จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุง แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ไปถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 16 ข้อ และในข้อ 16 นั้น จะให้ระบุในร่างรัฐธรรมนูญ ถึงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเฉพาะกิจ หรือเฉพาะกาลในระยะแรก เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และช่วงที่ 2 จึงจะใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับหลักการสากล ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆฝ่ายว่า รัฐบาลและคสช. มีเจตนาสืบทอดอำนาจ หวังจะอยู่ยาว
** ปชป.จับผิดคสช.หวังอยู่ยาว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แม้จะเป็นข้อเสนอของครม.จะอยู่บนพื้นฐานความปรารถนาดี แต่ กรธ.ก็ควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะแค่เริ่มต้นเสนอไป นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ก็ยอมรับว่า มึน ไม่เข้าใจ และเมื่อได้พบกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเป้าหมายของข้อเสนอดังกล่าว แต่นายวิษณุ กลับบอกว่า ไม่สามารถยกตัวอย่างปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร
" ดังนั้นผู้เสนอกับผู้รับ ไม่สามารถลงตัวในข้อเสนอนั้นได้ กรธ.ก็ควรจะเก็บข้อเสนอนี้ใส่ในลิ้นชักดีกว่า เพราะยังไม่ทราบว่าเนื้อหาขอบเขต และบริบทของข้อเสนอ จะมีแค่ไหน"
ทั้งนี้ นายองอาจ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า 1. เมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ และประกาศใช้แล้วก็ควรจะให้ระบอบประชาธิปไตยเดินหน้าตามครรลองการปกครอง ไม่ควรจะมีการบัญญัติเนื้อหาให้ใช้รัฐธรรมนูญแบ่งเป็นสองช่วง ซึ่งขณะนี้ คสช. และรัฐบาล มีอำนาจค่อนข้างมากอยู่แล้ว หากเห็นว่ามีปัญหาอะไร ก็ควรจะแก้ไข
2. การที่ ครม.อ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ตนคิดว่าหากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ตามที่ ครม.เป็นห่วงก็ยังมีกลไกลต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก ก็สามารถวางกลไกลป้องกันสถานการณ์ที่ถึงขั้นวิกฤตได้ รวมทั้งให้อำนาจองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว จึงไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้าง
3. การที่ครม.อ้างว่า หลังจัดการเลือกตั้งจะมีปัญหาต่างๆ เกรงว่าประเทศจะเข้าสู่สภาวะล้มเหลวนั้น ขณะนี้ทั้งครม. และคสช. ก็มีอำนาจอยู่ในมือ แทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่แล้ว หากวิตกว่าเรื่องใดจะเป็นปัญหา ก็ให้เร่งแก้ไขมากกว่าที่จะไปออกรัฐธรรมนูญรูปแบบพิเศษ
4. ข้อเสนอจะมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่า ครม. และ คสช. พยายามวางกลไกลเพื่อสืบทอดอำนาจหรืออยู่ยาวในรูปแบบพิเศษต่างๆ ที่วางกลไกเอาไว้
" แม้แต่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังระบุว่า มีการใส่อะไรไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จนไม่ผ่าน สปช. เพราะคงอยากจะอยู่ยาว ฉะนั้น ถึงแม้ครม.จะมีเจตนาดีแต่ข้อเสนอนี้น่าจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญมีปัญหาไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาชนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเกิดผลดีต่อใคร ดังนั้นจึงอยากให้ กรธ.ได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบ" นายองอาจ กล่าว
** หวั่นใช้รธน. 2 ระยะจะยิ่งขัดแย้ง
นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา สมาชิกสปท. กล่าวถึงข้อเสนอของครม. ที่ให้บัญญัติเนื้อหา และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เป็นสองช่วงเวลาว่า ควรมีการทบทวนเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการเสนอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เคยเกิดขึ้น ตั้งแต่การมีปัญหาทางการเมือง จนนำไปสู่การยุบสภา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้ มีการชุมนุมประท้วงที่รุนแรง สูญเสียจนนำไปสู่การยึดอำนาจ แต่สาเหตุของปัญหาที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด ขณะนี้ได้มีการสร้างกลไกป้องกันไว้หมดแล้ว ทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะ
เป็น การทุจริตคอร์รัปชัน การเสนอนโยบายที่มีปัญหา การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เห็นแย้งกันมาก หรือแม้กระทั่งการชุมนุมประท้วงก็มีกฎหมายออกมาควบคุมไว้แล้ว
นอกจากนั้น ฝ่ายการเมืองเองก็ได้เรียนรู้ชัดเจนแล้วว่า ความขัดแย้งที่ว่าทำให้เกิดความสูญเสียยิ่งใหญ่คือ ความสูญเสียระบบประชาธิปไตย จึงเห็นว่าสถานการณ์ในอดีตจะกลับมาเกิดซ้ำรอยใหม่ได้อีกยาก การเสนอกลไกป้องกันที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยมากเกินไป จะกลายเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งเสียเอง เห็นได้จากแม้แค่เพิ่งเริ่ม ขณะนี้มีการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมาก จึงเห็นว่าแนวทางป้องกันนี้ น่าจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน
**"อลงกรณ์"หนุนแนวทางครม.
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่ 1 กล่าวว่า ข้อห่วงใยของครม. ตรงกับความกังวลของคนส่วนใหญ่ ที่ไม่แน่ใจว่าหลังเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองขยายบานปลายกลายเป็นวิกฤติของประเทศตลอดเวลากว่า10 ปีที่ผ่านมาจนประเทศไทยเกือบเป็นรัฐที่ล้มเหลว และท้ายที่สุดจบลงด้วยการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง ดังนั้นจึงขอเสนอต่อ กรธ. ดังนี้
1. ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญส่วนแรกที่ใช้บังคับเป็นการถาวร ให้ยึดแนวทางประชาธิปไตยที่เป็นหลักสากล เช่น นายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก ส.ส. , ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง , วางระบบถ่วงดุลและตรวจสอบบนฐานอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นหลัก, กำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจน เป็นมาตรฐานสากลและการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่าให้ยากจนเกินควร เป็นต้น
2. ส่วนเรื่องเฉพาะกิจในระยะเปลี่ยนผ่าน ให้บัญญัติในบทเฉพาะกาล เช่น ที่มานายกฯ ที่มาส.ว. มาตรการ และกลไกป้องกันวิกฤติมิให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ก่อน 22พ.ค. 57 โดยเขียนระยะเวลา และขั้นตอนกระบวนการให้ชัดเจน โดย กรธ.ควรเชิญตัวแทนพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งมาหารือ เฉพาะประเด็นสำคัญในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกิจเฉพาะกาล
" ข้อกังวลของครม.ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นเรื่องจริงที่ไม่อาจมองข้าม หรือละเลยไม่ใส่ใจ และไม่ใช่เป็นข้อห่วงใยของครม.แต่ฝ่ายเดียว หากเป็นข้อกังวลของทุกฝ่าย และไม่ใช่ประเด็นที่จะมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจแต่อย่างใด ผมคิดว่า เป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศ และของทุกคน เคยถามนักการเมืองพรรคใหญ่ว่า มั่นใจแค่ไหนว่าเลือกตั้งแล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง หรือวิกฤติอีก ปรากฏว่า ไม่มีใครมั่นใจแม้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นต้องช่วยกันออกแบบมาตรการ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขมิใช่ปล่อยให้ไปตายเอาดาบหน้า สูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ บ้านเมืองแตกแยกและประชาธิปไตยไปไม่
รอด" นายอลงกรณ์ กล่าว
**คสช.กั๊กเรื่องเรื่องสืบทอดอำนาจ
พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ถึงการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้ตัดบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจหัวหน้าคสช. และ คสช.ออก และสิ้นสุดลงหลังมีรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ซึ่งยังไม่จบ จนถึงวันที่ 29 มี.ค.นี้ อีกทั้งขณะนี้ก็ยังมีหลายความคิดเห็น เป็นช่วงของการรับฟัง และทางกรธ.จะนำไปปรับปรุง ยังไม่ถึงช่วงสรุป
ส่วนที่มีข้อกังวลว่า คสช. จะมีการสืบทอดอำนาจ อยู่ยาวนั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้เป็นกติกาแก้ไขปัญหา ไม่ใช่แบบคิดใหม่ แต่ได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่มีมา และนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อร่างเป็นข้อบังคับ และสอบถามความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย เพราะฉะนั้นถามว่า จะสืบทอดอำนาจหรือไม่ อยู่ที่ประชาชนจะพิจารณารับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เป็นข้อห่วงใยในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ทางคสช. และรัฐบาล ก็รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติให้มากที่สุด
เมื่อถามว่า นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (ผอ.สปท.) ออกมาระบุว่า คสช.ลืมเรื่องปฏิรูป เพราะมัวแต่นับวันเลือกตั้ง พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า คสช.ดำเนินการหลายเรื่อง และจัดลำดับความเร่งด่วน โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ของชาติ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคม เพียงแต่กรอบระยะเวลาโรดแมป จะมีการเลือกตั้งในปี 60 ทุกคนจึงโฟกัสไปที่ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเดินตามกรอบเวลา จากนั้นก็จะต้องมีการทำประชามติ การเตรียมการเลือกตั้ง และการจัดการเลือกตั้งตามช่วงเวลา เพียงแต่
ขณะนี้ต่างฝ่ายต่างออกมาให้ข้อคิดเห็น เพราะห่วงใยบ้านเมือง เราก็รับฟัง เรื่องการปฏิรูปทุกอย่างยังดำเนินการอยู่ เราไม่ได้เน้นหนักด้านใดด้านหนึ่ง เพียงแต่ขณะนี้ คนให้ความสนใจเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องปฏิรูปคสช. ยังคงดำเนินการอยู่
** เชื่อคสช.ไม่คิดล้มร่างรธน.อีก
ด้านนายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.กล่าวถึง ความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้พิจารณาทบทวนไปได้ประมาณ 60 มาตราแล้ว โดย เราพยายามนำความเห็น และข้อเสนอแนะ ของทุกฝ่ายมาพิจารณา โดยไม่ให้กระทบกับหลักการใหญ่ที่ กรธ. วางกรอบไว้ รวมถึง กรอบตาม มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และกรอบตามความมุ่งหมายของ คสช. จำนวน 5 ข้อ
ทั้งนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เตรียมขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้อเสนอของครม. ในบางข้อ ที่ยังเกิดความสงสัย หรือยังไม่มีความชัดเจน และเมื่อได้รับคำแนะนำที่เข้าใจตรงกันแล้ว กรธ.ก็จะได้นำมาพิจารณาหารือต่อไป เมื่อได้ข้อสรุป
หรือข้อยุติในประเด็นใหญ่ๆ ก็จะชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบทันที จะไม่เก็บแล้วค่อยปล่อยให้มาโผล่ในภายหลัง หรือโผล่ตอนที่ตีพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จไปแล้ว
ส่วนการที่พรรคการเมืองออกมาคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขอย้ำว่า กรธ.จะไม่ไปตอบโต้ แต่เราจะเน้นการอธิบาย เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะพยายามใช้ทุกช่องทางที่เปิดโอกาสให้ กรธ. ชี้แจงอย่างเต็มที่ และดีที่สุด
"ก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการซักถามกลับไปยังคสช.หลายครั้งว่า อยากจะให้ร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบยืนยันกลับมาว่า อยากให้ผ่าน เพราะต้องการให้มีเลือกตั้งตามโรดแมป ดังนั้นเข้าใจว่า คสช.ไม่มีแนวคิดที่จะใช้วิธีการล้มรัฐธรรมนูญเรื่อยๆ เพื่อให้อยู่ในอำนาจยาวนานต่อไป" นายอมร กล่าว.
** ปชป.จับผิดคสช.หวังอยู่ยาว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แม้จะเป็นข้อเสนอของครม.จะอยู่บนพื้นฐานความปรารถนาดี แต่ กรธ.ก็ควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะแค่เริ่มต้นเสนอไป นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ก็ยอมรับว่า มึน ไม่เข้าใจ และเมื่อได้พบกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเป้าหมายของข้อเสนอดังกล่าว แต่นายวิษณุ กลับบอกว่า ไม่สามารถยกตัวอย่างปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร
" ดังนั้นผู้เสนอกับผู้รับ ไม่สามารถลงตัวในข้อเสนอนั้นได้ กรธ.ก็ควรจะเก็บข้อเสนอนี้ใส่ในลิ้นชักดีกว่า เพราะยังไม่ทราบว่าเนื้อหาขอบเขต และบริบทของข้อเสนอ จะมีแค่ไหน"
ทั้งนี้ นายองอาจ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า 1. เมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ และประกาศใช้แล้วก็ควรจะให้ระบอบประชาธิปไตยเดินหน้าตามครรลองการปกครอง ไม่ควรจะมีการบัญญัติเนื้อหาให้ใช้รัฐธรรมนูญแบ่งเป็นสองช่วง ซึ่งขณะนี้ คสช. และรัฐบาล มีอำนาจค่อนข้างมากอยู่แล้ว หากเห็นว่ามีปัญหาอะไร ก็ควรจะแก้ไข
2. การที่ ครม.อ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ตนคิดว่าหากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ตามที่ ครม.เป็นห่วงก็ยังมีกลไกลต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก ก็สามารถวางกลไกลป้องกันสถานการณ์ที่ถึงขั้นวิกฤตได้ รวมทั้งให้อำนาจองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว จึงไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้าง
3. การที่ครม.อ้างว่า หลังจัดการเลือกตั้งจะมีปัญหาต่างๆ เกรงว่าประเทศจะเข้าสู่สภาวะล้มเหลวนั้น ขณะนี้ทั้งครม. และคสช. ก็มีอำนาจอยู่ในมือ แทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่แล้ว หากวิตกว่าเรื่องใดจะเป็นปัญหา ก็ให้เร่งแก้ไขมากกว่าที่จะไปออกรัฐธรรมนูญรูปแบบพิเศษ
4. ข้อเสนอจะมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่า ครม. และ คสช. พยายามวางกลไกลเพื่อสืบทอดอำนาจหรืออยู่ยาวในรูปแบบพิเศษต่างๆ ที่วางกลไกเอาไว้
" แม้แต่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังระบุว่า มีการใส่อะไรไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จนไม่ผ่าน สปช. เพราะคงอยากจะอยู่ยาว ฉะนั้น ถึงแม้ครม.จะมีเจตนาดีแต่ข้อเสนอนี้น่าจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญมีปัญหาไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาชนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเกิดผลดีต่อใคร ดังนั้นจึงอยากให้ กรธ.ได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบ" นายองอาจ กล่าว
** หวั่นใช้รธน. 2 ระยะจะยิ่งขัดแย้ง
นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา สมาชิกสปท. กล่าวถึงข้อเสนอของครม. ที่ให้บัญญัติเนื้อหา และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เป็นสองช่วงเวลาว่า ควรมีการทบทวนเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการเสนอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่เคยเกิดขึ้น ตั้งแต่การมีปัญหาทางการเมือง จนนำไปสู่การยุบสภา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้ มีการชุมนุมประท้วงที่รุนแรง สูญเสียจนนำไปสู่การยึดอำนาจ แต่สาเหตุของปัญหาที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด ขณะนี้ได้มีการสร้างกลไกป้องกันไว้หมดแล้ว ทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะ
เป็น การทุจริตคอร์รัปชัน การเสนอนโยบายที่มีปัญหา การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เห็นแย้งกันมาก หรือแม้กระทั่งการชุมนุมประท้วงก็มีกฎหมายออกมาควบคุมไว้แล้ว
นอกจากนั้น ฝ่ายการเมืองเองก็ได้เรียนรู้ชัดเจนแล้วว่า ความขัดแย้งที่ว่าทำให้เกิดความสูญเสียยิ่งใหญ่คือ ความสูญเสียระบบประชาธิปไตย จึงเห็นว่าสถานการณ์ในอดีตจะกลับมาเกิดซ้ำรอยใหม่ได้อีกยาก การเสนอกลไกป้องกันที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยมากเกินไป จะกลายเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งเสียเอง เห็นได้จากแม้แค่เพิ่งเริ่ม ขณะนี้มีการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมาก จึงเห็นว่าแนวทางป้องกันนี้ น่าจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน
**"อลงกรณ์"หนุนแนวทางครม.
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่ 1 กล่าวว่า ข้อห่วงใยของครม. ตรงกับความกังวลของคนส่วนใหญ่ ที่ไม่แน่ใจว่าหลังเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองขยายบานปลายกลายเป็นวิกฤติของประเทศตลอดเวลากว่า10 ปีที่ผ่านมาจนประเทศไทยเกือบเป็นรัฐที่ล้มเหลว และท้ายที่สุดจบลงด้วยการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง ดังนั้นจึงขอเสนอต่อ กรธ. ดังนี้
1. ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญส่วนแรกที่ใช้บังคับเป็นการถาวร ให้ยึดแนวทางประชาธิปไตยที่เป็นหลักสากล เช่น นายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก ส.ส. , ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง , วางระบบถ่วงดุลและตรวจสอบบนฐานอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นหลัก, กำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจน เป็นมาตรฐานสากลและการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่าให้ยากจนเกินควร เป็นต้น
2. ส่วนเรื่องเฉพาะกิจในระยะเปลี่ยนผ่าน ให้บัญญัติในบทเฉพาะกาล เช่น ที่มานายกฯ ที่มาส.ว. มาตรการ และกลไกป้องกันวิกฤติมิให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ก่อน 22พ.ค. 57 โดยเขียนระยะเวลา และขั้นตอนกระบวนการให้ชัดเจน โดย กรธ.ควรเชิญตัวแทนพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งมาหารือ เฉพาะประเด็นสำคัญในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกิจเฉพาะกาล
" ข้อกังวลของครม.ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นเรื่องจริงที่ไม่อาจมองข้าม หรือละเลยไม่ใส่ใจ และไม่ใช่เป็นข้อห่วงใยของครม.แต่ฝ่ายเดียว หากเป็นข้อกังวลของทุกฝ่าย และไม่ใช่ประเด็นที่จะมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจแต่อย่างใด ผมคิดว่า เป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศ และของทุกคน เคยถามนักการเมืองพรรคใหญ่ว่า มั่นใจแค่ไหนว่าเลือกตั้งแล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง หรือวิกฤติอีก ปรากฏว่า ไม่มีใครมั่นใจแม้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นต้องช่วยกันออกแบบมาตรการ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขมิใช่ปล่อยให้ไปตายเอาดาบหน้า สูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ บ้านเมืองแตกแยกและประชาธิปไตยไปไม่
รอด" นายอลงกรณ์ กล่าว
**คสช.กั๊กเรื่องเรื่องสืบทอดอำนาจ
พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ถึงการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้ตัดบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจหัวหน้าคสช. และ คสช.ออก และสิ้นสุดลงหลังมีรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ซึ่งยังไม่จบ จนถึงวันที่ 29 มี.ค.นี้ อีกทั้งขณะนี้ก็ยังมีหลายความคิดเห็น เป็นช่วงของการรับฟัง และทางกรธ.จะนำไปปรับปรุง ยังไม่ถึงช่วงสรุป
ส่วนที่มีข้อกังวลว่า คสช. จะมีการสืบทอดอำนาจ อยู่ยาวนั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้เป็นกติกาแก้ไขปัญหา ไม่ใช่แบบคิดใหม่ แต่ได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่มีมา และนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อร่างเป็นข้อบังคับ และสอบถามความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย เพราะฉะนั้นถามว่า จะสืบทอดอำนาจหรือไม่ อยู่ที่ประชาชนจะพิจารณารับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เป็นข้อห่วงใยในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ทางคสช. และรัฐบาล ก็รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติให้มากที่สุด
เมื่อถามว่า นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (ผอ.สปท.) ออกมาระบุว่า คสช.ลืมเรื่องปฏิรูป เพราะมัวแต่นับวันเลือกตั้ง พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า คสช.ดำเนินการหลายเรื่อง และจัดลำดับความเร่งด่วน โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ของชาติ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคม เพียงแต่กรอบระยะเวลาโรดแมป จะมีการเลือกตั้งในปี 60 ทุกคนจึงโฟกัสไปที่ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเดินตามกรอบเวลา จากนั้นก็จะต้องมีการทำประชามติ การเตรียมการเลือกตั้ง และการจัดการเลือกตั้งตามช่วงเวลา เพียงแต่
ขณะนี้ต่างฝ่ายต่างออกมาให้ข้อคิดเห็น เพราะห่วงใยบ้านเมือง เราก็รับฟัง เรื่องการปฏิรูปทุกอย่างยังดำเนินการอยู่ เราไม่ได้เน้นหนักด้านใดด้านหนึ่ง เพียงแต่ขณะนี้ คนให้ความสนใจเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องปฏิรูปคสช. ยังคงดำเนินการอยู่
** เชื่อคสช.ไม่คิดล้มร่างรธน.อีก
ด้านนายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.กล่าวถึง ความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้พิจารณาทบทวนไปได้ประมาณ 60 มาตราแล้ว โดย เราพยายามนำความเห็น และข้อเสนอแนะ ของทุกฝ่ายมาพิจารณา โดยไม่ให้กระทบกับหลักการใหญ่ที่ กรธ. วางกรอบไว้ รวมถึง กรอบตาม มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และกรอบตามความมุ่งหมายของ คสช. จำนวน 5 ข้อ
ทั้งนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เตรียมขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้อเสนอของครม. ในบางข้อ ที่ยังเกิดความสงสัย หรือยังไม่มีความชัดเจน และเมื่อได้รับคำแนะนำที่เข้าใจตรงกันแล้ว กรธ.ก็จะได้นำมาพิจารณาหารือต่อไป เมื่อได้ข้อสรุป
หรือข้อยุติในประเด็นใหญ่ๆ ก็จะชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบทันที จะไม่เก็บแล้วค่อยปล่อยให้มาโผล่ในภายหลัง หรือโผล่ตอนที่ตีพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จไปแล้ว
ส่วนการที่พรรคการเมืองออกมาคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขอย้ำว่า กรธ.จะไม่ไปตอบโต้ แต่เราจะเน้นการอธิบาย เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะพยายามใช้ทุกช่องทางที่เปิดโอกาสให้ กรธ. ชี้แจงอย่างเต็มที่ และดีที่สุด
"ก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการซักถามกลับไปยังคสช.หลายครั้งว่า อยากจะให้ร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบยืนยันกลับมาว่า อยากให้ผ่าน เพราะต้องการให้มีเลือกตั้งตามโรดแมป ดังนั้นเข้าใจว่า คสช.ไม่มีแนวคิดที่จะใช้วิธีการล้มรัฐธรรมนูญเรื่อยๆ เพื่อให้อยู่ในอำนาจยาวนานต่อไป" นายอมร กล่าว.