วานนี้ (30 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงการผ่อนคลายคำสั่ง คสช. ให้นักการเมืองสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ว่า การผ่อนคลายดังกล่าวไม่มีใครมากดดันตนเอง และไม่เกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศเพื่อนำไปสู่การทำประชามติร่างรธน. เมื่อทุกคนอยากให้ผ่อนคลาย ก็ทำให้
ส่วนการที่พรรคการเมืองเรียกร้องให้ผ่อนคลาย ในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการเมืองในแต่ละพรรคนั้น ยังไม่ผ่อน ยังไม่ถึงเวลา เพราะนักการเมืองยังไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อถามว่าก่อนการทำประชามติประมาณ 1 เดือน จะพิจารณาผ่อนคลายเพิ่มเติมหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ยังไม่รู้ ดูสถานการณ์ก่อน ถ้ามันวุ่นวายขึ้นมา แล้วเลือกตั้งไม่ได้ ก็โทษตนอีก ขอให้คิดในมุมนี้บ้าง
"ผมทำทุกอย่างให้เกิดความสงบเรียบร้อย เพื่อเดินไปตามโรดแมปของผมเท่านั้นเอง แต่ถ้าเขามุ่งหมายจะล้มทุกอย่างที่ผมทำอยู่แล้วทั้งหมด ท่านจะอยู่ตรงไหนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่านายกฯจะบอกได้หรือไม่ว่าในสมัยที่ท่านบริหารประเทศนี้ จะไม่มีนักการเมืองหนีคดีทุจริตไปต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะไปรับประกันเขาได้อย่างไร ต้องไปถามคนที่อยู่ในคดี ก็นี่ไง พอตนไม่ให้เดินทางไปต่างประเทศ ก็ดิ้นรนอยากให้เขาออก ถ้าเขาหนีไปก็อย่ามาโทษตน จะเอาทุกอย่างในเวลาเดียวกันไม่ได้หรอก
"คุณไม่ให้โอกาสผมทำงาน แต่จะเรียกร้องให้อีกข้าง มันก็เป็นอย่างนี้ ก็แลกเอา ฉะนั้นอย่ามาถามว่าเขาจะหนีไหม ถามผมได้ไง ผมไม่ได้อนุญาตให้เขาหนี ผมอนุญาตให้เขาไปต่างประเทศตามที่เรียกร้อง ไปเยี่ยมญาติ ไปอะไรต่างๆ ผมก็ให้เสรี แต่ถ้าเขาหนี ไม่ใช่เรื่องของผม ก็ต้องใช้กลไกทางกฎหมายอินเตอร์โพล ตามจับตัวมา สุดแล้วแต่ต่างประเทศจะร่วมมือหรือเปล่า วันนี้สภาวะแวดล้อมต่างๆเขาก็ไปสร้างความบิดเบือนเรื่องต่างๆไว้เยอะแยะ เต็มไปหมดข้างนอก แล้วสื่อก็ไปคล้อยตาม เขียนให้เขา มันก็เสียเป็นอย่างนี้" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่าหากนักการเมืองไปพูดเรื่องประชาธิปไตย หรือสถานการณ์การเมืองของไทยบนเวทีโลก ได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จะตามไปห้ามเขาได้ไหม หากจับตาแล้วจะถึงตัวไหม เขาไปต่างประเทศ แต่ถ้าอยากจะพูดก็พูดไป แล้วจะนับถือคนเหล่านี้ก็ตามใจ
เมื่อถามว่าถ้าไปพูดแล้วมีผลกระทบ จะมีการพิจารณาทบทวนเป็นกรณีๆ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ยังไม่ขอพูดตรงนี้ โดยเป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคงดูอยู่ ทุกอย่างโยนมาที่รัฐบาลหมด ไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง แล้วไม่รับอะไรกันเลย ไม่ต้องการเข้าระเบียบมันก็เป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นคนไทยทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ
"ต่อให้เขียนกฎหมายอย่างไร ปฏิวัติร้อยครั้ง ก็ยังเป็นแบบเดิม เพราะคนเราไม่เปลี่ยนแปลง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่า ที่พรรคการเมืองหลายๆพรรค เสนอให้มีการประชุมพรรค และเคลื่อนไหวทางการเมืองได้นั้น ขอย้ำว่าทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ ถ้าปล่อยให้ทำแบบนั้น จะส่งผลให้ประเทศชาติ และประชาชน เกิดความสับสน อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และความวุ่นวายได้ ซึ่งตนคิดว่า ที่เป็นแบบนี้ ก็ดีอยู่แล้ว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่อยากจะให้ คสช. พิจารณาให้เปิดประชุมพรรคได้ว่า เพราะมีหลายเรื่องที่พรรคการเมืองควรจะทำ และไม่ควรบอกว่าพรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมได้เฉพาะการเลือกตั้ง ในขณะนี้เราบอกว่าจะปฏิรูปพรรคการเมือง แต่กลับมาส่งสัญญาณว่า พรรคการเมืองมีหน้าที่แค่ส่งผู้สมัครลงสนามเลือกตั้ง คิดแบบนี้เราก็จะได้พรรคการเมืองแบบเดิมๆ
"บทบาทและกิจกรรมที่สำคัญก็ควรให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินการได้ เช่น กำหนดนโยบายพรรค ทำโครงสร้างพรรคให้เป็นของประชาชนมากขึ้น หากฝ่ายความมั่นคงมีความกังวลในกิจกรรมของพรรคการเมือง ก็ระบุมาให้ชัดเลยว่า กิจกรรมไหนทำไม่ได้ หรือทำได้ ส่วนกลุ่มที่จะป่วนการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าคงจะไม่ใช้เวทีประชุมพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการแน่นอน และถ้าห้ามกิจกรรมพรรคการเมือง เขาก็คงจะแอบไปทำอยู่ดี"
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเปิดเวทีความเห็นให้ผู้ที่เห็นต่างต่อร่าง รธน.ว่า บทบาทของรัฐคือ ต้องให้เวทีกับทั้ง 2 ฝ่ายได้แสดงความเห็นก่อนการทำประชามติ แต่ขณะนี้มีการเปิดโอกาสให้ใช้กลไกของรัฐ โดยอ้างว่าชี้แจงสาระร่าง รธน. ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องยากมากในการแยกระหว่างการบอกให้รับร่าง กับการเผยแพร่ข้อดีของร่าง เพราะในธรรมชาติ คนเขียนร่าง และวิทยากรที่รับเนื้อหาสาระไปคงไม่บอกว่าของที่ตนร่าง เป็นของเสีย และคนที่มองเห็นข้อเสียของร่างรธน. ก็คงจะเป็นคนที่ไม่ได้เขียนร่างรธน.
"ถ้าจะดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการใช้กลไกของรัฐ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าการทำประชามติถูกชี้นำจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะจะทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีความเป็นธรรมหรือไม่ อีกทั้งตอนนี้กฎหมายประชามติ ก็มีการเขียนรับรองอีกว่าวิทยากรที่ลงไปทำหน้าที่ อาทิ ครู ก. ครู ข. ครู ค. ไม่ถือว่าเป็นการชี้นำจูงใจ ตรงนี้ก็จะเกิดข้อโต้แย้งขึ้นได้ เช่น ถ้าลงไปชี้แจงเรื่องคำถามพ่วง ถ้าจะทำตามเจตนารมณ์อย่างเคร่งครัด ต้องชี้แจงได้อย่างเดียวว่าคำถามพ่วง จะเปิดโอกาสให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี เป็นการชี้แจงเนื้อหาสาระได้แค่ 2 ประโยคเท่านั้น แต่ถ้าไปบอกประชาชนว่า เอา ส.ว.มาเลือกนายกรัฐมนตรีนั้นดีอย่างไร ก็จะทำให้เกิดคำถามว่า แบบนี้ดีหรือไม่ เพราะคนที่ไม่เห็นด้วยไม่มีโอกาสชี้แจงว่า ถ้าให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีนั้น มีข้อเสียอย่างไร ดังนั้นถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้คนที่มีความสนใจร่างรธน. สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่เป็นรูปแบบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคง ตามข้อกำกับของกฎหมายประชามติ ที่ห้ามการบิดเบือนเนื้อหาร่างรธน. และปลุกระดมการทำประชามติ ก็เป็นเรื่องดี และสามารถทำได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนการที่พรรคการเมืองเรียกร้องให้ผ่อนคลาย ในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการเมืองในแต่ละพรรคนั้น ยังไม่ผ่อน ยังไม่ถึงเวลา เพราะนักการเมืองยังไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง
เมื่อถามว่าก่อนการทำประชามติประมาณ 1 เดือน จะพิจารณาผ่อนคลายเพิ่มเติมหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ยังไม่รู้ ดูสถานการณ์ก่อน ถ้ามันวุ่นวายขึ้นมา แล้วเลือกตั้งไม่ได้ ก็โทษตนอีก ขอให้คิดในมุมนี้บ้าง
"ผมทำทุกอย่างให้เกิดความสงบเรียบร้อย เพื่อเดินไปตามโรดแมปของผมเท่านั้นเอง แต่ถ้าเขามุ่งหมายจะล้มทุกอย่างที่ผมทำอยู่แล้วทั้งหมด ท่านจะอยู่ตรงไหนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่านายกฯจะบอกได้หรือไม่ว่าในสมัยที่ท่านบริหารประเทศนี้ จะไม่มีนักการเมืองหนีคดีทุจริตไปต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะไปรับประกันเขาได้อย่างไร ต้องไปถามคนที่อยู่ในคดี ก็นี่ไง พอตนไม่ให้เดินทางไปต่างประเทศ ก็ดิ้นรนอยากให้เขาออก ถ้าเขาหนีไปก็อย่ามาโทษตน จะเอาทุกอย่างในเวลาเดียวกันไม่ได้หรอก
"คุณไม่ให้โอกาสผมทำงาน แต่จะเรียกร้องให้อีกข้าง มันก็เป็นอย่างนี้ ก็แลกเอา ฉะนั้นอย่ามาถามว่าเขาจะหนีไหม ถามผมได้ไง ผมไม่ได้อนุญาตให้เขาหนี ผมอนุญาตให้เขาไปต่างประเทศตามที่เรียกร้อง ไปเยี่ยมญาติ ไปอะไรต่างๆ ผมก็ให้เสรี แต่ถ้าเขาหนี ไม่ใช่เรื่องของผม ก็ต้องใช้กลไกทางกฎหมายอินเตอร์โพล ตามจับตัวมา สุดแล้วแต่ต่างประเทศจะร่วมมือหรือเปล่า วันนี้สภาวะแวดล้อมต่างๆเขาก็ไปสร้างความบิดเบือนเรื่องต่างๆไว้เยอะแยะ เต็มไปหมดข้างนอก แล้วสื่อก็ไปคล้อยตาม เขียนให้เขา มันก็เสียเป็นอย่างนี้" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่าหากนักการเมืองไปพูดเรื่องประชาธิปไตย หรือสถานการณ์การเมืองของไทยบนเวทีโลก ได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จะตามไปห้ามเขาได้ไหม หากจับตาแล้วจะถึงตัวไหม เขาไปต่างประเทศ แต่ถ้าอยากจะพูดก็พูดไป แล้วจะนับถือคนเหล่านี้ก็ตามใจ
เมื่อถามว่าถ้าไปพูดแล้วมีผลกระทบ จะมีการพิจารณาทบทวนเป็นกรณีๆ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ยังไม่ขอพูดตรงนี้ โดยเป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคงดูอยู่ ทุกอย่างโยนมาที่รัฐบาลหมด ไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง แล้วไม่รับอะไรกันเลย ไม่ต้องการเข้าระเบียบมันก็เป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นคนไทยทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ
"ต่อให้เขียนกฎหมายอย่างไร ปฏิวัติร้อยครั้ง ก็ยังเป็นแบบเดิม เพราะคนเราไม่เปลี่ยนแปลง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่า ที่พรรคการเมืองหลายๆพรรค เสนอให้มีการประชุมพรรค และเคลื่อนไหวทางการเมืองได้นั้น ขอย้ำว่าทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ ถ้าปล่อยให้ทำแบบนั้น จะส่งผลให้ประเทศชาติ และประชาชน เกิดความสับสน อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และความวุ่นวายได้ ซึ่งตนคิดว่า ที่เป็นแบบนี้ ก็ดีอยู่แล้ว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่อยากจะให้ คสช. พิจารณาให้เปิดประชุมพรรคได้ว่า เพราะมีหลายเรื่องที่พรรคการเมืองควรจะทำ และไม่ควรบอกว่าพรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมได้เฉพาะการเลือกตั้ง ในขณะนี้เราบอกว่าจะปฏิรูปพรรคการเมือง แต่กลับมาส่งสัญญาณว่า พรรคการเมืองมีหน้าที่แค่ส่งผู้สมัครลงสนามเลือกตั้ง คิดแบบนี้เราก็จะได้พรรคการเมืองแบบเดิมๆ
"บทบาทและกิจกรรมที่สำคัญก็ควรให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินการได้ เช่น กำหนดนโยบายพรรค ทำโครงสร้างพรรคให้เป็นของประชาชนมากขึ้น หากฝ่ายความมั่นคงมีความกังวลในกิจกรรมของพรรคการเมือง ก็ระบุมาให้ชัดเลยว่า กิจกรรมไหนทำไม่ได้ หรือทำได้ ส่วนกลุ่มที่จะป่วนการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าคงจะไม่ใช้เวทีประชุมพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการแน่นอน และถ้าห้ามกิจกรรมพรรคการเมือง เขาก็คงจะแอบไปทำอยู่ดี"
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเปิดเวทีความเห็นให้ผู้ที่เห็นต่างต่อร่าง รธน.ว่า บทบาทของรัฐคือ ต้องให้เวทีกับทั้ง 2 ฝ่ายได้แสดงความเห็นก่อนการทำประชามติ แต่ขณะนี้มีการเปิดโอกาสให้ใช้กลไกของรัฐ โดยอ้างว่าชี้แจงสาระร่าง รธน. ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องยากมากในการแยกระหว่างการบอกให้รับร่าง กับการเผยแพร่ข้อดีของร่าง เพราะในธรรมชาติ คนเขียนร่าง และวิทยากรที่รับเนื้อหาสาระไปคงไม่บอกว่าของที่ตนร่าง เป็นของเสีย และคนที่มองเห็นข้อเสียของร่างรธน. ก็คงจะเป็นคนที่ไม่ได้เขียนร่างรธน.
"ถ้าจะดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการใช้กลไกของรัฐ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าการทำประชามติถูกชี้นำจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะจะทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีความเป็นธรรมหรือไม่ อีกทั้งตอนนี้กฎหมายประชามติ ก็มีการเขียนรับรองอีกว่าวิทยากรที่ลงไปทำหน้าที่ อาทิ ครู ก. ครู ข. ครู ค. ไม่ถือว่าเป็นการชี้นำจูงใจ ตรงนี้ก็จะเกิดข้อโต้แย้งขึ้นได้ เช่น ถ้าลงไปชี้แจงเรื่องคำถามพ่วง ถ้าจะทำตามเจตนารมณ์อย่างเคร่งครัด ต้องชี้แจงได้อย่างเดียวว่าคำถามพ่วง จะเปิดโอกาสให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี เป็นการชี้แจงเนื้อหาสาระได้แค่ 2 ประโยคเท่านั้น แต่ถ้าไปบอกประชาชนว่า เอา ส.ว.มาเลือกนายกรัฐมนตรีนั้นดีอย่างไร ก็จะทำให้เกิดคำถามว่า แบบนี้ดีหรือไม่ เพราะคนที่ไม่เห็นด้วยไม่มีโอกาสชี้แจงว่า ถ้าให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีนั้น มีข้อเสียอย่างไร ดังนั้นถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้คนที่มีความสนใจร่างรธน. สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่เป็นรูปแบบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคง ตามข้อกำกับของกฎหมายประชามติ ที่ห้ามการบิดเบือนเนื้อหาร่างรธน. และปลุกระดมการทำประชามติ ก็เป็นเรื่องดี และสามารถทำได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว