อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ โต้กองเชียร์ ปตท. ย้ำ คตง.ยึดตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ก่อนมีมติว่า ปตท.คืนท่อก๊าซฯไม่ครบถ้วน และให้ ครม. ยื่นศาลปกครองฯ สั่งบังคับคืนทรัพย์สินใหม่ ชี้หากเพิกเฉย ผิด ม.157
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล เพื่อตอบโต้กลุ่มผู้สนับสนุนบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่พยายามอ้างว่า ปตท.ได้คืนทรัพย์สินท่อก๊าซธรรมชาติ แก่กระทรวงการคลังครบถ้วนตามคำรับรองของศาลปกครองสูงสุด และอ้างว่ามติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)ไม่เหนือกว่าคำตัดสินของศาลปกครอง
น.ส.รสนา ระบุว่า การตรวจสอบของ คตง. และมีมติเมื่อวันที่ 10 พ.ค.59 ว่า ปตท. คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้นเป็นกระบวนการตรวจสอบภายใน เป็น"การว่ากล่าวภายในหน่วยราชการ" ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557
“สืบเนื่องจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ที่ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและดิฉัน เมื่อ 12 ธ.ค.57 ที่ขอให้ศาลปกครองตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. 18 ธ.ค. 50 ที่เป็นสาเหตุของการคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้น ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยยกคำร้องของมูลนิธิฯ และดิฉัน โดยวินิจฉัยว่า "เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย"
“แต่หลังจากมีคำพิพากษา ที่ 800/2557 แล้ว ไม่ปรากฏว่า นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี จะมีบัญชาให้มี "การว่ากล่าว" ในหน่วยงาน หรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่า มีการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. จริงหรือไม่ ? และการไม่ปฏิบัติตามมติครม. เป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน จริงหรือไม่ ?
“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและดิฉัน จึงไปร้องคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 2 เม.ย.58 ให้ตรวจสอบเรื่องที่มีการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.จริงหรือไม่ และการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน จริงหรือไม่ โดยนำคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ประกอบคำร้องให้มีการตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ 35/2550”
มติ คตง. เมื่อ10 พ.ค.59 จึงเป็นมติที่ยึดตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ที่สั่งว่าหากมีการฝ่าฝืนมติ ครม. 18 ธ.ค.50 เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง ภายในหน่วยงานของฝ่ายบริหาร และ เมื่อ คตง. ตรวจสอบแล้วพบว่ากระทรวงการคลังและ ปตท. ฝ่าฝืนมติ ครม.ดังกล่าว ที่ไม่ให้ สตง.รับรองการคืนท่อก๊าซก่อนที่บริษัท ปตท.จะไปแจ้งต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.51 นั้น จึงเป็นการนำรายงานอันเป็นเท็จเสนอต่อศาลปกครองสูงสุด
การที่ศาลปกครองสูงสุดได้รับข้อมูลอันเป็นเท็จ และให้การรับรองการแบ่งแยกทรัพย์สินว่าครบถ้วนแล้วนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทำให้รัฐเสียหายและเสียประโยชน์
การตรวจสอบของ คตง. จึงเป็นประเด็นที่หน่วยงานภายในกำลังว่ากล่าวและตรวจสอบภายในกันเอง และเมื่อ คตง.มีมติให้มีการแก้ไขโดยเสนอข้อมูลใหม่ ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้มีการบังคับคดีใหม่เรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินให้ครบถ้วน หากหน่วยงานเหล่านั้นไม่ปฏิบัติ ก็จะมีความผิดทั้งทางวินัยราชการ ความผิดทางอาญามาตรา 157 และความผิดฐานละเมิด
คณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยราชการที่ คตง.ตรวจสอบแล้วมีคำสั่งให้ปฏิบัติ ต้องกำกับให้หน่วยราชการนั้นมีการปฏิบัติให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นก็จะมีความผิดอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
ถือว่า คตง.ได้อาศัยคำสั่งที่ 800/2557 เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการแบ่งแยกทรัพย์สินที่ไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 35/2550.
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล เพื่อตอบโต้กลุ่มผู้สนับสนุนบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่พยายามอ้างว่า ปตท.ได้คืนทรัพย์สินท่อก๊าซธรรมชาติ แก่กระทรวงการคลังครบถ้วนตามคำรับรองของศาลปกครองสูงสุด และอ้างว่ามติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)ไม่เหนือกว่าคำตัดสินของศาลปกครอง
น.ส.รสนา ระบุว่า การตรวจสอบของ คตง. และมีมติเมื่อวันที่ 10 พ.ค.59 ว่า ปตท. คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้นเป็นกระบวนการตรวจสอบภายใน เป็น"การว่ากล่าวภายในหน่วยราชการ" ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557
“สืบเนื่องจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ที่ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและดิฉัน เมื่อ 12 ธ.ค.57 ที่ขอให้ศาลปกครองตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. 18 ธ.ค. 50 ที่เป็นสาเหตุของการคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้น ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยยกคำร้องของมูลนิธิฯ และดิฉัน โดยวินิจฉัยว่า "เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย"
“แต่หลังจากมีคำพิพากษา ที่ 800/2557 แล้ว ไม่ปรากฏว่า นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี จะมีบัญชาให้มี "การว่ากล่าว" ในหน่วยงาน หรือดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่า มีการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. จริงหรือไม่ ? และการไม่ปฏิบัติตามมติครม. เป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน จริงหรือไม่ ?
“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและดิฉัน จึงไปร้องคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 2 เม.ย.58 ให้ตรวจสอบเรื่องที่มีการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.จริงหรือไม่ และการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน จริงหรือไม่ โดยนำคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ประกอบคำร้องให้มีการตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. เรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ 35/2550”
มติ คตง. เมื่อ10 พ.ค.59 จึงเป็นมติที่ยึดตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 800/2557 ที่สั่งว่าหากมีการฝ่าฝืนมติ ครม. 18 ธ.ค.50 เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง ภายในหน่วยงานของฝ่ายบริหาร และ เมื่อ คตง. ตรวจสอบแล้วพบว่ากระทรวงการคลังและ ปตท. ฝ่าฝืนมติ ครม.ดังกล่าว ที่ไม่ให้ สตง.รับรองการคืนท่อก๊าซก่อนที่บริษัท ปตท.จะไปแจ้งต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.51 นั้น จึงเป็นการนำรายงานอันเป็นเท็จเสนอต่อศาลปกครองสูงสุด
การที่ศาลปกครองสูงสุดได้รับข้อมูลอันเป็นเท็จ และให้การรับรองการแบ่งแยกทรัพย์สินว่าครบถ้วนแล้วนั้น จึงเป็นเรื่องที่ทำให้รัฐเสียหายและเสียประโยชน์
การตรวจสอบของ คตง. จึงเป็นประเด็นที่หน่วยงานภายในกำลังว่ากล่าวและตรวจสอบภายในกันเอง และเมื่อ คตง.มีมติให้มีการแก้ไขโดยเสนอข้อมูลใหม่ ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้มีการบังคับคดีใหม่เรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินให้ครบถ้วน หากหน่วยงานเหล่านั้นไม่ปฏิบัติ ก็จะมีความผิดทั้งทางวินัยราชการ ความผิดทางอาญามาตรา 157 และความผิดฐานละเมิด
คณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยราชการที่ คตง.ตรวจสอบแล้วมีคำสั่งให้ปฏิบัติ ต้องกำกับให้หน่วยราชการนั้นมีการปฏิบัติให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นก็จะมีความผิดอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
ถือว่า คตง.ได้อาศัยคำสั่งที่ 800/2557 เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการแบ่งแยกทรัพย์สินที่ไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 35/2550.