ผู้จัดการรายวัน360-"เพื่อไทย" ออกแถลงการณ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมเรียกร้องประชาชนไม่รับด้วย ชี้ไม่เป็นประชาธิปไตย สร้างปัญหาทางการเมืองเพิ่ม จี้คสช. ระบุให้ชัด หากประชามติไม่ผ่าน เสนอใช้รัฐธรรมนูญปี 40 จัดเลือกตั้งใน 6 เดือน "บิ๊กป้อม" สั่งดูผิดกฎหมายหรือไม่ "วิษณุ"ย้ำรณรงค์คว่ำ เสี่ยงผิด "มาร์ค" เตรียมกำหนดท่าทีรับ-ไม่รับต้นเม.ย.นี้
วานนี้ (30 มี.ค.) พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ยอมรับอำนาจของประชาชน โดยระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นร่างที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย และจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างปัญหาให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้สร้างกลไกที่จะนำไปสู่ปัญหาการเมืองหลายประการ เช่น สร้างระบบเลือกตั้ง ที่ไม่เคยมีใช้ที่ใดในโลก เอาประเทศและประชาชนเป็นตัวประกัน เพื่อลองผิดลองถูก ซึ่งระบบนี้จะสร้างให้เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค รัฐบาลไร้เสถียรภาพ และประสิทธิภาพในการบริหาร วางกลไก เพื่อเปิดช่องให้บุคคลที่ไม่ได้เป็น ส.ส. มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ ยังนำคะแนนของผู้แพ้การเลือกตั้งมาคำนวณเพื่อเพิ่มจำนวนส.ส. ให้พรรคที่แพ้เลือกตั้ง ขัดหลักประชาธิปไตย ในที่สุดรัฐบาลที่ได้มา จะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอไร้เสถียรภาพและประสิทธิภาพ เกิดปัญหาขัดแย้งกันได้ง่าย อายุรัฐบาลสั้น สูญเสียงบประมาณในการเลือกตั้งบ่อยครั้ง รัฐบาลจะสนใจแต่จะแก้ปัญหาตนเองมากกว่าปัญหาของประชาชน
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังได้สร้างกลไกที่ลดทอนอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร แต่เพิ่มอำนาจให้ ส.ว. ซึ่งมาจากการสรรหา ยิ่งระยะ 5 ปีแรก หลังใช้รัฐธรรมนูญ ส.ว. 250 คน ล้วนมีที่มาจาก คสช. ทั้งสิ้น โดยอ้างว่าเพื่อปฏิรูป และวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวควรเป็นอำนาจหน้าที่ของตัวแทนประชาชน ส.ว. 250 คน จะเป็นกลไกในการยับยั้งกฎหมายของรัฐบาลที่มาจากประชาชน ยังสามารถลงมติร่วมกับ ส.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็น ส.ส. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การปกครองประเทศจึงยังคงเป็นของ คสช. โดยทางอ้อม และหากคนของ คสช.ได้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วย ก็จะเป็นการควบคุมอำนาจการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ
สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชน แต่กลับมีอำนาจมากล้นในการตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สามารถถอดถอนรัฐมนตรี ส.ส.- ส.ว. โดยอาศัยเพียงเสียงข้างมาก ในอนาคตการทำหน้าที่ของ ส.ส.และรัฐบาล จะติดขัดไปหมด เพราะคนที่ไม่พอใจ จะไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยง่าย ทั้งที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างวิกฤตศรัทธาให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อ้างเสมอว่าเพื่อปราบโกง แต่แท้จริงแล้วกลับสร้างกลไกให้ข้าราชการประจำเข้ามามีอำนาจทางการเมือง ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่คนใน คสช. สนช. รัฐบาล รวมทั้ง สปท. ก็เป็นข้าราชการในกองทัพ และข้าราชการประจำอื่นๆ กินเงินเดือนจากภาษีของประชาชนหลายตำแหน่ง หลายทาง และรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ก็เปิดช่องทางให้แต่งตั้งข้าราชการประจำดำรงตำแหน่ง ส.ว.ด้วย ไม่ปรากฏให้เห็นว่าได้มีความพยายามที่จะปฏิรูป และวางแนวทางแก้ไขปัญหาทุจริตอย่างเป็นระบบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้เรียกร้องให้พี่น้องประชาชนร่วมกันออกมาลงประชามติ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ก่อนลงประชามติ โดยหากไม่ผ่าน ให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้และประกาศใช้เป็นการชั่วคราว พร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นให้รัฐบาลจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการยกร่างฉบับใหม่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่เป็นไร ก็ว่าไป ส่วนจะผิดหรือไม่ ต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปดู ซึ่งพรรคเพื่อไทย มีสิทธิ์ที่จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่การออกมารณรงค์ให้ประชาชนลงมติคว่ำรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่าน่าจะผิดกฎหมาย คงต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อความชัดเจนในแง่กฎหมาย โดยตนไม่ห่วงกังกล ใครเห็นด้วย ก็ไปลงคะแนนเห็นด้วย ใครไม่เห็นด้วย ก็ไปลงไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของประชาชน และไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่กระทบกับความมั่นคง
"ขึ้นอยู่กับประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ไม่แน่ บางทีพรรคการเมืองบอกไม่เห็นด้วย ประชาชนอาจจะเห็นด้วยก็ได้ ไม่มีใครรู้อนาคตทั้งนั้น เพราะยังไม่เกิด" พล.อ.ประวิตรกล่าว
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ อาจจะมีความผิดว่า ตอนนี้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ อยู่ในชั้นกรรมาธิการอยู่ ยังไม่ได้ออกมา และคิดว่าคงไม่อยู่ขั้นของความผิด แต่ในส่วนที่มีกฎหมายอยู่แล้ว ต้องระมัดระวัง ไม่อย่างนั้นอาจถูกเชิญไปปรับทัศนคติได้ แต่หาก กกต. ออกมาเตือน ก็ต้องระมัดระวัง ส่วนตนเองก็จะเชิญ กกต.มาหารือในสัปดาห์หน้า เพื่อขอคำแนะนำ สิ่งใดสามารถปฏิบัติได้ หรือไม่ได้ และเรื่องแบบใดที่อาจจะปฏิบัติได้โดยไม่มีโทษ และเรื่องแบบใดปฏิบัติแล้วจะมีโทษ
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีความผิดหรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไร แต่ถ้าไปพูดให้ "คว่ำ" ถือว่าเสี่ยง และตนไม่กล้าที่จะออกความเห็นได้ว่าผิดหรือไม่ผิด ถ้าบอกว่าตนเอง หรือพรรคไม่รับ ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าไปชักชวนคนอื่นให้คว่ำ ก็อาจจะผิด เชื่อว่าถ้าทำเป็น จะไม่ล้ำเส้น นอกจากว่าตั้งใจจะล้ำเส้นให้มีเรื่อง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า มองในมุมของสิทธิ เสรีภาพ ของเรื่องประชาธิปไตย ถดถอยจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และยังมีบทเฉพาะกาล ในเรื่องส.ว.สรรหา รวมถึงการเปิดช่องคนนอกเข้ามาเป็นนายกฯ ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องทำให้เลือกนายกฯ คนนอก แต่ก็ยังมีข้อดีในเรื่องของการปราบโกง ส่วนการพิจารณาของพรรค จะยึดเป้าหมายให้ประเทศเดินหน้าได้ เดินไปสู่ประชาธิปไตยที่มีความยั่งยืน และจะมีการกำหนดท่าทีต่อประชามติ คาดว่าประมาณต้นเดือนเม.ย.นี้ น่าจะกำหนดได้
"อยากจะให้ คสช. มีความชัดเจนว่า ในกรณีที่ประชาชนไม่รับ จะมีกระบวนการอย่างไร จะเอาอะไรเข้ามาแทน เจ้าของประเทศทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ ไม่ใช่ไปตัดสินใจบนพื้นฐานของความไม่แน่นอน และยิ่งหากเป็นการตัดสินใจบนความไม่แน่นอน ผมเกรงว่า การตัดสินใจทั้งหมดจะเป็นเรื่องทางการเมือง มากกว่าเนื้อหาสาระ ปมความขัดแย้งจะคลี่คลายลงได้ ถ้ามีทางเลือกที่ชัดเจนสำหรับประชาชนว่ามันคืออะไร"นายอภิสิทธิ์กล่าว
ขณะที่นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า มีที่มา และเนื้อหา ไม่ยึดโยงกับประชาชน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้สิทธิอะไรจากประชาชน มาออกแบบกฎหมายสูงสุด ที่มีผลบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ หากใช้เฉพาะนายมีชัย หรือ ใช้กับ กรธ.ทั้ง 21 คน ก็ว่ากันไปเลย ส่วนเรื่องเนื้อหา โดยเฉพาะเรื่องส.ว.สรรหา ก็ไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน เพราะให้อำนาจ คสช. เป็นผู้สรรหา จึงไม่มีความชอบธรรม แต่ส่วนตัว ตนจะไม่เห็นด้วยในหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากประชาชนเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยผ่านการทำประชามติ ตนก็พร้อมจะเห็นด้วยกับเสียงประชาชน
วานนี้ (30 มี.ค.) พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ยอมรับอำนาจของประชาชน โดยระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นร่างที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย และจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างปัญหาให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้สร้างกลไกที่จะนำไปสู่ปัญหาการเมืองหลายประการ เช่น สร้างระบบเลือกตั้ง ที่ไม่เคยมีใช้ที่ใดในโลก เอาประเทศและประชาชนเป็นตัวประกัน เพื่อลองผิดลองถูก ซึ่งระบบนี้จะสร้างให้เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค รัฐบาลไร้เสถียรภาพ และประสิทธิภาพในการบริหาร วางกลไก เพื่อเปิดช่องให้บุคคลที่ไม่ได้เป็น ส.ส. มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ ยังนำคะแนนของผู้แพ้การเลือกตั้งมาคำนวณเพื่อเพิ่มจำนวนส.ส. ให้พรรคที่แพ้เลือกตั้ง ขัดหลักประชาธิปไตย ในที่สุดรัฐบาลที่ได้มา จะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอไร้เสถียรภาพและประสิทธิภาพ เกิดปัญหาขัดแย้งกันได้ง่าย อายุรัฐบาลสั้น สูญเสียงบประมาณในการเลือกตั้งบ่อยครั้ง รัฐบาลจะสนใจแต่จะแก้ปัญหาตนเองมากกว่าปัญหาของประชาชน
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังได้สร้างกลไกที่ลดทอนอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร แต่เพิ่มอำนาจให้ ส.ว. ซึ่งมาจากการสรรหา ยิ่งระยะ 5 ปีแรก หลังใช้รัฐธรรมนูญ ส.ว. 250 คน ล้วนมีที่มาจาก คสช. ทั้งสิ้น โดยอ้างว่าเพื่อปฏิรูป และวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวควรเป็นอำนาจหน้าที่ของตัวแทนประชาชน ส.ว. 250 คน จะเป็นกลไกในการยับยั้งกฎหมายของรัฐบาลที่มาจากประชาชน ยังสามารถลงมติร่วมกับ ส.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็น ส.ส. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การปกครองประเทศจึงยังคงเป็นของ คสช. โดยทางอ้อม และหากคนของ คสช.ได้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วย ก็จะเป็นการควบคุมอำนาจการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ
สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชน แต่กลับมีอำนาจมากล้นในการตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สามารถถอดถอนรัฐมนตรี ส.ส.- ส.ว. โดยอาศัยเพียงเสียงข้างมาก ในอนาคตการทำหน้าที่ของ ส.ส.และรัฐบาล จะติดขัดไปหมด เพราะคนที่ไม่พอใจ จะไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยง่าย ทั้งที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างวิกฤตศรัทธาให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อ้างเสมอว่าเพื่อปราบโกง แต่แท้จริงแล้วกลับสร้างกลไกให้ข้าราชการประจำเข้ามามีอำนาจทางการเมือง ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่คนใน คสช. สนช. รัฐบาล รวมทั้ง สปท. ก็เป็นข้าราชการในกองทัพ และข้าราชการประจำอื่นๆ กินเงินเดือนจากภาษีของประชาชนหลายตำแหน่ง หลายทาง และรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ก็เปิดช่องทางให้แต่งตั้งข้าราชการประจำดำรงตำแหน่ง ส.ว.ด้วย ไม่ปรากฏให้เห็นว่าได้มีความพยายามที่จะปฏิรูป และวางแนวทางแก้ไขปัญหาทุจริตอย่างเป็นระบบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทย ได้เรียกร้องให้พี่น้องประชาชนร่วมกันออกมาลงประชามติ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ก่อนลงประชามติ โดยหากไม่ผ่าน ให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้และประกาศใช้เป็นการชั่วคราว พร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นให้รัฐบาลจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการยกร่างฉบับใหม่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่เป็นไร ก็ว่าไป ส่วนจะผิดหรือไม่ ต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปดู ซึ่งพรรคเพื่อไทย มีสิทธิ์ที่จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่การออกมารณรงค์ให้ประชาชนลงมติคว่ำรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่าน่าจะผิดกฎหมาย คงต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อความชัดเจนในแง่กฎหมาย โดยตนไม่ห่วงกังกล ใครเห็นด้วย ก็ไปลงคะแนนเห็นด้วย ใครไม่เห็นด้วย ก็ไปลงไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของประชาชน และไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่กระทบกับความมั่นคง
"ขึ้นอยู่กับประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ไม่แน่ บางทีพรรคการเมืองบอกไม่เห็นด้วย ประชาชนอาจจะเห็นด้วยก็ได้ ไม่มีใครรู้อนาคตทั้งนั้น เพราะยังไม่เกิด" พล.อ.ประวิตรกล่าว
นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ อาจจะมีความผิดว่า ตอนนี้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ อยู่ในชั้นกรรมาธิการอยู่ ยังไม่ได้ออกมา และคิดว่าคงไม่อยู่ขั้นของความผิด แต่ในส่วนที่มีกฎหมายอยู่แล้ว ต้องระมัดระวัง ไม่อย่างนั้นอาจถูกเชิญไปปรับทัศนคติได้ แต่หาก กกต. ออกมาเตือน ก็ต้องระมัดระวัง ส่วนตนเองก็จะเชิญ กกต.มาหารือในสัปดาห์หน้า เพื่อขอคำแนะนำ สิ่งใดสามารถปฏิบัติได้ หรือไม่ได้ และเรื่องแบบใดที่อาจจะปฏิบัติได้โดยไม่มีโทษ และเรื่องแบบใดปฏิบัติแล้วจะมีโทษ
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีความผิดหรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไร แต่ถ้าไปพูดให้ "คว่ำ" ถือว่าเสี่ยง และตนไม่กล้าที่จะออกความเห็นได้ว่าผิดหรือไม่ผิด ถ้าบอกว่าตนเอง หรือพรรคไม่รับ ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าไปชักชวนคนอื่นให้คว่ำ ก็อาจจะผิด เชื่อว่าถ้าทำเป็น จะไม่ล้ำเส้น นอกจากว่าตั้งใจจะล้ำเส้นให้มีเรื่อง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า มองในมุมของสิทธิ เสรีภาพ ของเรื่องประชาธิปไตย ถดถอยจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และยังมีบทเฉพาะกาล ในเรื่องส.ว.สรรหา รวมถึงการเปิดช่องคนนอกเข้ามาเป็นนายกฯ ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องทำให้เลือกนายกฯ คนนอก แต่ก็ยังมีข้อดีในเรื่องของการปราบโกง ส่วนการพิจารณาของพรรค จะยึดเป้าหมายให้ประเทศเดินหน้าได้ เดินไปสู่ประชาธิปไตยที่มีความยั่งยืน และจะมีการกำหนดท่าทีต่อประชามติ คาดว่าประมาณต้นเดือนเม.ย.นี้ น่าจะกำหนดได้
"อยากจะให้ คสช. มีความชัดเจนว่า ในกรณีที่ประชาชนไม่รับ จะมีกระบวนการอย่างไร จะเอาอะไรเข้ามาแทน เจ้าของประเทศทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ ไม่ใช่ไปตัดสินใจบนพื้นฐานของความไม่แน่นอน และยิ่งหากเป็นการตัดสินใจบนความไม่แน่นอน ผมเกรงว่า การตัดสินใจทั้งหมดจะเป็นเรื่องทางการเมือง มากกว่าเนื้อหาสาระ ปมความขัดแย้งจะคลี่คลายลงได้ ถ้ามีทางเลือกที่ชัดเจนสำหรับประชาชนว่ามันคืออะไร"นายอภิสิทธิ์กล่าว
ขณะที่นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า มีที่มา และเนื้อหา ไม่ยึดโยงกับประชาชน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้สิทธิอะไรจากประชาชน มาออกแบบกฎหมายสูงสุด ที่มีผลบังคับใช้กับคนทั้งประเทศ หากใช้เฉพาะนายมีชัย หรือ ใช้กับ กรธ.ทั้ง 21 คน ก็ว่ากันไปเลย ส่วนเรื่องเนื้อหา โดยเฉพาะเรื่องส.ว.สรรหา ก็ไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน เพราะให้อำนาจ คสช. เป็นผู้สรรหา จึงไม่มีความชอบธรรม แต่ส่วนตัว ตนจะไม่เห็นด้วยในหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หากประชาชนเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยผ่านการทำประชามติ ตนก็พร้อมจะเห็นด้วยกับเสียงประชาชน