม่แน่ใจควรพามาพบแพทย์ เพราะการตรวจดูตัวเหลืองด้วยตาเปล่าอาจผิดพลาดได้)
2.สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
3.มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากสารสีเหลืองชื่อ “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง ผ่านขบวนการที่ตับ และถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบ่งเป็น
1.ภาวะตัวเหลืองปกติ ทารกจะไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย หายเองได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์
2.ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น
2.1 ภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในคู่ที่แม่มีเลือดหมู่โอ กับลูกเลือดหมู่เอ หรือ บี และคู่ที่แม่มีเลือดหมู่ Rh ลบ กับลูกเลือดหมู่ Rh บวก
2.2 ภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอมไซม์ G6PD จึงแตกได้ง่ายกว่าปกติ พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
2.3 ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดจากทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย คือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยทางลูก เช่น เกิดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติดจึงดูดนมแม่ได้ไม่ดี แต่สามารถพบในทารกบางรายที่กินนมแม่ได้ปกติและน้ำหนักตัวขึ้นดี
2.4 สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด และปัสสาวะสีเข้ม การมีเลือดออกที่หนังศีรษะ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด การติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอักเสบ เป็นต้น
อันตรายจากภาวะตัวเหลือง
หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมาก จะผ่านเข้าไปจับกับเนื้อสมองด้านใน ทำให้ทารกมีอาการผิดปกติทางสมอง เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ในระยะแรกทารกจะซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก หรือเกร็งหลังแอ่น ชัก และมีไข้ได้ ในระยะยาวทารกจะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา มีความผิดปกติของการได้ยิน และการเคลื่อนไหวของลูกตา ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ และอาจมีระดับสติปัญญาลดลงด้วย ความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาภาวะตัวเหลือง
1.การส่องไฟรักษา โดยการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น แสงแดดตามธรรมชาติไม่สามารถรักษาภาวะตัวเหลืองได้
2.การถ่ายเปลี่ยนเลือด ทำในกรณีที่ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากหรือทารกเริ่มแสดงอาการทางสมองแล้ว เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว
3. การแก้ไขสาเหตุของภาวะตัวเหลือง เช่น
•ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับนมแม่ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
•ภาวะท่อน้ำตีบ รักษาด้วยการผ่าตัด
•การติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประคับประคองร่วมด้วย
•ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด ต้องให้ฮอร์โมนทดแทน
บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกที่มีภาวะตัวเหลือง
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกทุกคน หากมีปัญหาหรือยังไม่มั่นใจว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนหรือที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจดูว่าลูกตัวเหลืองหรือไม่ อย่างง่าย ๆ คือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจจะได้เห็นสีผิวที่แท้จริง ควรตรวจหลาย ๆ ที่ เช่น หน้าผาก หน้าอก แขน และ ขา ควรตรวจในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และหากพบว่าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบพามาพบแพทย์
1.ลูกตัวเหลืองมากหรือเพิ่มขึ้นเร็ว (ถ้าไม่แน่ใจควรพามาพบแพทย์ เพราะการตรวจดูตัวเหลืองด้วยตาเปล่าอาจผิดพลาดได้)
2.สีอุจจาระซีดลง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มมากหรือเป็นสีน้ำปลา
3.มีไข้ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด เกร็ง หรือชัก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่