รายงานข่าวจาก คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คตร.ที่มีพล.ท.ชาตอุดม ติตถะสิริ รองเสนาธิการทหาร เป็นประธาน ยังดำเนินงานงานตรวจสอบโครงการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเรื่องที่เพิ่งมีการนำเข้าสู่การพิจารณาล่าสุด เป็นโครงการก่อสร้างถนนสาย ฉช 3001 แยก ทล.314–ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา–สมุทรปราการ ที่เป็นโครงการขยายช่องจราจร จาก 2 เป็น 4-6 ช่องจราจร ระยะทาง 20.329 กม. วงเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งได้ดำเนินการประกวดราคา และได้ผู้ชนะไปแล้ว เมื่อช่วงกลางเดือนมี.ค. ที่ผ่าน
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ (หจก.สามประสิทธิ์) ซึ่งเข้าร่วมการประกวดราคาด้วย ได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมเข้ามายังคตร. เพื่อให้ทำการตรวจสอบทบทวนผลการประกวดราคา เนื่องจากหจก.สามประสิทธิ์ เห็นว่า การประกวดราคาไม่โปร่งใส ส่งผลให้ หจก.สามประสิทธิ์ ถูกกีดกัน ทั้งที่เสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นอกเหนือจากคตร.แล้ว หจก.สามประสิทธิ์ ยังได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมไปถึงนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด้วย โดยได้ชี้แจงมูลเหตุในการขอความเป็นธรรมอย่างละเอียด โดยมีสาระสำคัญ อาทิ
โครงการก่อสร้างถนนสาย ฉช 3001 แยก ทล.314–ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา–สมุทรปราการนั้น ทช.ได้แบ่งการดำเนินการเป็น 2 สัญญา และกำหนดวงเงินแยกตามสัญญา คือ สัญญาที่ 1 ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 1,918 ล้านบาทเศษ และสัญญาที่ 2 ระยะทาง 9.3 กม. วงเงิน 2,631 ล้านบาทเศษ หจก.สามประสิทธิ์ ได้ยื่นเสนอราคาตามกำหนด เมื่อ 4 มี.ค.59 โดยสัญญาที่ 1 เป็นเงิน 1,524 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 เป็นเงิน 2,421 ล้านบาท จนเมื่อวันที่ 11 มี.ค.59 ทช.ได้แจ้งผลการประกวดราคาปรากฏว่า บริษัท กรีนไลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ชนะในสัญญาที่ 1 วงเงิน 1,913 ล้านบาทเศษ และห้างหุ้นส่วนจำกัด นภาก่อสร้าง เป็นผู้ชนะในสัญญาที่ 2 วงเงิน 2,630 ล้านบาทเศษ
"ผลการประกวดราคาทั้ง 2 สัญญา สูงกว่าวงเงินที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอราคาไป รวมเป็นเงินสูงถึง 599 ล้านบาทเศษ ซึ่งถือเป็นวงเงินที่ทำให้ราชการเสียหาย" หนังสือ หจก.สามประสิทธิ์ ระบุ
ในหนังสือขอความเป็นธรรมยังแจ้งด้วยว่า ก่อนที่จะมีการประกาศผลการประกวดราคา ทช.ได้ทำหนังสือถึง หจก.สามประสิทธิ์ ลงวันที่ 8 มี.ค. 59 เพื่อให้ชี้แจงคุณสมบัติผลงานก่อสร้างถนนในวงเงินไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศของทช. ทางหจก.สามประสิทธิ์จึงได้ชี้แจงไปว่า มีผลงานโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ วงเงิน 794 ล้านบาท ซึ่งได้ใช้อ้างอิงในเอกสารเสนอราคาเมื่อวันที่ 4 มี.ค.ไปแล้ว แต่ทช.กลับไม่รับราคาต่ำสุดที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอไป โดยมีความเห็นว่า หจก.สามประสิทธิ์ ขาดคุณสมบัติ โดยตีความว่า โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ เป็นโครงการสร้างอุโมงค์ ไม่ได้เป็นผลงานสร้างถนนตามที่ ทช.ได้ประกาศไว้ ทั้งที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นผลงานถนนประเภทใด
นอกจากนี้ หจก.สามประสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ทช.กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาต้องมีผลงานก่อสร้างถนนวงเงินไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท ในสัญญาจ้างเดียว ซึ่งใช้กับการจ้างทั้ง 2 โครงการ ที่มีมูลค่าไม่เท่ากัน มีนัยเป็นการกีดกันผู้รับจ้างรายอื่นให้เหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้สมยอมตกลงแบ่งงานกันไว้แล้ว
"เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า หจก.สามประสิทธิ์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดของทั้ง 2 สัญญา แต่มิได้รับเลือกเข้าต่อรองราคาจากกรมทางหลวงชนบท อีกทั้งผู้ที่ได้รับเลือกพิจารณาทั้ง 2 สัญญา เป็นผู้เสนอราคาใกล้เคียงกัน และต่ำกว่า ราคากลางที่กรมทางหลวงชนบท กำหนดไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อันแสดงให้เห็นว่า หจก.สามประสิทธิ์ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ทำข้อตกลงแบ่งงานโครงการไว้อยู่แล้ว" หนังสือ หจก.สามประสิทธิ์ ระบุ.
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ (หจก.สามประสิทธิ์) ซึ่งเข้าร่วมการประกวดราคาด้วย ได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมเข้ามายังคตร. เพื่อให้ทำการตรวจสอบทบทวนผลการประกวดราคา เนื่องจากหจก.สามประสิทธิ์ เห็นว่า การประกวดราคาไม่โปร่งใส ส่งผลให้ หจก.สามประสิทธิ์ ถูกกีดกัน ทั้งที่เสนอราคาต่ำกว่าผู้ชนะ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นอกเหนือจากคตร.แล้ว หจก.สามประสิทธิ์ ยังได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมไปถึงนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด้วย โดยได้ชี้แจงมูลเหตุในการขอความเป็นธรรมอย่างละเอียด โดยมีสาระสำคัญ อาทิ
โครงการก่อสร้างถนนสาย ฉช 3001 แยก ทล.314–ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา–สมุทรปราการนั้น ทช.ได้แบ่งการดำเนินการเป็น 2 สัญญา และกำหนดวงเงินแยกตามสัญญา คือ สัญญาที่ 1 ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 1,918 ล้านบาทเศษ และสัญญาที่ 2 ระยะทาง 9.3 กม. วงเงิน 2,631 ล้านบาทเศษ หจก.สามประสิทธิ์ ได้ยื่นเสนอราคาตามกำหนด เมื่อ 4 มี.ค.59 โดยสัญญาที่ 1 เป็นเงิน 1,524 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 เป็นเงิน 2,421 ล้านบาท จนเมื่อวันที่ 11 มี.ค.59 ทช.ได้แจ้งผลการประกวดราคาปรากฏว่า บริษัท กรีนไลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ชนะในสัญญาที่ 1 วงเงิน 1,913 ล้านบาทเศษ และห้างหุ้นส่วนจำกัด นภาก่อสร้าง เป็นผู้ชนะในสัญญาที่ 2 วงเงิน 2,630 ล้านบาทเศษ
"ผลการประกวดราคาทั้ง 2 สัญญา สูงกว่าวงเงินที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอราคาไป รวมเป็นเงินสูงถึง 599 ล้านบาทเศษ ซึ่งถือเป็นวงเงินที่ทำให้ราชการเสียหาย" หนังสือ หจก.สามประสิทธิ์ ระบุ
ในหนังสือขอความเป็นธรรมยังแจ้งด้วยว่า ก่อนที่จะมีการประกาศผลการประกวดราคา ทช.ได้ทำหนังสือถึง หจก.สามประสิทธิ์ ลงวันที่ 8 มี.ค. 59 เพื่อให้ชี้แจงคุณสมบัติผลงานก่อสร้างถนนในวงเงินไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศของทช. ทางหจก.สามประสิทธิ์จึงได้ชี้แจงไปว่า มีผลงานโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ วงเงิน 794 ล้านบาท ซึ่งได้ใช้อ้างอิงในเอกสารเสนอราคาเมื่อวันที่ 4 มี.ค.ไปแล้ว แต่ทช.กลับไม่รับราคาต่ำสุดที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอไป โดยมีความเห็นว่า หจก.สามประสิทธิ์ ขาดคุณสมบัติ โดยตีความว่า โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ เป็นโครงการสร้างอุโมงค์ ไม่ได้เป็นผลงานสร้างถนนตามที่ ทช.ได้ประกาศไว้ ทั้งที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นผลงานถนนประเภทใด
นอกจากนี้ หจก.สามประสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ทช.กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาต้องมีผลงานก่อสร้างถนนวงเงินไม่น้อยกว่า 700 ล้านบาท ในสัญญาจ้างเดียว ซึ่งใช้กับการจ้างทั้ง 2 โครงการ ที่มีมูลค่าไม่เท่ากัน มีนัยเป็นการกีดกันผู้รับจ้างรายอื่นให้เหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้สมยอมตกลงแบ่งงานกันไว้แล้ว
"เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า หจก.สามประสิทธิ์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดของทั้ง 2 สัญญา แต่มิได้รับเลือกเข้าต่อรองราคาจากกรมทางหลวงชนบท อีกทั้งผู้ที่ได้รับเลือกพิจารณาทั้ง 2 สัญญา เป็นผู้เสนอราคาใกล้เคียงกัน และต่ำกว่า ราคากลางที่กรมทางหลวงชนบท กำหนดไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อันแสดงให้เห็นว่า หจก.สามประสิทธิ์ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ทำข้อตกลงแบ่งงานโครงการไว้อยู่แล้ว" หนังสือ หจก.สามประสิทธิ์ ระบุ.