**มีประเด็นสิทธิมนุษยชนรายวันให้คสช.ต้องชี้แจงแทน สืบเนื่องจากปฏิบัติการใช้ไม้แข็งตัดไฟแต่ต้นลม ทั้งจับกุม ทั้งดำเนินคดี ทั้งปรับทัศนคติ กับพวกที่ชอบลองดี โดยเฉพาะช่วงนี้ต่างประเทศพร้อมใจกันออกมาเรียกร้องให้คสช. ยุติการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
พี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกาตอนนี้ก็เลิกกระมิดกระเมี้ยน กลีน เดวีส์ เอกอัครราชทูตมะกันประจำประเทศไทย เปิดหน้าออกมาเรียกร้องเรื่องการจับกุมประชาชนของ คสช. ต่อหน้าต่อตา ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ แบบไม่ทันให้ตั้งตัวเตรียมใจ ชนิดที่ใครก็คาดไม่ถึงว่าท้าวต่างแดนจะกล้าเสียมารยาททางการทูต อันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ขณะที่เวทีสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ ชาญเชาวน์ ไชยานิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นำทีมไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศตามกลไกยูพีอาร์ ประเทศกลายเป็นสายล่อฟ้า โดนล่อเป้าไม่เลิก เดี๋ยวนอร์เวย์ เดี๋ยวสวีเดน กระทุ้งถามสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งการนำตัวผู้กระทำความผิดขึ้นศาลทหารแทนศาลพลเรือน การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น เรื่อยไปถึงการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
**กลไกต่างประเทศที่กดดันมายังประเทศไทยทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ชนิดที่คนใน คสช.และรัฐบาล ต้องออกมาชี้แจงวันต่อวัน
ขณะที่ฝ่ายการเมืองภายในประเทศวันนี้ ก็กระโดดเกาะเรื่องสิทธิมนุษยชนกันเอาเป็นเอาตาย ราวกับเป็นทฤษฎีร่วมด้วยช่วยกัน เพราะไล่หลัง กลิน เดวีส์ กระทุ้งวันเดียว นายหญิงอย่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาสะกิดให้รัฐบาลรับฟังข้อห่วงใยจากนานชาติ “ตุ๊ดตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. ก็เออออห่อหมกกับฝรั่งตาน้ำข้าว
ไปๆ มาๆ มันจะเข้าตำรายืมปากฝรั่งมาด่าประเทศตัวเอง! ก็เหมือนที่ตลอดระยะ 10 ปีมานี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีซังเต ชอบใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศเล่นแง่ฝ่ายตรงข้าม
วันนี้ไม่ต่างอะไรจากการแบ่งบทกันเล่น คนหนึ่งล่อให้ถูกจับ ให้ถูกดำเนินคดี อีกคนหนึ่งไปร้องแรกแหกกระเชอให้ฝรั่งมังค่ามาดู ขณะที่พวกที่มีปากมีเสียง ก็โหมประโคมข่าวประเทศนู้นประเทศนี้ กังวลต่อการจับกุมคุมขัง พอเกิดบ่อย จับบ่อย มันก็สะสมมากพอที่จะเปิดช่องโหว่ให้องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งที่มาโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งที่มาโดยมีเลศนัย เข้ามาจุ้นจ้านได้
การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแทนที่ป่านนี้น่าจะต้องสนใจตัวเนื้อหา กลายเป็นว่ายังจมปลักกันอยู่ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ยังเรียกร้องกันอยู่ให้แก้ไขนู่นแก้ไขนี่อยู่เลย จนหลายคนชักไม่เชื่อมั่นว่า สุดท้ายการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
เพราะการที่ต่างชาติแสดงความเป็นห่วง และเรียกร้องให้มีการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นถี่ยิบอย่างนี้ ในขณะที่คสช. ยังไล่กวาด ไล่ดำเนินคดี กับคนที่ถูกมองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม แบบที่บางเรื่องถ้าไม่ได้ร้ายแรงคอขาดบาดตายน่าจะปล่อยผ่านไปได้ แต่จับดะ มันยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของร่างรัฐธรรมนูญลดลงถอยลงไปเรื่อยๆ เพราะไม่ได้อยู่บนบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
**การทำให้ดูเหมือนถูกมัดมือชก ยังอาจเป็นการส่งผลร้ายต่อการตัดสินใจของประชาชนในการทำประชามติ เพราะมันอาจไปเข้าทางอีกฝั่งที่พยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ยิ่งถ้าใกล้ๆ วันที่ 7 สิงหาคม กระแสสังคมเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับฝ่ายอำนาจ ไม่ว่าเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่คนเหล่านี้จะสวนทางกับสิ่งที่คสช.ต้องการทันที เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่านช่องทางดังกล่าว
แม้จะมีกระแสข่าวออกมาหนาหูว่า คนที่อยากจะคว่ำรัฐธรรมนูญจริงๆ แล้วอาจเป็นคสช. ก็ได้ เพราะจะได้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่ใจปรารถนา ไม่ต้องมาผ่านประชามติกันให้เสียสะตุ้งสตางค์ ไม่ต้องมาฝ่าด่านพวกปากแร้ง ปากกา แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะผลของการคว่ำนั่นหมายถึงความชอบธรรมในการร่างให้สุดโต่งจะน้อยลง แล้วเสียงของฝ่ายต้านในการคัดค้านจะมีมากขึ้น อย่าลืมว่า นั่นคือฉันทามติของคนส่วนใหญ่
**จะว่าไป การทำประชามติไม่ต่างอะไรกับการวัดกันระหว่าง “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ตัวคณะคสช. และรัฐบาล กับ ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และนปช. ดีๆ นี่เอง ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำ มันย่อมมีผลเสียมากกว่าผลดี
จริงอยู่พรรคเพื่อไทยอาจเสี่ยงที่ต้องเจอกับรัฐธรรมนูญที่อาจเผด็จการเรียกพี่ รัฐประหารเรียกพ่อ ถ้ารัฐธรรมนูญถูกคว่ำ ในทางกฎหมาย แต่ถามว่าถ้าถึงตรงนั้นรัฐบาลมีความชอบธรรมแค่ไหนในการที่จะทำแบบนั้นอีกครั้ง ทั้งๆ ที่เพิ่งตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปหยกๆ 3 พันล้านบาท
รัฐบาลไม่มีทางปล่อยให้รัฐธรรมนูญเดินไปสู่จุดเสี่ยงที่จะถูกคว่ำโดยประชามติแน่ เพราะผลที่ตามมามันไม่คุ้ม ถ้าเสี่ยงจริงคนอย่าง “บิ๊กตู่” และ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เลือกกดรีสตาร์ทก่อนแน่ ไม่ปล่อยให้พลั้งพลาดก่อน เหมือนกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ดร.ปื๊ด”บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ที่เลือกทำแท้งก่อนในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
อย่าลืมว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังมีแก้วสารพัดนึกอย่าง มาตรา 44 อยู่ในมือ การล้มประชามติโดยอ้างความสงบเรียบร้อยในประเทศไม่ใช่เรื่องที่เกินตัวที่ทำไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลร้อยแปดให้ชักแม่น้ำทั้งห้า เพียงแค่ตอนนี้รัฐบาลยังประเมินอยู่ว่า ประชามติยังอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
ขณะเดียวกันหลายคนในรัฐบาลยังเชื่อว่า มาถึงตรงนี้ประชามติยังผ่านอยู่ เพราะ 1. คิดว่าคนอยากเลือกตั้งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลพูดย้ำแล้วย้ำอีกทุกวันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แน่นอน 2. คนคิดว่า ถ้ามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ “บิ๊กตู่”และคณะก็จะอันตรธานหายไป หลายสิ่งหลายอย่างจะกลับเข้าสู่ปกติเสียที และ 3. บรรดาส.ส.หลายคนอดอยากปากแห้งมานาน ต้องการคืนสังเวียนก่อนที่จะอดตาย
แล้วถ้าประชามติผ่าน รัฐบาลเชื่อว่าสถานการณ์ความเข้มข้นจะเบาบางลง เสียงของฝ่ายต้านจะเบากว่าเสียงของคนที่เตรียมจะเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แรงกดดันจากต่างประเทศจะมุ่งไปที่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมากกว่า
เพียงแต่ถ้าระหว่างทางก่อนถึงวันที่ 7 สิงหาคม มันไม่ได้เป็นไปอย่างราบเรียบ มีจุดเสี่ยง อันไม่ส่งผลดีต่อคะแนนประชามติ ประตูล้มประชามติ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้ปิดตาย
**แต่ล็อกทิ้งไว้ให้รอไขยามฉุกเฉินเสมอ
พี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกาตอนนี้ก็เลิกกระมิดกระเมี้ยน กลีน เดวีส์ เอกอัครราชทูตมะกันประจำประเทศไทย เปิดหน้าออกมาเรียกร้องเรื่องการจับกุมประชาชนของ คสช. ต่อหน้าต่อตา ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ แบบไม่ทันให้ตั้งตัวเตรียมใจ ชนิดที่ใครก็คาดไม่ถึงว่าท้าวต่างแดนจะกล้าเสียมารยาททางการทูต อันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ขณะที่เวทีสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ ชาญเชาวน์ ไชยานิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นำทีมไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศตามกลไกยูพีอาร์ ประเทศกลายเป็นสายล่อฟ้า โดนล่อเป้าไม่เลิก เดี๋ยวนอร์เวย์ เดี๋ยวสวีเดน กระทุ้งถามสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งการนำตัวผู้กระทำความผิดขึ้นศาลทหารแทนศาลพลเรือน การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น เรื่อยไปถึงการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
**กลไกต่างประเทศที่กดดันมายังประเทศไทยทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ชนิดที่คนใน คสช.และรัฐบาล ต้องออกมาชี้แจงวันต่อวัน
ขณะที่ฝ่ายการเมืองภายในประเทศวันนี้ ก็กระโดดเกาะเรื่องสิทธิมนุษยชนกันเอาเป็นเอาตาย ราวกับเป็นทฤษฎีร่วมด้วยช่วยกัน เพราะไล่หลัง กลิน เดวีส์ กระทุ้งวันเดียว นายหญิงอย่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาสะกิดให้รัฐบาลรับฟังข้อห่วงใยจากนานชาติ “ตุ๊ดตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. ก็เออออห่อหมกกับฝรั่งตาน้ำข้าว
ไปๆ มาๆ มันจะเข้าตำรายืมปากฝรั่งมาด่าประเทศตัวเอง! ก็เหมือนที่ตลอดระยะ 10 ปีมานี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีซังเต ชอบใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศเล่นแง่ฝ่ายตรงข้าม
วันนี้ไม่ต่างอะไรจากการแบ่งบทกันเล่น คนหนึ่งล่อให้ถูกจับ ให้ถูกดำเนินคดี อีกคนหนึ่งไปร้องแรกแหกกระเชอให้ฝรั่งมังค่ามาดู ขณะที่พวกที่มีปากมีเสียง ก็โหมประโคมข่าวประเทศนู้นประเทศนี้ กังวลต่อการจับกุมคุมขัง พอเกิดบ่อย จับบ่อย มันก็สะสมมากพอที่จะเปิดช่องโหว่ให้องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งที่มาโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งที่มาโดยมีเลศนัย เข้ามาจุ้นจ้านได้
การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแทนที่ป่านนี้น่าจะต้องสนใจตัวเนื้อหา กลายเป็นว่ายังจมปลักกันอยู่ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ยังเรียกร้องกันอยู่ให้แก้ไขนู่นแก้ไขนี่อยู่เลย จนหลายคนชักไม่เชื่อมั่นว่า สุดท้ายการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
เพราะการที่ต่างชาติแสดงความเป็นห่วง และเรียกร้องให้มีการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นถี่ยิบอย่างนี้ ในขณะที่คสช. ยังไล่กวาด ไล่ดำเนินคดี กับคนที่ถูกมองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม แบบที่บางเรื่องถ้าไม่ได้ร้ายแรงคอขาดบาดตายน่าจะปล่อยผ่านไปได้ แต่จับดะ มันยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของร่างรัฐธรรมนูญลดลงถอยลงไปเรื่อยๆ เพราะไม่ได้อยู่บนบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
**การทำให้ดูเหมือนถูกมัดมือชก ยังอาจเป็นการส่งผลร้ายต่อการตัดสินใจของประชาชนในการทำประชามติ เพราะมันอาจไปเข้าทางอีกฝั่งที่พยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ยิ่งถ้าใกล้ๆ วันที่ 7 สิงหาคม กระแสสังคมเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับฝ่ายอำนาจ ไม่ว่าเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่คนเหล่านี้จะสวนทางกับสิ่งที่คสช.ต้องการทันที เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่านช่องทางดังกล่าว
แม้จะมีกระแสข่าวออกมาหนาหูว่า คนที่อยากจะคว่ำรัฐธรรมนูญจริงๆ แล้วอาจเป็นคสช. ก็ได้ เพราะจะได้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่ใจปรารถนา ไม่ต้องมาผ่านประชามติกันให้เสียสะตุ้งสตางค์ ไม่ต้องมาฝ่าด่านพวกปากแร้ง ปากกา แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะผลของการคว่ำนั่นหมายถึงความชอบธรรมในการร่างให้สุดโต่งจะน้อยลง แล้วเสียงของฝ่ายต้านในการคัดค้านจะมีมากขึ้น อย่าลืมว่า นั่นคือฉันทามติของคนส่วนใหญ่
**จะว่าไป การทำประชามติไม่ต่างอะไรกับการวัดกันระหว่าง “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ตัวคณะคสช. และรัฐบาล กับ ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และนปช. ดีๆ นี่เอง ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำ มันย่อมมีผลเสียมากกว่าผลดี
จริงอยู่พรรคเพื่อไทยอาจเสี่ยงที่ต้องเจอกับรัฐธรรมนูญที่อาจเผด็จการเรียกพี่ รัฐประหารเรียกพ่อ ถ้ารัฐธรรมนูญถูกคว่ำ ในทางกฎหมาย แต่ถามว่าถ้าถึงตรงนั้นรัฐบาลมีความชอบธรรมแค่ไหนในการที่จะทำแบบนั้นอีกครั้ง ทั้งๆ ที่เพิ่งตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปหยกๆ 3 พันล้านบาท
รัฐบาลไม่มีทางปล่อยให้รัฐธรรมนูญเดินไปสู่จุดเสี่ยงที่จะถูกคว่ำโดยประชามติแน่ เพราะผลที่ตามมามันไม่คุ้ม ถ้าเสี่ยงจริงคนอย่าง “บิ๊กตู่” และ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เลือกกดรีสตาร์ทก่อนแน่ ไม่ปล่อยให้พลั้งพลาดก่อน เหมือนกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ดร.ปื๊ด”บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ที่เลือกทำแท้งก่อนในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
อย่าลืมว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังมีแก้วสารพัดนึกอย่าง มาตรา 44 อยู่ในมือ การล้มประชามติโดยอ้างความสงบเรียบร้อยในประเทศไม่ใช่เรื่องที่เกินตัวที่ทำไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลร้อยแปดให้ชักแม่น้ำทั้งห้า เพียงแค่ตอนนี้รัฐบาลยังประเมินอยู่ว่า ประชามติยังอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
ขณะเดียวกันหลายคนในรัฐบาลยังเชื่อว่า มาถึงตรงนี้ประชามติยังผ่านอยู่ เพราะ 1. คิดว่าคนอยากเลือกตั้งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลพูดย้ำแล้วย้ำอีกทุกวันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แน่นอน 2. คนคิดว่า ถ้ามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ “บิ๊กตู่”และคณะก็จะอันตรธานหายไป หลายสิ่งหลายอย่างจะกลับเข้าสู่ปกติเสียที และ 3. บรรดาส.ส.หลายคนอดอยากปากแห้งมานาน ต้องการคืนสังเวียนก่อนที่จะอดตาย
แล้วถ้าประชามติผ่าน รัฐบาลเชื่อว่าสถานการณ์ความเข้มข้นจะเบาบางลง เสียงของฝ่ายต้านจะเบากว่าเสียงของคนที่เตรียมจะเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แรงกดดันจากต่างประเทศจะมุ่งไปที่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมากกว่า
เพียงแต่ถ้าระหว่างทางก่อนถึงวันที่ 7 สิงหาคม มันไม่ได้เป็นไปอย่างราบเรียบ มีจุดเสี่ยง อันไม่ส่งผลดีต่อคะแนนประชามติ ประตูล้มประชามติ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้ปิดตาย
**แต่ล็อกทิ้งไว้ให้รอไขยามฉุกเฉินเสมอ