อย. ชี้ประชาชนยังเข้าใจผิด ซื้อยาปฏิชีวนะกินเมื่อเป็นหวัด ชี้อาจเป็นอันตรายและเกิดกรณีเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ย้ำหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสถึง 80% ยาปฏิชีวนะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงไม่มีผล พร้อมแนะวิธีแยกอาการหวัด เจ็บคอที่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ประชาชนอาจเจ็บป่วยเป็นโรคหวัดง่าย โดยจะมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ หรือมีไข้ร่วมด้วย ปัญหาคือคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าจะต้องกินยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ส่วนใหญ่หวัด เจ็บคอ ร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะหากกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งที่เจ็บคอเท่ากับเป็นการใช้ยาโดยไม่จำเป็น อาจได้รบอันตรายจากการใช้ยา รวมถึงเชื้อแบคทีเรียจะดื้อยาเพิ่มมากขึ้น
นพ.ปฐม กล่าวว่า หวัด เจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็มี แต่มีเพียงส่วนน้อยคือร้อยละ 20 วิธีการเบื้องต้นในการแยกแยะการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย คือ หากเป็นเชื้อไวรัส มักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ เสียงแหบ คันคอ เจ็บคอ หรือมีไข้ร่วมด้วย นานประมาณ 7-14 วัน อาการจะมากสุดในช่วงวันที่ 3-5 จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้น น้ำมูกน้อยลงและข้นขึ้น บางทีอาจมีสีออกเหลืองโดยเฉพาะช่วงเช้า แต่อาการไออาจอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ งานวิจัยชี้ชัดว่ายาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้อาการไอและหวัดหายเร็วขึ้นแต่อย่างใด การรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนและดื่มน้ำอุ่นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้กับเชื้อไวรัส และอาจปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหวัด ไอ คัดจมูก หรือเจ็บคอ
นพ.ปฐม กล่าวว่า ส่วนอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการคือ ไม่ไอ มีไข้ ต่อมทอนซิลมีจุดขาวหรือเป็นหนอง และต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต กดแล้วเจ็บ ประชาชนสามารถสำรวจต่อมน้ำเหลืองของตนเองโดยการคลำบริเวณใต้ขากรรไกร เพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณนี้โต หรือกดเจ็บหรือไม่ และสามารถดูต่อมทอนซิลของตนเองโดยการอ้าปากและส่องกระจกดูที่ต่อมทอนซิลว่ามีจุดขาว หรือเป็นหนองหรือไม่ หากมีอาการ 3 ใน 4 อย่าง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
“ก่อนกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งต้องมั่นใจว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะโดยไม่รู้ว่าป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ โดยสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรซ้ำทุกครั้งเพื่อความมั่นใจ และขอเตือนอย่าซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง หรือใช้ตามที่คนอื่นแนะนำ และอย่าแบ่งยาปฏิชีวนะของตนเองให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิด เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซิซิลลิน เตตราซัยคลิน อิริทโทรมัยซิน โคทรัยม็อกซาโซล เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดใช้กับเชื้อแบคทีเรียต่างกัน ที่สำคัญเราไม่รู้ว่าเขาแพ้ยาหรือไม่ หรือมีโรคประจำตัวอะไร” เลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ประชาชนอาจเจ็บป่วยเป็นโรคหวัดง่าย โดยจะมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ หรือมีไข้ร่วมด้วย ปัญหาคือคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าจะต้องกินยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ส่วนใหญ่หวัด เจ็บคอ ร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะหากกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งที่เจ็บคอเท่ากับเป็นการใช้ยาโดยไม่จำเป็น อาจได้รบอันตรายจากการใช้ยา รวมถึงเชื้อแบคทีเรียจะดื้อยาเพิ่มมากขึ้น
นพ.ปฐม กล่าวว่า หวัด เจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็มี แต่มีเพียงส่วนน้อยคือร้อยละ 20 วิธีการเบื้องต้นในการแยกแยะการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย คือ หากเป็นเชื้อไวรัส มักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ เสียงแหบ คันคอ เจ็บคอ หรือมีไข้ร่วมด้วย นานประมาณ 7-14 วัน อาการจะมากสุดในช่วงวันที่ 3-5 จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้น น้ำมูกน้อยลงและข้นขึ้น บางทีอาจมีสีออกเหลืองโดยเฉพาะช่วงเช้า แต่อาการไออาจอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ งานวิจัยชี้ชัดว่ายาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้อาการไอและหวัดหายเร็วขึ้นแต่อย่างใด การรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนและดื่มน้ำอุ่นเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้กับเชื้อไวรัส และอาจปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหวัด ไอ คัดจมูก หรือเจ็บคอ
นพ.ปฐม กล่าวว่า ส่วนอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการคือ ไม่ไอ มีไข้ ต่อมทอนซิลมีจุดขาวหรือเป็นหนอง และต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต กดแล้วเจ็บ ประชาชนสามารถสำรวจต่อมน้ำเหลืองของตนเองโดยการคลำบริเวณใต้ขากรรไกร เพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณนี้โต หรือกดเจ็บหรือไม่ และสามารถดูต่อมทอนซิลของตนเองโดยการอ้าปากและส่องกระจกดูที่ต่อมทอนซิลว่ามีจุดขาว หรือเป็นหนองหรือไม่ หากมีอาการ 3 ใน 4 อย่าง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
“ก่อนกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งต้องมั่นใจว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะโดยไม่รู้ว่าป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ โดยสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรซ้ำทุกครั้งเพื่อความมั่นใจ และขอเตือนอย่าซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง หรือใช้ตามที่คนอื่นแนะนำ และอย่าแบ่งยาปฏิชีวนะของตนเองให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิด เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซิซิลลิน เตตราซัยคลิน อิริทโทรมัยซิน โคทรัยม็อกซาโซล เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดใช้กับเชื้อแบคทีเรียต่างกัน ที่สำคัญเราไม่รู้ว่าเขาแพ้ยาหรือไม่ หรือมีโรคประจำตัวอะไร” เลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่