ผู้จัดการรายวัน 360-ปตท.สผ. ยืนยันพร้อมประมูลแหล่งบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2566 ส่วนแหล่งเอราวัณ ต้องรอเชฟรอนจะยื่นประมูลหรือไม่ หากถอนตัว เสียบแทนทันที ยันพร้อมที่จะซื้อกิจการแหล่งปิโตรเลียมในภูมิภาคนี้ที่ต่างชาติเริ่มทยอยขายออกมาด้วย
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบแนวทางการบริหารปิโตรเลียมที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-2566 โดยจะใช้ระบบการประมูลแบบทั่วไป หากไม่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูล ก็จะพิจารณาเจรจากับผู้รับสัมปทานปิโตเลียมรายเดิมว่า บริษัทพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลในแหล่งบงกช ที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีสัดส่วนการถือหุ้น 44.44% เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเห็นว่าถ้าเป็นรายเดิมจะสร้างความต่อเนื่องการผลิตได้ดีกว่า
ส่วนจะเข้าร่วมประมูลในแหล่งเอราวัณที่ปัจจุบัน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้ดำเนินการหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาหลายปัจจัย ซึ่ง ปตท.สผ. เห็นว่าการดำเนินการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ควรเป็นผู้ดำเนินการเดิม แต่หากเชฟรอนฯ ส่งสัญญาณว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว ปตท.สผ. จะพิจารณาว่าจะยื่นประมูลในแหล่งเอราวัณ เพื่อให้เกิดมั่นคงด้านพลังงานในประเทศ
"ได้มีการเจรจากับพันธมิตรรายเดิม เพื่อเข้าร่วมในการประมูลแหล่งบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2566 ส่วนเงื่อนไขในการประมูลคงต้องรอรายละเอียดจากภาครัฐ โดยบริษัทมีความพร้อมทั้งรูปแบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต (PSC) เพียงแต่ชอบรูปแบบสัมปทานมากกว่า เพราะมีความคุ้นเคย ทำให้มีความต่อเนื่องได้ดี และมีระบบบริหารจัดการอยู่แล้ว แต่หากเป็นแบบPSC ทางปตท.สผ.ก็พร้อม เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชน"
สำหรับเงื่อนไขที่ระบุให้ผู้ที่ยื่นประมูลจะต้องยื่นเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐไม่น้อยกว่าผลตอบแทนเงื่อนไข Thailand 3 นั้น บริษัทพร้อมที่จะเสนอผลประโยชน์ให้สูงกว่า Thailand 3 เนื่องจากบริษัทมีความเข้าใจด้านธรณีวิทยาในแหล่งบงกชดีกว่า ทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งและมั่นใจว่าจะบริหารต้นทุนการผลิตคุ้มค่าการลงทุน
นายสมพร กล่าวถึงกรณีที่ ปตท.สผ. แพ้การประมูลว่า บริษัทไม่เคยคิดว่าจะประมูลไม่ได้ เพราะบริษัทคำนึงเรื่องความต่อเนื่องในการผลิตเป็นสำคัญ แต่หากประมูลไม่ได้ก็มีแผนรองรับอยู่แล้ว คงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยปริมาณการผลิตก๊าซฯ ในแหล่งบงกชคิดเป็น 20% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของ ปตท.สผ. หากบริษัทไม่ได้ดำเนินการในแหล่งดังกล่าวหลังสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2566 ก็เท่ากับปริมาณการผลิตส่วนนี้หายไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทสนใจที่จะเข้าไปซื้อกิจการในแหล่งปิโตรเลียมในภูมิภาคนี้ เพราะมีคุ้นเคยและสร้างรายได้ทันที เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีการผลิตอยู่แล้ว โดยแหล่งอาทิตย์ก็เป็นหนึ่งในอีกหลายแหล่งปิโตรเลียมที่จะมีการขายออกมา โดยยืนยันว่าไม่ได้ถูกรัฐบีบบังคับให้ซื้อหุ้นแทนบริษัทต่างชาติที่ถอนการลงทุนออกไป มั่นใจว่าปีนี้จะเห็นดีลการซื้อกิจการอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันบริษัทมีกระแสเงินสดแข็งแกร่งประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 1.22 แสนล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะลงทุนซื้อกิจการ
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบแนวทางการบริหารปิโตรเลียมที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-2566 โดยจะใช้ระบบการประมูลแบบทั่วไป หากไม่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูล ก็จะพิจารณาเจรจากับผู้รับสัมปทานปิโตเลียมรายเดิมว่า บริษัทพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลในแหล่งบงกช ที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีสัดส่วนการถือหุ้น 44.44% เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเห็นว่าถ้าเป็นรายเดิมจะสร้างความต่อเนื่องการผลิตได้ดีกว่า
ส่วนจะเข้าร่วมประมูลในแหล่งเอราวัณที่ปัจจุบัน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้ดำเนินการหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาหลายปัจจัย ซึ่ง ปตท.สผ. เห็นว่าการดำเนินการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ควรเป็นผู้ดำเนินการเดิม แต่หากเชฟรอนฯ ส่งสัญญาณว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าว ปตท.สผ. จะพิจารณาว่าจะยื่นประมูลในแหล่งเอราวัณ เพื่อให้เกิดมั่นคงด้านพลังงานในประเทศ
"ได้มีการเจรจากับพันธมิตรรายเดิม เพื่อเข้าร่วมในการประมูลแหล่งบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2566 ส่วนเงื่อนไขในการประมูลคงต้องรอรายละเอียดจากภาครัฐ โดยบริษัทมีความพร้อมทั้งรูปแบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต (PSC) เพียงแต่ชอบรูปแบบสัมปทานมากกว่า เพราะมีความคุ้นเคย ทำให้มีความต่อเนื่องได้ดี และมีระบบบริหารจัดการอยู่แล้ว แต่หากเป็นแบบPSC ทางปตท.สผ.ก็พร้อม เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชน"
สำหรับเงื่อนไขที่ระบุให้ผู้ที่ยื่นประมูลจะต้องยื่นเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐไม่น้อยกว่าผลตอบแทนเงื่อนไข Thailand 3 นั้น บริษัทพร้อมที่จะเสนอผลประโยชน์ให้สูงกว่า Thailand 3 เนื่องจากบริษัทมีความเข้าใจด้านธรณีวิทยาในแหล่งบงกชดีกว่า ทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งและมั่นใจว่าจะบริหารต้นทุนการผลิตคุ้มค่าการลงทุน
นายสมพร กล่าวถึงกรณีที่ ปตท.สผ. แพ้การประมูลว่า บริษัทไม่เคยคิดว่าจะประมูลไม่ได้ เพราะบริษัทคำนึงเรื่องความต่อเนื่องในการผลิตเป็นสำคัญ แต่หากประมูลไม่ได้ก็มีแผนรองรับอยู่แล้ว คงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยปริมาณการผลิตก๊าซฯ ในแหล่งบงกชคิดเป็น 20% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของ ปตท.สผ. หากบริษัทไม่ได้ดำเนินการในแหล่งดังกล่าวหลังสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2566 ก็เท่ากับปริมาณการผลิตส่วนนี้หายไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทสนใจที่จะเข้าไปซื้อกิจการในแหล่งปิโตรเลียมในภูมิภาคนี้ เพราะมีคุ้นเคยและสร้างรายได้ทันที เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีการผลิตอยู่แล้ว โดยแหล่งอาทิตย์ก็เป็นหนึ่งในอีกหลายแหล่งปิโตรเลียมที่จะมีการขายออกมา โดยยืนยันว่าไม่ได้ถูกรัฐบีบบังคับให้ซื้อหุ้นแทนบริษัทต่างชาติที่ถอนการลงทุนออกไป มั่นใจว่าปีนี้จะเห็นดีลการซื้อกิจการอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันบริษัทมีกระแสเงินสดแข็งแกร่งประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 1.22 แสนล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะลงทุนซื้อกิจการ