นับย้อนหลังกันแล้ววันที่ 7 สิงหาคม 2559 จะต้องออกเสียงลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ คงยังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะโหวตเสียงอย่างไร
กลุ่มการเมืองออกมาแสดงจุดยืนกันแล้ว ในประเด็น “รับ” หรือ “ไม่รับ” โดยพรรคเพื่อไทยและกลุ่มการเมืองฝ่ายนายทักษิณ ชินวัตร ประกาศ “ไม่รับ” ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส.ออกมาสนับสนุนให้ “รับ”
ส่วนประชาชนยังสงวนท่าที
รัฐธรรมนูญฉบับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ โดยมีทั้งดีและไม่ดี ปัญหาของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา
แต่อยู่ที่การลงประชามติ “รับ” หรือ “ไม่รับ” จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีหรือไม่เท่านั้น
เพราะสิ่งที่กังวลกันอยู่ขณะนี้คือ ไม่ว่าโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยการเมืองยังสกปรกเลอะเทอะเหมือนเดิม ขณะที่ปัญหาของประชาชนจะถูกละเลยเหมือนที่เป็นอยู่
ถ้าจะโหวต “ไม่รับ” ตามที่พรรคเพื่อไทยพยายามรณรงค์นั้น ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เอาด้วย เพราะไม่อยากร่วมสังฆกรรรมกับลูกสมุน “ทักษิณ” และไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล
ไม่ต้องการให้เกิด “กลียุค” เหมือนที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ต้องการให้ประเทศต้องพังพินาศ เพราะการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมถูกระบอบทักษิณทำลาย
ไม่อยากเห็นข้าราชการตกเป็นขี้ข้าตระกูลชินวัตร จนบ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย
ดังนั้น “ทักษิณ” จะมีท่าทีอย่างไรกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่จะยืนอยู่ฝ่ายตรงข้าม
แต่ถ้าโหวต “รับ” และทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ต่อยาวๆ โดยไม่มีการปฏิรูปการเมือง ไม่ปฏิรูปตำรวจ ไม่กวาดล้างการทุจริตอย่างจริงจัง ไม่แก้ไขปัญหาหมักหมม ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เอาด้วยเหมือนกัน
เพราะถือว่าให้โอกาสรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มานานพอแล้ว
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนตั้งความคาดหวังสูงกับพล.อ.ประยุทธ์ หวังว่าจะเข้ามาปฏิรูประเทศครั้งใหญ่ หวังว่าการเมืองจะเปลี่ยนไป หวังว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องถูกผ่าตัด หวังว่าการทุจริตคอร์รัปชัน จะต้องถูกกำจัด และนักการเมืองเลวๆ ที่เป็นตัวถ่วงความเจริญจะต้องไม่มีที่ยืนในสังคม
แต่ความหวังของชาวบ้านทั้งประเทศแทบพังทลายไปสิ้นแล้ว
การลงประชามติที่จะมีขึ้นในอีกเกือบ 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนมีทางเลือกไม่มาก โดยต้องโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” เท่านั้น ไม่มี “โหวตโน” มีแต่บัตรเสีย ซึ่งไม่รู้ว่า ประชามติครั้งนี้ จะมีบัตรเสียมากกว่าโหวต “รับ” และ “ไม่รับ” หรือไม่
รัฐธรรมนูญที่ขึ้นแท่นรอลงประชามติ ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะทำให้ประเทศกลับสู่ความสงบ จึงไม่ทำให้สังคมเกิดความกระตือรือร้นโหวต
มีเพียงกลุ่มการเมืองที่มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่ออกมาเคลื่อนไหว ขณะที่ชาวบ้านอาจมีความรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
“รับ” หรือ “ไม่รับ” จึงไม่มีความแตกต่าง เพราะรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ต่อไปอย่างน้อยที่สุดอีกเกือบ 2 ปี หรืออยู่ยาวต่อถึง 3 ปีหรือ 5 ปีก็ได้
เกิดเป็นคนไทยทางเลือกน้อยจริง เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก็มีแต่พรรคการเมืองน้ำเน่า มีแต่นักการเมืองหน้าเก่าๆ และหน้าโกงๆ ให้เลือก
เปลี่ยนถ่ายจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลทหารแล้ว ทางเลือกยังจำกัดจำเขี่ยอยู่อีก ไม่เลือก “ทักษิณ” กลับมา ก็ต้องเลือกให้พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อ
คนที่ไม่เอา “ทักษิณ” แต่เบื่อ “ประยุทธ์” จะทำอย่างไรกันดีล่ะ 7 สิงหาคมจะโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” ดีล่ะ
น่ากลุ้มใจแทนประชาชนที่ต้องลงประชามติจริงๆ เพราะไม่ว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ประเทศก็ยังต้องตกอยู่ในมืดมนต่อไป
กลุ่มการเมืองออกมาแสดงจุดยืนกันแล้ว ในประเด็น “รับ” หรือ “ไม่รับ” โดยพรรคเพื่อไทยและกลุ่มการเมืองฝ่ายนายทักษิณ ชินวัตร ประกาศ “ไม่รับ” ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส.ออกมาสนับสนุนให้ “รับ”
ส่วนประชาชนยังสงวนท่าที
รัฐธรรมนูญฉบับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ โดยมีทั้งดีและไม่ดี ปัญหาของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา
แต่อยู่ที่การลงประชามติ “รับ” หรือ “ไม่รับ” จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีหรือไม่เท่านั้น
เพราะสิ่งที่กังวลกันอยู่ขณะนี้คือ ไม่ว่าโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยการเมืองยังสกปรกเลอะเทอะเหมือนเดิม ขณะที่ปัญหาของประชาชนจะถูกละเลยเหมือนที่เป็นอยู่
ถ้าจะโหวต “ไม่รับ” ตามที่พรรคเพื่อไทยพยายามรณรงค์นั้น ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เอาด้วย เพราะไม่อยากร่วมสังฆกรรรมกับลูกสมุน “ทักษิณ” และไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล
ไม่ต้องการให้เกิด “กลียุค” เหมือนที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ต้องการให้ประเทศต้องพังพินาศ เพราะการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ต้องการเห็นกระบวนการยุติธรรมถูกระบอบทักษิณทำลาย
ไม่อยากเห็นข้าราชการตกเป็นขี้ข้าตระกูลชินวัตร จนบ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย
ดังนั้น “ทักษิณ” จะมีท่าทีอย่างไรกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่จะยืนอยู่ฝ่ายตรงข้าม
แต่ถ้าโหวต “รับ” และทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ต่อยาวๆ โดยไม่มีการปฏิรูปการเมือง ไม่ปฏิรูปตำรวจ ไม่กวาดล้างการทุจริตอย่างจริงจัง ไม่แก้ไขปัญหาหมักหมม ประชาชนส่วนใหญ่คงไม่เอาด้วยเหมือนกัน
เพราะถือว่าให้โอกาสรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มานานพอแล้ว
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนตั้งความคาดหวังสูงกับพล.อ.ประยุทธ์ หวังว่าจะเข้ามาปฏิรูประเทศครั้งใหญ่ หวังว่าการเมืองจะเปลี่ยนไป หวังว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องถูกผ่าตัด หวังว่าการทุจริตคอร์รัปชัน จะต้องถูกกำจัด และนักการเมืองเลวๆ ที่เป็นตัวถ่วงความเจริญจะต้องไม่มีที่ยืนในสังคม
แต่ความหวังของชาวบ้านทั้งประเทศแทบพังทลายไปสิ้นแล้ว
การลงประชามติที่จะมีขึ้นในอีกเกือบ 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนมีทางเลือกไม่มาก โดยต้องโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” เท่านั้น ไม่มี “โหวตโน” มีแต่บัตรเสีย ซึ่งไม่รู้ว่า ประชามติครั้งนี้ จะมีบัตรเสียมากกว่าโหวต “รับ” และ “ไม่รับ” หรือไม่
รัฐธรรมนูญที่ขึ้นแท่นรอลงประชามติ ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะทำให้ประเทศกลับสู่ความสงบ จึงไม่ทำให้สังคมเกิดความกระตือรือร้นโหวต
มีเพียงกลุ่มการเมืองที่มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่ออกมาเคลื่อนไหว ขณะที่ชาวบ้านอาจมีความรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
“รับ” หรือ “ไม่รับ” จึงไม่มีความแตกต่าง เพราะรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ต่อไปอย่างน้อยที่สุดอีกเกือบ 2 ปี หรืออยู่ยาวต่อถึง 3 ปีหรือ 5 ปีก็ได้
เกิดเป็นคนไทยทางเลือกน้อยจริง เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก็มีแต่พรรคการเมืองน้ำเน่า มีแต่นักการเมืองหน้าเก่าๆ และหน้าโกงๆ ให้เลือก
เปลี่ยนถ่ายจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลทหารแล้ว ทางเลือกยังจำกัดจำเขี่ยอยู่อีก ไม่เลือก “ทักษิณ” กลับมา ก็ต้องเลือกให้พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อ
คนที่ไม่เอา “ทักษิณ” แต่เบื่อ “ประยุทธ์” จะทำอย่างไรกันดีล่ะ 7 สิงหาคมจะโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” ดีล่ะ
น่ากลุ้มใจแทนประชาชนที่ต้องลงประชามติจริงๆ เพราะไม่ว่าจะ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ประเทศก็ยังต้องตกอยู่ในมืดมนต่อไป