สะเก็ดไฟ
มีประเด็นสิทธิมนุษยชนรายวันให้ คสช. ต้องชี้แจงแทน สืบเนื่องจากปฏิบัติการใช้ไม้แข็งตัดไฟแต่ต้นลม ทั้งจับกุม ทั้งดำเนินคดี ทั้งปรับทัศนคติ กับพวกที่ชอบลองดี โดยเฉพาะช่วงนี้ต่างประเทศพร้อมใจกันออกมาเรียกร้องให้ คสช. ยุติการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
พี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกาตอนนี้ก็เลิกกระมิดกระเมี้ยน เกลน เดวีส์ เอกอัครราชทูตมะกันประจำประเทศไทย เปิดหน้าออกมาเรียกร้องเรื่องการจับกุมประชาชนของ คสช. ต่อหน้าต่อตา ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ แบบไม่ทันให้ตั้งตัวเตรียมใจ ชนิดที่ใครก็คาดไม่ถึงว่าท้าวต่างแดนจะกล้าเสียมารยาททางการทูต อันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ขณะที่เวทีสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ ชาญเชาวน์ ไชยานิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นำทีมไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศตามกลไกยูพีอาร์ ประเทศกลายเป็นสายล่อฟ้า โดนล่อเป้าไม่เลิก เดี๋ยวนอร์เวย์ เดี๋ยวสวีเดน กระทุ้งถามสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งการนำตัวผู้กระทำความผิดขึ้นศาลทหารแทนศาลพลเรือน การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น เรื่อยไปถึงการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
กลไกต่างประเทศที่กดดันมายังประเทศไทยทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ชนิดที่คนใน คสช. และรัฐบาล ต้องออกมาชี้แจงวันต่อวัน
ขณะที่ฝ่ายการเมืองภายในประเทศวันนี้ ก็กระโดดเกาะเรื่องสิทธิมนุษยชนกันเอาเป็นเอาตาย ราวกับเป็นทฤษฎีร่วมด้วยช่วยกัน เพราะไล่หลัง เกลน เดวีส์ กระทุ้งวันเดียว นายหญิงอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาสะกิดให้รัฐบาลรับฟังข้อห่วงใยจากนานาชาติ “ตุ๊ดตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ก็เออออห่อหมกกับฝรั่งตาน้ำข้าว
ไป ๆ มา ๆ มันจะเข้าตำรายืมปากฝรั่งมาด่าประเทศตัวเอง! ก็เหมือนที่ตลอดระยะ 10 ปีมานี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีซังเต ชอบใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศเล่นแง่ฝ่ายตรงข้าม
วันนี้ไม่ต่างอะไรจากการแบ่งบทกันเล่น คนหนึ่งล่อให้ถูกจับ ให้ถูกดำเนินคดี อีกคนหนึ่งไปร้องแรกแหกกระเชอให้ฝรั่งมังค่ามาดู ขณะที่พวกที่มีปากมีเสียง ก็โหมประโคมข่าวประเทศนู้นประเทศนี้ กังวลต่อการจับกุมคุมขัง พอเกิดบ่อย จับบ่อย มันก็สะสมมากพอที่จะเปิดช่องโหว่ให้องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งที่มาโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งที่มาโดยมีเลศนัย เข้ามาจุ้นจ้านได้
การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแทนที่ป่านนี้น่าจะต้องสนใจตัวเนื้อหา กลายเป็นว่ายังจมปลักกันอยู่ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ยังเรียกร้องกันอยู่ให้แก้ไขนู่นแก้ไขนี่อยู่เลย จนหลายคนชักไม่เชื่อมั่นว่า สุดท้ายการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
เพราะการที่ต่างชาติแสดงความเป็นห่วง และเรียกร้องให้มีการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นถี่ยิบอย่างนี้ ในขณะที่ คสช. ยังไล่กวาด ไล่ดำเนินคดี กับคนที่ถูกมองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม แบบที่บางเรื่องถ้าไม่ได้ร้ายแรงคอขาดบาดตายน่าจะปล่อยผ่านไปได้ แต่จับดะ มันยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของร่างรัฐธรรมนูญลดลงถอยลงไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ได้อยู่บนบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
การทำให้ดูเหมือนถูกมัดมือชก ยังอาจเป็นการส่งผลร้ายต่อการตัดสินใจของประชาชนในการทำประชามติ เพราะมันอาจไปเข้าทางอีกฝั่งที่พยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ยิ่งถ้าใกล้ ๆ วันที่ 7 สิงหาคม กระแสสังคมเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับฝ่ายอำนาจ ไม่ว่าเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่คนเหล่านี้จะสวนทางกับสิ่งที่คสช.ต้องการทันที เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่านช่องทางดังกล่าว
แม้จะมีกระแสข่าวออกมาหนาหูว่า คนที่อยากจะคว่ำรัฐธรรมนูญจริง ๆ แล้วอาจเป็น คสช. ก็ได้ เพราะจะได้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่ใจปรารถนา ไม่ต้องมาผ่านประชามติกันให้เสียสะตุ้งสตางค์ ไม่ต้องมาฝ่าด่านพวกปากแร้ง ปากกา แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะผลของการคว่ำนั่นหมายถึงความชอบธรรมในการร่างให้สุดโต่งจะน้อยลง แล้วเสียงของฝ่ายต้านในการคัดค้านจะมีมากขึ้น อย่าลืมว่า นั่นคือฉันทามติของคนส่วนใหญ่
จะว่าไป การทำประชามติไม่ต่างอะไรกับการวัดกันระหว่าง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ตัวคณะ คสช. และรัฐบาล กับ ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และ นปช. ดี ๆ นี่เอง ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำ มันย่อมมีผลเสียมากกว่าผลดี
จริงอยู่พรรคเพื่อไทยอาจเสี่ยงที่ต้องเจอกับรัฐธรรมนูญที่อาจเผด็จการเรียกพี่ รัฐประหารเรียกพ่อ ถ้ารัฐธรรมนูญถูกคว่ำ ในทางกฎหมาย แต่ถามว่าถ้าถึงตรงนั้นรัฐบาลมีความชอบธรรมแค่ไหนในการที่จะทำแบบนั้นอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปหยก ๆ 3 พันล้านบาท
รัฐบาลไม่มีทางปล่อยให้รัฐธรรมนูญเดินไปสู่จุดเสี่ยงที่จะถูกคว่ำโดยประชามติแน่ เพราะผลที่ตามมามันไม่คุ้ม ถ้าเสี่ยงจริงคนอย่าง “บิ๊กตู่” และ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เลือกกดรีสตาร์ทก่อนแน่ ไม่ปล่อยให้พลั้งพลาดก่อน เหมือนกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ดร.ปื๊ด”บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ที่เลือกทำแท้งก่อนในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
อย่าลืมว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังมีแก้วสารพัดนึกอย่าง มาตรา 44 อยู่ในมือ การล้มประชามติโดยอ้างความสงบเรียบร้อยในประเทศไม่ใช่เรื่องที่เกินตัวที่ทำไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลร้อยแปดให้ชักแม่น้ำทั้งห้า เพียงแค่ตอนนี้รัฐบาลยังประเมินอยู่ว่า ประชามติยังอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
ขณะเดียวกัน หลายคนในรัฐบาลยังเชื่อว่า มาถึงตรงนี้ประชามติยังผ่านอยู่ เพราะ 1. คิดว่าคนอยากเลือกตั้งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลพูดย้ำแล้วย้ำอีกทุกวันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แน่นอน 2. คนคิดว่า ถ้ามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ “บิ๊กตู่” และคณะก็จะอันตรธานหายไป หลายสิ่งหลายอย่างจะกลับเข้าสู่ปกติเสียที และ 3. บรรดา ส.ส. หลายคนอดอยากปากแห้งมานาน ต้องการคืนสังเวียนก่อนที่จะอดตาย
แล้วถ้าประชามติผ่าน รัฐบาลเชื่อว่าสถานการณ์ความเข้มข้นจะเบาบางลง เสียงของฝ่ายต้านจะเบากว่าเสียงของคนที่เตรียมจะเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แรงกดดันจากต่างประเทศจะมุ่งไปที่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมากกว่า
เพียงแต่ถ้าระหว่างทางก่อนถึงวันที่ 7 สิงหาคม มันไม่ได้เป็นไปอย่างราบเรียบ มีจุดเสี่ยง อันไม่ส่งผลดีต่อคะแนนประชามติ ประตูล้มประชามติ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้ปิดตาย
แต่ล็อกทิ้งไว้ให้รอไขยามฉุกเฉินเสมอ
มีประเด็นสิทธิมนุษยชนรายวันให้ คสช. ต้องชี้แจงแทน สืบเนื่องจากปฏิบัติการใช้ไม้แข็งตัดไฟแต่ต้นลม ทั้งจับกุม ทั้งดำเนินคดี ทั้งปรับทัศนคติ กับพวกที่ชอบลองดี โดยเฉพาะช่วงนี้ต่างประเทศพร้อมใจกันออกมาเรียกร้องให้ คสช. ยุติการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
พี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกาตอนนี้ก็เลิกกระมิดกระเมี้ยน เกลน เดวีส์ เอกอัครราชทูตมะกันประจำประเทศไทย เปิดหน้าออกมาเรียกร้องเรื่องการจับกุมประชาชนของ คสช. ต่อหน้าต่อตา ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ แบบไม่ทันให้ตั้งตัวเตรียมใจ ชนิดที่ใครก็คาดไม่ถึงว่าท้าวต่างแดนจะกล้าเสียมารยาททางการทูต อันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
ขณะที่เวทีสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ ชาญเชาวน์ ไชยานิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นำทีมไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศตามกลไกยูพีอาร์ ประเทศกลายเป็นสายล่อฟ้า โดนล่อเป้าไม่เลิก เดี๋ยวนอร์เวย์ เดี๋ยวสวีเดน กระทุ้งถามสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งการนำตัวผู้กระทำความผิดขึ้นศาลทหารแทนศาลพลเรือน การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น เรื่อยไปถึงการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
กลไกต่างประเทศที่กดดันมายังประเทศไทยทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ ชนิดที่คนใน คสช. และรัฐบาล ต้องออกมาชี้แจงวันต่อวัน
ขณะที่ฝ่ายการเมืองภายในประเทศวันนี้ ก็กระโดดเกาะเรื่องสิทธิมนุษยชนกันเอาเป็นเอาตาย ราวกับเป็นทฤษฎีร่วมด้วยช่วยกัน เพราะไล่หลัง เกลน เดวีส์ กระทุ้งวันเดียว นายหญิงอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาสะกิดให้รัฐบาลรับฟังข้อห่วงใยจากนานาชาติ “ตุ๊ดตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ก็เออออห่อหมกกับฝรั่งตาน้ำข้าว
ไป ๆ มา ๆ มันจะเข้าตำรายืมปากฝรั่งมาด่าประเทศตัวเอง! ก็เหมือนที่ตลอดระยะ 10 ปีมานี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหนีซังเต ชอบใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศเล่นแง่ฝ่ายตรงข้าม
วันนี้ไม่ต่างอะไรจากการแบ่งบทกันเล่น คนหนึ่งล่อให้ถูกจับ ให้ถูกดำเนินคดี อีกคนหนึ่งไปร้องแรกแหกกระเชอให้ฝรั่งมังค่ามาดู ขณะที่พวกที่มีปากมีเสียง ก็โหมประโคมข่าวประเทศนู้นประเทศนี้ กังวลต่อการจับกุมคุมขัง พอเกิดบ่อย จับบ่อย มันก็สะสมมากพอที่จะเปิดช่องโหว่ให้องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งที่มาโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งที่มาโดยมีเลศนัย เข้ามาจุ้นจ้านได้
การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแทนที่ป่านนี้น่าจะต้องสนใจตัวเนื้อหา กลายเป็นว่ายังจมปลักกันอยู่ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ยังเรียกร้องกันอยู่ให้แก้ไขนู่นแก้ไขนี่อยู่เลย จนหลายคนชักไม่เชื่อมั่นว่า สุดท้ายการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
เพราะการที่ต่างชาติแสดงความเป็นห่วง และเรียกร้องให้มีการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นถี่ยิบอย่างนี้ ในขณะที่ คสช. ยังไล่กวาด ไล่ดำเนินคดี กับคนที่ถูกมองว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม แบบที่บางเรื่องถ้าไม่ได้ร้ายแรงคอขาดบาดตายน่าจะปล่อยผ่านไปได้ แต่จับดะ มันยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของร่างรัฐธรรมนูญลดลงถอยลงไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ได้อยู่บนบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
การทำให้ดูเหมือนถูกมัดมือชก ยังอาจเป็นการส่งผลร้ายต่อการตัดสินใจของประชาชนในการทำประชามติ เพราะมันอาจไปเข้าทางอีกฝั่งที่พยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ยิ่งถ้าใกล้ ๆ วันที่ 7 สิงหาคม กระแสสังคมเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับฝ่ายอำนาจ ไม่ว่าเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่คนเหล่านี้จะสวนทางกับสิ่งที่คสช.ต้องการทันที เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่านช่องทางดังกล่าว
แม้จะมีกระแสข่าวออกมาหนาหูว่า คนที่อยากจะคว่ำรัฐธรรมนูญจริง ๆ แล้วอาจเป็น คสช. ก็ได้ เพราะจะได้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่ใจปรารถนา ไม่ต้องมาผ่านประชามติกันให้เสียสะตุ้งสตางค์ ไม่ต้องมาฝ่าด่านพวกปากแร้ง ปากกา แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะผลของการคว่ำนั่นหมายถึงความชอบธรรมในการร่างให้สุดโต่งจะน้อยลง แล้วเสียงของฝ่ายต้านในการคัดค้านจะมีมากขึ้น อย่าลืมว่า นั่นคือฉันทามติของคนส่วนใหญ่
จะว่าไป การทำประชามติไม่ต่างอะไรกับการวัดกันระหว่าง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ตัวคณะ คสช. และรัฐบาล กับ ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และ นปช. ดี ๆ นี่เอง ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำ มันย่อมมีผลเสียมากกว่าผลดี
จริงอยู่พรรคเพื่อไทยอาจเสี่ยงที่ต้องเจอกับรัฐธรรมนูญที่อาจเผด็จการเรียกพี่ รัฐประหารเรียกพ่อ ถ้ารัฐธรรมนูญถูกคว่ำ ในทางกฎหมาย แต่ถามว่าถ้าถึงตรงนั้นรัฐบาลมีความชอบธรรมแค่ไหนในการที่จะทำแบบนั้นอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปหยก ๆ 3 พันล้านบาท
รัฐบาลไม่มีทางปล่อยให้รัฐธรรมนูญเดินไปสู่จุดเสี่ยงที่จะถูกคว่ำโดยประชามติแน่ เพราะผลที่ตามมามันไม่คุ้ม ถ้าเสี่ยงจริงคนอย่าง “บิ๊กตู่” และ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เลือกกดรีสตาร์ทก่อนแน่ ไม่ปล่อยให้พลั้งพลาดก่อน เหมือนกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ดร.ปื๊ด”บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ที่เลือกทำแท้งก่อนในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
อย่าลืมว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังมีแก้วสารพัดนึกอย่าง มาตรา 44 อยู่ในมือ การล้มประชามติโดยอ้างความสงบเรียบร้อยในประเทศไม่ใช่เรื่องที่เกินตัวที่ทำไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลร้อยแปดให้ชักแม่น้ำทั้งห้า เพียงแค่ตอนนี้รัฐบาลยังประเมินอยู่ว่า ประชามติยังอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้
ขณะเดียวกัน หลายคนในรัฐบาลยังเชื่อว่า มาถึงตรงนี้ประชามติยังผ่านอยู่ เพราะ 1. คิดว่าคนอยากเลือกตั้งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลพูดย้ำแล้วย้ำอีกทุกวันว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แน่นอน 2. คนคิดว่า ถ้ามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ “บิ๊กตู่” และคณะก็จะอันตรธานหายไป หลายสิ่งหลายอย่างจะกลับเข้าสู่ปกติเสียที และ 3. บรรดา ส.ส. หลายคนอดอยากปากแห้งมานาน ต้องการคืนสังเวียนก่อนที่จะอดตาย
แล้วถ้าประชามติผ่าน รัฐบาลเชื่อว่าสถานการณ์ความเข้มข้นจะเบาบางลง เสียงของฝ่ายต้านจะเบากว่าเสียงของคนที่เตรียมจะเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แรงกดดันจากต่างประเทศจะมุ่งไปที่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมมากกว่า
เพียงแต่ถ้าระหว่างทางก่อนถึงวันที่ 7 สิงหาคม มันไม่ได้เป็นไปอย่างราบเรียบ มีจุดเสี่ยง อันไม่ส่งผลดีต่อคะแนนประชามติ ประตูล้มประชามติ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้ปิดตาย
แต่ล็อกทิ้งไว้ให้รอไขยามฉุกเฉินเสมอ