นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงต่อกรณีความเห็นของ ครม. ที่ส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ในข้อ 16 ที่เสนอให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ขยัก ว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของครม. ต่อสิ่งที่ทำมาทั้งหมด และกำลังดำเนินการร่างอยู่นี้ จะแก้ปัญหาได้ และสิ่งที่สังคมคาดหวังให้คสช. จัดทำระบบ สร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อให้การเมืองไทยหลุดพ้นจากสภาพปัญหาเดิมๆ เลยพยายามประวิงเวลา ซึ่งดูได้จากข้อความที่เขียนว่า ทำอย่างไรจึงจะป้องกันมิให้ความยุ่งยากโกลาหล ความขัดแย้ง และความไม่สงบ จนประเทศจวนเข้าสู่ภาวะที่ล้มเหลว ดังเมื่อก่อน พ.ค.57 ย้อนกลับมาอีกครั้ง
"นี่คือโจทย์สำหรับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ, สนช., สปช. , สปท. และครม. มาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะคสช. ที่บอกว่าจะเข้ามาเพื่อแก้สิ่งนี้ พอมาถึงวันนี้ เหมือนกับกำลังบอกว่า ที่กรธ.เขียนมาทั้งหมด ก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่ามันได้แก้สิ่งที่ คสช.อาสาเข้ามาได้หรือไม่ และหากบอกว่า ต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ช่วงเวลา ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่ต้องมีคำตอบว่า สิ่งที่จะทำให้ไม่ยุ่งนั้น คืออะไร และบทบัญญัติไหน ที่คิดว่าเป็นตัวแก้ปัญหาที่ผ่านมา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 57 ไม่ได้เกิดจากการมีเลือกตั้ง หรือมีประชาธิปไตยมากไป แต่เป็นเพราะคนที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่เป็นประชาธิปไตย ใช้อำนาจรัฐในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นหากรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งที่ คสช.ทำจะแก้ปัญหาได้ อยากถามว่า มาตรการ คืออะไร ครม.พยายามตีโจทย์ว่า ปัญหาเกิดจากการทำให้ไม่แน่ใจว่าเลือกตั้งไปแล้ว จะเกิดปัญหาอีกหรือไม่ ถือเป็นการวิเคราะห์ที่ผิด เพราะปัญหาไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่คือระบอบทักษิณ ที่เกาะเกี่ยวระบอบประชาธิปไตย"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แทนที่ ครม.จะไปดูว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร กลับมามองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหา แล้วมาทำลายทิ้ง ซึ่งวิธีแก้คือต้องไปถอดระบอบทักษิณ ออกจากระบอบประชาธิปไตย คือ การวางกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล ให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถที่จะใช้อำนาจที่ได้มา ไปทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ขัดต่อหลักประชาธิปไตย แต่จะเห็นว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนายมีชัย ฤชุพันธ์ คือ 1. มาตรการเกี่ยวกับกระทู้ถามสด การตรวจสอบการใช้พ.ร.ก. ลดลงไป 2 . ทุกอย่างไปวางน้ำหนักที่ ป.ป.ช. แต่ ประธานสภาฯ สามารถที่จะมีประโยชน์ร่วมกับ ป.ป.ช.ได้ ทั้ง และเป็นสมาชิกของพรรครัฐบาล 3. หากสิทธิ เสรีภาพถดถอย ก็ไม่สามารถหวังเรื่องการตรวจสอบที่เข้มข้นได้ เพราะกระบวนการตรวจสอบต้องเริ่มจากความสามารถของสังคม ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การแสดงออกรวมตัวกัน หากคดีไม่ไปถึง ป.ป.ช. เพราะสิทธิ เสรีภาพ ถูกตัดทอน ก็ไม่สามารถปราบการใช้อำนาจที่ไม่ชอบได้
เมื่อถามว่า หาก กรธ. มีการเขียนในบทเฉพาะกาล กำหนดระยะเวลา 2 ปี ให้มีการตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อประคับประคองบ้านเมืองให้เดินไปได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การจะประคับประคอง หรือจะเกิดความขัดแย้ง ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายผู้มีอำนาจฝ่ายเดียวที่จะคิด และหากมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น ตนคิดว่าอาจจะหนักกว่าเดิม จึงอยากให้แก้อย่างเป็นระบบ อย่าคิดจะมีอำนาจพิเศษ เพราะวันหนึ่งก็ต้องจบ จึงควรจะมีการเตรียมตัวหรือมีหลักประกันว่า จะไม่ย้อนกลับมา จึงต้องทำให้ชัดว่า เรื่องอะไร และจะแก้อย่างไร ทำให้สังคมเห็นว่าอาจจะไม่เสร็จภายใน ปีสองปี ตนเชื่อว่าสังคมก็พร้อมที่จะรับฟัง
"เพราะฉะนั้นเอาให้มันพอดี ตรงไปตรงมา อย่าให้มีใครไปหยิบ จุดประเด็นขึ้นมาให้เกิดความหวาดระแวง ในเรื่องการสืบทอดอำนาจ วันนี้ สังคมให้ความเชื่อถือที่จะให้ท่านนายกฯ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เดินหน้าแก้ปัญหาต่างๆ คนรอบข้างก็ไม่ควรทำอะไรให้ลดทอนความเชื่อถือ แต่ ควรจะพยายามเพิ่มกำลังแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จให้ได้ ก่อนที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
"นี่คือโจทย์สำหรับผู้ร่างรัฐธรรมนูญ, สนช., สปช. , สปท. และครม. มาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะคสช. ที่บอกว่าจะเข้ามาเพื่อแก้สิ่งนี้ พอมาถึงวันนี้ เหมือนกับกำลังบอกว่า ที่กรธ.เขียนมาทั้งหมด ก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่ามันได้แก้สิ่งที่ คสช.อาสาเข้ามาได้หรือไม่ และหากบอกว่า ต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2 ช่วงเวลา ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่ต้องมีคำตอบว่า สิ่งที่จะทำให้ไม่ยุ่งนั้น คืออะไร และบทบัญญัติไหน ที่คิดว่าเป็นตัวแก้ปัญหาที่ผ่านมา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 57 ไม่ได้เกิดจากการมีเลือกตั้ง หรือมีประชาธิปไตยมากไป แต่เป็นเพราะคนที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่เป็นประชาธิปไตย ใช้อำนาจรัฐในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นหากรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งที่ คสช.ทำจะแก้ปัญหาได้ อยากถามว่า มาตรการ คืออะไร ครม.พยายามตีโจทย์ว่า ปัญหาเกิดจากการทำให้ไม่แน่ใจว่าเลือกตั้งไปแล้ว จะเกิดปัญหาอีกหรือไม่ ถือเป็นการวิเคราะห์ที่ผิด เพราะปัญหาไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่คือระบอบทักษิณ ที่เกาะเกี่ยวระบอบประชาธิปไตย"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แทนที่ ครม.จะไปดูว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร กลับมามองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหา แล้วมาทำลายทิ้ง ซึ่งวิธีแก้คือต้องไปถอดระบอบทักษิณ ออกจากระบอบประชาธิปไตย คือ การวางกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล ให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถที่จะใช้อำนาจที่ได้มา ไปทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ขัดต่อหลักประชาธิปไตย แต่จะเห็นว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนายมีชัย ฤชุพันธ์ คือ 1. มาตรการเกี่ยวกับกระทู้ถามสด การตรวจสอบการใช้พ.ร.ก. ลดลงไป 2 . ทุกอย่างไปวางน้ำหนักที่ ป.ป.ช. แต่ ประธานสภาฯ สามารถที่จะมีประโยชน์ร่วมกับ ป.ป.ช.ได้ ทั้ง และเป็นสมาชิกของพรรครัฐบาล 3. หากสิทธิ เสรีภาพถดถอย ก็ไม่สามารถหวังเรื่องการตรวจสอบที่เข้มข้นได้ เพราะกระบวนการตรวจสอบต้องเริ่มจากความสามารถของสังคม ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การแสดงออกรวมตัวกัน หากคดีไม่ไปถึง ป.ป.ช. เพราะสิทธิ เสรีภาพ ถูกตัดทอน ก็ไม่สามารถปราบการใช้อำนาจที่ไม่ชอบได้
เมื่อถามว่า หาก กรธ. มีการเขียนในบทเฉพาะกาล กำหนดระยะเวลา 2 ปี ให้มีการตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อประคับประคองบ้านเมืองให้เดินไปได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การจะประคับประคอง หรือจะเกิดความขัดแย้ง ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายผู้มีอำนาจฝ่ายเดียวที่จะคิด และหากมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น ตนคิดว่าอาจจะหนักกว่าเดิม จึงอยากให้แก้อย่างเป็นระบบ อย่าคิดจะมีอำนาจพิเศษ เพราะวันหนึ่งก็ต้องจบ จึงควรจะมีการเตรียมตัวหรือมีหลักประกันว่า จะไม่ย้อนกลับมา จึงต้องทำให้ชัดว่า เรื่องอะไร และจะแก้อย่างไร ทำให้สังคมเห็นว่าอาจจะไม่เสร็จภายใน ปีสองปี ตนเชื่อว่าสังคมก็พร้อมที่จะรับฟัง
"เพราะฉะนั้นเอาให้มันพอดี ตรงไปตรงมา อย่าให้มีใครไปหยิบ จุดประเด็นขึ้นมาให้เกิดความหวาดระแวง ในเรื่องการสืบทอดอำนาจ วันนี้ สังคมให้ความเชื่อถือที่จะให้ท่านนายกฯ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เดินหน้าแก้ปัญหาต่างๆ คนรอบข้างก็ไม่ควรทำอะไรให้ลดทอนความเชื่อถือ แต่ ควรจะพยายามเพิ่มกำลังแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จให้ได้ ก่อนที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว